ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
ศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก นายกองใหญ่ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (เกิด 1 สิงหาคม พ.ศ. 2493) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรครักษ์สันติ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญาวิทยา และเป็นประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยชินวัตร
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | บัญญัติ บรรทัดฐาน |
ถัดไป | วันมูหะมัดนอร์ มะทา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | จาตุรนต์ ฉายแสง |
ถัดไป | พงศ์เทพ เทพกาญจนา |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 28 มกราคม พ.ศ. 2551 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2493 อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2541–2549) ประชาราช (2549–2554) รักษ์สันติ (2554–2562) |
คู่สมรส | ผศ.สมศรี เปี่ยมสมบูรณ์ |
ประวัติ
แก้ศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก นายกองใหญ่ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เกิดที่อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ชีวิตส่วนตัวสมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมศรี เปี่ยมสมบูรณ์ มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ
- ร้อยตำรวจตรี ธรรมาธิปต์ เปี่ยมสมบูรณ์ (แท่น)
- ทศธรรม เปี่ยมสมบูรณ์ (ทศ)
- ธรรมวิสาข์ เปี่ยมสมบูรณ์ (ทิพย์)
การศึกษา
แก้ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2515 ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต สหรัฐ และจบการศึกษาระดับปริญญาเอก เมื่อปี พ.ศ. 2522 จากมหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตต สหรัฐ
การเมือง
แก้ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นหนึ่งใน 23 ผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และเป็นเลขาธิการพรรคคนแรก (ชุดจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง)[1] เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในช่วงสองปีแรกของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่สร้างผลงานการจัดระเบียบสังคมเข้มงวดกับสถานบริการตามพระราชบัญญัติจนได้ฉายาว่า "มือปราบสายเดี่ยว" ซึ่งบทบาทการทำงานของ ร้อยตำรวจเอก ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งส่งผลให้ผู้เสียประโยชน์เกิดความเห็นขัดแย้ง[2]และเป็นสาเหตุของการปรับเปลี่ยนตำแหน่งรัฐมนตรีของ ร.ต.อ.ปุระชัย ถูกย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งก็มีความขัดแย้งกันอีกกับ น.พ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเรียกกันว่า "สงครามคนดี"[3] จนเมื่อการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 ร.ต.อ.ปุระชัย จึงได้ยุติบทบาททางการเมืองไป แต่ก็ยังมีข่าวคราวออกมาเป็นระยะ ๆ เช่น การเปิดตัวหนังสือซึ่งเจ้าตัวเป็นผู้เขียนเอง เช่น "คนดีไม่มีเสื่อม" เป็นต้น และหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ร.ต.อ.ปุระชัย ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นบุคคลที่เมื่อมีการสำรวจความคิดเห็นประชาชนครั้งใดมักจะได้รับความนิยมลำดับต้น ๆ เสมอ ๆ และเมื่อมีการสำรวจความเห็นประชาชนในกลางปี พ.ศ. 2550 ปรากฏว่า เป็นบุคคลอันดับหนึ่งที่คนไทยอยากให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ในต้นปี พ.ศ. 2554 ร.ต.อ.ปุระชัยได้หวนกลับคืนมาสู่วงการการเมืองอีกครั้ง โดยมีข่าวว่าจะไปร่วมงานกับพรรคการเมือง คือ พรรคประชาสันติ ซึ่งจะลงเลือกตั้งในปีเดียวกันนั้น หลังจากที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีมีท่าทีที่ชัดเจนว่าจะมีการยุบสภาในต้นเดือนพฤษภาคม[4] แต่หลังจากนั้นไม่นาน ร.ต.อ.ปุระชัยก็ไม่ได้ตอบคำถามชัดเจนว่าจะไปร่วมงานกับพรรคประชาสันติจริงหรือไม่ ต่อมาในวันที่ 2 เมษายน ร.ต.อ.ปุระชัยก็ได้เปิดตัวเองกับ พรรครักษ์สันติ โดยไม่มีรายชื่ออยู่ในคณะกรรมการบริหารพรรค และจะลงเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1[5] และได้รับการเลือกตั้งในเวลาต่อมา ร.ต.อ.ปุระชัย คัดค้านที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ…." ที่พยายามช่วยเหลือ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ให้พ้นความผิด โดยยืนยันว่า ดร.ทักษิณ ชินวัตร ควรที่ต้องรับโทษตามกฎหมายคดีทุจริตคอรัปชันก่อน ถึงจะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับการอภัยโทษความผิดที่ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อรัฐ[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ปุระชัยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัด พรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัด พรรครักษ์สันติ
ยศ
แก้- 15 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน เป็น นายกองใหญ่[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พรรคไทยรักไทย
- ↑ หนังสือ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (คนดีไม่มีเสื่อม): ตุลาคม พ.ศ. 2547 โดย ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ISBN 9749170245
- ↑ "'คนดี'ฟ้องที่ปรึกษาสสส. 'หน่อย'ดิ้นแจงคอมพ์ฉาว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-09-25.
- ↑ [1]เก็บถาวร 2021-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 'ปุระชัย'ตั้งพรรคประชาสันติ เปิดตัวสู้ศึกเลือกตั้งหลังซักฟอก จากกรุงเทพธุรกิจ [ลิงก์เสีย]
- ↑ "ปุระชัย"ตั้งเอง"พรรครักษ์สันติ" จากข่าวสด
- ↑ [ลิงก์เสีย] คำยืนยันจากอดีตเพื่อน “ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์” ก่อน “อภัยโทษ” (ทักษิณ) ต้อง “สำนึกผิด”! จาก[ลิงก์เสีย]ไทยพับลิก้า
- ↑ "ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน เป็นนายกองใหญ่" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-21. สืบค้นเมื่อ 2018-10-09.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๕, ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๕๙๖, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประวัติจากรัฐบาลไทย เก็บถาวร 2007-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ฟังเพลงปุระชัยเคอร์ฟิว โดย คาราบาว
- ปุระชัย คนดีของสังคม เก็บถาวร 2008-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คนเกลียดทั้งพรรค คนรักทั้งเมือง