การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (สิงคโปร์)
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (เอ็มอาร์ที) | |||
---|---|---|---|
จากบนซ้ายไปล่างขวา: ทางเข้าสถานี Toa Payoh, สถานีนิโคลล์ไฮเวย์; ภายนอกของสถานีจูรงตะวันออก; ชานชาลาสายตะวันออก-ตะวันตกที่สถานีเอ็กซ์โป และชานชาลาสายเหนือ-ตะวันออกที่สถานีโควัน | |||
ข้อมูลทั่วไป | |||
ชื่อพื้นเมือง | Sistem Pengangkutan Gerak Cepat (มลายู) 新加坡地铁系统 (จีน) சிங்கப்பூர் துரிதக் கடவு ரயில் (ทมิฬ) | ||
เจ้าของ | องค์การขนส่งทางบก | ||
ที่ตั้ง | สิงคโปร์ | ||
ประเภท | ระบบขนส่งมวลชนเร็ว | ||
จำนวนสาย | 9 (ให้บริการ 6, กำลังก่อสร้าง 2, กำลังวางแผน 1 และกำลังศึกษา 1), ไม่นับรวมรางเบา | ||
จำนวนสถานี | 187 (ให้บริการ 134, กำลังก่อสร้างและโครงการ 53, ในอนาคต 2), ไม่นับรวมรางเบา | ||
ผู้โดยสารต่อวัน | 3.4 ล้านคน (2019), ไม่นับรวมรางเบา[1] | ||
ผู้โดยสารต่อปี | 1.2 พันล้านคน (2019), ไม่นับรวมรางเบา | ||
เว็บไซต์ | |||
การให้บริการ | |||
เริ่มดำเนินงาน | 7 พฤศจิกายน 1987 | ||
ผู้ดำเนินงาน | เอสเอ็มอาร์ทีเทรนส์ (เอสเอ็มอาร์ทีคอร์ปอเรชัน) เอสบีเอสแทรนสิต (คอมฟอร์ตเดลโกรคอร์ปอเรชัน) | ||
ลักษณะ | ทางวิ่งแยกจากพื้นดินอย่างสมบูรณ์ | ||
จำนวนขบวน | 488 ขบวน (กำลังสั่งซื้อ 197, ปลดประจำการ 106) | ||
ความยาวขบวน | 3,[note 1] 4,[note 2] 6[note 3] หรือ 8[note 4] cars | ||
ระยะห่าง | 2–3 นาที (ชั่วโมงเร่งด่วน) 5 นาที (ชั่วโมงปกติ)[2] | ||
ข้อมูลทางเทคนิค | |||
ระยะทาง | 231 km (144 mi) | ||
รางกว้าง | 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) สแตนดาร์ดเกจ | ||
รัศมีความโค้ง | 400–500 m (1,312.34–1,640.42 ft) (สายหลัก), 190 m (623.36 ft) (ศูนย์ซ่อมบำรุง)[3] | ||
การจ่ายไฟฟ้า | กระแสตรง 750 โวลต์ ผ่านรางที่สาม[note 5] กระแสตรง 1500 โวลต์ ผ่านสายเหนือหัว[note 6] | ||
ความเร็วสูงสุด | 78 km/h (48 mph)[note 7] 80 km/h (50 mph)[note 8] 90 km/h (56 mph)[note 9] | ||
|
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (เอ็มอาร์ที) เป็นระบบขนส่งมวลชนเร็วรางหนักซึ่งถือเป็นโครงข่ายรถไฟหลักในประเทศสิงคโปร์ โดยมีแนวเส้นทางผ่านตลอดเกือบทุกพื้นที่ของเกาะหลัก ยกเว้นเขตป่าและพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ[note 10] เส้นทางช่วงแรกเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1987 และโครงข่ายก็ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วตามเป้าหมายการพัฒนาระบบรางให้เป็นระบบขนส่งมวลชนหลักของประเทศ โดยในปี 2019 รถไฟฟ้ามีจำนวนผู้โดยสารรายวัน 3.384 ล้านคน[note 11] ในขณะที่รถโดยสารประจำทางมีจำนวนผู้โดยสารรายวัน 4.099 ล้านคน[1]
โครงสร้างพื้นฐานของเอ็มอาร์ทีสร้าง ดำเนินการและบริหารจัดการด้วยความร่วมมือกับนิวเรลไฟแนนซิงเฟรมเวิร์ก (NRFF) ผู้ดำเนินการก่อสร้างเส้นทางและครอบครองทรัพย์สินคือองค์การขนส่งทางบก (LTA) ซึ่งจัดสรรให้เอ็สเอ็มอาร์ทีและเอสบีเอสแทรนสิตเป็นผู้ให้บริการ โดยทั้งสองหน่วยนี้ยังทำหน้าที่บำรุงเส้นทางรถไฟฟ้า ให้บริการรถโดยสารประจำทางและแท็กซี่ และส่งเสริมให้ระบบขนส่งมวลชนรวมกันเป็นหนึ่งเดียว
ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022 โครงข่ายรถไฟฟ้ามีระยะทางรวม 231 กิโลเมตร (144 ไมล์) ใช้รางมาตรฐาน มีสถานีรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการทั้งสิ้น 134 สถานีบน 6 เส้นทางบนโครงข่ายแบบวงกลม-รัศมี โครงข่ายมีแผนขยายเส้นทางให้มีระยะทางถึง 450 กิโลเมตร (280 ไมล์) ภายใน ค.ศ. 2040 ซึ่งแผนงานประกอบด้วยการก่อสร้างส่วนต่อขยายของ 6 เส้นทางเดิมและการก่อสร้างอีก 3 เส้นทางใหม่[4] นอกจากนี้ โครงข่ายยังได้รับการเติมเต็มจากระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) ซึ่งวิ่งในย่านชานเมืองอย่างบูกิตปันจัง เซงกัง และปังกอล โดยจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีผ่านการเคหะของสภาเคหะและการพัฒนา[5] ทั้งนี้ เมื่อรวมทั้งโครงข่ายเอ็มอาร์ทีและรางเบาแล้ว จะมีระยะทางรวม 257.8 กิโลเมตร (160.2 ไมล์) และมีจำนวนสถานีที่ให้บริการ 193 สถานี[note 12]
เอ็มอาร์ทีเป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่เก่าแก่ มีผู้โดยสารมาใช้บริการ มีค่าใช้จ่าย และครอบคลุมพื้นที่ตามระยะทางมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[note 13] เอ็มอาร์ทีมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การจัดหาขบวนรถไฟฟ้า และการขยายสัญญาที่ดินทั้งสิ้น 100 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[6][7][8][note 14] เอ็มอาร์ทียังมีความโดดเด่นในการเป็นโครงข่ายรถไฟฟ้าอัตโนมัติและไร้คนขับที่ยาวที่สุดในโลก เช่นเดียวกับโครงข่ายที่มีอุโมงค์รถไฟฟ้าที่ยาวและลึกที่สุดแห่งหนึ่งโลก[9][10] นอกจากนี้ สถานีรถไฟใต้ดินซึ่งถือเป็นส่วนใหญ่ของโครงข่าย ถูกออกแบบให้มีบังเกอร์และที่กำบังจากการโจมตีทางอากาศ ซึ่งทนต่อการทิ้งระเบิดจากอากาศและการโจมตีด้วยสารเคมี
ประวัติ
การวางแผนและการเริ่มต้น
จุดเริ่มต้นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนมาจากแนวคิดของนักวางแผนเมืองในปี 1967 ที่ได้พูดถึงความต้องการระบบขนส่งทางรางในเขตเมืองภายในปี 1992[11][12][13] อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกลับมีความคิดเห็นตรงกันข้าม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดร. Goh Keng Swee และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม ดร. Tony Tan ได้พักโครงการเนื่องด้วยเหตุผลด้านงบประมาณและความกังวลเกี่ยวกับความอิ่มตัวของงานอุตสาหกรรม[14] ดร. Goh อนุมัติระบบรถโดยสารประจำทางที่เสนอโดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดซึ่งเสนอว่ารถโดยสารประจำทางใช้งบประมาณเพียงร้อยละ 50 เมื่อกับระบบรถไฟฟ้า ความคิดเห็นได้แบ่งออกเป็นสองฝั่ง ฝั่งหนึ่งเห็นว่าควรมีการลงทุนสูงเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี ในขณะที่อีกฝั่งเห็นว่ารถโดยสารประจำทางจะมีประสิทธิภาพมากกว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสาร Ong Teng Cheong ได้สรุปว่าระบบรถโดยสารประจำทางนั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน อีกทั้งยังต้องแย่งพื้นที่ถนนในประเทศด้วย อีกทั้ง Ong ยังเป็นสถาปนิกและนักวางแผนเมือง เขาได้ใช้ความพยายามและการอุทิศตนในการอยู่เบื้องหลังการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้านี้[15][16]
เริ่มก่อสร้าง
โครงสร้างพื้นฐานของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนก่อสร้าง ดำเนินการและจัดการภายใต้กรอบงานที่เรียกว่านิวเรลไฟแนนซิงเฟรมเวิร์ก (NRFF) และมีองค์การขนส่งทางบก คณะกรรมการตามกฎหมายของรัฐบาลสิงคโปร์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและเป็นเจ้าของที่ดิน[17]
โครงข่ายวางแผนที่จะก่อสร้างและเปิดให้บริการเป็นระยะ ๆ โดยให้ความสำคัญกับสองเส้นทางหลักที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ สายเหนือ-ใต้มีความสำคัญที่สุดเพราะเส้นทางผ่านพื้นที่ใจกลางเมืองซึ่งมีความต้องการระบบขนส่งสาธารณะสูง บริษัทรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Mass Rapid Transit Corporation; MRTC) หรือภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นเอสเอ็มอาร์ทีคอร์ปอเรชัน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1983 และเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบแทนที่องค์การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน[15][18] วันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1987 เส้นทางช่วงแรกของสายเหนือ-ใต้ซึ่งมี 5 สถานีบนระยะทาง 6 กิโลเมตร ได้เปิดให้บริการ และภายในหนึ่งปี ได้เปิดสถานีใหม่เพิ่มอีก 20 สถานี และในปลายปี 1988 ได้เปิดให้บริการเส้นทางจากสถานี Yishun ไปยังสถานีเล้กไซด์ ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างภาคกลางกับจูรง เส้นทางที่ให้บริการถูกแบ่งออกเป็นสายเหนือ-ใต้และสายตะวันออก-ตะวันตก หลังจากที่เปิดให้บริการสถานีฝั่งตะวันออก (ปลายทางสถานี Tanah Merah) ของสายตะวันออก-ตะวันตก[19][20][21] และในปลายปี 1990 ได้เปิดใช้งานสายแยกซึ่งเชื่อมไปยัง Choa Chu Kang และการเปิดให้บริการสถานี Boon Lay เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 ทำให้การเปิดใช้งานในระยะแรกเสร็จสมบูรณ์ก่อนกำหนดถึงสองปี[22][23]
ส่วนต่อขยาย
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนได้เปิดให้บริการส่วนต่อขยายเรื่อยมา วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 ส่วนต่อขยายสายเหนือ-ใต้ซึ่งใช้งบประมาณ 1.2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์และเชื่อมต่อกับวูดแลนด์ ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ทำให้เส้นทางสายแยกรวมเข้ากับสายเหนือ-ใต้และสามารถเชื่อมต่อสถานี Yishun กับสถานี Choa Chu Kang เข้าด้วยกัน[24] ต่อมาได้มีแนวคิดที่จะทำให้ระบบขนส่งทางรางนำพาผู้คนเข้าสู่ที่พักอาศัยได้โดยตรง จึงก่อให้เกิดระบบรถไฟฟ้ารางเบาซึ่งเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน[24][25] วันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 รถไฟฟ้ารางเบาขบวนแรกบนสายบูกิตปันจังได้ออกวิ่งให้บริการ[26] ต่อมาในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2001 ได้เปิดใช้งานสถานีเอ็กซ์โป[27] และในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ปีถัดมา ได้เปิดใช้งานสถานีท่าอากาศยานจางี[28] นอกจากนี้ ยังมีการเปิดใช้งานสถานีในอนาคตซึ่งก่อสร้างบนเส้นทางที่เปิดให้บริการแล้วอย่างสถานีโดเวอร์ เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2001[29]
สายเหนือ-ตะวันออก ซึ่งเป็นสายแรกที่ให้บริการโดยเอสบีเอสแทรนสิต เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2003 เป็นหนึ่งในรถไฟฟ้ารางหนักระบบอัตโนมัติสายแรก ๆ ของโลก[30][31] วันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2006 ซึ่งเป็นช่วงที่เปิดให้บริการสายนี้มาแล้วสองปีครึ่ง[32] ได้มีการเปิดใช้งานสถานี Buangkok[33][34] ตามด้วยสถานี Woodleigh ซึ่งเปิดใช้งานในภายหลังอีกระยะใหญ่ ๆ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2011[35] ส่วนต่อขยาย Boon Lay ของสายตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งประกอบด้วยสถานีไพโอเนียร์และสถานี Joo Koon ได้เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009[36][37]
สายวงกลมทยอยเปิดให้บริการเป็น 4 ระยะ โดยเริ่มตั้งแต่เส้นทางช่วงที่ 3 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2009[38] ต่อมาได้เปิดเส้นทางช่วงที่ 1 และ 2 เมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2010[39] และเปิดเส้นทางช่วงที่ 4 และ 5 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2011[40] สุดท้ายได้เปิดให้บริการส่วนต่อขยายมารีนาเบย์เมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2012[41] สำหรับสายดาวน์ทาวน์ ได้เปิดให้บริการระยะแรกเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2013[42] โดยมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2013 โดยนายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง[43] ต่อมาได้เปิดให้บริการระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 2015 หลังจากที่ทำพิธีเปิดในวันก่อนหน้าโดยนายกรัฐมนตรีลีเช่นกัน[44] ส่วนต่อขยาย Tuas West ของสายตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งประกอบด้วยสถานี Gul Circle, Tuas Crescent, Tuas West Road และ Tuas Link ได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2017[45] และในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2017 ได้เปิดให้บริการเส้นทางระยะสุดท้ายของสายดาวน์ทาวน์หลังจากที่ประกอบพิธีเปิดในวันก่อนหน้าโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโครงสร้างพื้นฐานและกระทรวงคมนาคม Khaw Boon Wan[46] ต่อมาได้เปิดใช้งานสถานีในอนาคตแห่งที่สองอย่างสถานีแคนเบอร์ราเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019.[47] และเปิดให้บริการส่วนแรกของสายทอมสัน–อีสต์โคสต์เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2020[48] เปิดให้บริการส่วนที่ 2 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2021[49] และเปิดให้บริการส่วนที่ 3 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 เปิดส่วนต่อขยายล่าสุด[50]
โครงข่ายและโครงสร้างพื้นฐาน
ชื่อและสี | เปิดให้บริการ | ส่วนต่อขยายล่าสุด | ส่วนต่อขยายถัดไป | สถานีปลายทาง | จำนวนสถานี | ระยะทาง | ศูนย์ซ่อมบำรุง | ผู้ให้บริการ | ศูนย์ควบคุม | งบประมาณ (S$) |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สายเหนือ-ใต้ | 7 พฤศจิกายน 1987 | 2 พฤศจิกายน 2019[note 15] | 2030s[note 16] | จูรงตะวันออก มารีนาเซาท์เพียร์ |
27[51] | 45 km (28 mi)[51] | ศูนย์ซ่อมบำรุงบิสฮัน ศูนย์ซ่อมบำรุงอูลูปันดัน ศูนย์ซ่อมบำรุงจางี ศูนย์ซ่อมบำรุงตูอัส |
เอสเอ็มอาร์ทีเทรนส์ | ศูนย์ซ่อมบำรุง Kim Chuan | มากกว่า 13.68 พันล้าน [note 17] |
สายตะวันออก-ตะวันตก | 12 ธันวาคม 1987 | 18 มิถุนายน 2017[note 18] | — | ปาซีร์อิส ท่าอากาศยานจางี Tuas Link |
35[52] | 57.2 km (35.5 mi)[52] | ||||
สายวงกลม | 28 พฤษภาคม 2009 | 14 มกราคม 2012[note 19] | 2026[note 20] | โดบีเคาต์ ฮาร์เบอร์ฟรอนต์ มารีนาเบย์ |
30[53][note 21] | 35.5 km (22.1 mi)[53] | ศูนย์ซ่อมบำรุง Kim Chuan | มากกว่า 10.81 พันล้าน [note 22] | ||
สายทอมสัน–ชายฝั่งตะวันออก | 31 มกราคม 2020 | 13 พฤศจิกายน 2022[note 23] | 2024[note 24] | วุดแลนด์เหนือ การ์เดนส์บายเดอะเบย์ |
20 | 30.4 km (18.9 mi) | ศูนย์ซ่อมบำรุงมันได | ศูนย์ซ่อมบำรุงมันได | รอระบุ [note 25] | |
รวม (เส้นทางเดินรถโดยเอสเอ็มอาร์ทีเทรนส์): | 112 | 168.1 km (104.5 mi)[53] | ||||||||
สายตะวันออกเฉียงเหนือ | 20 มิถุนายน 2003 | 20 มิถุนายน 2011[note 26] | 2024[note 27] | ฮาร์เบอร์ฟรอนต์ ปุงกัล |
16[54] | 19.2 km (11.9 mi)[54] | ศูนย์ซ่อมบำรุงเซ็งกัง | เอสบีเอสแทรนสิต | ศูนย์ซ่อมบำรุงเซ็งกัง | 4.72 พันล้าน [note 28] |
สายดาวน์ทาวน์ | 22 ธันวาคม 2013 | 21 ตุลาคม 2017[note 29] | 2024[note 30] | บูกิตปันจัง เอ็กซ์โป |
34[42] | 41.9 km (26.0 mi)[42] | อาคาร Tai Seng ศูนย์ซ่อมบำรุงกาลีบาตู |
ศูนย์ซ่อมบำรุงกาลีบาตู | 20.7 พันล้าน | |
รวม (เส้นทางเดินรถโดยเอสบีเอสแทรนสิต): | 50 | 61.1 km (38.0 mi) | ||||||||
รวมทั้งหมด: | 134[note 31] | 231 km (144 mi) |
ชื่อเส้นทาง
ชื่อเส้นทางตั้งตามทิศทางการเดินรถและสถานที่ที่ผ่าน โดยมีการตั้งชื่อเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้งานมากที่สุด จากแบบสำรวจ มีผู้ตอบคำถามถึงร้อยละ 70 ที่พึงพอใจกับการตั้งชื่อเส้นทางเหล่านี้ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2000 องค์การขนส่งทางบก (LTA) ได้พิจารณาถึงการตั้งชื่อแบบอื่น ไม่ว่าจะเป็นสีหรือตัวเลข แต่หลังจากที่ทำการสำรวจ ทำให้ยังคงใช้การตั้งชื่อเส้นทางแบบเดิมต่อไปจนถึงปัจจุบัน[55]
การบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก
แทบทุกสถานีของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เป็นสถานียกระดับหรือสถานีใต้ดิน ยกเว้นสถานีบิชาน (สายเหนือ-ใต้) ซึ่งเป็นสถานีระดับดิน สถานีใต้ดินส่วนใหญ่จะอยู่ค่อนข้างลึกเพื่อป้องกันการโจมตีด้วยระเบิด[56][57][58] บริการอินเทอร์เน็ต 3G และ 4G มีให้บริการในทุกส่วนของโครงข่าย[59] รถไฟฟ้าและสถานีใต้ดินติดตั้งระบบปรับอากาศ ในขณะที่สถานีเหนือดินจะติดตั้งพัดลมทดแทน
ทุกสถานีติดตั้งเครื่องตรวจบัตรโดยสาร (GTMs) มีศูนย์บริการผู้โดยสารและจอภาพแอลอีดีที่แสดงข้อมูลรถไฟฟ้าและการประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ ทุกสถานียังมีโทรศัพท์สาธารณะและห้องน้ำ โดยห้องน้ำบางแห่งจะอยู่บนระดับถนน[60] บางสถานีโดยเฉพาะสถานีหลัก มีบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม อาทิ ร้านค้าและตู้จำหน่ายของอัตโนมัติ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ และเครื่องจำหน่ายบัตรโดยสาร[61] บันไดเลื่อนของสถานีมีความเร็ว 0.75 เมตรต่อวินาที ซึ่งเร็วกว่าบันไดเลื่อนทั่วไปถึง 50% องค์การขนส่งทางบก (LTA) วางแผนจะปรับปรุงเป็นบันไดเลื่อนระบบสองความเร็วในสถานีของสายเหนือ-ใต้และสายตะวันออก-ตะวันตก เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น บันไดเลื่อนระบบใหม่จะมีความเร็วสองระดับ โดยจะตั้งค่าให้เลื่อนช้าลงเป็น 0.5 เมตรต่อวินาทีในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน แผนงานนี้จะดำเนินการเสร็จสิ้นในปี 2021[62]
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถ
หมายเหตุ
- ↑ สายวงกลมและสายดาวน์ทาวน์
- ↑ สายทอมสัน-อีสต์โคสต์ และสายจูรงรีเจียน
- ↑ สายเหนือ–ใต้, สายตะวันออก–ตะวันตก และสายเหนือ–ตะวันออก
- ↑ สายครอสไอแลนด์
- ↑ สายเหนือ–ใต้, สายตะวันออก–ตะวันตก, สายวงกลม, สายดาวน์ทาวน์, สายทอมสัน-อีสต์โคสต์, สายจูรงรีเจียน
- ↑ สายเหนือ–ตะวันออก, สายครอสไอแลนด์
- ↑ สายวงกลม
- ↑ สายเหนือ–ใต้, สายตะวันออก–ตะวันตก, สายดาวน์ทาวน์
- ↑ สายเหนือ–ตะวันออก, สายทอมสัน-อีสต์โคสต์
- ↑ Singapore's heavy rail network is composed of three distinct systems. Two of the three are rapid transit networks, chiefly a) the MRT system, which falls entirely within the city-state and forms the core of the network, and b) the two-station cross-border Johor Bahru–Singapore rapid transit system, linked to the mainline MRT and due to commence operations in end-2026.
The other system is the currently-operational cross-border intercity service from Singapore's Woodlands Train Checkpoint to Malaysia. - ↑ Excluding ridership figures for the Light Rail Transit (LRT).
- ↑ Excluding privatised light rail and people mover systems that operate outside of the purview of the state and are thus not part of the mainline public transportation network, like the Sentosa Express and the Changi Airport Skytrain.
- ↑ Although the MRT opened 3 years after the Manila Light Rail Transit System in the Philippines, the latter opened as a light rail system and operated as one for several years before gradually transitioning to a rapid transit system. In this respect, Singapore's MRT is the first operational rapid transit system in Southeast Asia.
- ↑ NSEWL: >S$13.68 billion
NEL: S$4.8 billion
CCL: >S$15.67 billion
DTL: S$20.73 billion
TEL: >S$25.0 billion
JRL (partial): S$3.759 billion
CRL1 (partial): S$1.94 billion
Rolling stock: S$6.04 billion
Multi-use depots and facilities: S$5.05 billion - ↑ สถานีแคนเบอร์รา
- ↑ สถานี Sungei Kadut และบริคแลนด์
- ↑ NSEWL: S$12.0 พันล้าน
NSEWL asset renewal (excluding CR151 asset cost, including CR151 service support cost): มากกว่า S$1.68 พันล้าน - ↑ ส่วนต่อขยาย Tuas West
- ↑ ส่วนต่อขยายสายวงกลม
- ↑ สายวงกลมระยะที่ 6
- ↑ ไม่รวมสถานีบูกิตบราวน์ที่ยังไม่เปิดให้บริการ
- ↑ ระยะ 1-5: S$10.0 billion
CCLe (Bayfront; cost shared with Downtown Line): S$463 billion
CCLe (Marina Bay): S$348.4 million - ↑ สายทอมสัน–อีสต์โคสต์ระยะที่ 3
- ↑ สายทอมสัน–อีสต์โคสต์ระยะที่ 4
- ↑ Out of a total cost of more than S$25.0 billion
- ↑ สถานี Woodleigh
- ↑ ส่วนต่อขยายสายเหนือ-ตะวันออก
- ↑ NEL: S$4.6 billion
NEL asset renewal: S$117 million - ↑ สายดาวน์ทาวน์ระยะที่ 3
- ↑ สายดาวน์ทาวน์ระยะที่ 3e
- ↑ ไม่รวมสถานีเปลี่ยนทางที่ซ้อนทับกัน
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "Bus, train ridership rises to new high". The Straits Times. 13 February 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2020. สืบค้นเมื่อ 13 February 2020.
- ↑ "Rail Network". Land Transport Authority. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2019. สืบค้นเมื่อ 27 December 2019.
- ↑ "CIVIL DESIGN CRITERIA FOR ROAD AND RAIL TRANSIT SYSTEMS" (PDF). LTA Engineering Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 August 2017. สืบค้นเมื่อ 22 January 2020.
- ↑ Toh, Ting Wei. "New Sungei Kadut MRT station linking North-South and Downtown lines could shorten trips by 30 mins". The Straits Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2019. สืบค้นเมื่อ 25 May 2019.
- ↑ Land Transport Authority, Singapore 1996, p. 8.
- ↑ "Comparing Singapore's newest and oldest MRT lines". สืบค้นเมื่อ 14 January 2020.
- ↑ "Expect longer waiting times during initial phase of Thomson-East Coast Line: LTA". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2020. สืบค้นเมื่อ 14 January 2020.
- ↑ "Oral Reply by Minister for Transport Khaw Boon Wan to Parliamentary Question on Government Subsidies for Operating Costs for the Thomson-East Coast Line". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2020. สืบค้นเมื่อ 15 January 2020.
- ↑ "Réseau express métropolitain". CDPQ Infra (ภาษาอังกฤษ). 11 July 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2018. สืบค้นเมื่อ 9 February 2018.
- ↑ Briginshaw, David. "Automated metros set to reach 2200km by 2025" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2018. สืบค้นเมื่อ 10 February 2018.
- ↑ Seah C. M. (1981). Southeast Asian Affairs. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. p. 293.
- ↑ Sharp 2005, p. 66
- ↑ Fwa Tien Fang (4 September 2004). Sustainable Urban Transportation Planning and Development — Issues and Challenges for Singapore (Report). Department of Civil Engineering, National University of Singapore. CiteSeerX 10.1.1.119.9246.
- ↑ Mai Yun, Wong (17 December 1981). "Foolish to build MRT now: Tony Tan". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 24 July 2020.
- ↑ 15.0 15.1 "1982 – The Year Work Began". Land Transport Authority. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2013. สืบค้นเมื่อ 16 November 2013.
- ↑ Lee Siew Hoon & Chandra Mohan. "In Memoriam — Ong Teng Cheong: A Profile". Channel NewsAsia. Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2002. สืบค้นเมื่อ 26 November 2007.
- ↑ "New Rail Financing Framework". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2020. สืบค้นเมื่อ 14 January 2020.
- ↑ Annual report 1984. Singapore: Mass Rapid Transit Corporation. 1084. p. 5.
- ↑ "MRT eastern line to start operating on Nov 18". The Business Times. 4 August 1989.
- ↑ "On right track". The Straits Times. 4 November 1989.
- ↑ Dhaliwal, Rav (5 November 1986). "MRT Trains to Pasir Ris from Dec 16". The Straits Times.
- ↑ Mass Rapid Transit Corporation, Singapore 1988, p. 10.
- ↑ Sharp 2005, p. 109.
- ↑ 24.0 24.1 Lim Seng Tiong (11 February 1996). "Bukit Panjang to get S'pore's first light rail train". The Straits Times. Singapore. p. 1.
- ↑ Sharp 2005, p. 122.
- ↑ Karamjit Kaur (26 July 1999). "Bukit Panjang LRT to begin operating on Nov 6". The Straits Times. Singapore. p. 3.
- ↑ "Opening of the Expo MRT Station". MOT. 10 January 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-10. สืบค้นเมื่อ 1 August 2019.
- ↑ Karamjit Kaur (9 February 2002). "Next stop: Changi Airport; New MRT station at airport opens. With wider fare gates and a futuristic design, it promises to be a hit with commuters". The Straits Times (retrieved from NLB). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2019. สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.
- ↑ "Dover Station Is Open!". LTA. 23 October 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2003. สืบค้นเมื่อ 6 September 2019.
- ↑ "Speech By Deputy Prime Minister Mr Lee Hsien Loong At The Official Opening Of The North East Line And Sengkang LRT System on 28 August 2003". www.mot.gov.sg (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-10. สืบค้นเมื่อ 25 April 2020.
- ↑ "Speech By Mr Khaw Boon Wan At The Launch Of The North East Line Art In Transit Programme On 6 June 2003". www.mot.gov.sg (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-10. สืบค้นเมื่อ 25 April 2020.
- ↑ "All aboard at 'white elephant' station". The Straits Times. 16 January 2006. p. 3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2017. สืบค้นเมื่อ 24 August 2017.
- ↑ Hasnita A Majid (28 August 2005). "Residents bring up 'white elephant' Buangkok MRT during minister's visit". Channel NewsAsia / SafeTrolley. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2013. สืบค้นเมื่อ 22 April 2007.
- ↑ Yvonne Cheong (12 November 2005). "Grassroots leaders plan celebration for Buangkok MRT station opening". Channel NewsAsia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2008.
- ↑ "SBS Transit Opens Woodleigh and Damai Stations". sbstransit.com.sg. SBS Transit. 8 March 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2017. สืบค้นเมื่อ 12 December 2017.
Woodleigh, the last unopened station along the North East Line, will begin revenue service on Monday, 20 June 2011...
- ↑ Yeo Ghim Lay; Goh Yi Han (28 February 2009). "Boon for Boon Lay". The Straits Times. Singapore. p. 32.
- ↑ Cheryl Lim (21 February 2009). "Boon Lay MRT extension offers shorter journey times". Channel NewsAsia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2012.
- ↑ "Early opening for Circle Line from Bartley to Marymount". LTA. 16 April 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2018. สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.
- ↑ "Circle Line from Bartley to Dhoby Ghaut to Open 17 April". LTA. 26 January 2010. สืบค้นเมื่อ 6 September 2019.
- ↑ "12 Circle line Stations, from Marymount to HarbourFront, to Open on 8 October". LTA. 1 August 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2017. สืบค้นเมื่อ 6 September 2019.
- ↑ "Factsheet on Circle line Extension". LTA. 28 November 2011. สืบค้นเมื่อ 6 September 2019.
- ↑ 42.0 42.1 42.2 "Downtown line". Land Transport Authority. 17 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2019. สืบค้นเมื่อ 27 December 2019.
- ↑ "Downtown Line Stage 1 officially opened by PM Lee". The Straits Times. Singapore. 21 December 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2013.
- ↑ "DTL2 is a key step towards a car-lite Singapore, says PM Lee as he opens the new line". The Straits Times. Singapore. 26 December 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2015. สืบค้นเมื่อ 26 December 2015.
- ↑ "Tuas West Extension Opens On 18 June 2017". lta.gov.sg. Land Transport Authority. 27 April 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2019. สืบค้นเมื่อ 27 December 2019.
- ↑ "Downtown Line 3 officially opens; Khaw Boon Wan announces review of fares incurred when switching between stations". The Straits Times. 20 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2017. สืบค้นเมื่อ 20 October 2017.
- ↑ "Canberra MRT station to open on Nov 2". CNA. 20 May 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2019. สืบค้นเมื่อ 20 May 2019.
- ↑ Wong, Kai Yi (31 January 2020). "3 stations on Thomson-East Coast Line begin operations". The Straits Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2020. สืบค้นเมื่อ 15 January 2020.
- ↑ "Commuters on first trains at new TEL2 stations reminisce about inaugural 1980s MRT rides". The Straits Times. 28 สิงหาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "11 Thomson-East Coast Line stations to open on Nov 13; free rides available on Nov 11". CNA. 7 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 51.0 51.1 "North-South line". Land Transport Authority. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2019. สืบค้นเมื่อ 27 December 2019.
- ↑ 52.0 52.1 "East-West line". Land Transport Authority. 29 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2019. สืบค้นเมื่อ 27 December 2019.
- ↑ 53.0 53.1 53.2 "Our Business". SMRT Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2015. สืบค้นเมื่อ 24 April 2015.
- ↑ 54.0 54.1 "Overview – North East Line". SBS Transit. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2014. สืบค้นเมื่อ 23 June 2014.
- ↑ "Names of MRT lines reflect public choice". The Straits Times. 20 April 2001.
- ↑ Mass Rapid Transit Corporation, Singapore 1988, p. 14
- ↑ "Civil Defence Shelter Programme". Singapore Civil Defence Force. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2006. สืบค้นเมื่อ 1 January 2007.
- ↑ Kwan Cheng Fai (April 1987). Architecture of Singapore MRT Underground Stations Concept Layout and Planning. MRTC & IES 1987. pp. 29–33.
- ↑ Eoin Licken (1 July 1999). "New Frontier for Mobile-Phone Operators Lies Underground". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2016. สืบค้นเมื่อ 17 February 2017.
- ↑ Pang Kia Seng; Michael T W Grant; Tom Curley; Scott Danielson (April 1987). Architectural Aspects of Singapore's Mass Rapid Transit Elevated Stations. MRTC & IES 1987. pp. 13–27.
- ↑ Geraldine Yeo (8 February 1996). "MRT shops: What works and why". The Straits Times. Singapore. p. 43.
- ↑ "Dual speeds planned for escalators at MRT stations". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). 7 August 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2019. สืบค้นเมื่อ 6 April 2019.
- Sock, Y.P. and Walder, Jay H. (1999). Singapore's Public Transport.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Sharp, Ilsa (2005). The Journey — Singapore's Land Transport Story. SNP:Editions. ISBN 981-248-101-X.
- Land Transport Authority, Singapore (2 January 1996). A World Class Land Transport System — White Paper presented to Parliament. ISBN 9971-88-488-7.
- Mass Rapid Transit Corporation, Singapore (1993). Stored Value — A Decade of the MRTC. ISBN 981-00-5034-8.
- Mass Rapid Transit Corporation, Singapore (1988). The MRT Story. ISBN 981-00-0251-3.
- Singapore MRT Limited (1987). MRT Guide Book. ISBN 981-00-0150-9.
- Mass Rapid Transit Corporation (MRTC) and Institution of Engineers Singapore (IES) (1987). Mass Rapid Transit System : Proceedings of the Singapore Mass Rapid Transit Conference, Singapore 6–9 April 1987. ISBN 9971-84-636-5.