วุฒิพงษ์ นามบุตร

วุฒิพงษ์ นามบุตร (เกิด 6 มีนาคม พ.ศ. 2517) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 4 สมัย อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี และอดีตสมาชิกสภาเทศบาลตำบลเขื่องใน

วุฒิพงษ์ นามบุตร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550
(17 ปี 5 วัน)
ก่อนหน้าวิฑูรย์ นามบุตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 มีนาคม พ.ศ. 2517 (50 ปี)
อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2550–ปัจจุบัน)

ประวัติ

แก้

วุฒิพงษ์ เกิดวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2517 ชื่อเล่น เอ ที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยเป็นหลานวิฑูรย์ นามบุตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี

จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี ชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช ระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาไฟฟ้ากำลัง จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

งานการเมือง

แก้

วุฒิพงษ์ นามบุตร เคยเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลเขื่องใน และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี (ส.จ.) ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จึงได้สมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ซึ่งเป็นหนึ่งในห้า ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ชนะการเลือกตั้งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อภิวัฒน์ เงินหมื่น วุฒิพงษ์ นามบุตร ศุภชัย ศรีหล้า อิสสระ สมชัย และณิรัฐกานต์ ศรีลาภ)

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 วุฒิพงษ์ก็ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 2 และเป็นหนึ่งในสี่ ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่ภาคอีสาน

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาก็ได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง เป็น ส.ส. สมัยที่ 3 ในพื้นที่เขตเลือกตั้งเดิม และสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม เขาเป็นหนึ่งในสองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ชนะการเลือกตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 4 และเป็นหนึ่งในสอง ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมาธิการจำนวน 2 คณะ คือ คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงิน และตลาดการเงิน และคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้