วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น

(เปลี่ยนทางจาก วิกิพีเดีย:NOTE)

ในวิกิพีเดีย ความโดดเด่น เป็นการตัดสินว่าหัวเรื่องใดควรมีบทความแยกต่างหาก สารสนเทศบนวิกิพีเดียต้องสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ หากไม่สามารถหาแหล่งข้อมูลบุคคลภายนอกที่น่าเชื่อถือซึ่งกล่าวถึงหัวเรื่องได้แล้ว หัวเรื่องนั้นก็ไม่ควรมีบทความต่างหาก มโนทัศน์ความโดดเด่นของวิกิพีเดียใช้มาตรฐานนี้เพื่อเลี่ยงการสร้างบทความโดยไม่เลือก (indiscriminate inclusion) หัวเรื่องบทความและรายชื่อต้องมีความโดดเด่น หรือ "ควรแก่การรู้จัก" (worthy of notice) การตัดสินว่าหัวเรื่องหนึ่ง ๆ โดดเด่นไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับชื่อเสียง ความสำคัญ หรือความนิยมอย่างเดียว ดังที่จะมีอธิบายต่อไป

สันนิษฐานได้ว่าหัวเรื่องที่เป็นไปตามแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไปด้านล่างและไม่ถูกตัดออกภายใต้สิ่งที่ไม่ใช่วิกิพีเดียเขียนเป็นบทความของตัวเองได้ นอกจากนี้ เนื้อหาบางประเภทมีหลักเกณฑ์เฉพาะหัวเรื่องตามที่ปรากฏบนกล่องด้านขวามือ ก็ให้ยึดทั้งแนวปฏิบัติในหน้านี้กับแนวปฏิบัติเฉพาะหัวเรื่องควบคู่กันไป หากพิจารณาแล้ว หัวเรื่องนั้นไม่ควรมีบทความของตน ให้รวมเข้ากับหัวเรื่องอื่นแทน

แนวปฏิบัตินี้เป็นเพียงกรอบพิจารณาว่าหัวเรื่องใดเหมาะแก่การแยกเป็นบทความหรือรายชื่อใหม่ ซึ่งไม่ได้ครอบคลุมเนื้อหาของบทความหรือรายชื่อ สำหรับนโยบายวิกิพีเดียด้านเนื้อหานั้น ได้แก่มุมมองที่เป็นกลาง การพิสูจน์ยืนยันได้ งดงานค้นคว้าต้นฉบับ อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย และชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่

แนวปฏิบัติด้านความโดดเด่นทั่วไป

หากหัวเรื่องใดได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญ (significant coverage) ในแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับหัวเรื่องนั้น ให้สันนิษฐานว่าหัวเรื่องนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ในการสร้างเป็นบทความหรือรายชื่อใหม่

  • ในที่นี้ คำว่า "การกล่าวถึงอย่างสำคัญ" หมายความว่า แหล่งข้อมูลได้กล่าวถึงหัวเรื่องในรายละเอียดโดยตรง ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีแหล่งข้อมูลต้นฉบับในการคัดย่อความเนื้อหา การกล่าวถึงอย่างสำคัญเป็นมากกว่าการกล่าวถึงในเชิงเกร็ด (trivial mention) แต่ไม่ถึงกับต้องเป็นหัวข้อหลักของแหล่งข้อมูลนั้น
  • ในที่นี้ คำว่า "ที่น่าเชื่อถือ" หมายความว่า แหล่งข้อมูลจะต้องมีความซื่อตรงต่อจรรยาบรรณ (editorial integrity) เพื่อให้สามารถประเมินความโดดเด่นพิสูจน์ยืนยันได้ แหล่งข้อมูลอาจเป็นได้ตั้งแต่งานตีพิมพ์ในทุกรูปแบบ ทุกสื่อ และทุกภาษา การมีแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่ครอบคลุมเนื้อหาเป็นการทดสอบความโดดเด่นได้เป็นอย่างดี
  • ในที่นี้ "แหล่งข้อมูล" ควรเป็นแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อจุดประสงค์ในการตรวจสอบความโดดเด่นของหัวเรื่อง เพราะแหล่งข้อมูลเหล่านี้มักให้หลักฐานความโดดเด่นโดยอยู่บนพื้นฐานความจริงมากที่สุด ปริมาณและลักษณะแท้จริงของแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่จำเป็นในการยืนยันความโดดเด่นนั้นต่างกันไปขึ้นอยู่กับความลึกของรายละเอียดและคุณภาพของแหล่งข้อมูล โดยทั่วไปมักคาดว่าหัวเรื่องนั้นจะต้องมีแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง แหล่งข้อมูลนั้นไม่จำเป็นต้องเข้าถึงได้ออนไลน์ และไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาไทย สิ่งพิมพ์เผยแพร่จากผู้เขียนหรือองค์การเดียวกันมักถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลเดียว เพื่อจุดประสงค์ในการพิสูจน์ความโดดเด่น
  • ในที่นี้ "ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับหัวเรื่อง" ไม่รวมผลงานที่ผลิตขึ้นจากบุคคลหรือองค์การที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องนั้น ซึ่งมีทั้งการกล่าวถึงตนเอง การโฆษณา ผลงานตีพิมพ์ของตัวเอง อัตชีวประวัติ การแถลงข่าว เป็นต้น
  • ในที่นี้ คำว่า "สันนิษฐาน" หมายความว่า การกล่าวถึงอย่างสำคัญในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ทำให้เกิดการสันนิษฐาน แต่มิใช่การรับประกัน ว่าหัวเรื่องนั้นเหมาะแก่การเพิ่มเป็นหัวเรื่องในวิกิพีเดีย ผู้เขียนอาจมีมติว่าหัวเรื่องหนึ่งหัวเรื่องใดไม่เหมาะแก่การแยกเป็นบทความใหม่ แม้หัวเรื่องเป็นไปตามเกณฑ์ดังนี้แล้วก็ตาม ซึ่งมีแนวโน้มมากว่าจะละเมิดข้อที่ว่า "วิกิพีเดียไม่ใช่แหล่งข้อมูลจิปาถะ"

หัวเรื่องที่ชุมชนมีมติเห็นว่าเข้าเกณฑ์ดังนี้โดยทั่วไปมักควรค่าแก่การรู้จัก และสอดคล้องกับเกณฑ์ข้อหนึ่งในการมีบทความของตนในสารานุกรม ข้อเท็จจริงและเนื้อหาที่พิสูจน์ยืนยันได้ซึ่งไม่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหลายแหล่งอาจเหมาะแก่การรวมเข้าในบทความอื่น

เกณฑ์ความโดดเด่นเฉพาะ

ในบางหัวข้อ มีความโดดเด่นในหัวข้อเฉพาะโดยผ่านความเห็นพ้อง นโยบายเขียนเพื่อช่วยให้เข้าใจว่าควรเขียนบทความแยกมาหรือควรเขียนบทความอย่างไร เกณฑ์ของหัวข้อที่ได้รับการยอมรับจะปรากฏอยู่บนกล่องด้านบนสุดของหน้านี้ โดยทั่วไปแล้วบทความในวิกิพีเดียจะเขียนขึ้นจากแหล่งอ้างอิงที่มีความลึกจากแหล่งข้อมูลอิสระที่น่าเชื่อถือได้ซึ่งบางหัวข้อเฉพาะก็ได้รับการยกเว้นจากแหล่งข้อมูลอิสระ โดยทั่วไปแล้วเกณฑ์ความโดดเด่นเฉพาะจะรวมถึงเกณฑ์การตรวจสอบยืนยันว่าหัวข้อนั้นได้แสดงแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมที่มีความเป็นไปได้ว่ามีอยู่จริงในหัวข้อนั้น ดังนั้นหัวข้อที่ผ่านเกณฑ์ความโดดเด่นเฉพาะ (SNG) จะถือได้ว่ามีความเหมาะสมในการเป็นบทความ อย่างไรก็ดีบทความที่ผ่านเกณฑ์ความโดดเด่นทั่วไปหรือเกณฑ์ความโดดเด่นเฉพาะก็อาจถูกลบหรือรวมเข้ากับบทความอื่น โดยเฉพาะไม่มีแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมหรือหาการกล่าวถึงไม่ได้หรือหัวข้อนั้นไม่เหมาะกับการเป็นสารานุกรม

เกณฑ์ความโดดเด่นเฉพาะยังได้เพิ่มเติมและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันของหัวข้อนั้น ตัวอย่างเช่น วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น (บุคคล) ให้เกณฑ์ว่าหัวข้อใดไม่ควรมี เกณฑ์ความโดดเด่นเฉพาะยังให้ตัวอย่างของแหล่งข้อมูลและประเภทของกล่าวถึงอย่างสำคัญของวัตถุประสงค์ที่นำมาพิจารณาความโดดเด่น เช่น วิธีการแสดงเรื่องการวิจารณ์หนังสือในเกณฑ์เกี่ยวกับวรรณกรรม และการกล่าวถึงอย่างสำคัญในหน้า วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น (องค์การและบริษัท)

ในบางหน้าของโครงการวิกิก็ได้ให้แนวทางเพิ่มเติมเกี่ยวกับความโดดเด่นในหัวข้อนั้น ผู้เขียนควรระลึกไว้ว่าเกณฑ์ความโดดเด่นในหน้าโครงการวิกิเหล่านี้ถือว่าเป็นหน้าเรียงความหน้าหนึ่งและโปรดอย่างถือว่าเป็นมาตรฐานความโดดเด่นใหม่ เพราะขาดซึ่งความเห็นพ้อง

ไม่ประยุกต์เกณฑ์ความโดดเด่นกับเนื้อหาในบทความหรือรายชื่อต่าง ๆ

การประยุกต์เกณฑ์ในการสร้างหรือคงเก็บบทความเอาไว้ ไม่ควรนำมาประยุกต์กับเนื้อหาในบทความหรือรายชื่อต่าง ๆ การครอบคลุมของเนื้อหาในบทความหรือรายชื่อ (ตัวอย่างเช่น บางเรื่องที่สำคัญพอที่น่าจะกล่าวถึงในบทความหรือรายชื่อ) ควรจะพิจารณาจากหลักการ น้ำหนักที่เหมาะสม ความสมดุลและนโยบายเนื้อหาอื่น ๆ

เนื้อหาในบทความไม่ได้เป็นตัวกำหนดความโดดเด่น

หากหัวข้อนั้นไม่ได้รับการกล่าวถึงจากสื่อนอกวิกิพีเดีย และไม่ค่อยได้รับการพัฒนาเนื้อหาในวิกิพีเดีย ก็อาจกล่าวได้ว่าไม่เหมาะจะเป็นบทความในวิกิพีเดีย ในทางกลับการหากมีสื่อหลายแหล่ง แม้จะเขียนได้แย่และมีการอ้างอิงในบทความวิกิพีเดีย ก็ไม่ทำให้ความโดดเด่นในหัวข้อนั้นลดลง

ความโดดเด่นต้องอาศัยหลักฐานที่พิสูจน์ยืนยันได้

แก่นสามัญในแนวปฏิบัติความโดดเด่นนี้ คือ จะต้องมีหลักฐานที่พิสูจน์ยืนยันได้และไม่ลำเอียงว่า หัวเรื่องนั้นได้รับความสนใจอย่างสำคัญจากแหล่งข้อมูลไม่มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสนับสนุนการอ้างความโดดเด่น การขาดการอ้างอิงในบทความ (ซึ่งต่างจากการไม่มีแหล่งอ้างอิง) มิได้บ่งชี้ว่า หัวเรื่องนั้นไม่โดดเด่น

ไม่มีหัวเรื่องใดโดดเด่นโดยอัตโนมัติหรือโดยธรรมชาติเพียงเพราะว่ามันมีอยู่ หลักฐานต้องแสดงให้เห็นว่าหัวเรื่องนั้นได้รับการกล่าวถึงหรือการยอมรับจากแหล่งข้อมูลไม่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสำคัญ และยังต้องดูต่อไปอีกว่า การกล่าวถึงหรือการยอมรับนี้จะต้องมิได้เป็นเพียงความสนใจระยะสั้น หรือเป็นผลมาจากการส่งเสริมการขายหรือการเผยแพร่ข้อมูลโดยขาดการพิจารณา หรือเป็นหัวเรื่องที่ไม่เหมาะสมด้วยเหตุผลอื่นใด ที่มาของหลักฐานรวมถึงสิ่งพิมพ์เผยแพร่ที่มีการพิจารณาตรวจสอบ (peer review) ที่ได้รับการยอมรับ หนังสือที่น่าเชื่อถือและมีหลักฐานพิสูจน์ แหล่งสื่อที่มีชื่อเสียง และแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออื่น ๆ โดยรวม

ความโดดเด่นดูจากแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมที่ปรากฏ ไม่ใช่มีการอ้างอิงในบทความ

การขาดแหล่งอ้างอิงหรือการกล่าวอ้างในบทความ (มีความแตกต่างจากไม่ปรากฏแหล่งที่มา) ไม่ใช่เป็นตัววัดว่าหัวข้อนั้นไม่มีความโดดเด่น ความโดดเด่นต้องการเพียงการมีอยู่ของแหล่งข้อมูลอิสระที่เหมาะสม แหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ ผู้เขียนควรประเมินความโดดเด่นจากแหล่งข้อมูลที่ไม่ได้ปรากฏในบทความด้วย เพราะยังมีความเป็นไปได้หรือการมีอยูู่ที่แสดงความโดดเด่นได้โดยไม่ปรากฏในบทความ ดังนั้นก่อนที่จะเสนอลบบทความหรือให้ความเห็นเกี่ยวกับความโดดเด่นที่นำไปสู่การลบบทความ ผู้เขียนควรมีความพยายามอย่างแข็งกล้าในการหาแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดข้อสงสัย และพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการมีอยู่ของแหล่งข้อมูลว่าสามารถค้นหาได้หรือไม่

บทความวิกิพีเดียไม่ใช่แบบร่างสุดท้าย หัวข้อบทความในวิกิพีเดียสามารถมีความโดดเด่นได้หากมีแหล่งข้อมูลจริงแม้จะยังไม่ได้ใส่อ้างอิง หากมีความเป็นได้ว่ามีการกล่าวถึงอย่างสำคัญจากแหล่งข้อมูลอิสระในหัวข้อนั้น การลบในลักษณะนี้ก็เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม อย่างไรก็ดีหากบทความที่มีความโดดเด่นได้รับการโต้แย้ง การยืนยันโดยไม่ให้แหล่งที่มาก็ไม่สามารถโน้มน้าวได้พอ

ความโดดเด่นมิใช่เพียงชั่วคราว

ความโดดเด่นมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว: เมื่อหัวเรื่องได้รับ "การกล่าวถึงอย่างสำคัญ" ตามแนวปฏิบัติด้านความโดดเด่นของบทความโดยทั่วไปแล้ว หัวเรื่องนั้นไม่จำเป็นจะต้องได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องอีก

ขณะที่ความโดดเด่นของบทความมิได้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว บางครั้งอาจมีการประเมินหลักฐานความโดดเด่นหรือความเหมาะสมของบทความที่มีอยู่แล้วใหม่ ซึ่งผู้ใช้รายใดก็ได้สามารถร้องขอผ่านการอภิปรายให้ลบ หรืออาจมีหลักฐานใหม่ ๆ เกิดขึ้นสำหรับบทความถูกพิจารณาว่าไม่เหมาะสมในอดีตก็เป็นได้ ดังนั้น บทความอาจได้รับการเสนอให้ลบหรือสร้างใหม่หลังมีการพิจารณาความโดดเด่นของบทความไปก่อนหน้านี้ ซึ่งนานเป็นเดือนหรือเป็นปี

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือกล่าวถึงบุคคลเพียงในบริบทของเหตุการณ์เดียว และถ้าบุคคลนั้น หรือมีแนวโน้มว่า ยังเป็นปัจเจกบุคคลที่ไม่เป็นที่สังเกต (low-profile) ต่อไป โดยทั่วไป เราควรหลีกเลี่ยงการมีบทความชีวประวัติเกี่ยวกับปัจเจกบุคคลนั้น

กรณีแวดล้อมทั่วไป

การส่งเสริมการขายหรือการเผยแพร่ข้อมูลโดยขาดการพิจารณา

แม้ว่าสื่อประเภทสิ่งตีพิมพ์จะถือเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แต่ในอีกมุมหนึ่ง ก็ไม่ใช่หลักฐานยืนยันความโดดเด่นของบทความได้เสมอไป:

วิกิพีเดียไม่ใช่สื่อกลางในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การนำเสนอตัวเอง สื่อที่ได้รับจ้างมา อัตชีวประวัติ และผลิตภัณฑ์วางตลาดไม่ใช่แนวทางที่ดีในการเขียนบทความสารานุกรม การวัดความโดดเด่นคือว่าที่มาของแหล่งอ้างอิงนั้นจะต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับหัวเรื่อง (หรือผู้ผลิต ผู้สร้าง นักประพันธ์ นักประดิษฐ์ หรือผู้ขาย) ซึ่งผู้ที่สร้างสื่อที่ใช้เป็นแหล่งข้อมูลนั้นจะพิจารณาว่าหัวเรื่องนั้นมีความสำคัญพอที่จะกล่าวถึงและตีพิมพ์เป็นผลงานที่ไม่ใช่เกร็ดเกี่ยวกับมุมมองที่พวกเขามีต่อหัวเรื่องนั้น โดยไม่มีสิ่งกระตุ้น การส่งเสริม หรืออิทธิพลจากผู้ที่เชื่อมโยงกับหัวเรื่อง

แหล่งข้อมูลที่เป็นกลางยังจำเป็นในการรับประกันว่าบทความนั้นจะเป็นบทความที่ปราศจากอคติ แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์ขึ้นเองไม่สามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นกลาง (ดูเพิ่มที่ ผลประโยชน์ทับซ้อน สำหรับแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียที่มีต่อความเป็นกลางของแหล่งข้อมูลเช่นนี้) แม้ว่าแหล่งข้อมูลตีพิมพ์เองที่ไม่ใช่การส่งเสริม อย่างเช่น คู่มือทางเทคนิคที่เป็นของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ก็ยังถือว่าไม่ใช่หลักฐานยืนยันความโดดเด่นของหัวเรื่อง เนื่องจากไม่ได้วัดว่าหัวเรื่องดังกล่าวได้รับความสนใจมากน้อยเพียงใด

เหตุการณ์

วิกิพีเดียไม่ใช่แหล่งข่าว: หัวเรื่องจะต้องเป็นมากกว่าการรายงานข่าวประจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งหรือหัวเรื่องจึงจะสามารถระบุได้ว่าเป็นการกล่าวถึงอย่างสำคัญ ตัวอย่างเช่น การนำเสนอข่าวในข่าวสำหรับหนังสือพิมพ์ การประกาศสาธารณะ รายงานข่าวกีฬา ไม่ใช่การกล่าวถึงอย่างสำคัญ การรายงานข่าวจำนวนมากที่ไม่ได้มีการวิเคราะห์เชิงวิจารณ์ (critical analysis) เกี่ยวกับเหตุการณ์ก็ไม่ถูกนับว่าเป็นการกล่าวถึงอย่างสำคัญทั้งหมด

ความโดดเด่นควรเป็นที่รู้จัก

สำหรับแนวปฏิบัติที่ได้รับการอภิปรายแล้วในวิกิพีเดียภาษาไทย การพิจารณาความโดดเด่นรวมไปถึงการตัดสินว่าหัวเรื่องนั้นมีผู้รู้จักจำนวนหนึ่งหรือไม่ กล่าวคือ ควรจะมีอย่างน้อย 0.01% (ประมาณ 10,000 คนขึ้นไป) ที่รับรู้ถึงหรือได้รับผลกระทบจากหัวเรื่อง กล่าวได้ว่าหัวเรื่องใดที่เป็นที่รู้จักกันในระดับประเทศหรือระดับโลกแล้ว ไม่ว่าในปัจจุบันหรือในอดีต หรือเคยตกเป็นข่าวดังมาก่อน ย่อมมีความเป็นไปได้มากว่าจะสามารถเขียนเป็นบทความบนวิกิพีเดียได้ ทั้งนี้ อาจพิจารณาจากการมีบทความในวิกิพีเดียภาษาอื่นเป็นเกณฑ์ได้ด้วยเช่นกัน

หัวเรื่องที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์หรือวัฒนธรรมมักจะผ่านเกณฑ์ด้านความโดดเด่น แต่ก็จะต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีความสำคัญอย่างไร

วิธีแก้ไขบทความที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข

สำหรับบทความในหัวเรื่องที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้นมักจะถูกลบ ถึงแม้ว่าจะมีทางเลือกอื่นอยู่บ้าง (เช่น อาจจะรวมไว้ในส่วนหนึ่งของบทความอื่นเช่น มือกลองของวงดนตรี เมื่อเขียนแยกบทความอาจจะไม่มีเนื้อหาเพียงพอ อาจจะเขียนรวมไว้ในบทความของวงดนตรีนั้น ๆ แทน) สำหรับบทความที่มีความโดดเด่นของบทความไม่ชัดเจน การลบควรจะเป็นทางเลือกสุดท้ายจริง ๆ

ถ้าบทความนั้นไม่มีแหล่งอ้างอิงแสดงความโดดเด่นของบทความเกี่ยวกับหัวเรื่อง ควรอาจดูแหล่งอ้างอิงด้วยตนเอง หรือ:

  • ถามผู้สร้างบทความหรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับหัวเรื่อง สำหรับข้อแนะนำว่าควรหาแหล่งอ้างอิงจากที่ใด
  • เพิ่มแม่แบบ {{ขาดความสำคัญ}} บนหัวบทความเพื่อเตือนผู้เขียนคนอื่น
  • หากบทความนั้นเป็นบทความเฉพาะด้าน อาจใช้แม่แบบ {{โปร}} เพื่อให้ผู้ใช้ที่มีความรู้ลึกในด้านนั้น ผู้ซึ่งอาจมีแหล่งอ้างอิงที่ไม่ได้อยู่บนอินเทอร์เน็ต

หากไม่มีแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมหลังจากได้ทำการสืบค้นแล้ว พิจารณารวมบทความเข้ากับเนื้อหาที่พิสูจน์ยืนยันได้ในแง่มุมที่กว้างขึ้นพร้อมกับอธิบายบริบท แต่ถ้าหากจะต้องลบ:

  • ถ้าบทความเข้ากับเงื่อนไขการลบทันทีอย่างใดอย่างหนึ่ง คุณสามารถแจ้งลบได้โดยอ้างเหตุผล ผู้ดูแลระบบอาจพิจารณาลบทันทีหรือรอ 7 วันหลังจากที่ได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาสักระยะหนึ่งแล้ว
  • หากบทความนั้นถูกติดป้ายเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน โดยไม่มีการแก้ไขปัญหานับตั้งแต่วันที่ติดป้าย สามารถแจ้งลบหรือผู้ดูแลระบบสามารถลบได้ทันที

ดูเพิ่ม