จังหวัดอุบลราชธานี
อุบลราชธานี มักเรียกโดยทั่วไปสั้นๆ ว่า อุบลฯ อักษรย่อ อบ เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 2 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และอันดับที่ 5 ของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากจังหวัดนครราชสีมา[ต้องการอ้างอิง] นับเป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่เก่าแก่ เช่น ภาพเขียนสีที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม และยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง ประเพณีที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนี้คือแห่เทียนพรรษา[2] มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา
จังหวัดอุบลราชธานี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Ubon Ratchathani |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซ่บหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์ คนดีศรีอุบล | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานีเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2567) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 15,774.00 ตร.กม. (6,090.38 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 5 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 1,869,608 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 2 |
• ความหนาแน่น | 118.52 คน/ตร.กม. (307.0 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 44 |
รหัส ISO 3166 | TH-34 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | อุบล, อุบลราชธานีศรีวะนาไลประเทษราช |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ยางนา |
• ดอกไม้ | บัว |
• สัตว์น้ำ | ปลาเทโพ |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ถนนแจ้งสนิท ตำบลแจระแม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000 |
• โทรศัพท์ | 0 4525 4539, 0 4531 9700 |
เว็บไซต์ | www |
จังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยู่ในบริเวณแอ่งโคราช โดยมีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งภูมิประเทศแบบที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขาสลับซับซ้อนในชายแดนตอนใต้โดยเฉพาะบริเวณอำเภอน้ำยืนและนาจะหลวย โดยมีเทือกเขาที่สำคัญคือทิวเขาบรรทัดและทิวเขาพนมดงรัก มีแม่น้ำโขงกั้นระหว่างตัวจังหวัดและประเทศลาว และมีแม่น้ำสำคัญ ๆ ได้แก่ แม่น้ำมูลและแม่น้ำชี นอกจากนี้ยังมีลำน้ำที่สำคัญ ๆ หลายสาย มีลำเซบาย ลำเซบก ลำโดมใหญ่ และลำโดมน้อยเป็นอาทิ
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ส่วนมากนิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักโดยมีการทำนาข้าวและเพาะปลูกพืชไร่ชนิดต่าง ๆ เช่น ปอแก้ว มันสำปะหลัง ถั่วลิสง มีการเลี้ยงปศุสัตว์ และทำการประมงอยู่เล็กน้อย และยังมีอาชีพอื่น ๆ ที่สำคัญด้วย อาทิ อุตสาหกรรมและการค้าการบริการ จังหวัดอุบลราชธานีได้รับขนานนามว่า" เมืองนักปราชญ์ เมืองศิลปินแห่งชาติ"[3]
ประวัติศาสตร์
แก้อุบลราชธานีเป็นเมืองที่มีเขตการปกครองอย่างกว้างขวางสุดลูกหูลูกตา ครอบคลุมพื้นที่ราบทางด้านตะวันออกของภาคอีสานตอนล่าง อีกทั้งยังมีแม่น้ำสายสำคัญถึง 3 สายด้วยกัน คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่มีกำเนิดจากเทือกเขาในพื้นที่ เช่น ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมใหญ่ เป็นต้น โดยแม่น้ำทั้งหลายเหล่านี้ไหลผ่านที่ราบทางด้านเหนือและทางด้านใต้เป็นแนวยาวสู่ปากแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขง ให้ความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ในบริเวณแถบนี้ทั้งหมด ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์มาแต่ โบราณกาล[4]
ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เป็นของอาณาจักรพระนคร จนกระทั่งพระเจ้าฟ้างุ้มได้สถาปนาอาณาจักรล้านช้าง และสืบต่อมาเป็นอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2314 กลุ่มเจ้าพระวอ พร้อมด้วยท้าวคำผง (พระประทุมวรราชสุริยวงศ์) ได้อพยพมาจากนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน มาตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณดอนมดแดง ต่อมาได้เกิดน้ำท่วมเกาะนั้น จึงได้ย้ายเมืองมาตั้งที่บริเวณตัวจังหวัดในปัจจุบัน และได้ตั้งเป็นเมืองอุบลราชธานี ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2335 จนกระทั่งถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลอีสานและมณฑลอุบล ก่อนจะถูกโอนมาขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2469
ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการยกเลิกมณฑลทั้งประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีซึ่งแยกออกมาจากมณฑลนครราชสีมาในขณะนั้น ได้กลายเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หลังจากนั้นจังหวัดอุบลราชธานีก็ได้ถูกแบ่งออกในปี พ.ศ. 2515 อำเภอยโสธรและอำเภอใกล้เคียงถูกแยกเป็นจังหวัดยโสธร และต่อมาในปี พ.ศ. 2536 ได้ถูกแบ่งอีกครั้ง โดยอำเภออำนาจเจริญและอำเภอใกล้เคียงถูกแยกเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ
ปัจจุบันจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่เป็นอันดับ 5 ของไทย และมีประชากรลำดับที่ 3 ของประเทศ
ภูมิศาสตร์
แก้อาณาเขต
แก้- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหัวตะพาน อำเภอลืออำนาจ อำเภอพนา อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญและแขวงสุวรรณเขต (ประเทศลาว)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงจำปาศักดิ์และแขวงสาละวัน (ประเทศลาว) โดยพรมแดนบางช่วงใช้แม่น้ำโขงเป็นตัวกำหนด
- ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพระวิหาร (ประเทศกัมพูชา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกันทรลักษ์ อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโนนคูณ อำเภอกันทรารมย์ อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษและอำเภอค้อวัง อำเภอมหาชนะชัย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
แนวพรมแดนติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชา รวมความยาวประมาณ 428 กิโลเมตร
- ติดต่อกับประเทศลาว 361 กิโลเมตร (จากอำเภอเขมราฐถึงอำเภอน้ำยืน ติดต่อกับแขวงสุวรรณเขต แขวงสาละวัน และแขวงจำปาศักดิ์)
- ติดต่อกับประเทศกัมพูชา 67 กิโลเมตร (อำเภอน้ำยืน ติดต่อกับจังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา)
ภูมิประเทศ
แก้จังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า แอ่งโคราช โดยสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 120-140 เมตร (395-460 ฟุต) ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่สูงต่ำ เป็นที่ราบสูงลาดเอียงไปทางตะวันออกมีแม่น้ำโขง เป็นแนวเขตกั้นจังหวัดอุบลราชธานีกับประเทศลาว มีแม่น้ำชีไหลมาบรรจบกับแม่น้ำมูลซึ่งไหลผ่านกลางจังหวัดจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกแล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม และมีลำน้ำใหญ่ๆ อีกหลายสาย ได้แก่ ลำเซบาย ลำเซบก ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย ห้วยตุงลุง และมีภูเขาสลับซับซ้อนหลายแห่งทางบริเวณชายแดนตอนใต้ ที่สำคัญคือ ทิวเขาบรรทัดและทิวเขาพนมดงรัก ซึ่งกั้นอาณาเขตระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา
ลักษณะภูมิสัณฐานของจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งออกโดยสังเขป ดังนี้
- บริเวณที่เป็นสันดินริมน้ำ เกิดจากตะกอนลำน้ำที่พัดพามาทับถม สภาพพื้นที่เป็นเนินสันดินริมฝั่งแม่น้ำโขง และบางบริเวณสันดินริมฝั่งลำเซบาย
- บริเวณที่เป็นแบบตะพักลำน้ำ ที่เกิดจากการกระทำของขบวนการของน้ำนานมาแล้ว ประกอบด้วยบริเวณที่เป็นลานตะพักลำน้ำระดับต่ำ ระดับกลาง และระดับสูง ลักษณะพื้นที่ที่มีทั้งที่เป็นที่ราบแบบลูกคลื่นลอนลาดจนถึงลูกคลื่นลอนชัน จะอยู่ถัดจากบริเวณที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงขึ้นมา พื้นที่เหล่านี้จะพบในบริเวณทั่วไปของจังหวัด กล่าวคือทางตอนเหนือ ทางตะวันออก และทางใต้ บางแห่งใช้สำหรับทำนาและบางแห่งใช้สำหรับปลูกพืชไร่
- บริเวณที่เป็นแอ่งหรือที่ลุ่ตวมต่ำหลังลำน้ำ เกิดจากการกระทำของน้ำ พบบางแห่งในบริเวณริมแม่น้ำโขง แม่น้ำชี ลำเซบาย และลำโดมใหญ่ จะมีน้ำแช่ขังนานในฤดูฝน
- กำลังของน้ำจะมีมากจนสามารถพัดพาเอาตะกอนเหล่านั้นออกมานอกหุบเขาได้ เมื่อมาถึงนอกหุบเขาหรือเชิงเขา สภาพพื้นที่ก็จะเป็นที่ราบทางน้ำไหลกระจายออกไป ทำให้กำลังของน้ำลดลง ก็จะตกตะกอนในบริเวณน้ำ จะพบอยู่ทางตอนใต้และทางตะวันตกของจังหวัด
- บริเวณที่เป็นเนินที่เกิดจากการไหลของธารลาวา เป็นเนินเขาที่เกิดจากการไหลของธารลาวา ดินบริเวณนี้จะมีศักยภาพทางการเกษตรสูง ซึ่งเป็นผลจากการสลายตัวผุพังของหินบะซอลต์ บริเวณนี้จะพบอยู่ในอำเภอน้ำยืน
- บริเวณที่ลาดเชิงเขา เป็นที่ลาดเชิงเขาที่ตะกอนบริเวณที่เกิดจากการกระทำของน้ำนานมาแล้วทับถมกัน บริเวณนี้จะพบอยู่ในอำเภอโขงเจียม อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอตระการพืชผล
- บริเวณที่ลาดเชิงซ้อน ลักษณะเป็นภูเขาหรือทิวเขามีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ จะพบบริเวณทิวเขาพนมดงรักในอำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย และอำเภอบุณฑริก อีกแห่งหนึ่งคือ ทิวเขาภูเขาซึ่งจะพบมากในอำเภอโขงเจียมและอำเภอศรีเมืองใหม่
ภูมิอากาศ
แก้- ฤดูฝน จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเรื่อยไปจนถึงปลายเดือนตุลาคม และมักปรากฏเสมอว่าฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม แต่ระยะเวลาการทิ้งช่วงมักจะไม่เหมือนกันในแต่ละปี
- ฤดูหนาว เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศ ทำให้ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือก่อนภูมิภาคอื่น อุณหภูมิจะเริ่มลดต่ำลงตั้งแต่เดือนตุลาคมและจะสิ้นสุดปลายเดือนมกราคม
- ฤดูร้อน ถึงแม้ว่าเคยปรากฏบ่อยครั้งว่าอากาศยังคงหนาวเย็นยืดเยื้อมาจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยส่วนใหญ่แล้วอากาศจะ เริ่มอบอ้าว ในเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงประมาณต้นเดือนพฤษภาคมซึ่งอาจจะมีฝน เริ่มตกอยู่บ้างในปลายเดือนเมษายน
ทรัพยากร
แก้ทรัพยากร ดิน จ.อุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่และมีประชากรมาก ดินเป็นทรัพยากรคิด เป็นร้อยละ 86.6 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด หรือประมาณ 10,299,063 ไร่ ด้านป่าไม้มีทั้งป่าเต็งรัง หรือป่าแดงมีอยู่ทั่วไป มีเขตป่าดงดิบในเขตอำเภอน้ำยืน และป่าผสม ส่วนป่าเบญจพรรณมีอยู่ในอำเภอเขมราฐ อำเภอบุณฑริก และอำเภอพิบูลมังสาหาร ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้กระยาเลย ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตระแบก ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้เคี่ยม ไม้ชุมแพรก ไม้กันเกรา สภาพพื้นที่ป่าไม้จากการสำรวจเมื่อปี 2538 มีเนื้อป่าประมาณ 2,495 ตร.กม. หรือประมาณ 1.56 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 15.49 ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัดอุบลราชธานี สำหรับพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งได้ดังนี้ ป่าถาวร ตามมติ ครม.จำนวน 1 ป่า เนื้อที่ 77,312.50 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 46 ป่า เนื้อที่ 3,396,009.163 ไร่ พื้นที่ป่า สปก. จำนวน 40 ป่า เนื้อที่ 1,665,543.30 ไร่ ป่าอนุรักษ์ ตาม มติ ครม. จำนวน 10 ป่า เนื้อที่ 1,439,998.402 ไร่ ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย จำนวน 5 ป่า เนื้อที่ 880,220.00 ไร่ สวนป่า จำนวน 15 ป่า เนื้อที่ 20,985.73 ไร่ พื้นที่ป่าธรรมชาติ (รวม จ.อำนาจเจริญ) เนื้อที่ 24,292,656 ไร่
แร่ธาตุ จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณี พบว่า จังหวัดอุบลราชธานีมีแร่อโลหะเพียงชนิดเดียว คือ เกลือหิน ซึ่งเจาะพบแล้ว 2 แห่งคือ อำเภอเมืองอุบลราชธานีและอำเภอตระการพืชผล นอกจากนี้ มีทรัพยากรแร่ที่อยู่ในรูปของหินชนิดต่าง ๆ อีกมากมาย สำหรับแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญคือ แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย และห้วยตุงลุง
การเมืองการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้จังหวัดอุบลราชธานีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ 219 ตำบล 2704 หมู่บ้าน ได้แก่
|
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 239 องค์กรแบ่งออกเป็น 1 เทศบาลนคร 4 เทศบาลเมือง 54 เทศบาลตำบล 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 179 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้
อำเภอเมือง อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอวารินชำราบ
อำเภอเดชอุดม อำเภอเขื่องใน |
อำเภอเขมราฐ
อำเภอนาจะหลวย อำเภอน้ำยืน อำเภอบุณฑริก อำเภอนาเยีย อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอสำโรง อำเภอโขงเจียม
|
อำเภอตระการพืชผล อำเภอกุดข้าวปุ้น อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอตาลสุม อำเภอโพธิ์ไทร อำเภอสิรินธร อำเภอเหล่าเสือโก้ก อำเภอน้ำขุ่น อำเภอศรีเมืองใหม่
|
รายนามผู้ว่าราชการเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด
แก้ลำดับ | ชื่อ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
ข้าหลวงกำกับราชการเมืองอุบลราชธานี[5] | ||
1 | หลวงจินดารัตน์ (ถนัด กัปตัน) | พ.ศ. 2425–2426 |
2 | พระยาศรีสิงหเทพ (ทัด ไกรฤกษ์) | พ.ศ. 2426–2436 |
3 | พระยาภักดีณรงค์ (สิน ไกรฤกษ์) | พ.ศ. 2436–2441 |
4 | พระโยธีบริรักษ์ (เคลือบ ไกรฤกษ์) | พ.ศ. 2441–2443 |
ผู้ว่าราชการเมืองอุบลราชธานี[5] | ||
1 | พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) | ไม่ทราบข้อมูล |
2 | พระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) | ไม่ทราบข้อมูล |
3 | หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร) | พ.ศ. 2450[6]–2451[7] |
4 | อำมาตย์เอกพระภิรมย์ราชา (พร้อม วาจรัต) | พ.ศ. 2456–2458 |
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี[5] | ||
1 | อำมาตย์เอกพระยาปทุมเทพภักดี (อ่วม บุณยรัตพันธุ์) | พ.ศ. 2458–2465 |
2 | อำมาตย์โทพระยาปทุมเทพภักดี (ธน ณ สงขลา) | พ.ศ. 2465–2469 |
3 | อำมาตย์เอกพระยาตรังคภูมาภิบาล (เจิม ปันยารชุน) | พ.ศ. 2469–2471 |
4 | อำมาตย์โทพระยาสิงหบุรานุรักษ์ (สวาสดิ์ บุรณสมภพ) | พ.ศ. 2471–2473 |
5 | อำมาตย์โทพระยาประชาศรัยสรเดช (ถาบ ผลนิวาส) | พ.ศ. 2473–2476 |
6 | พ.ต.อ.พระขจัดทารุณกรรม (เงิน หนุนภักดี) | พ.ศ. 2476–2478 |
7 | อำมาตย์เอกพระปทุมเทวาภิบาล (เยี่ยม เอกสิทธิ์) | พ.ศ. 2478–2481 |
8 | อำมาตย์เอกพระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) | พ.ศ. 2481–2481 |
9 | อำมาตย์เอกพระพรหมนครานุรักษ์ (ฮกไถ่ พิศาลบุตร) | พ.ศ. 2481–2482 |
10 | อำมาตย์โทพระยาอนุมานสารกรรม (โต่ง สารักคานนท์) | พ.ศ. 2482–2483 |
11 | พ.ต.อ.พระกล้ากลางสมร (มงคล หงษ์ไกร) | พ.ศ. 2483–2484 |
12 | หลวงนครคุณูปถัมภ์ (หยวก ไพโรจน์) | พ.ศ. 2484–2487 |
13 | หลวงนรัตถรักษา (ชื่น นรัตถรักษา) | พ.ศ. 2487–2489 |
14 | นายเชื้อ พิทักษากร | พ.ศ. 2489–2490 |
15 | หลวงอรรถสิทธิ์สิทธิสุนทร (อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร) | พ.ศ. 2490–2492 |
16 | นายชอบ ชัยประภา | พ.ศ. 2492–2494 |
17 | นายยุทธ จัณยานนท์ | พ.ศ. 2494–2495 |
18 | นายสง่า สุขรัตน์ | พ.ศ. 2495–2497 |
19 | นายเกียรติ ธนกุล | พ.ศ. 2497–2498 |
20 | นายสนิท วิไลจิตต์ | พ.ศ. 2498–2499 |
21 | นายประสงค์ อิศรภักดี | พ.ศ. 2499–2501 |
22 | นายกำจัด ผาติสุวัณณ์ | พ.ศ. 2501–2509 |
23 | นายพัฒน์ บุณยรัตพันธุ์ | พ.ศ. 2509–2513 |
24 | พลตำรวจตรีวิเชียร ศรีมันตร | พ.ศ. 2513–2516 |
25 | นายเจริญ ปานทอง | พ.ศ. 2516–2518 |
26 | นายเดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ | พ.ศ. 2519–2520 |
27 | นายประมูล จันทรจำนง | พ.ศ. 2520–2522 |
28 | นายบุญช่วย ศรีสารคาม | พ.ศ. 2522–2526 |
29 | นายเจริญสุข ศิลาพันธุ์ | พ.ศ. 2526–2528 |
30 | เรือตรีดนัย เกตุสิริ | พ.ศ. 2528–2532 |
31 | นายสายสิทธิ พรแก้ว | พ.ศ. 2532–2535 |
32 | นายไมตรี ไนยกูล | พ.ศ. 2535–2537 |
33 | นายนิธิศักดิ์ ราชพิธ | พ.ศ. 2537–2538 |
34 | ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. ยุวัฒน์ วุฒิเมธี | พ.ศ. 2538–2540 |
35 | นายชาติสง่า โมฬีชาติ | พ.ศ. 2540–2541 |
36 | นายศิวะ แสงมณี | พ.ศ. 2541–2543 |
37 | นายรุ่งฤทธิ์ มกรพงศ์ | พ.ศ. 2543–2544 |
38 | นายชัยสิทธิ์ โหตระกิตย์ | พ.ศ. 2544–2546 |
39 | นายจิรศักดิ์ เกษณียบุตร | พ.ศ. 2546–2548 |
40 | นายสุธี มากบุญ | พ.ศ. 2548–2550 |
41 | นายชวน ศิรินันท์พร | พ.ศ. 2550–2553 |
42 | นายสุรพล สายพันธ์ | พ.ศ. 2553–2555 |
43 | นายวันชัย สุทธิวรชัย | พ.ศ. 2555–2557 |
44 | นายเสริม ไชยณรงค์ | พ.ศ. 2557–2558 |
45 | นายประทีป กีรติเรขา | พ.ศ. 2558–2558 |
46 | นายสมศักดิ์ จังตระกุล | พ.ศ. 2558–2560 |
47 | นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ | พ.ศ. 2560–2564 |
48 | นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ | พ.ศ. 2564–2565 |
49 | นายชลธี ยังตรง | พ.ศ. 2565–2566 |
50 | นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ | พ.ศ. 2566–2567 |
51 | ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ | พ.ศ. 2567–ปัจจุบัน |
ประชากรศาสตร์
แก้ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
2550 | 1,785,709 | — |
2551 | 1,795,453 | +0.5% |
2552 | 1,803,754 | +0.5% |
2553 | 1,813,088 | +0.5% |
2554 | 1,816,057 | +0.2% |
2555 | 1,826,920 | +0.6% |
2556 | 1,836,523 | +0.5% |
2557 | 1,844,669 | +0.4% |
2558 | 1,857,429 | +0.7% |
2559 | 1,862,965 | +0.3% |
2560 | 1,869,633 | +0.4% |
2561 | 1,874,548 | +0.3% |
2562 | 1,878,146 | +0.2% |
2563 | 1,866,682 | −0.6% |
2564 | 1,868,519 | +0.1% |
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[8] |
การศึกษา
แก้- ระดับอาชีวศึกษา
- วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี
- วิทยาลัยเทคนิคนครอุบลราชธานี
- วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม
- วิทยาลัยเทคนิคตระการพืชผล
- วิทยาลัยการอาชีพวารินชำราบ
- วิทยาลัยเทคนิคเขมราฐ
- วิทยาลัยเทคนิคพิบูลมังสาหาร
- วิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษาอุบลราชธานี
- ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศูนย์วิทยพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี
- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาอุบลราชธานี
- มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
- มหาวิทยาลัยราชธานี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
- วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
การขนส่ง
แก้รถยนต์
แก้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ไปสระบุรี เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (สายโชคชัย-เดชอุดม) ไปจนถึงอุบลราชธานี หรือใช้ เส้นทางกรุงเทพมหานคร–นครราชสีมา แล้วต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 ผ่านบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และเข้าสู่จังหวัดอุบลราชธานี
รถไฟ
แก้มีรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว รถท้องถิ่น และรถเร็วเสริมเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์ จากกรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ สุดปลายทางที่สถานีรถไฟอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ โดยจังหวัดอุบลราชธานี มีสถานีรถไฟเล็ก ๆ อีก 2 แห่ง คือ สถานีบุ่งหวาย และสถานีห้วยขะยุง
รถโดยสารประจำทาง
แก้การเดินทางจากกรุงเทพมหานครมายังจังหวัดอุบลราชธานีโดยรถโดยสารประจำทางทั้งชนิดรถธรรมดาและรถปรับอากาศนั้น จะออกเดินทางจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิตใหม่) มายังสถานีปลายทางคือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนี้ บริษัท ขนส่ง จำกัด ยังมีบริการรถโดยสารระหว่างอุบลราชธานีและเมืองปากเซของประเทศลาวทุกวัน[9]
ส่วนรถประจำทางระหว่างจังหวัดนั้น มีเดินรถระหว่างอุบลราชธานีไปถึงจังหวัดปลายทางต่าง ๆ ในหลายภูมิภาคของประเทศ นอกจากนี้แล้ว กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศถึงการเปิดเดินรถสายอุบลราชธานี –เกาะสมุย เพื่อเชื่อมเมืองท่องเที่ยวสำคัญของภูมิภาคในอนาคต และอีกในอนาคตข้างหน้า กรมการขนส่งทางบกยังมีแผนการที่จะเปิดเดินรถสายสายเหนืออีก 1 เส้นทาง คือ เส้นทางอุบลราชธานี – เชียงราย – แม่สาย โดยอาจดำเนินการบริษัทนครชัยแอร์ เพื่อเชื่อมเมืองท่องเที่ยวสำคัญของภูมิภาคในอนาคต ส่วนแผนการเปิดเส้นทางเดินรถระหว่างประเทศของกรมการขนส่งทางบกนั้น ในปัจจุบันมีอยู่ 3 เส้นทาง คือ สายอุบลราชธานี–จำปาศักดิ์ อุบลราชธานี–คอนพะเพ็ง และ อุบลราชธานี–เสียมราฐ
อากาศยาน
แก้จังหวัดอุบลราชธานี มีท่าอากาศยานนานาชาติจำนวน 1 แห่ง คือ ท่าอากาศยานอุบลราชธานี โดยมีสายการบินจากจังหวัดอุบลราชธานีสู่จุดหมายปลายทางต่าง ๆ ดังนี้[10]
- ไทยสมายล์ - กรุงเทพมหานคร (สุวรรณภูมิ)
- ไทยแอร์เอเชีย - กรุงเทพมหานคร (ดอนเมือง)
- นกแอร์ - กรุงเทพมหานคร (ดอนเมือง) / เชียงใหม่ / ภูเก็ต
- ไทยไลอ้อนแอร์ - กรุงเทพมหานคร (ดอนเมือง)
- ไทยเวียตเจ็ทแอร์ - กรุงเทพมหานคร (สุวรรณภูมิ)
รถเมล์หรือรถสองแถวประจำทาง
แก้เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
ในปัจจุบัน การเดินทางภายในเขตตัวเมืองอุบลราชธานี-วารินชำราบ และบริเวณโดยรอบนั้นมีการบริการด้วยรถสองแถวประจำทางขนาดเล็กที่ให้การบริการโดยเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 11 เส้นทาง ดังรายละเอียดต่อไปนี้[11]
- สายที่ 1 บ้านธาตุ - สามแยกเข้าหมู่บ้านหนองแก
- สายที่ 2 สถานีรถไฟอุบลราชธานี - โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคาร
- สายที่ 3 บ้านก่อ - โรงเรียนเทคโนโลยีและเกษตรกรรมอุบลราชธานี
- สายที 6 ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ - การประปา
- สายที่ 7 ศาลปู่เจ้าคำจันทร์ - วัดพุทธนิคมกิติยาราม
- สายที่ 8 บ้านปลาดุก - สถานีโทรคมนาคมอุบลราชธานี
- สายที่ 9 ตลาดสดวารินชำราบ - หาดคูเดื่อ
- สายที่ 10 ศาลาบ้านดู่ - ศูนย์อพยพ
- สายที่ 11 บ้านบุ่งกาแซว - บ้านด้ามพร้า
- สายที่ 12 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - บ้านดง
- สายที่ 14 (ขึ้นต้นด้วยอักษร ม.) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - สถานีขนส่งผู้โดยสารอุบลราชธานี
- สายที่ 15 อุบลซีตี้บัส ท่าอากาศยานอุบลราชธานี - สถานีขนส่งผู้โดยสารอุบลราชธานี - เซ็นทรัลพลาซาอุบลราชธานี
รถแท็กซี
แก้สำหรับการเดินทางในเขตเมืองอุบลราชธานีและวารินชำราบนั้น ในปัจจุบันมีแท็กซีมีเตอร์ให้บริการประมาณ 500 คัน ภาคเอกชนที่เปิดให้บริการเดินรถแท็กซี่ในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่
- บริษัท แท็กซี่อุบล จำกัด ให้บริการในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ มุกดาหาร และยโสธร
- หจก. อุบลแท๊กซี่มิเตอร์พัฒนาให้บริการในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
- บริษัท สหการอุบล 2011 จำกัด ให้บริการในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
วัฒนธรรม
แก้กีฬา
แก้- ทีมสโมสรฟุตบอลประจำจังหวัด
- สโมสรฟุตบอลอุบล ครัวนภัส (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)
ประเพณี
แก้- ประเพณีแห่เทียนพรรษา
- ประเพณีฆ่านกหัสดีลิงค์ (นกสักกะไดลิงในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าเมืองและพระครูชั้นสัญญาบัตรขึ้นไป)
บุคคลที่มีชื่อเสียง
แก้จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับสมญานามว่าเป็นเมืองนักปราชญ์ และเมืองศิลปินแห่งชาติ ที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติดังนี้
ด้านศาสนา
แก้- พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล)-ผู้เป็นบูรพาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย-ท่านเป็นอาจารย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
- พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต -พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า หรือ พระอาจารย์ใหญ่แห่งวงศ์พระกรรมฐานวัดป่า
- สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)-อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
- สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต)-อดีตเจ้าอาวาสวัดนรนาถสุนทริการาม
- สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)-อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
- สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร)- เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
- พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)-อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
- พระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต)-เป็นพระปฏิบัติด้านวิปัสสนากรรมฐาน โดยเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกๆ ของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)
- พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)-อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง
- พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)- แม่ทัพธรรมพระกรรมฐาน
- พระครูโศภณธรรมาภรณ์ (จูม โชติโก)-เป็นเถระผู้นำภารธุระทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ
- พระสุทธิธรรมรังสี (ลี ธมฺมธโร)-เป็นพระวิปัสสนาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย
- หลวงปู่ขาว อนาลโย-พระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
- พระอาจารย์ดี ฉนฺโน-ลูกศิษย์องค์สำคัญของ พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) และ พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต
- หลวงปู่สี สิริญาโณ-ป็นลูกศิษย์รุ่นแรกของ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ปัจจุบันนับได้ว่าท่านเป็นผู้มีพรรษามากที่สุดในบรรดาศิษย์ของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)ที่ยังดำรงค์ธาตุขันธ์อยู่
- พระเทพเมธาภรณ์ (ประสงค์ วราสโย)-เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม-กาญจนบุรี-สุพรรณบุรี (ธรรมยุต)
- หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต-พระคณาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย
- พระธรรมเสนานี ( กิ่ง มหัปผโล ป.ธ.๕)-อดีตเจ้าคณะภาค๑๐ และอดีตเจ้าอาวาสวัดมณีวราราม
- พระพุทธิวงศมุนี(บุญมา ทีปธัมโม)-อดีตเจ้าอาวาสวัดวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร
- พระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย)-พระเถระผู้เป็นเค้ามูลสมญานามเมืองนักปราชญ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่3เป็นต้นมา[12]
- พระอาจารย์อัฏฐ์ชานัช สิริสาโร-อดีตเจ้าอาวาสวัดวัดอุทุมพรวนาราม
- พระครูโสภณธรรมคุณาภรณ์ (ประเสริฐ สิริคุตฺโต) วัดอรัญญวาสี อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ด้านศิลปิน
แก้- ดร.คำหมา แสงงาม-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2529 (สาขาทัศนศิลป์ - ปั้นแกะสลัก)
- ทองมาก จันทะลือ-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2529 (สาขาศิลปะการแสดง - หมอลำ)
- เฉลิม นาคีรักษ์-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2531 (สาขาทัศนศิลป์ - จิตรกรรม)
- เคน ดาเหลา-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2534 (สาขาศิลปะการแสดง - หมอลำ)
- ฉวีวรรณ ดำเนิน-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2536 (สาขาศิลปะการแสดง - หมอลำ)
- บุญเพ็ง ไฝผิวชัย-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2540 (สาขาศิลปะการแสดง - หมอลำ)
- คำพูน บุญทวี-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2544 (สาขาวรรณศิลป์)
- ฉลาด ส่งเสริม-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2548 (สาขาศิลปะการแสดง - หมอลำ)
- เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2553 (สาขาทัศนศิลป์ - สถาปัตยกรรมไทย)
- บานเย็น รากแก่น-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2556 (สาขาศิลปะการแสดง - หมอลำ)
- พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2557 (สาขาศิลปะการแสดง - ดนตรีไทยลูกทุ่ง)
- สมบัติ เมทะนี- ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2559 (สาขาศิลปะการแสดง - ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
- คำปุน ศรีใส-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2561 (สาขาทัศนศิลป์ - ทอผ้า)
- สลา คุณวุฒิ-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2565 (สาขาศิลปะการแสดง - ประพันธ์เพลงไทยลูกทุ่ง)
- มีชัย แต้สุริยา-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2565 (สาขาทัศนศิลป์ - ทอผ้า)
- วิชชา ลุนาลัย-ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2565 (สาขาวรรณศิลป์)
- เทพพร เพชรอุบล-ศิลปิน
- สนธิ สมมาตร-ศิลปิน
- จันทร์เพ็ญ นิตะอินทร์-ศิลปินหมอลำ
- สมาน หงษา-ศิลปินหมอลำ
- เดชา นิตะอินทร์-ศิลปินหมอลำ
- คำปุ่น ฟุ้งสุข-ศิลปินหมอลำ
- ทองพูน ลูกโม-ศิลปินหมอลำ
- บรรจง มาตยารักษ์-ศิลปินหมอลำ
- บุญยัง สุภาพ-ศิลปินหมอลำ
- บุญยัง ต้นทอง-ศิลปินหมอลำ
- ทองใส ทับถนน-ศิลปิน
- อังคนางค์ คุณไชย-ศิลปิน
- แมน มณีวรรณ-ศิลปิน
- ภูศิลป์ วารินรักษ์-ศิลปิน
- มัลลิกา กิ่งแก้ว-ศิลปิน
- อรทัย ดาบคำ-ศิลปิน
- แคนดี้ รากแก่น-นักจัดรายการวิทยุ
- ต๋อง ชวนชื่น-นักแสดงตลก
- ออย ช็อคกิ้งพิ้งค์-นางแบบ
- รจนา เพชรกัณหา-นางแบบ
- รสริน จันทรา-นางแบบ
- รัสมี เวระนะ-นักร้อง
- ก้านตอง ทุ่งเงิน-นักร้อง
- ดอกอ้อ ทุ่งทอง-นักร้อง
- จั๊กจั่น วันวิสา
- เอกพล มนต์ตระการ
- นพดล ดวงพร-ศิลปินมรดกอีสาน
- นันทิยา ศรีอุบล-นักร้องลูกทุ่ง
- เบญจมินทร์-นักประพันธ์เพลง
- บ. บุญค้ำ-นักเขียน
- บัวผัน ทังโส-นักร้องหมอลำ
- ผดุง ไกรศรี-นักเขียน
- พีรฉัตร จิตรมาส-นางแบบ
- เด่น อยู่ประเสริฐ-นักวิชาการ
- ทองแปน พันบุปผา-ศิลปินมรดกอีสสาน
- หงษ์ทอง หงษา-ศิลปินหมอลำ
- สายยล จิตรธรรม-ศิลปินหมอลำ
- ศรีจันทร์ วีสี-ศิลปินหมอลำ
- เด่นชัย วงศ์สามารถ-ศิลปินหมอลำ
- จอมศิลป์ บรรลุศิลป์-ศิลปินหมอลำ
- คูณ ถาวรพงษ์-ศิลปินหมอลำ
- ทองเจริญ ดาเหลา-ศิลปินมรดกอีสาน
- มุกดา เมืองนคร-ศิลปินหมอลำ
- คำภา ฤทธิทิศ-ศิลปินหมอลำ
- ทองคำ เพ็งดี-ศิลปินมรดกอีสาน
- บุญช่วง เด่นดวง-ศิลปินมรดกอีสาน
- บุญแต่ง เคนทองดี-ศิลปินหมอลำ
- คำภา ฤทธิทิศ-ศิลปินมรดกอีสานปี 2550
- ดร.ดวง(จันทร์น้อย)วังสาลุน-ศิลปินมรดกอีสานปี 2550 ศิลปินประพันธ์กลอนลำทำนองอุบล
- คมถวิล เวียงอุบล-ศิลปิน
- วิเศษ เวณิกา-ศิลปิน
- สมนึก พานิชกิจ-ศิลปินมรดกอีสาน
- มลฤดี พรหมจักร์-ศิลปินมรดกอีสาน
- รังสรรค์ วงศ์งาม-ศิลปินมรดกอีสาน
- ทวี เกษางาม-ศิลปินมรดกอีสาน
- ทรงรัฐ อ่อนสนิท-ศิลปินมรดกอีสาน
- สมคิด สอนอาจ-ศิลปินมรดกอีสาน
- คำแอ ทองจันทร์-ศิลปินมรดกอีสาน
- ตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์)-ศิลปินมรดกอีสาน
- พีระพงษ์ ดวงแก้ว-ศิลปินมรดกอีสาน
- สำราญ บุบผาวาสน์-ศิลปินมรดกอีสาน
- สมพงษ์ พละสูรย์-ศิลปินมรดกอีสาน
- สุรสีห์ ผาธรรม-ศิลปินมรดกอีสาน
- สุรินทร์ ภาคศิริ-ศิลปินมรดกอีสาน
- ทอง ล้อมวงศ์-ศิลปินมรดกอีสาน
ด้านการเมือง การปกครอง
แก้- เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล)-เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก
- เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์-เจ้าเมืองอุบลราชธานี
- หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา-ชาวอุบลราชธานี
- เกียรติศักดิ์ ส่องแสง-นักการเมือง
- เกรียง กัลป์ตินันท์-นักการเมือง
- ไขแสง สุกใส-นักการเมือง
- ชิดชัย วรรณสถิตย์-นักการเมือง
- ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ-นักการเมือง
- ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์-นักการเมือง
- ณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช-นักการเมือง
- ดุสิต โสภิตชา-นักการเมือง-นักการเมือง
- ทองอินทร์ ภูริพัฒน์-นักการเมือง
- ธนา เมตตาริกานนท์-นักการเมือง
- ธำรงค์ ไทยมงคล-นักการเมือง
- นฤพนธ์ ไชยยศ-พิธีกรรายการโทรทัศน์
- บุณย์ธิดา สมชัย-นักการเมือง
- ประสิทธิ์ ณรงค์เดช-นักการเมือง
- ประจวบ บุนนาค-นักการเมือง
- ปัญญา จินตะเวช-นักการเมือง
- ผัน บุญชิต-นักการเมือง
- ฟอง สิทธิธรรม-นักการเมือง
- อิสสระ สมชัย-นักการเมือง
- อรพินท์ ไชยกาล-นักการเมือง
- อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์-นักการเมือง
- เสรี สุชาตะประคัลภ์-นักการเมือง
- สุรศักดิ์ เทียมประเสริฐ-นักการเมือง
- สุพล ฟองงาม-นักการเมือง
- สุทัศน์ เงินหมื่น-นักการเมือง
- สุชาติ ตันติวณิชชานนท์-นักการเมือง
- สิทธิชัย โควสุรัตน์-นักการเมือง
- วิฑูรย์ นามบุตร-นักการเมือง
- วุฒิพงษ์ นามบุตร-นักการเมือง
- ศุภชัย ศรีหล้า-นักการเมือง
- รองศาสตราจารย์วีณา วีสเพ็ญ -นักวิชาการการศึกษา
- กิตติ์ธัญญา วาจาดี-นักการเมือง
อ้างอิง
แก้- ↑ "ระบบสถิติทางการทะเบียน". stat.bora.dopa.go.th.
- ↑ "แห่เทียนพรรษา". มิวเซียมไทยแลนด์. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2021.
- ↑ อุบลราชธานี : จังหวัดที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “ดินแดนแห่งนักปราชญ์”
- ↑ "ประวัติเมืองอุบลราชธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-05. สืบค้นเมื่อ 2010-02-14.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 ทุมมากรณ์, ขนิษฐา (2003), รายงานผลการดำเนินงานโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โครงการจัดสร้างฐานข้อมูลโสตทัศนจดหมายเหตุอีสาน : ภาพเก่าจังหวัดอุบลราชธานี (PDF), มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, p. 7, สืบค้นเมื่อ 2024-11-10
- ↑ รับราชการในฐานะปลัดมณฑลอีสาน ดูใน ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้หม่อมอมรวงษ์วิจิตรไปว่าที่ปลัดมณฑลอิสาน ให้พระทรงสุรเดชไปว่าที่ผู้ว่าราชการเมืองอ่างทอง ให้หลวงสาทรศุภกิจว่าที่ผู้ว่าราชการเมืองสิงห์บุรี ให้พระอินทรประสิทธิ์ศรไปว่าที่ผู้ว่าราชการเมืองชัยภูมิ, เล่ม 24, ตอน 28, 13 ตุลาคม พ.ศ. 2450, หน้า 675
- ↑ สิ้นสุดวาระเนื่องจากถึงแก่กรรมระหว่างดำรงตำแหน่ง ดูใน ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย [หม่อมอมรวงษ์วิจิตร์ (ม.ร.ว. ปฐม), หลวงวิจารณ์สมบัติ (เริก), พระยาภักดีภูธร (นิล), เล่ม 25, ตอน 14, 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2451, หน้า 435 และ ดำรงราชานุภาพ. คำนำ ใน ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 4 อำมาตย์เอก พระยาศรีสำรวจ (ชื่น ภัทรนาวิก) ม.ม. ท.ช. รัตน ว.ป.ร.4 พิมพ์แจกในงานศพ พัน ภัทรนาวิก ผู้มารดา เมื่อปีเถาะสัปตศก พ.ศ. 2458. โบราณคดีสโมสร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2458. หน้า ญ - ท.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate/Area/statpop 2564. สืบค้น 30 มกราคม 2565.
- ↑ Guide Ubon (2015). "-ตารางเส้นทางเดินรถโดยสาร ระหว่างจังหวัด-". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-21. สืบค้นเมื่อ January 22, 2016.
- ↑ บริษัท เว็บสวัสดี จำกัด (มหาชน) (2015). "ตารางเที่ยวบินของอุบลราชธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-10. สืบค้นเมื่อ January 22, 2016.
- ↑ GuideUbon. "ข้อมูลการเดินรถสองแถวจังหวัดอุบลราชธานี". สืบค้นเมื่อ January 22, 2016.
- ↑ https://www.sangkhatikan.com/monk_view.php?ID=15370