ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไม้ผล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
519244001CTE9 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
519244001CTE9 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
''มะขาม ''
''มะขาม ''
เป็นไม้ผลที่สำคัญของชนิดหนึ่ง มะขามในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ มะขามหวาน มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และแอฟริกาตะวันออก ชนิดที่ 2 มะขามเปรี้ยว มีถิ่นกำเนิดแถบร้อนของทวีปแอฟริกา สำหรับพันธุ์มะขามในประเทศไทย มีดังนี้ มะขามหวาน ได้แก่ พันธุ์สีทอง ศรีชมพู ขันตี อินทผลัม ประกายทอง มะขามเปรี้ยว ได้แก่ พันธุ์ฝักโต และพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร คือ พันธุ์ศรีสะเกษ 019<br /><br />
เป็นไม้ผลที่สำคัญของชนิดหนึ่ง มะขามในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ มะขามหวาน มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และแอฟริกาตะวันออก ชนิดที่ 2 มะขามเปรี้ยว มีถิ่นกำเนิดแถบร้อนของทวีปแอฟริกา สำหรับพันธุ์มะขามในประเทศไทย มีดังนี้ มะขามหวาน ได้แก่ พันธุ์สีทอง ศรีชมพู ขันตี อินทผลัม ประกายทอง มะขามเปรี้ยว ได้แก่ พันธุ์ฝักโต และพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร คือ พันธุ์ศรีสะเกษ 019<br /><br />
ในส่วนของ[[วิทยาลัยเกษตรกรรม]]ทั่วประเทศไทยก็ได้มีการส่งเสริมให้ความรู้กับเกษตรกรในพื้นที่และมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตเกษตรกรไม้ผลที่มีคุณภาพ
ในส่วนของการส่งเสริม[[วิชาชีพเกษตร]]ของวิทยาลัยเกษตรกรรมทั่วทั้งประเทศไทยก็ได้มีการส่งเสริมให้ความรู้กับเกษตรกรในพื้นที่และมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตเกษตรกรไม้ผลที่มีคุณภาพ
==แหล่งอ้างอิง==
==แหล่งอ้างอิง==
เอกสารวิชาการงานราชพฤกษ์ 2549:กรมวิชาการ “ไม้ผลเมืองไทย”
เอกสารวิชาการงานราชพฤกษ์ 2549:กรมวิชาการ “ไม้ผลเมืองไทย”

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:11, 13 เมษายน 2552

ไม้ผล มีทั้งไม้ยืนต้นและไม้ล้มลุก ไม้ผลยืนต้นมีตั้งแต่ลำต้นขนาดเล็กไปจนถึงลำต้นขนาดใหญ่ มีทั้งที่รับประทานผลสุกและรับประทานผลดิบ

ไฟล์:Banana1.gif
กล้วยหอมทอง

การผลิตผลไม้ตามปกติอาศัยธรรมชาติเป็นปัจจัยหลักหากเป็นการผลิตเพื่อบริโภคเองในครัวเรือน ผู้ปลูกก็สามารถรอคอยจนกระทั่งถึงฤดูกาลออกดอก และติดผลตามปกติ แต่การปลูกเพื่อการค้า ซึ่งราคาของผลิตผลจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณผลิตผลในขณะนั้นๆ และคุณภาพของผลไม้ คือถ้าเป็นช่วงจังหวะที่มีผลไม้ชนิดนั้นออกสู่ตลาดมาก เช่น ในฤดูกาลออกดอกติดผลตามปกติ ราคาของผลิตผล ก็จะต่ำลง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีผลไม้ออกมาสู่ตลาดน้อย ราคาก็ย่อมต้องสูงขึ้น ดังนั้น ผู้ที่ปลูกไม้ผลเป็นการค้าหลายราย จึงมีความต้องการที่จะผลิตผลไม้นอกฤดูกาลปกติ เพื่อที่จะได้จำหน่ายผลไม้ในปริมาณเท่าเดิมแต่ได้ราคาเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ การผลิต ผลไม้นอกฤดูกาลจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีที่จำเป็นต้องใช้ จึงจะได้ผลตามที่ต้องการ

ประเทศไทยมีเขตที่ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือระหว่างเส้นรุ้งที่ 6 – 20 องศาเหนือ สภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันทำให้เกิดความหลากหลายในการกระจายของผลผลิตไม้เมืองร้อนออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องตลอดปี พื้นที่ปลูกไม้ผลตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยในปี 2548 ประมาณ 9.68 ล้านไร่ เป็นมะม่วง 22.68% ทุเรียน 10.08% ลำไย 10.07% กล้วยน้ำว้า 8.33% เงาะ 6.79% และผลไม้อื่น ๆ 42.05% ให้ผลผลิต 12.69 ล้านตัน การส่งออกทั้งในรูปผลสดและผลิตภัณฑ์ มีปริมาณ 1.4 ล้านตัน ด้วยมูลค่ามากกว่า 40,000 ล้านบาท หรือประมาณ 6.6% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร

ไม้ผลเมืองร้อนของประเทศไทยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ คือ กลุ่มที่ 1 ไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากและมีมูลค่าการส่งออกสูง จำนวน 10 ชนิด ได้แก่ ลำไย ทุเรียน มังคุด ลิ้นจี่ มะม่วง ส้มโอ เงาะ สับปะรด มะพร้าวน้ำหอม และมะขาม กลุ่มที่ 2 ไม้ผลที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจในอนาคตหรือเป็นไม้ผลท้องถิ่น/พื้นเมือง มีการบริโภคภายในประเทศมากกว่าการส่งออก ได้แก่ กระท้อน ชมพู่ น้อยหน่า พุทรา มะปราง ฝรั่ง ลองกอง ลางสาด สละ ขนุน มะนาว องุ่น กล้วย เป็นต้น

ลำไย มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ในปี 2547 มีพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ 938,033 ไร่ ผลผลิต 868,022.93 ตัน ผลผลิตลำไยส่วนใหญ่บริโภคภายในประเทศ ประเทศไทยส่งออกลำไยสดปริมาณ 133,646 ตัน ลำไยแช่แข็งส่งออก 787 ตัน และลำไยแห้งส่งออก 94,774 ตัน

ทุเรียน มีถิ่นกำเนิดในสุมาตรา จัดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจของประเทศไทย มีการปลูกแทบทุกภาค แหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ นอกจากบริโภคภายในประเทศแล้ว ยังมีการส่งออกทุเรียนสดไปยัง จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ทุเรียนแช่แข็งส่งไปยัง สหรัฐอเมริกา และทุเรียนกวนส่งไปยัง สิงคโปร์ มาเลเซีย

มังคุด มีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรมาลายู ประเทศไทยมีศักยภาพในการส่งออกสูง เนื่องจากรสชาติเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วไป มีการปลูกมากทางภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศ ประเทศไทยส่งออกมังคุดเป็นอันดับ 1 ของโลก ประเทศคู่ค้าสำคัญที่มีการนำเข้ามังคุด ได้แก่ จีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น และส่งออกมังคุดแช่แข็งไปยังประเทศญี่ปุ่น

ลิ้นจี่ เป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อน-เมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดที่เมืองกวางดองและฟูเจียนทางตอนใต้ของประเทศจีน มีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์ฮงฮวย พันธุ์โอวเฮียะ พันธุ์กิมเจ็ง พันธุ์จักรพรรดิ เป็นต้นประเทศไทยมีการปลูกมากที่สุดในภาคเหนือ มีการส่งออกทั้งลิ้นจี่สดและลิ้นจี่กระป๋อง ประเทศคู่ค้าสำคัญที่ไทยส่งออกลิ้นจี่สูงที่สุด คือ มาเลเซีย รองลงมา คือ สิงคโปร์ ฮ่องกง ตามลำดับ

มะม่วง เป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดในอินโดจีน-พม่า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการปลูกทุกภาคของประเทศไทย มีการบริโภคภายในประเทศ ส่งออกต่างประเทศทั้งในรูปผลไม้สดและแปรรูป โดยพันธุ์ที่มีศักยภาพในการส่งออกได้แก่ น้ำดอกไม้สีทอง น้ำดอกไม้มหาชนก และโชคอนันต์

ส้มโอ เป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดทางเกาะมลายู และหมู่เกาะโปลินีเซีย มีศักยภาพการส่งออกสูง มีลักษณะเด่น คือ รสชาติดีและผลสามารถเก็บรักษาได้นาน ประเทศผู้นำเข้าส้มโอจากประเทศไทยที่สำคัญ ได้แก่ แคนนาดา จีน เนเธอแลนด์ ฮ่องกง

เงาะ เป็นไม้ผลเขตร้อนของเอเชีย มีถิ่นกำเนิดแถบหมู่เกาะมลายู ต่อมาได้กระจายพันธุ์ไปยังประเทศต่าง ๆ ได้แก่ สิงคโปร์ ไทย พม่า รวมทั้งประเทศในแถบอเมริกากลาง พื้นที่ปลูกเงาะในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออก รองลงมาคือภาคใต้ ตลาดหลักที่สำคัญคือตลาดภายในประเทศ มีการส่งออกเงาะในรูปแบบผลไม้สด และผลไม้กระป๋องสอดไส้สับปะรดในน้ำเชื่อม

สับปะรด เป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ บริเวณตอนกลางและตอนใต้ของประเทศบลาซิล สับปะรดเป็นพืชที่ทำรายได้และชื่อเสียงให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยประเทศไทยส่งออกสับปะรดและผลิตภัณฑ์สับปะรด ได้แก่ สับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรด เป็นอันดับหนึ่งของโลก

มะพร้างน้ำหอม เป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และเป็นแหล่งผลิตมะพร้าวน้ำหอมประเทศเดียวในโลก มีการส่งออกในรูปผลอ่อนไปยังต่างประเทศ โดยประเทศนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ และมีแนวโน้มการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้นด้วย

มะขาม เป็นไม้ผลที่สำคัญของชนิดหนึ่ง มะขามในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ มะขามหวาน มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และแอฟริกาตะวันออก ชนิดที่ 2 มะขามเปรี้ยว มีถิ่นกำเนิดแถบร้อนของทวีปแอฟริกา สำหรับพันธุ์มะขามในประเทศไทย มีดังนี้ มะขามหวาน ได้แก่ พันธุ์สีทอง ศรีชมพู ขันตี อินทผลัม ประกายทอง มะขามเปรี้ยว ได้แก่ พันธุ์ฝักโต และพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร คือ พันธุ์ศรีสะเกษ 019

ในส่วนของการส่งเสริมวิชาชีพเกษตรของวิทยาลัยเกษตรกรรมทั่วทั้งประเทศไทยก็ได้มีการส่งเสริมให้ความรู้กับเกษตรกรในพื้นที่และมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตเกษตรกรไม้ผลที่มีคุณภาพ

แหล่งอ้างอิง

เอกสารวิชาการงานราชพฤกษ์ 2549:กรมวิชาการ “ไม้ผลเมืองไทย”