พรรคประชาสันติ
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (สิงหาคม 2023) |
พรรคประชาสันติ (อังกฤษ: Civil Peace Party ตัวย่อ : CPP. ปส.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552 โดยมีแกนนำคือเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร และอดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
พรรคประชาสันติ | |
---|---|
หัวหน้า | สมชัย แนวพานิช |
รองหัวหน้า | ประหยัด คำแก้ว[1] |
คำขวัญ | ประชาสามัคคี อยู่ดีมีสุข ทุกที่เป็นธรรม นำชาติศิวิไลซ์ |
ก่อตั้ง | 26 มกราคม พ.ศ. 2552 เปลี่ยนชื่อพรรค 21 เมษายน พ.ศ. 2554 |
ถูกยุบ | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (9 ปี) |
ที่ทำการ | 46/172 หมู่ 12 ถนนนวลจันทร์ แขวงบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10230 |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ประวัติ
แก้พรรคประชาสันติ เดิมก่อตั้งขึ้นโดยมีชื่อว่า "พรรคธรรมาธิปัตย์" โดยมี นายธันวา ไกรฤกษ์ เป็นหัวหน้าพรรค[2] ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "ประชาสันติ"[3] เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554
ต่อมาในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 พรรคประชาสันติ ได้ประกาศร่วมงานทางการเมืองกับ ศ.ดร.ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, นายพันธุ์เลิศ ใบหยก, พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ, ผศ.ดร.นพดล อินนา และ พล.ต.อ.พิชิต ควรเดชะคุปต์ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชน โดยมีเป้าหมายในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล[4] แต่ต่อมา ดร.ปุระชัย และสมาชิกอีกจำนวนหนึ่งได้ออกไปจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่[5] คือ พรรครักษ์สันติ ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 นายเสรี ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค จึงทำให้นายดนสวัสดิ์ ชาติเมธี รองหัวหน้าพรรค ต้องทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรคต่อมา[6]
ในวันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ได้มีการเผยแพร่ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคประชาสันติสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ตามมติในที่ประชุม กกต. ครั้งที่ ๔๗/๒๕๖๑ (๑๑) เมื่อวันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 ซึ่งได้มีการประกาศตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561 สืบเนื่องจากนายสมชัยซึ่งเป็นรักษาการหัวหน้าพรรคได้มีหนังสือแจ้งเลิกพรรคประชาสันติ ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2561 มายัง กกต.
การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
แก้พรรคประชาสันติ ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 โดยมีหมายเลขประจำพรรค คือ หมายเลข 33 ซึ่งผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่าพรรคประชาสันติไม่มีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/D/087/81.PDF
- ↑ "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคธรรมาธิปัตย์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 46ง วันที่ 23 เมษายน 2552" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
- ↑ "พรรคธรรมาธิปัตย์เปลี่ยนชื่อเป็นประชาสันติ". เดลินิวส์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-30. สืบค้นเมื่อ 2011-05-25.
- ↑ "ถอดรหัส ประชาสันติ :ปุระชัย'อัศวินส้มหล่น?'". โพสต์ทูเดย์.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พรรคประชาสันติวงแตก "เสรี" ลั่นไม่เดินตาม "ปุระชัย"". ผู้จัดการออนไลน์.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาสันติ (จำนวน 7 ราย)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
- ↑ "สรุปผลการเลือกตั้ง ผลคะแนนการเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้ง แบบ real time". สนุกดอตคอม.