ภาษาไมถิลี (อักษรโรมัน: Maithili;[5] Maithilī, [ˈməi̯tʰɪli]) เป็นภาษาอินโด-อารยันในอนุทวีปอินเดีย ส่วนใหญ่พูดในประเทศอินเดียและเนปาล ในประเทศอินเดียมีผู้พูดในรัฐพิหารกับรัฐฌารขัณฑ์ และเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาที่ได้รับการยอมรับ[6][1][2] ส่วนในประเทศเนปาล มีผู้พูดในTeraiตะวันออกและเป็นภาษาที่แพร่หลายมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ[7][8] ในอดีต ภาษาไมถิลีเคยเขียนด้วยอักษรติรหุตา บางครั้งก็เขียนด้วยอักษรไกถีที่นิยมกันน้อยกว่า[9] ปัจจุบันภาษานี้เขียนด้วยอักษรเทวนาครี[10]

ภาษาไมถิลี
मैथिली, 𑒧𑒻𑒟𑒱𑒪𑒲
[[File:
|200px]]
ออกเสียง[ˈməi̯tʰɪli]
ประเทศที่มีการพูดประเทศอินเดียและประเทศเนปาล
ภูมิภาคมิถิลา[a]
ชาติพันธุ์ชาวไมถิลี
จำนวนผู้พูด33.9 ล้าน  (2000)[3]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
กลาง (Sotipura)
ใต้มาตรฐาน
ตะวันออก
ตะวันตก (Bajjika)
Chhika-Chhiki (Angika)
Jolaha
Kisan
ระบบการเขียนติรหุตา (มิถิลักษร) (อดีต)
อักษรไกถี (แบบไมถิลี) (อดีต)
อักษรเทวนาครี (ปัจจุบัน)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศอินเดีย อินเดีย (กำหนดรายการที่แปดของรัฐธรรมนูญอินเดีย)
ผู้วางระเบียบ
รหัสภาษา
ISO 639-2mai
ISO 639-3mai
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาไมถิลีในประเทศอินเดียและเนปาล

ประวัติ

แก้

คำว่าไมถิลีมาจากคำว่ามิถิลา อาณาจักรโบราณที่ปกครองโดยกษัตริย์ชนกะหรือท้าวชนกในเรื่องรามเกียรติ์ ไมถิลีนี้เป็นอีกชื่อหนึ่งของนางสีดา มเหสีของพระราม และเป็นธิดาของท้าวชนก นักวิชาการในมิถิลาใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาในวรรณคดีและใช้ภาษาไมถิลีเป็นภาษาสำหรับวรรณกรรมพื้นบ้าน งานที่ใช้ภาษาไมถิลีชิ้นแรกๆ พบเมื่อราว พ.ศ. 1867

เมื่อการปกครองของอาณาจักรปาละเสื่อมลง ศาสนาพุทธได้สาบสูญไป ในขณะที่มีการสถาปนาราชวงศ์กรณาฏกะในสมัยของหรสิมหเทวะ (พ.ศ. 1769–1867) กวีชื่อชโยติริสวระ ฐากูร (พ.ศ. 1823 – 1883) ได้เขียนเรื่องวรรณรัตนากรโดยใช้ภาษาไมถิลีล้วน ๆ ใน พ.ศ. 1867 ฆยาซุดดิน ตุฆลัก จักรพรรดิแห่งเดลฮีรุกรานมิถิลาขับไล่กษัตริย์หรสิมหเทวะ ในช่วงนี้ ไม่มีการสร้างวรรณกรรมใดๆ จนกระทั่ง วิทยาปติ ฐากูร (พ.ศ. 1903–1993) ได้เขียนบทกวีจำนวนมากด้วยภาษาไมถิลีเกี่ยวกับพระกฤษณะ พระศิวะ และพระปรวตี ซึ่งได้แพร่หลายไปทั่ว หลังจากการรุกรานมิถิลาโดยสุลต่านโชห์ปุร เดลฮี และการหายสาบสูญของศิวสิมหะ ใน พ.ศ. 1972 วรรณคดีของภาษานี้เปลี่ยนไปปรากฏที่เนปาล

การกล่าวถึงภาษาไมถิลีครั้งแรกปรากฏในหนังสือของอมาดุซซี ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2314 ในหนังสือรายชื่อภาษาสันสกฤตและปรากฤตของ Colebrooke ตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2344 ได้อธิบายภาษาไมถิลีเป็นอีกสำเนียงหนึ่งต่างหาก การใช้ภาษาไมถิลีส่วนมากเกี่ยวข้องกับระบำ ละคร และดนตรี อุมาปาตี อุปัธยะเขียนบทละครเรื่องปาริชาตัลด้วยภาษาไมถิลี

ภาษาแม่ของราชวงศ์มัลละคือภาษาไมถิลี ซึ่งแพร่กระจายไปทั่วเนปาลในพุทธศตวรรษที่ 21–22 ในช่วงนี้ มีละครอย่างน้อย 70 เรื่องที่เขียนด้วยภาษาไมถิลี ในละครเรื่องหริศจันทรันนิยัมที่เขียนโดยสิทธินรยัณเทวะ (พ.ศ. 2163–2200) ตัวละครบางตัวพูดภาษาไมถิลี ในขณะที่ตัวละครอื่น ๆ พูดภาษาเบงกอล สันสกฤตหรือปรากฤต

องค์กรเกี่ยวกับภาษาไมถิลีแห่งแรกคือไมถิลี มหสภา จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2453 เพื่อพัฒนาภาษาไมถิลี ไมถิลี มหสภาได้เรียกร้องให้มีการยอมรับภาษาไมถิลีเป็นภาษาประจำถิ่น มหาวิทยาลัยกัลกัตตายอมรับภาษาไมถิลีใน พ.ศ. 2460 และมีมหาวิทยาลัยอื่นยอมรับตามมา ใน พ.ศ. 2508 ภาษาไมถิลีได้รับการยอมรับจากสถาบันวิชาการสหิตยซึ่งเป็นสถาบันที่สนับสนุนวรรณคดีอินเดีย ใน พ.ศ. 2546 ภาษาไมถิลีได้รับการยอมรับจากสถาบันอินเดียให้เป็นภาษาหลักของอินเดีย ปัจจุบันเป็นหนึ่งในภาษาประจำชาติ 22 ภาษาของอินเดีย

บรรณานุกรม

แก้
  • George A. Grierson (1909). An Introduction to the Maithili dialect of the Bihari language as spoken in North Bihar. Calcutta: Asiatic Society.
  • Ramawatar Yadav. Maithili Language and Linguistics: Some Background Notes (PDF). University of Cambridge.

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "मैथिली लिपि को बढ़ावा देने के लिए विशेषज्ञों की जल्द ही बैठक बुला सकते हैं प्रकाश जावड़ेकर". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2018. สืบค้นเมื่อ 21 March 2018.
  2. 2.0 2.1 "मैथिली को भी मिलेगा दूसरी राजभाषा का दर्जा". Hindustan. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
  3. ภาษาไมถิลี ที่ Ethnologue (21st ed., 2018)  
  4. "झारखंड : रघुवर सरकार कैबिनेट से मगही, भोजपुरी, मैथिली व अंगिका को द्वितीय भाषा का दर्जा". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2018. สืบค้นเมื่อ 21 March 2018.
  5. "Maithili". Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005.
  6. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 27 June 2018.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  7. "Nepal". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 July 2018.
  8. Sah, K. K. (2013). "Some perspectives on Maithili". Nepalese Linguistics (28): 179–188.
  9. Brass, P. R. (2005). Language, Religion and Politics in North India. Lincoln: iUniverse. ISBN 0-595-34394-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2018. สืบค้นเมื่อ 1 April 2017.
  10. Yadava, Y. P. (2013). Linguistic context and language endangerment in Nepal. Nepalese Linguistics 28 เก็บถาวร 3 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: 262–274.
  1. รัฐพิหารตะวันออกและรัฐฌารขัณฑ์ตะวันตกเฉียงเหนือในอินเดีย;[1][2] รัฐมเธศและรัฐโกศี ในเนปาล)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้