พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

อดีตพระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (20 มีนาคม พ.ศ. 2280 — 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรีและเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 45 ตามประวัติศาสตร์ไทย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง อัฐศก จ.ศ. 1098 เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2280 (เมื่อเทียบปฏิทินสุริยคติแล้ว) ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมายุได้ 45 พรรษา และทรงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงรับการยกย่องเป็น 1 ใน 8 สมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในประเทศไทย พระองค์ทรงได้รับพระราชสมัญญานามว่าเป็น มหาราช เพราะทรงได้รับชัยชนะจากสงครามเก้าทัพ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระบรมสาทิสลักษณ์ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา[1]
ครองราชย์6 เมษายน พ.ศ. 2325 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352
ราชาภิเษก10 มิถุนายน พ.ศ. 2325
ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (อาณาจักรธนบุรี)
ถัดไปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระมหาอุปราช
กรมพระราชวังหลังสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์
สมุหนายกเจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน สนธิรัตน์)
สมุหพระกลาโหม
พระราชสมภพ20 มีนาคม พ.ศ. 2280
กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา
สวรรคต7 กันยายน พ.ศ. 2352 (72 พรรษา)
พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระราชวังหลวง กรุงเทพพระมหานคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์
ถวายพระเพลิงพ.ศ. 2354
พระเมรุมาศ ทุ่งพระเมรุ
บรรจุพระอัฐิหอพระธาตุมณเฑียร
คู่อภิเษกสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (สมรส ก่อน พ.ศ. 2305)
สนม
พระราชบุตร42 พระองค์
วัดประจำรัชกาล
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
พระราชมารดาพระอัครชายา (หยก)
ศาสนาเถรวาท
ช่วงเวลา
เหตุการณ์สำคัญ

พระราชประวัติ

พระราชสมภพ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2280 (วันที่ 20 เดือน 4 ตามปีจันทรคติ) ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งอาณาจักรอยุธยา พระองค์เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก กับพระอัครชายา (หยก) เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร) ครั้นพระชนมายุครบ 21 พรรษา ก็เสด็จออกผนวชเป็นภิกษุอยู่วัดมหาทลาย 1 พรรษา แล้วลาผนวชเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรดังเดิม เมื่อพระชนมายุได้ 25 พรรษา พระองค์เสด็จออกไปรับราชการที่เมืองราชบุรีในตำแหน่ง "หลวงยกกระบัตร" ในแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์[2] และได้สมรสกับคุณนาค (ภายหลังได้รับการสถาปนาที่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) ธิดาในตระกูลเศรษฐีมอญที่มีรกรากอยู่ที่บ้านอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม

  พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี
 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร
 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว


รับราชการในสมัยกรุงธนบุรี

ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองแก่กรุงอังวะแล้ว พระยาตาก (สิน) ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์และย้ายราชธานีมายังกรุงธนบุรี ในขณะนั้นนายทองด้วงมีอายุ 32 ปี ได้เข้าถวายตัวรับราชการตามคำชักชวนของพระมหามนตรี (บุญมา) ผู้เป็นน้องชาย โดยได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น พระราชริน (พระราชวรินทร์) เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา และย้ายมาอาศัยอยู่ที่บริเวณวัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2311 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จขึ้นไปตีเมืองพิมายซึ่งมีกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นเจ้าเมืองพิมายอยู่ พระราชรินและพระมหามนตรีได้รับพระราชโองการให้ยกทัพร่วมในศึกครั้งนี้ด้วย หลังจากการศึกในครั้งนี้ พระราชรินได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางพระตำรวจฝ่ายขวา เพื่อเป็นการปูนบำเหน็จที่มีความชอบในการสงครามครั้งนี้

หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพขึ้นไปปราบเจ้าพระฝางสำเร็จแล้ว มีพระราชดำริว่าเจ้าพระยาจักรี (หมุด) นั้นมิแกล้วกล้าในการสงคราม ดังนั้น จึงโปรดตั้งพระยาอภัยรณฤทธิ์ขึ้นเป็น พระยายมราช เสนาธิบดีกรมพระนครบาล โดยให้ว่าราชการที่สมุหนายกด้วย เมื่อเจ้าพระยาจักรี (หมุด) ถึงแก่กรรมแล้ว พระยาอภัยรณฤทธิ์จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาจักรี ที่สมุหนายก พร้อมทั้งโปรดให้เป็นแม่ทัพเพื่อไปตีกรุงกัมพูชา โดยสามารถตีเมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ เมืองบริบูรณ์ และเมืองพุทไธเพชร (เมืองบันทายมาศ) ได้ เมื่อสิ้นสงครามสมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดให้นักองค์รามาธิบดีไปครองเมืองพุทไธเพชรให้เป็นใหญ่ในกรุงกัมพูชา และมีพระดำรัสให้เจ้าพระยาจักรีและพระยาโกษาธิบดีอยู่ช่วยราชการที่เมืองพุทไธเพชรจนกว่าเหตุการณ์จะสงบราบคาบก่อน

เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพทำราชการสงครามกับพม่า เขมร และลาว จนมีความชอบในราชการมากมาย ดังนั้น จึงได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิฤกมหิมา ทุกนัครระอาเดช นเรศรราชสุริยวงษ์ องค์อรรคบาทมุลิกากร บวรรัตนบรินายก และได้รับพระราชทานเสลี่ยงงากลั้นกลดและมีเครื่องทองต่าง ๆ เป็นเครื่องยศเสมอเจ้าต่างกรม[3][4]

เดือนมีนาคม พ.ศ 2324 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดเกล้าให้พระยาสรรค์แต่งทัพไปปราบกบฎ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้ากับกบฎและนำทัพเข้ายึดกรุงในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2324 พระยาสรรค์ได้กราบทูลให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสละราชสมบัติและออกผนวช ซึ่งพระองค์ยอมทำตามในวันที่ 10 มีนาคม พระยาสรรค์ครองเมืองได้ราวสองสัปดาห์ก็ถูกปราบโดยทัพของพระยาสุริยอภัย พระยาสุริยอภัยจับภิกษุตากสึกและขังไว้ หลังสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ยกทัพกลับจากกัมพูชามาถึงกรุงธนบุรีและได้สำเร็จโทษบรรดากบฎแล้ว ก็ดำริว่า เหตุแห่งกบฎคือพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน สมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้พิพากษาโทษอดีตพระเจ้าตากดังความ:

ตัวเป็นเจ้าแผ่นดินใช้เราไปกระทำการสงครามได้ความลำบากกินเหื่อต่างน้ำ เราก็อุตสาหะกระทำศึกมิได้อาลัยแก่ชีวิต คิดแต่จะทำนุบำรุงแผ่นดินให้สิ้นเสี้ยนหนาม จะให้สมณพราหมณาจารย์และไพร่ฟ้าประชากรอยู่เย็นเป็นสุขสิ้นด้วยกัน ก็เหตุไฉนอยู่ภายหลังตัวจึงเอาบุตรภรรยาเรามาจองจำทำโทษ แล้วโบยตีพระภิกษุสงฆ์ และลงโทษแก่ข้าราชการและอาณาประชาราษฎร เร่งเอาทรัพย์สินโดยพลการด้วยหาความผิดมิได้ กระทำให้แผ่นดินเดือดร้อนทุกเส้นหญ้า ทั้งพระพุทธศาสนาก็เสื่อมทรุดเศร้าหมองดุจเมืองมิจฉาทิฐิฉะนี้[5]

— สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ต่อว่านายสิน

ต่อมานายสินถูกนำตัวไปประหารด้วยการตัดศีรษะ[6]

ปราบดาภิเษก

 
พระปฐมบรมราชานุสรณ์ ทรงประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ในการพระราชพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325

ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 หลังจากได้สำเร็จโทษพระเจ้าตากสินแล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ขณะที่มีพระชนมายุได้ 46 พรรษา พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีราชธานีเดิมที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระองค์โปรดให้สร้างพระราชวังหลวงและโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หลังจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉลองสมโภชพระนครเป็นเวลา 3 วัน ครั้งเสร็จการฉลองพระนครแล้ว พระองค์พระราชทานนามพระนครแห่งใหม่ให้ต้องกับนามพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" หรือเรียกอย่างสังเขปว่า "กรุงเทพมหานคร"

สวรรคต

 
จิตรกรรมฝาผนังในวัดอัมพวันเจติยารามแสดงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระองค์

หลังจากการฉลองวัดพระแก้วแล้ว ก็ประชวรทรงพระโสภะอยู่ 3 ปี[7] พระอาการทรุดลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่ง เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ รวมพระชนมพรรษาได้ 73 พรรษา เสด็จอยู่ในราชสมบัติ 27 ปี

พระบรมศพถูกเชิญลงสู่พระลองเงินประกอบด้วยพระโกศทองใหญ่แล้วเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ภายใต้พระมหาเศวตฉัตร ตั้งเครื่องสูงและเครื่องราชูปโภคเฉลิมพระเกียรติยศตามโบราณราชประเพณี พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม โคมกลองชนะตามเวลา ดังเช่นงานพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยาทุกประการ จนกระทั่ง พ.ศ. 2354 พระเมรุมาศซึ่งสร้างตามแบบพระเมรุมาศสำหรับพระเจ้าแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยาได้สร้างแล้วเสร็จ จึงเชิญพระบรมโกศจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้นประดิษฐาน ณ พระเมรุมาศ แล้วจักให้มีการสมโภชพระบรมศพเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน จึงถวายพระเพลิงพระบรมศพ หลังจากนั้น มีการสมโภชพระบรมอัฐิและบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อแล้วเสร็จจึงเชิญพระบรมอัฐิประดิษฐาน ณ หอพระธาตุมณเฑียร ภายในพระบรมมหาราชวัง ส่วนพระบรมราชสรีรางคารเชิญไปลอยบริเวณหน้าวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร

พระราชกรณียกิจ

 
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทภายในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงบัญชาให้สร้างพระราชวังขึ้นในปี พ.ศ. 2325 เพื่อเป็นศูนย์กลางของเมืองหลวง
 
ณ ห้องบรรทมของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ณ พระที่นั่งจักรีพิมานภายในพระบรมมหาราชวัง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร (หรือกรุงรัตนโกสินทร์) เป็นราชธานี และทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีปกครองราชอาณาจักรไทยเมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 (วันจักรี) ภายหลังการเสด็จเสวยราชย์แล้ว พระองค์ทรงมีพระราชกรณีกิจที่สำคัญยิ่ง คือ การป้องกันราชอาณาจักรให้ปลอดภัยและทรงฟื้นฟูวัฒนธรรมไทยอันเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและอยุธยา การที่ไทยสามารถปกป้องการรุกรานของข้าศึกจนประสบชัยชนะทุกครั้ง แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของพระองค์ในการบัญชาการรบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามกับพม่าใน พ.ศ. 2328 ที่เรียกว่า "สงครามเก้าทัพ" นอกจากนี้พระองค์ยังพบว่ากฎหมายบางฉบับที่ใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาไม่มีความยุติธรรม จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการตรวจสอบกฎหมายที่มีอยู่ทั้งหมด เสร็จแล้วให้เขียนเป็นฉบับหลวง 3 ฉบับ ประทับตราราชสีห์ คชสีห์ และบัวแก้วไว้ทุกฉบับ เรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง" สำหรับใช้เป็นหลักในการปกครองบ้านเมือง

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

 
ภาพวาดบนฝาผนังแสดงเรื่องราวของกรุงรัตนโกสินทร์ ณ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี

พระราชกรณียกิจประการแรกที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงจัดทำเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ คือการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีใหม่ ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา แทนกรุงธนบุรี ด้วยเหตุผลทางด้านยุทธศาสตร์ เนื่องจากกรุงธนบุรีตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำ ทำให้การลำเลียงอาวุธยุทธภัณฑ์ และการรักษาพระนครเป็นไปได้ยาก อีกทั้งพระราชวังเดิมมีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถขยายได้ เนื่องจากติดวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารและวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร ส่วนทางฝั่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้นมีความเหมาะสมกว่าตรงที่มีพื้นแผ่นดินเป็นลักษณะหัวแหลม มีแม่น้ำเป็นคูเมืองธรรมชาติ มีชัยภูมิเหมาะสม และสามารถรับศึกได้เป็นอย่างดี

 
จิตรกรรม ภาพวาดเรื่องรามเกียรติ์ ฝาผนังวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

การสร้างราชธานีใหม่นั้นใช้เวลาทั้งสิ้น 3 ปี โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล จ.ศ. 1144 ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 และโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างพระบรมมหาราชวังสืบทอดราชประเพณี และสร้างพระอารามหลวงในเขตพระบรมมหาราชวังตามแบบกรุงศรีอยุธยา ซึ่งการสร้างเมืองและพระบรมมหาราชวังเป็นการสืบทอดประเพณี วัฒนธรรม และศิลปกรรมดั้งเดิมของชาติ ซึ่งปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้พระราชทานนามแก่ราชธานีใหม่นี้ว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์" นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างสิ่งต่าง ๆ อันสำคัญต่อการสถาปนาราชธานีได้แก่ ป้อมปราการ, คลอง ถนนและสะพานต่าง ๆ มากมาย

การป้องกันราชอาณาจักร

 
ภาพด้านหลังธนบัตรไทยชนิดราคา 500 บาท (ชุดที่ 16) รูปพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระปรีชาสามารถในการรบ ทรงเป็นผู้นำทัพในการทำสงครามกับพม่าทั้งหมด 7 ครั้งในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่

สงครามครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดระหว่างไทยกับพม่าส่งคือ สงครามเก้าทัพ โดยในครั้งนั้นพระเจ้าปดุงแห่งราชวงศ์อลองพญาของพม่า มีพระประสงค์จะเพิ่มพูนพระเกียรติยศและชื่อเสียงให้ขจรขจายด้วยการกำราบอาณาจักรสยาม จึงรวบรวมไพร่พลถึง 144,000 คน กรีธาทัพจะเข้าตีกรุงรัตนโกสินทร์ โดยแบ่งเป็น 9 ทัพใหญ่ เข้าตีจากกรอบทิศทาง ส่วนทัพของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีกำลังเพียงครึ่งหนึ่งของทหารพม่าคือมีเพียง 70,000 คนเศษเท่านั้น

 
อนุสาวรีย์ฯ ต้นแบบ ในหอประติมากรรมต้นแบบ ผู้ทรงเป็นวีรสตรีในศึกเมืองถลางในสงครามเก้าทัพ

ด้วยพระปรีชาสามารถในการทำสงคราม ได้ทรงให้ทัพของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทไปสกัดทัพพม่าที่บริเวณทุ่งลาดหญ้า ทำให้พม่าต้องชะงักติดอยู่บริเวณช่องเขา แล้วทรงสั่งให้จัดทัพแบบกองโจรออกปล้นสะดม จนทัพพม่าขัดสนเสบียงอาหาร เมื่อทัพพม่าบริเวณทุ่งลาดหญ้าแตกพ่ายไปแล้วสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทจึงยกทัพไปช่วยทางอื่น และได้รับชัยชนะตลอดทุกทัพตั้งแต่เหนือจรดใต้

  • สงครามครั้งที่ 2 พ.ศ. 2329 สงครามท่าดินแดงและสามสบ

ในสงครามครั้งนี้ ทัพพม่าเตรียมเสบียงอาหารและเส้นทางเดินทัพอย่างดีที่สุด โดยแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ จากศึกครั้งก่อน โดยพม่าได้ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ มาตั้งค่ายอยู่ที่ท่าดินแดงและสามสบ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงยกทัพหลวงเข้าตีพม่าที่ค่ายดินแดงพร้อมกับให้ทัพของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเข้าตีค่ายพม่าที่สามสบ หลังจากรบกันได้ 3 วันค่ายพม่าก็แตกพ่ายไปทุกค่าย และพระองค์ยังได้ทำสงครามขับไล่อิทธิพลของพม่าได้โดยเด็ดขาด และตีหัวเมืองต่าง ๆ ขยายราชอาณาเขต ทำให้ราชอาณาจักรสยามมีอาณาเขตกว้างใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ดินแดนล้านนา ไทใหญ่ สิบสองปันนา หลวงพระบาง เวียงจันทน์ เขมร และด้านทิศใต้ไปจนถึงเมืองกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะลิส และเปรัก

 
พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์แรกแห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนที่เข้ารับราชการสงครามจนรบชนะพม่าจนมีบำเหน็จความดีความชอบเป็นพิเศษ

หลังจากที่พม่าพ่ายแพ้แก่สยาม ก็ส่งผลทำให้เมืองขึ้นทั้งหลายของพม่า เช่น เมืองเชียงรุ้งและเชียงตุง เกิดกระด้างกระเดื่อง ตั้งตนเป็นอิสระ พระเจ้าปดุงจึงสั่งให้ยกทัพมาปราบปราม รวมถึงเข้าตีลำปางและป่าซาง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทราบเรื่องจึงสั่งให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทคุมไพร่พล 6,000 นาย มาช่วยเหลือและขับไล่พม่าไปเป็นผลสำเร็จ

  • สงครามครั้งที่ 4 พ.ศ. 2330 สงครามตีเมืองทวาย

ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เกณฑ์ไพร่พล 20,000 นาย ยกทัพไปตีเมืองทวาย แต่สงครามครั้งนี้ไม่มีการรบพุ่ง เพราะต่างฝ่ายต่างก็ขาดแคลนเสบียงอาหาร รี้พลก็บาดเจ็บจึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ถอยทัพกลับกรุงเทพ

  • สงครามครั้งที่ 5 พ.ศ. 2336 สงครามตีเมืองพม่า

ในครั้งนั้นเมืองทวาย ตะนาวศรี และมะริด ได้เข้ามาขอสวามิภักดิ์ต่อไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ยกทัพไปช่วยป้องกันเมือง แต่เมื่อพระเจ้าปดุงยกทัพมาปราบปรามเมืองทั้งสามก็หันกลับเข้ากับทางพม่าอีก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ถอยทัพกลับกรุงเทพฯ

  • สงครามครั้งที่ 6 พ.ศ. 2340 สงครามพม่าที่เมืองเชียงใหม่

เนื่องจากสงครามในครั้งก่อน ๆ พระเจ้าปดุงไม่สามารถตีหัวเมืองล้านนาได้ จึงทรงรับสั่งไพร่พล 55,000 นาย ยกทัพมาอีกครั้งโดยแบ่งเป็น 7 ทัพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึง โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทคุมไพร่พล 20,000 นาย ขึ้นไปรวมไพร่พลกับทางเหนือเป็น 40,000 นาย ระดมตีค่ายพม่าเพียงวันเดียวเท่านั้นทัพพม่าก็แตกพ่ายยับเยิน

  • สงครามครั้งที่ 7 พ.ศ. 2346 สงครามพม่าที่เมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ 2

ในครั้งนั้นพระเจ้ากาวิละได้ยกทัพไปตีเมืองสาด หัวเมืองขึ้นของพม่า พระเจ้าปดุงจึงยกทัพลงมาตีเมืองเชียงใหม่เพื่อแก้แค้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงทราบ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไปช่วยเหลือ และสงครามครั้งนี้ก็จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายไทย

พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 
พระราชลัญจกร
การทูลใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้าขอรับ/เพคะ

พระบรมราชอิสริยยศ

  • ทองด้วง (20 มีนาคม พ.ศ. 2279 - พ.ศ. 2311)
  • พระราชริน (พระราชวรินทร์) (พ.ศ. 2311)
  • พระยาอภัยรณฤทธิ์ (พ.ศ. 2311 - พ.ศ. 2313)
  • พระยายมราช (พ.ศ. 2313 - พ.ศ. 2317)
  • เจ้าพระยาจักรี (พ.ศ. 2317 - สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี)
  • สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิฤกมหิมา ทุกนัครระอาเดช นเรศรราชสุริยวงษ์ องค์อรรคบาทมุลิกากร บวรรัตนบรินายก "เสมอที่เจ้าพระยามหาอุปราช"(สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี - 6 เมษายน พ.ศ. 2325)
  • พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณอขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร์ โลกเชฏฐวิสุทธิ์ รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว (6 เมษายน พ.ศ. 2325 - 7 กันยายน พ.ศ.2352)

ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 3

  • พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (สมัยรัชกาลที่ 3 - สมัยรัชกาลที่ 4)

ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 4

  • พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (สมัยรัชกาลที่ 4 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459)

ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 6

  • พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 - สมัยรัชกาลที่ 7)

ภายหลังการสวรรคตในรัชกาลที่ 7

  • พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (สมัยรัชกาลที่ 7 - ปัจจุบัน)

พระพุทธรูปประจำพระองค์

 
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร
 
พระพุทธรูปประจำรัชกาล
 
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรตามวันพระบรมราชสมภพ สร้างราว พ.ศ. ๒๔๑๐-๒๔๑๑ สร้างด้วยทองคำ บาตรลงยา สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงอุทิศพระราชกุศลถวายพระบรมอัยกาธิราช สูง 29.50 เซนติเมตร ประดิษฐานในหอพระสุราลัยพิมาน พระพุทธรูปประจำรัชกาล เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ภายใต้พระเศวตฉัตร ๓ ชั้น สร้างราว พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔ หน้าตักกว้าง ๘.๓ ซ.ม. สูงเฉพาะองค์พระ ๑๒.๕ ซ.ม. สูงรวม ๔๖.๕ ซ.ม. ประดิษฐานในหอพระสุราลัยพิมาน

พระปรมาภิไธย

 
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 1 รูปอุณาโลม ผูกตรานี้ขึ้นในวโรกาสกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี

เมื่อพระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว พระองค์มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณอขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร์ โลกเชฏฐวิสุทธิ์ รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูร บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว"[8]

เนื่องจากพระปรมาภิไธยที่จารึกลงในพระสุพรรณบัฏนี้เป็นพระปรมาภิไธยเดียวกับพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง), สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) และสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ดังนั้น พระองค์จึงเป็น "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4"[9]

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ออกพระนามรัชกาลที่ 1 ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตามนามของพระพุทธรูปที่ทรงสร้างอุทิศถวาย[10] และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เพิ่มพระปรมาภิไธยแก่สมเด็จพระบรมอัยกาธิราชจารึกลงในพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ นเรศวราชวิวัฒนวงศ์ ปฐมพงศาธิราชรามาธิบดินทร์ สยามพิชิตินทรวโรดม บรมนารถบพิตร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก"[9]

หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการเฉลิมพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1[11]

ในวาระการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี รัฐบาลได้จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2525 ในการนี้รัฐบาลและปวงชนชาวไทยพร้อมใจกันเฉลิมพระเกียรติพระองค์โดยถวายพระราชสมัญญา "มหาราช" ต่อท้ายพระปรมาภิไธย ออกพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"[12][13]

พระราชลัญจกร

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 1 เป็นตรางารูป "ปทุมอุณาโลม" หรือ "มหาอุณาโลม" หมายถึง ตาที่สามของพระศิวะ ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์ในการตั้งพระบรมราชจักรีวงศ์ มีอักขระ "อุ" แบบอักษรขอมอยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็นดอกไม้ที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา

ตราอุณาโลมที่ใช้ตีประทับบนเงินพดด้วงมีรูปร่างคล้ายสังข์ทักษิณาวรรต หรือ สังข์เวียนขวา มีลักษณะเป็นม้วนกลมคล้ายลักษณะความหมายของพระนามเดิมว่า "ด้วง" อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2328 ในคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[14][15]

พระราชสันตติวงศ์

เมื่อครั้งที่ทรงดำรงตำแหน่งหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสมรสกับคุณนาค ธิดาของคหบดีใหญ่ในตระกูลบางช้าง (ดู ณ บางช้าง) โดยมีพระราชโอรสสองพระองค์หนีราชภัยมาตั้งถิ่นฐานที่แขวงบางช้าง เมืองราชบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสงคราม) ต่อมาเมื่อขึ้นครองราชย์ แม้จะมิได้โปรดให้สถาปนายกย่องขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่คนทั้งปวงก็เข้าใจว่าท่านผู้หญิงนาค เอกภรรยาดั้งเดิมนั้นเองที่อยู่ในฐานะสมเด็จพระอัครมเหสี จึงพากันขนานพระนามว่า สมเด็จพระพันวษา หรือสมเด็จพระพรรษา ตามอย่างการขนานพระนามสมเด็จพระอัครมเหสีตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯ ให้เฉลิมพระนามเป็นสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น 42 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่สมเด็จพระพันวษา พระอัครมเหสี 10 พระองค์

เรียงตามพระประสูติกาล

ประสูตินอกพระมหาเศวตฉัตร
พระนาม พระมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์ พระชันษารวม
1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าชาย
(ไม่ปรากฏพระนาม)
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พ.ศ. 2302 พ.ศ. 2309 7 พรรษา
2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิง
(ไม่ปรากฏพระนาม)
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พ.ศ. 2303 พ.ศ. 2310 7 พรรษา
3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พ.ศ. 2304 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2322 18 พรรษา
4. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 56 พรรษา
5. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พ.ศ. 2313 7 สิงหาคม พ.ศ. 2351 38 พรรษา
6. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิง
(ไม่ปรากฏพระนาม)
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พ.ศ. 2314 พ.ศ. 2320 6 พรรษา
7. สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี 29 มีนาคม พ.ศ. 2316 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360 44 พรรษา
8. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิง
(ไม่ปรากฏพระนาม)
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พ.ศ. 2317 พ.ศ. 2321 4 พรรษา
9. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี 14 มกราคม พ.ศ. 2320 23 สิงหาคม พ.ศ. 2326 46 พรรษา
10. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทักษ์เทวา เจ้าจอมมารดาภิมสวน พ.ศ. 2321 พ.ศ. 2363 42 พรรษา
ประสูติเมื่อเสด็จปราบดาภิเษกแล้ว
11. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านุ่ม เจ้าจอมมารดาปุย พ.ศ. 2326 พ.ศ. 2386 60 พรรษา
12. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอินทรพิพิธ เจ้าจอมมารดาจัน พ.ศ. 2326 2 มิถุนายน พ.ศ. 2363 37 พรรษา
13. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง เจ้าจอมมารดาดวง พ.ศ. 2327 พ.ศ. 2328 1 พรรษา
14. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผะอบ เจ้าจอมมารดาภิมสวน พ.ศ. 2327 พ.ศ. 2350 23 พรรษา
15. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพลับ เจ้าจอมมารดาคุ้ม พ.ศ. 2328 พ.ศ. 2409 81 พรรษา
16. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงเทพพลภักดิ์ เจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว
ธิดาพระยาจักรี เมืองนครศรีธรรมราช
23 สิงหาคม พ.ศ. 2328 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2381 52 พรรษา
17. สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่
ธิดาเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) กับท่านผู้หญิงชุ่ม (ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่เมืองนคร)
21 ตุลาคม พ.ศ. 2328 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 46 พรรษา
18. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นจิตรภักดี เจ้าจอมมารดาน้อย
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2330 12 เมษายน พ.ศ. 2368 38 พรรษา
19. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธิดา เจ้าจอมมารดาเอม
พ.ศ. 2330 พ.ศ. 2381 51 พรรษา
20. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ เจ้าจอมมารดาพุ่ม
ธิดาเจ้าพระยาวิเศษสุนทร (นาค นกเล็ก)
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2331 31 ธันวาคม พ.ศ. 2359 28 พรรษา
21. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจงกล เจ้าจอมมารดาตานี
ธิดาเจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค)
ปีวอกสัมฤทธิศก จ.ศ. 1150 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 -
22. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศร เจ้าจอมมารดาเพ็งใหญ่
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2332 วันอาทิตย์ เดือนอ้าย ขึ้น 7 ค่ำ ปีขาลฉศก
จ.ศ.1216
66 พรรษา
23. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกสร เจ้าจอมมารดาประทุมา
พ.ศ. 2332 พ.ศ. 2360 28 พรรษา
24. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณฑา เจ้าจอมมารดานิ่ม
ปีจอโทศก จ.ศ. 1152 วันพฤหัสบดีเดือน 8 อุตราสาฒ ขึ้น 11 ค่ำ
ปีระกาตรีศก จ.ศ. 1223
72 พรรษา
25. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณี เจ้าจอมมารดาอู่
ธิดาพระยาเพชรบุรี (บุญรอด)
พ.ศ. 2333 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2408 75 พรรษา
26. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงสุดา เจ้าจอมมารดาน้อย
พ.ศ. 2333 พ.ศ. 2410 77 พรรษา
27. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรจั่น (บางแห่งว่า พระองค์เจ้าสุมาลี) เจ้าจอมมารดาอิ่ม ภายหลังได้เป็น ท้าววรจันทร์ฯ มีหน้าที่บังคับบัญชาท้าวนางทั่วทั้งพระราชวัง
ธิดาเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุล)
ปีจอโทศก จ.ศ. 1152 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 -
28. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เจ้าจอมมารดาจุ้ย
ธิดาพระราชาเศรษฐี
วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น 5 ค่ำ ปีจอโทศก
จ.ศ. 1152
วันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น 8 ค่ำ ปีฉลูเบญจศก
จ.ศ. 1214
64 พรรษา
29. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ เจ้าจอมมารดาตานี (เจ้าคุณวัง) ธิดาเจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) เกิดแต่ท่านผู้หญิงเดิมที่ถูกโจรฆ่าตายไปเมื่อครั้งกลับไปขนทรัพย์สมบัติที่ฝังไว้กลับมาจากกรุงเก่า วันอังคาร เดือน 3 ขึ้น 5 ค่ำ ปีจอโทศก
จ.ศ. 1152
วันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 6 ค่ำ ปีขาลโทศก
จ.ศ. 1192
40 พรรษา
30. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ สุขวัฒนวิไชย เจ้าจอมมารดานวล
วันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุนตรีศก
จ.ศ. 1153
วันเสาร์ เดือนอ้าย แรม 2 ค่ำ ปีฉลูเบญจศก จ.ศ. 1215 63 พรรษา
31. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุบล เจ้าจอมมารดาทอง
ธิดาในท้าวเทพกระษัตรี วีรสตรีแห่งเมืองถลาง
วันศุกร์ เดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุนตรีศก
จ.ศ. 1153
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 -
32. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉิมพลี เจ้าจอมมารดางิ้ว
ปีกุน ตรีศก จ.ศ. 1153 วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีมะเส็งนพศก จ.ศ. 1219 67 พรรษา
33. หม่อมไกรสร เจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว
วันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีกุนตรีศก
จ.ศ. 1153
วันพุธ เดือนอ้าย แรม 3 ค่ำ ปีวอกสัมฤทธิศก จ.ศ.1210 57 พรรษา
34. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศรีสุเทพ เจ้าจอมมารดาเพ็งใหญ่
30 มิถุนายน พ.ศ. 2335 พ.ศ. 2391 56 พรรษา
35. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ เจ้าจอมมารดาปาน
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2335 13 กันยายน พ.ศ. 2389 54 พรรษา
36. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิธร เจ้าจอมมารดาฉิมแมว
ซึ่งเป็นธิดาท้าววรจันทร์ (แจ่ม)
ปีขาลฉศก จ.ศ. 1156 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 -
37. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเรไร เจ้าจอมมารดาป้อม (ป้อมสีดา)
ธิดาพระยารัตนจักร (หงส์ทอง)
ปีเถาะสัปตศก จ.ศ. 1157 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1 -
38. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระษัตรี เจ้าจอมมารดานวม
ปีมะโรงอัฐศก จ.ศ. 1158 ปีชวดอัฐศก จ.ศ. 1178 20 พรรษา
39. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี (พระนามเดิม พระองค์เจ้าจันทบุรี) เจ้าจอมมารดาทองสุก
พระธิดาพระเจ้าอินทวงศ์ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเวียงจันทน์ซึ่งเป็นเจ้าประเทศราชขณะนั้น
ปีมะเมียสัมฤทธิศก จ.ศ. 1160 วันเสาร์ เดือน 4 ขึ้น 3 ค่ำ ปีจอสัมฤทธิศก
จ.ศ. 1200
41 พรรษา
40. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไกรสรวิชิต เจ้าจอมมารดากลิ่น
ธิดาพระยาพัทลุง (ขุน)
วันพุธ เดือน 8 บุรพาสาฒ ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก จ.ศ. 1160 วันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม 10 ค่ำ ปีมะเมียนพศก จ.ศ. 1209 49 พรรษา
41. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุภาธร เจ้าจอมมารดาเพ็งเล็ก
พระธิดาพระเจ้านันทเสน พระเจ้าเวียงจันทน์
ปีมะเมียสัมฤทธิศก จ.ศ. 1160 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 41 พรรษา
42. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุด เจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่
ธิดาพระยาพัทลุง (ขุน)
ปีมะแมเอกศก จ.ศ. 1161 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 49 พรรษา

ลำดับประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ. 2279 (นับแบบปัจจุบัน พ.ศ. 2280)
  • 20 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชสมภพที่กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระนามเดิม ทองด้วง
พ.ศ. 2310
  • 7 เมษายน อาณาจักรอยุธยา เสียกรุงครั้งที่ 2 ขณะนั้นทรงรับราชการเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์
พ.ศ. 2311
พ.ศ. 2317
  • เลื่อนอิสริยยศเป็น เจ้าพระยาจักรี อันเป็นที่มาของชื่อราชวงศ์จักรี ที่สืบทอดจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2319
  • ทรงได้รับการเลื่อนอิสริยยศเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิฤกมหิมา ทุกนัครระอาเดช นเรศรราชสุริยวงษ์ องค์อรรคบาทมุลิกากร บวรรัตนบรินายก "เสมอที่เจ้าพระยามหาอุปราช"
พ.ศ. 2325
พ.ศ. 2326
  • กำหนดระเบียบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
  • ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอุณรุท
  • เริ่มงานสร้างพระนคร ขุดคูเมืองทางฝั่งตะวันออก สร้างกำแพงและป้อมปราการรอบพระนคร
  • สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พ.ศ. 2327
  • โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร จากหอพระแก้วในพระราชวังเดิม แห่ข้ามมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถในพระราชวังใหม่ พระราชทานนามพระอารามว่า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
  • โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาชิงช้า
  • สงครามเก้าทัพ พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าทรงกรีธาทัพเข้ามาตีเมืองไทยตั้งแต่เหนือจดใต้ รวม 9 ทัพ กองทัพไทยตีกองทัพพม่าแตกพ่ายยับเยินไปทุกทัพ
พ.ศ. 2328
  • งานสร้างพระนครและปราสาทราชมณเฑียรสำเร็จเสร็จสิ้น
  • พระราชทานนามของราชธานีใหม่
พ.ศ. 2329
พ.ศ. 2330
  • องเชียงสือเขียนหนังสือขอถวายบังคมลา ลอบหนีไปกู้บ้านเมือง
  • อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานภายในพระราชวังบวรสถานมงคล
พ.ศ. 2331
พ.ศ. 2333
  • องเชียงสือกู้บ้านเมืองสำเร็จและจัดต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองมาถวาย
พ.ศ. 2337
พ.ศ. 2338
พ.ศ. 2339
  • งานสมโภชพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
พ.ศ. 2340
พ.ศ. 2342
พ.ศ. 2344
พ.ศ. 2345
พ.ศ. 2347
พ.ศ. 2349
พ.ศ. 2350
พ.ศ. 2352
  • ได้ริเริ่มให้มีการสอนพระปริยัติธรรมในพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนตามวังเจ้านายและบ้านเรือนของข้าราชการผู้ใหญ่ ทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้เรียบร้อย โปรดเกล้าฯให้มีการสอบพระปริยัติธรรม
  • เสด็จสวรรคต

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

มีนักแสดงผู้รับบท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้แก่

พงศาวลี

แผนผัง

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  (1)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
 
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 (2)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 (3)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 (4)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าปิ๋ว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าโสมนัส
 
 (5)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
 
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
 
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์
 
 (6)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
 
สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
 
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
 
 (7)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 (8)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
 
 (9)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 (10)
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. ""สยาม" ถูกใช้เรียกชื่อประเทศเป็นทางการสมัยรัชกาลที่ 4". ศิลปวัฒนธรรม. 6 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. เทศนาพระราชประวัติและพงศาวดารกรุงเทพฯ, หน้า 5-7
  3. ปฐมวงศ์ (พระบรมราชมหาจักรีกษัตริย์สยาม), หน้า 41-42
  4. พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 131-132
  5. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒, น. ๔๕๑.
  6. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2548, หน้า 230
  7. นรินทรเทวี, พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวง, และ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. จดหมายเหตุความทรงจำ ของ กรมหลวงนรินทรเทวี (พ.ศ. 2310-2381) และพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : [ม.ป.พ.], 2526. 350 หน้า. หน้า 325. ISBN 974-7922-12-6
  8. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ตอนที่ ๒ พระราชพิธีปราบดาภิเษก". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 9.0 9.1 จุลลดา ภักดีภูมินทร์, สร้อยพระนาม เก็บถาวร 2009-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2622, ปีที่ 51, ประจำวันอังคารที่ 18 มกราคม 2548
  10. โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 15.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระปรมาภิไธย, เล่ม ๓๓, ตอน ๐ก, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๒๑๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๔/๒๕๒๕ พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ ๒๐๐ ปี เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๕, เล่ม ๙๙, ตอน ๔๘ ง ฉบับพิเศษ, ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕, หน้า ๑
  13. พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตน์โกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี และพระราชพิธีสมโภชหลักเมือง เก็บถาวร 2012-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักงานส่งเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, เข้าถึงวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554
  14. พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑ เก็บถาวร 2009-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, หอมรดกไทย, เข้าถึงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554
  15. พระราชลัญจกรประจำรัชกาล, สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง, เข้าถึงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554
บรรณานุกรม
ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ถัดไป
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี    
พระมหากษัตริย์ไทย
(6 เมษายน พ.ศ. 2325 – 7 กันยายน พ.ศ. 2352)
  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี   กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี
(22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2342 – 7 กันยายน พ.ศ. 2352)
  พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี