สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2[1] เป็นกษัตริย์สุโขทัยตั้งแต่ พ.ศ. 2028 และกษัตริย์อยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2034 ถึง พ.ศ. 2072[2][3] รัชสมัยของพระองค์แสดงถึงการติดต่อกับชาติตะวันตกเป็นครั้งแรกกับชาวโปรตุเกส[4]: 242
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 | |
---|---|
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2034 - 2072 (38 ปี) |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 |
ถัดไป | สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 |
พระมหาอุปราช | พระอาทิตยวงศ์ |
พระราชสมภพ | พ.ศ. 2015 พิษณุโลก |
สวรรคต | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2072
(57 พรรษา) กรุงศรีอยุธยา |
ราชวงศ์ | สุพรรณภูมิ |
พระราชบิดา | สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ |
พระราชประวัติ
แก้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 มีพระนามเดิมว่าพระเชษฐาธิราชเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกับพระราชชนนีจากราชวงศ์พระร่วง[5] พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ระบุว่าทรงพระราชสมภพเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2015[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2027 ทรงผนวชพร้อมกับพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 เมื่อทรงลาผนวชในปีถัดมา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้สถาปนาพระองค์ไว้ที่พระมหาอุปราช[7] ทรงพระนามว่าพระเอกสัตราช[8]
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2031 พระเอกสัตราชยังคงประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2034 จึงเสด็จมาเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยาทรงพระนามสมเด็จพระรามาธิบดี[7]
วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2072 สมเด็จพระรามาธิบดีเสด็จฯ ไปพระที่นั่งหอพระ และเสด็จสวรรคตในตอนค่ำของวันนั้น[9] ขณะพระชนมายุได้ 57 พรรษา ครองราชสมบัติรวม 38 ปี[10] ในปีนั้นพบว่าดาวหางฮัลเลย์โคจรมาใกล้โลก[4] ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ว่า "ศักราช 891 ฉลูศก เห็นอากาศนิมิตเป็นอินทรธนูแต่ทิศหรดี ผ่านอากาศมาทิศพายัพ มีพรรณขาว..."
กษัตริย์แห่งสุโขทัย
แก้พระเชษฐาธิราชเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในบรรดาพระราชโอรส 3 พระองค์ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระเชษฐาของพระองค์คือพระบรมราชา ได้รับการสถาปนาเป็นผู้สำเร็จราชการที่กรุงศรีอยุธยาในคราวที่พระราชบิดายกทัพไปตีอาณาจักรล้านนา พระเชษฐาอีกพระองค์คือ พระอินทราชา เสด็จสวรรคตระหว่างสงครามกับล้านนา ในปี พ.ศ. 2028 พระเชษฐาธิราชได้รับการสถาปนาเป็นพระมหาอุปราชและได้สวมมงกุฎเป็นกษัตริย์สุโขทัย (พระอิสริยยศกษัตริย์สุโขทัยเป็นพระอิสริยยศของพระมหาอุปราชแห่งอยุธยา)
ใน พ.ศ. 2031 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต แม้ว่าพระเชษฐาธิราชจะเป็นพระมหาอุปราช แต่ราชบัลลังก์อยุธยาก็ตกเป็นของพระเชษฐาของพระองค์คือสมเด็จพระบรมราชาซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการที่กรุงศรีอยุธยาและได้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ใน พ.ศ. 2034 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 เสด็จสวรรคตอย่างกระทันหันโดยไม่มีรัชทายาท ดังนั้น ราชสมบัติจึงตกเป็นของ พระเชษฐาธิราช พระอนุชาธิราช ทำให้ 2 อาณาจักรเป็นปึกแผ่น
พระราชโอรส
แก้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 มีพระราชโอรสสามพระองค์ได้แก่[11]
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4พระนามเดิมพระอาทิตยวงศ์ ประสูติแต่สมเด็จพระอัครมเหสี
- สมเด็จพระไชยราชาธิราช ประสูติแต่พระสนม
- สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระนามเดิมว่าพระเฑียรราชา ประสูติแต่พระสนม
พระราชกรณียกิจ
แก้การพระศาสนา
แก้- พ.ศ. 2035 สมเด็จพระรามาธิบดีโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ใหญ่เพื่อประดิษฐานพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ในเขตพระราชวัง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ใหญ่เพื่อประดิษฐานพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในวัดเดียวกัน
- พ.ศ. 2042 สมเด็จพระรามาธิบดีโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารในวัดศรีสรรเพชญ์
- พ.ศ. 2043 สมเด็จพระรามาธิบดีโปรดเกล้าฯ ให้พระพุทธรูป พระศรีสรรเพชญ์ ในวันอาทิตย์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6
- พ.ศ. 2046 ทรงให้มีงานฉลองสมโภชพระศรีสรรเพชญ์ วันศุกร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 8
การเจริญสัมพันธไมตรีกับโปรตุเกส
แก้ใน พ.ศ. 2054 ทูตนำสารของอาฟงซู ดึ อัลบูแกร์กึ แม่ทัพใหญ่ของประเทศโปรตุเกสได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและการค้า พระองค์ทรงตอบรับไมตรีจากโปรตุเกส และได้ทำสัญญาทางราชไมตรีกับทางการค้าต่อกัน ใน พ.ศ. 2059 นับเป็นสัญญาฉบับแรกที่ไทยทำกับต่างประเทศ โปรตุเกสจึงนับเป็นประเทศแรกในทวีปยุโรปที่เข้ามาในกรุงศรีอยุธยา
ผลจากการเข้ามาสร้างไมตรีของชาวโปรตุเกส ได้มีการนำเอาอาวุธแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพเข้ามาถวาย ได้แก่ ปืนประเภทต่าง ๆ และกระสุนดินดำ ต่อมาชาวโปรตุเกสได้เข้ามาเป็นทหารอาสาฝรั่ง ได้ช่วยฝึกวิธีการใช้อาวุธแบบตะวันตกกับกรุงศรีอยุธยา
ราชการสงคราม
แก้สงครามกับมะละกา
แก้เมื่อ พ.ศ. 2043 พระองค์ทรงส่งกองทัพทั้งทางบกและทางเรือไปทำสงครามกับมะละกาถึงสองครั้ง โดยเข้าโจมตีชายฝั่งตะวันออกและตะวันตก แม้ไม่ประสบผลสำเร็จแต่ก็ทำให้มะละกาได้ตระหนักถึงอำนาจของอยุธยาที่มีอิทธิพลเหนือหัวเมืองในคาบสมุทรภาคใต้ โดยมีเมืองนครศรีธรรมราชทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ใช้เป็นฐานในการควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ในคาบสมุทรแห่งนี้ กษัตริย์มะละกาผู้ปกครอง ปัตตานี ปาหัง กลันตัน และเมืองท่าที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทั้งหมดต้องส่งบรรณาการต่อกษัตริย์อยุธยาทุกปี
สงครามกับล้านนา
แก้- พ.ศ. 2056 พระเจ้าเชียงใหม่พระนามว่าพระเมืองแก้ว ยกทัพมาตีกรุงสุโขทัย สมเด็จพระรามาธิบดีได้ทรงออกทัพขึ้นไปป้องกันทางเหนือ จนกองทัพเชียงใหม่แตกกลับไป
- พ.ศ. 2058 พระองค์ได้ทรงยกกองทัพขึ้นไปตีล้านนาอีกหน คราวนี้ทรงตีเมืองลำปางได้
การจัดระเบียบกองทัพ
แก้สมเด็จพระรามาธิบดีที ทรงจัดให้มีการจัดระเบียบกองทัพ และแต่งตำราพิชัยสงคราม โปรดเกล้า ฯ ให้จัดทำบัญชีกำลังพล เมื่อ พ.ศ. 2061 เพื่อเกณฑ์พลเมืองเข้ารับราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน โดยกำหนดให้ไพร่ที่เป็นชาย อายุตั้งแต่ 18 - 60 ปี ต้องเข้ารับราชการทหาร ยกเว้นผู้ที่มีบุตรชายแล้วเข้ารับราชการ ตั้งแต่สามคนขึ้น ผู้เป็นบิดาจึงพ้นหน้าที่รับราชการทหาร
ชายที่มีอายุ 18 ปี ต้องขึ้นทะเบียนทหารเพื่อเข้ารับการฝึกหัดทหาร เรียกว่าไพร่สม เมื่ออายุ 20 ปี จึงเรียกเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการเรียกว่าไพร่หลวง ส่วนพวกที่ไม่สามารถมารับราชการทหารได้ ก็ต้องมีของมาให้ราชการเป็นการชดเชยเรียกว่าไพร่ส่วย
ได้มีการตั้งกรมพระสุรัสวดี ให้เป็นหน่วยรับผิดชอบ โดยมีออกพระราชสุภาวดี เป็นเจ้ากรมรับผิดชอบในมณฑลราชธานี พระสุรัสวดีขวา รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายเหนือ และพระสุรัสวดีซ้าย รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้
เหตุการณ์สำคัญ
แก้- พ.ศ. 2039 ทรงประพฤติการเบญจาพิธ และทรงให้มีเล่นการดึกดำบรรพ์
- พ.ศ. 2040 ทรงให้ทำการปฐมกรรม
- พ.ศ. 2067 งาช้างต้นเจ้าพระยาปราบแตกข้างขวายาวไป ในเดือนเดียวกันมีผู้ทอดบัตรสนเท่ห์ สมเด็จพระรามาธิบดีทรงให้ประหารขุนนางจำนวนมาก
- พ.ศ. 2068 น้ำน้อย ข้าวมีการเน่าเสีย แผ่นดินไหวทุกเมือง และเกิดเหตุอุบาทว์หลายอย่าง
- พ.ศ. 2069 ข้าวสารแพงเป็น 3 ทะนานต่อเฟื้องเบี้ยแปดร้อย เกวียนหนึ่งเป็นเงินชั่งหกตำลึง
ในวรรณคดีไทย
แก้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เป็นที่เชื่อกันว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกับที่ปรากฏพระนามว่า สมเด็จพระพันวษา ในวรรณคดีพื้นบ้านเรื่องขุนช้างขุนแผน เนื่องจากในพงศาวดาร อาทิ คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุถึงรัชสมัยของพระองค์ มีตอนที่กล่าวถึงทหารคนสำคัญคนหนึ่งที่ชื่อ ขุนแผน ด้วย
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้มีนักแสดงผู้รับบท สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้แก่
- พิศาล อัครเศรณี จากภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท (2544)
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายนามแลพระนามผู้ที่ทำลับแลไฟ ทรงพระราชอุทิศในพระเจ้าแผ่นดิน ในพระราชกุศลบรรจบรอบเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๒๕ ปี, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๐ หน้า ๓๑๙, ๒๒ ตุลาคม ๑๑๒
- ↑ Le May (1962) p. 145.
- ↑ Kaye (1994) p. 521.
- ↑ 4.0 4.1 เทปสนทนาเรื่อง กำเนิดอยุธยาและวาระสุดท้ายสุริโยทัย, "คุยกันจันทร์ถึงศุกร์ กับ วีระ ธีรภัทร" โดย วีระ ธีรภัทร และ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ทางตรินิตี้เรดิโอ F.M. 97.00 Mhz
- ↑ นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 82
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 399
- ↑ 7.0 7.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 400
- ↑ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ (25 มีนาคม 2560). "อย่าลืม! ราชสำนักเมืองเหนือ ที่พิษณุโลก". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 404
- ↑ นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 403-404
- ↑ นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 92 และ หน้า 105
- แหล่งอ้างอิงที่เป็นลายลักษณ์อักษร
- Le May, Reginald (1962). Concise History of Buddhist Art in Siam. Tuttle Publishing. ISBN 0804801207.
- Kaye, Elizabeth A. (1994). Asia in the Making of Europe, Volume I: The Century of Discovery. University of Chicago Press. ISBN 0226467325.
- Smith, Robert B. (1966). Siam: or, The history of the Thais. University of Michigan. ASIN B0017Z2OXS.
- บรรณานุกรม
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
- มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
- พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1. นนทบุรี : โครงการเลือกสรรหนังสือ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558. 305 หน้า. ISBN 978-616-16-0930-6
ดูเพิ่ม
แก้ก่อนหน้า | สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พ.ศ. 2031 - 2034]]) |
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 2034 - 2072) |
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พ.ศ. 2072 - 2076) | ||
พระราเมศวร (พ.ศ. 1981 - 1991) |
พระมหาอุปราชกรุงศรีอยุธยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 2028 - 2034) |
พระอาทิตยวงศ์ (พ.ศ. 2069 - 2072) |