จังหวัดขอนแก่น

จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ขอนแก่น (เดิมชื่อ ขามแก่น) เป็นจังหวัดที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง คือ จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ โดยขอนแก่นเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่ม[3]

จังหวัดขอนแก่น
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Khon Kaen
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
คำขวัญ: 
พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดขอนแก่นเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดขอนแก่นเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดขอนแก่นเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ไกรสร กองฉลาด
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2565)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด10,885.991 ตร.กม. (4,203.105 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 15
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[2]
 • ทั้งหมด1,779,373 คน
 • อันดับอันดับที่ 4
 • ความหนาแน่น163.45 คน/ตร.กม. (423.3 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 22
รหัส ISO 3166TH-40
ชื่อไทยอื่น ๆขามแก่น
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้กัลปพฤกษ์
 • ดอกไม้ราชพฤกษ์
 • สัตว์น้ำปลาพรม
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนหน้าศูนย์ราชการ
ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000
 • โทรศัพท์0 4323 6882, 0 4333 0297
เว็บไซต์http://www.khonkaen.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดขอนแก่นมีเทศบาลนครขอนแก่นเป็นศูนย์กลางของจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ในจุดที่ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก) ตัดผ่าน ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญอีกเส้นหนึ่งในการเดินทางจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางเข้าไปสู่ภาคเหนือตอนล่างที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และเดินทางเข้าสู่ประเทศลาวทางด้านทิศใต้ของลาว อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดเพชรบูรณ์

ที่มาของชื่อ

แก้

เหตุที่เมืองนี้มีนามว่า เมืองขอนแก่นนั้นได้มีตำนานแต่โบราณเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ก่อนที่เพี้ยเมืองแพนจะอพยพไพร่พลมาตั้งบ้านตั้งเมืองขึ้นนั้น ปรากฏว่าบ้านขาม หรือตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพองปัจจุบัน ซึ่งเป็นเขตแขวงร่วมการปกครองกับบ้านชีโล้น มีตอมะขามขนาดใหญ่ที่ตายไปหลายปีแล้ว กลับมีใบงอกงามเกิดขึ้นใหม่อีก และหากผู้ใดไปกระทำมิดีมิร้ายหรือดูถูกดูหมิ่น ไม่ให้ความเคารพยำเกรง ก็จะมีอันเป็นไปในทันทีทันใด เป็นที่น่าประหลาดและมหัศจรรย์ยิ่งนัก[4]

ดังนั้น บรรดาชาวบ้านชาวเมืองในแถบถิ่นนั้นจึงได้พร้อมใจกันก่อเจดีย์ครอบตอมะขามนั้นเอาไว้เสีย เพื่อให้เป็นที่สักการะของคนทั่วไป พร้อมกับได้บรรจุพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า 9 บทเข้าไว้ในเจดีย์ครอบตอมะขามนั้นด้วย ซึ่งเรียกว่า พระเจ้า 9 พระองค์ แต่เจดีย์ที่สร้างในครั้งแรกเป็นรูปปรางค์ หลังจากได้ทำการบูรณะใหม่เมื่อราว 50 ปีที่ผ่านมานี้ จึงได้เปลี่ยนเป็นรูปทรงเจดีย์ และมีนามว่า พระธาตุขามแก่น ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตวัดเจติยภูมิ บ้านขาม ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น พระเจดีย์ขามแก่นถือว่าเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดขอนแก่น ซึ่งจะมีงานพิธีบวงสรวง เคารพสักการะกันในวันเพ็ญเดือน 6 ทุกปี

ส่วนทางด้านทิศตะวันตกของเจดีย์พระธาตุขามแก่นนั้น มีซากโบราณที่ปรักหักพังปรากฏอยู่ โดยอยู่ห่างจากเจดีย์ราว 15 เส้น หรืออยู่คนละฟากทุ่งของบ้านขาม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริเวณแถบนี้น่าจะเป็นที่ตั้งของเมืองมาก่อน แต่ได้ร้างไปนาน ดังนั้น จึงได้ถือเอานิมิตนี้มาตั้งนามเมืองว่าขามแก่น แต่ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนมาเป็นเมืองขอนแก่น จนกระทั่งทุกวันนี้

แต่จากการศึกษาเอกสารต่างๆ ของประมวล พิมพ์เสน ไม่เคยมีคำว่าเมืองขามแก่น มีเพียงชื่อเมืองขอรแก่น, ขรแก่น, ขรแกน, และขอนแก่น[5] และพระธาตุขามแก่นเดิมชื่อพระธาตุบ้านขาม พ.ศ. 2498 - 2499 พระราชสารธรรมมุนี (กัณหา ปภสฺสโร) ได้ทำการบูรณะพระธาตุบ้านขาม เปลี่ยนยอดเดิมที่เป็นไม้เป็นฉัตรโลหะ และเปลี่ยนชื่อจากพระธาตุบ้านขามเป็นพระธาตุขามแก่น และวัดบ้านขามเป็นวัดเจติยภูมิ[6] และมีการรณรงค์ให้ชื่อเมืองขอนแก่นเพี้ยนมาจากเมืองขามแก่น ดังนั้นชื่อเมืองขอนแก่นน่าจะเชื่อได้ว่าแต่แรกเริ่มชื่อเมืองขอนแก่นอยู่แล้ว ไม่ได้เพี้ยนมาจากขามแก่นแต่อย่างใด

ประวัติ

แก้

การก่อตั้ง

แก้

ประวัติเมืองขอนแก่นนั้น[7] มีความเกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์สำคัญ นับตั้งแต่เกิดเหตุความวุ่นวาย ในราชอาณาจักรล้านช้าง และการสร้างบ้านแปงเมือง ในเขตตอนกลางภาคอีสาน โดยเดิม เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองสุวรรณภูมิ (เดิม เมืองท่งศรีภูมิ) ที่สถาปนาในปี พ.ศ. 2256 โดย เจ้าแก้วมงคล (พระบิดา ของ พระขัติยวงษา (ทนต์) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดท่านแรก) เป็น ผู้ครองเมืองพระองค์แรก ภายใต้การสถาปนาแต่งตั้ง ของ เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก และต่อมา เพียเมืองแพน ที่เป็นกรมการเมือง ของเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ในราวปี พ.ศ. 2331 ได้ขอแบ่งไพร่พล จำนวน 500 คน แยกออกมาตั้งเมือง โดยแรกเริ่มอยู่บริเวณ บึงบอน จากนั้น 9 ปี ต่อมา ในปี 2340 จึงได้รับการแต่งตั้งและสถาปนาเมืองเป็น เมืองขอนแก่น และ เพี้ยเมืองแพน (ตำแหน่งของกรมการเมือง ในระบบอาญาสี่) เป็น "พระนครศรีบริรักษ์" แยกอาณาเขตตั้งแต่บ้านกู่ทอง หนองกองแก้ว (ปัจจุบัน คือ เมืองชนบท) จากเขตเมืองสุวรรณภูมิ (ปัจจุบัน คือ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) มานับแต่สมัยนั้น

โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้า นับจากสมัยที่ พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช พระเจ้ามหาชีวิตแห่งพระนครจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2231 พระองค์มีพระราชโอรสที่ยังทรงพระเยาว์มากองค์หนึ่งพระนามว่า เจ้าองค์หล่อ พระชนม์ 3 พรรษา พระยาแสนสุรินทรลือชัยไกรเสนาบดีศรีสรราชสงคราม (ท้าวมละ) ตำแหน่งพระยาเมืองแสนหรืออัครมหาเสนาบดีฝ่ายขวา จึงถือโอกาสแย่งเอาราชสมบัติจากพระราชกุมารที่ยังทรงพระเยาว์ เพื่อความชอบธรรมในการครองอำนาจพระยาเมืองแสนจึงหมายจะบังคับเอาเจ้านางสุมังคลราชเทวีพระมเหสีของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช พระมารดาของเจ้าองค์หล่อและขณะนั้นพระนางก็ทรงพระครรภ์อยู่ด้วย มาเป็นมเหสีของตนเพื่อความชอบธรรมในราชบัลลังก์แต่พระนางไม่ยอม พระนางจึงขอความช่วยเหลือไปยังเจ้าราชครูหลวง วัดโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม)

เจ้าราชครูหลวง วัดโพนเสม็ดจึงวางอุบายให้ให้ศิษย์นำเสด็จพระนางเสด็จหนีไปหลบซ้อนที่ภูฉะง้อหอคำ (อยู่ในแขวงบอลิคำไซ) และต่อมาพระนางได้ประสูติการพระราชโอรส เจ้าราชครูหลวงถวายพระนามว่า เจ้าหน่อกระษัตริย์ ส่วนเจ้าองค์หล่อนั้นขุนนางที่จงรักภักดีพาหนีไปยังเมืองพานภูชน

พระยาเมืองแสน เห็นว่าเจ้าราชครูหลวงวัดโพนเสม็ดเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือวางอุบายให้เจ้านางสุมังคลราชเทวีหลบหนีเป็นแน่ อีกทั้งเจ้าราชครูหลวงยังเป็นที่เคารพของราชวงศ์ล้านช้าง มีลูกศิษย์ที่เป็นเชื้อพระวงศ์และเป็นขุนนางในราชสำนักเป็นจำนวนมาก รวมถึงราษฎรล้านช้างก็ให้ความเคารพเชื่อฟังนับถือมาก ต่อไปในภายหน้าเจ้าราชครูหลวงวัดโพนเสม็ดคงจะวางอุบายชิงเอาบ้านเมืองกลับไปถวายเชื้อพระวงศ์ล้านช้างองค์ใดองค์หนึ่งอย่างแน่นอน จึงวางอุบายจะกำจัดเจ้าราชครูหลวงวัดโพนเสม็ด

เจ้าราชครูหลวงเองก็รู้ตัวอยู่แล้วว่าพระยาเมืองแสนหาทางจะกำจัดตน เจ้าราชครูหลวงจึงวางอุบายหนีด้วยการไปบูรณพระธาตุพนม ให้เจ้าแก้วมงคลแล้วและลูกศิษย์รวบรวมกำลังคนนัดแนะกันหนีออกจากพระนครจันทบุรีไปยังนครพนม ให้เจ้าจันทรสุริยวงศ์ไปอารักขาเจ้านางสุมังคลาราชเทวีและเจ้าหน่อกษัตริย์มายังบ้านงิ้วพันลำสมสนุก

เจ้าราชครูหลวงได้บูรณพระธาตุพนมอยู่สามปีจึงเสร็จ แล้วก็พาคณะศิษย์เดินทางลงทิศใต้เพื่อที่จะหาสถานที่ตั้งบ้านเมือง ระหว่างทางมีชาวบ้านขอติดตามไปด้วยเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งได้เดินทางล้ำเข้าไปในดินแดนกรุงกัมพูชา พระเจ้ากรุงกัมพูชาจึงเรียกเก็บส่วย เจ้าราชครูจึงได้พาคณะเดินทางกลับขึ้นมาตามลำน้ำโขงจนถึงเมืองหนึ่งนามว่า นครกาละจำบากนาคบุรีศรี ซึ่งมีเจ้าผู้ครองนครเป็นผู้หญิงที่ทรงพระชราภาพมากแล้ว เจ้าราชครูหลวงจึงขอเข้าพักในเขตนครกาละจำบากนาคบุรีศรี

เจ้านางผู้ครองนครกาละจำบากนาคบุรีศรีซึ่งทรงชราภาพมากไม่สามารถบริหารบ้านเมืองได้และพระองค์ก็ทรงศรัทธาเจ้าราชครูหลวงเป็นอย่างมาก จึงทรงมอบพระราชอำนาจให้เจ้าราชครูหลวงเป็นผู้สำเร็จราชการทุกอย่างในพระนคร

พ.ศ. 2252 เจ้าราชครูหลวงจึงให้เจ้าแก้วมงคลนำกำลังขึ้นไปบ้านงิ้วพันลำสมสนุก เพื่อช่วย เจ้าจันทรสุริยวงศ์เชิญเสด็จเจ้าหน่อกระษัตริย์และพระมารดามายังนครกาละจำบากนาคบุรีศรี ต่อมาเกิดความวุ่นวายขึ้นในพระนครกาละจำบากนาคบุรีศรี แต่สามารถปราบได้อย่างรวดเร็ว

พ.ศ. 2256 เจ้าราชครูหลวง จึงจัดพระราชพิธีราชาภิเสกเจ้าหน่อกระษัตริย์ ขึ้นเป็นพระเจ้ามหาชีวิต ถวายพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ครองราชย์สมบัติเป็นเอกราช เปลี่ยนนามนครใหม่ ว่า นครจำปาสักนัคบุรีศรี (อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์) จัดการบ้านเมืองตามโบราณราชประเพณีล้านช้างทุกประการ

และมีพระราชโอการให้ เจ้าแก้วมงคล โอรสของเจ้าองค์ศรีวิชัย, พระนัดดา(หลาน)ของเจ้ามหาอุปราชศรีวรมงคล, พระราชปนัดดา(เหลน)ของพระยาวรวงษามหาธรรมิกราชา (เจ้ามหาอุปราชศรีวรวงษา หรือสยามออกพระนามว่า "พระมหาอุปราชวรวังโส" นำกำลังในสังกัดข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งเมืองขึ้นบนบริเวณที่ราบริมฝังแม่น้ำ (แม่น้ำเสียว) ซึ่งเป็นแหล่งเกลือและนาข้าวที่อุดมสมบูรณ์ ให้ชื่อว่า เมืองทุ่งศรีภูมิ มีพระราชโองการให้ เจ้าแก้วมงคล เป็นเจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิ (องค์ที่ 1) ให้เจ้ามืดดำโดนเป็นอุปราช มีการจัดการบริหารบ้านเมืองเช่นเดียวกับนครจำปาสักนัคบุรีศรี

พ.ศ. 2268 เจ้าแก้วมงคล สิ้นพระชนม์ เมื่อ 84 พรรษา มีโอรส 3 องค์ คือ เจ้าองค์หล่อหน่อคำ (เจ้าเมืองน่าน), เจ้ามือดำโดน, เจ้าสุทนต์มณี[8] สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจึงมีพระราชโอการให้ เจ้ามืดดำโดนอุปราช ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิ (องค์ที่ 2) ให้เจ้าสุทนต์มณีเป็นอุปฮาดเมืองทุ่งศรีภูมิ เจ้ามืดดำโดนได้แต่งตั้งตำแหน่งเมืองแสน เมืองจันทร์ ท้าว เพี้ย เต็มอัตรากำลังเช่นเมืองหลวงทุกประการ

ต่อมาสมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรทรงพระประชวร จึงมีพระราชโอการให้เจ้ามหาอุปราชไชยกุมารเป็นผู้สำเร็จราชการ

พ.ศ. 2280 สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรเสด็จสวรรคต พระชนม์ได้ 50 พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ 25 ปี เจ้ามหาอุปราชไชยกุมาร จึงขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าองค์หลวง และมีพระราชโองการให้เจ้าธรรมเทโวผู้เป็นพระราชอนุชา(น้องชาย)เป็นเจ้ามหาอุปราช พ.ศ. 2306 เจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิ (เจ้ามืดดำโดน) สิ้นพระชนม์ มีโอรส 3 องค์ คือ เจ้าเชียง เจ้าสูน เจ้าอุ่น(ปลัดเมืองขุขันธ์ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองศีรษะเกษท่านแรก นามว่า พระยารัตนวงศา อีกทั้งยังเป็นลูกเขยของพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนหรือตากะจะเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรกและเป็นบิดาของพระประจันตประเทศหรือเจ้าเมืองชลบถวิบูลย์ท่านแรก)[9] [10]สมเด็จพระพุทธเจ้าองค์หลวง พระเจ้ามหาชีวิตจึงมีพระราชโองการให้เจ้าสุทนต์มณีอุปราชขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิ (องค์ที่ 3) เจ้าเชียงและเจ้าสูนโอรสเจ้ามืดดำโดนเจ้าผู้ครองเมืององค์ก่อนไม่พอใจ จึงสมคบกับขุนนางส่วนหนึ่งหนีไปพึ่งสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์แห่งกรุงศรีอยุธยา

พ.ศ. 2308 เจ้าเชียงและเจ้าสูนเมื่อไปถึงอยุธยาแล้วจึงของกองทัพเพื่อจะขึ้นมาตีเมืองทุ่งศรีภูมิ หากตีเมืองได้ เจ้าเชียงจะขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองและจะขอเป็นเมืองประเทศราชส่งเครื่องบรรณาการแก่อยุธยา แต่ระหว่างนั้นอยุธยากำลังถูกกองทัพพระเจ้ามังระแห่งย่างกุ้งรุกรานไม่สามารถส่งกองทัพขึ้นมาได้ ทางอยุธยาจึงสั่งรวบรวมกำลังหัวเมืองขึ้นของอยุธยาที่อยู่ใกล้เข้าตีเมืองทุ่งศรีภูมิจนแตก ประกอบกับช่วงนั้นทางนครจำปาสักนัคบุรีศรีเกิดความวุ่นวายสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตพระพุทธเจ้าองค์หลวงทรงอ่อนแอไม่สามารถส่งกองทัพมาช่วยได้ เจ้าสุทนต์มณีจึงทิ้งเมืองหนี เจ้าเชียงจึงขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมือง (องค์ที่ 4) และให้เจ้าสูนเป็นอุปราช เมืองทุ่งศรีภูมิจึงตกเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา

พ.ศ. 2310 กองทัพพระเจ้ามังระก็ตีกรุงศรีอยุธยาแตกเป็นเหตุให้อาณาจักรอยุธยาล่มสลาย แต่ไม่นานในปลายปีเดียวกันพระยาตากขุนนางของกรุงศรีอยุธยาก็รวบรวมกองทัพขับไล่กองกำลังของพระเจ้ามังระที่ประจำอยู่ในอยุธยาแตกหนีกลับไปได้ และพระยาตากก็สถาปนาราชวงศ์ใหม่และย้ายเมืองหลวงมายังกรุงธนบุรี

พ.ศ. 2319 พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ส่งกองทัพขึ้นมารวบรวมหัวเมืองที่เคยเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาให้กลับไปเป็นเมืองประเทศราชส่งบรรณาการให้กับกรุงธนบุรี กองทัพกรุงธนบุรีมาถึงเมืองทุ่งศรีภูมิเจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิ (เจ้าเซียง) จึงออกไปอ่อนน้อมขอส่งเครื่องบรรณาการให้กรุงธนบุรีเช่นเดียวกลับที่เคยส่งให้กรุงศรีอยุธยา เมื่องกองทัพกรุงธนบุรีเข้าเมืองแล้ว เจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิ (เจ้าเซียง) เห็นว่าเมืองท่งศรีภูมินั้นตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำเสียวถึงฤดูฝนน้ำก็ท่วม จึงปรึกษากับแม่ทัพกรุงธนบุรีเพื่อขอพระราชโองการย้ายเมืองไปยังดงเท้าสาร ซึ่งห่างจากตัวเมืองเดิมประมาณ ๑๐๐ เส้น พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้ย้ายเมืองตามที่ขอ และพระราชทานนามเมืองใหม่ว่า เมืองสุวรรณภูมิประเทศราช

เจ้าเซียงมีบุตร 3 คน คือ ท้าวเพ (เจ้าเมืองหนองหานท่านแรก), ท้าวโอ๊ะ (เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ), ท้าวพร และธิดาไม่ทราบนามอีก 2 คน ในพื้นเมืองท่ง ระบุว่าท้าวพรซึ่งเป็นบุตรของท้าวเซียงมีบุตรชาย 2 คน คือ เพี้ยเมืองแพน (พระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่นท่านแรก) เพี้ยศรีปาก (พระเสนาสงคราม เจ้าเมืองพุทไธสงท่านแรก และเป็นบิดาของพระยานครภักดี เจ้าเมืองแปะหรือบุรีรัมย์ท่านแรก)[9][10]

ประวัติศาสตร์ พื้นที่ส่วนนี้ยังเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ กระจัดกระจายกันตามพื้นที่ราบสูง ในปี พ.ศ. 2322 ขณะนั้นเมืองเวียงจันทน์ได้เกิดเหตุพิพาทกับกลุ่มของเจ้าพระวอจนถึงกับยกทัพไปตีค่ายของเจ้าพระวอแตกที่บ้านดอนมดแดง (อุบลราชธานีปัจจุบัน) และจับเจ้าพระวอประหารชีวิต สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถือว่าฝ่ายเจ้าพระวอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของไทยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพขึ้นไปตีเวียงจันทน์ จากนั้นจึงได้ยกทัพกลับมายังกรุงเทพมหานคร พร้อมกับได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธปฏิมากร และพระบางกลับมาถวายแต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วย

โดยในช่วงที่ พระรัตนวงษา (อ่อน) เป็นบุตร ของพระขัติยวงษาทนต์ และเป็นหลานของ เจ้าแก้วมงคล ได้ครองเมืองสุวรรณภูมิ แล้ว ได้ขอพระราชทาน แต่งตั้ง ท้าวโอ๊ะ (บุตร พระรัตนวงษาเซียง) ที่ดำรงตำแหน่ง ราชบุตร เดิมนั้น ขึ้นดำรงตำแหน่ง เป็น "อุปฮาด" ต่อมา ราว พ.ศ. 2331 เพี้ยเมืองแพน ซึ่ง เป็นหนึ่ง ในตำแหน่งกรมการเมืองสุวรรณภูมิ ได้ขอ พระรัตนวงษา (อ่อน) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ พาราษฎรและไพร่พลประมาณ 330 คน ขอแยกตัวออกจากเมืองสุวรรณภูมิไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ฝั่งบึงบอน ยกขึ้นเป็นเมืองที่บ้านดอนพยอมเมืองเพี้ย (ปัจจุบันคือ บ้านเมืองเพีย ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่) เพี้ยเมืองแพน (ภายหลังได้รับการสถาปนา เป็น พระยานครศรีบริรักษ์) ได้ขออพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในบ้านชีโหล่น คุมไพร่พลคนละ 500 คน แยกออกมาจาก "เมืองท่ง" หรือ "เมืองสุวรรณภูมิ" และให้ขึ้นตรงต่อเมืองสุวรรณภูมิ ครั้นต่อมาอีกราว 9 ปี ในปี พ.ศ. 2340 เพี้ยเมืองแพนก็ได้พาราษฎรและไพร่พล ย้ายมาตั้งเมืองใหม่ ที่บริเวณ เมืองเก่า ริมบึงแก่นนคร ในปัจจุบัน และได้รับพระบรมราชานุญาต ตั้งเป็นเมือง ขอนแก่น และ สถาปนายศ เจ้าเมือง "เพี้ยเมืองแพน" เป็น "พระนครศรีบริรักษ์" เจ้าเมืองขอนแก่น ท่านแรก ในปี พ.ศ. 2340 โดยในปีเดียวกันนั้น เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ พระรัตนวงษา (อ่อน) เป็นบุตร ของพระขัติยวงษาทนต์ ได้ครองเมืองสุวรรณภูมิ แล้ว ได้ขอพระราชทาน แต่งตั้ง ท้าวโอ๊ะ (บุตร พระรัตนวงษาเซียง) ที่ดำรงตำแหน่ง ราชบุตร เดิมนั้น ขึ้นดำรงตำแหน่ง เป็น "อุปฮาด" ต่อมา และ มีใบบอกไปยังกรุงเทพมหานครฯ ว่า เพี้ยเมืองแพน ได้ขอแบ่งไพร่พล และตั้งเป็นเมืองขอนแก่น นับแต่นั้น โดยแบ่งพื้นที่ตั้งแต่ บ้านกู่ทอง หนองกองแก้ว ขึ้นเป็นเมืองขอนแก่น

บึงบอนหรือดอนพยอมในปัจจุบันได้ตื้นเขินเป็นที่นาไปหมดแล้ว แต่ก็ยังปรากฏเป็นรูปของบึงซึ่งมีต้นบอนขึ้นอยู่มากมาย ต่อมาก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองแพนเป็นพระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่น ดังปรากฏข้อความในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานของหม่อมอมรวงศ์วิจิตรว่า

เอกสารพงศาวดารอีสานฉบับพระยาขัติยวงศา (เหลา ณ ร้อยเอ็ด) ได้กล่าวถึงการตั้งเมืองขอนแก่นว่า “...ได้ทราบข่าวว่าเมืองแพน บ้านชีโล่น แขวงเมืองสุวรรณภูมิ พาราษฎร ไพร่พลประมาณ 330 คน แยกจากเมืองสุวรรณภูมิไปขอตั้งฝั่งบึงบอนเป็นเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองแพนเป็นพระนครศรีบริรักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่น...” ขอนแก่นจึงได้ที่มาว่าเป็นเมืองคู่กับมหาสารคามนั้นเอง

ส่วนเมืองบริวารอื่นๆ ที่มีส่วนกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมาจากเมืองสุวรรณภุมิ และภายหลังมีการแยกออกมาตั้งเป็น เมือง ในเขตจังหวัดขอนแก่น หลังปี พ.ศ. 2340 นั้น ได้แก่ เมืองมัญจาคีรีหรืออำเภอมัญจาคีรี ปรากฏอยู่ในทำเนียบมณฑลอุดร กล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นชื่อเมืองมัญจาคีรี โดยมีจางวางเอกพระยาพฤติคุณธนเชษ (สน สนธิสัมพันธ์) เป็นเจ้าเมืองคนแรกเมื่อ พ.ศ. 2433-2439


 
ตัวเมืองขอนแก่นจากมุมสูง

การย้ายถิ่นฐาน

แก้

ในปี พ.ศ. 2439 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนการปกครองหัวเมืองไกลใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นบริเวณหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ให้เป็นหัวเมืองลาวพวน ดังนั้น เมืองขอนแก่นจึงอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองอุดรธานี หรือมณฑลอุดรธานี โดยมีกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมเป็นผู้ปกครองมณฑล ในสมัยนั้นได้มีสายโทรเลข ที่เดินจากเมืองนครราชสีมา ผ่านเมืองชนบท เข้าเขตเมืองขอนแก่นข้ามลำน้ำชีที่ท่าหมากทัน ตรงไปท่าพระ บ้านทุ่ม โดยไม่เข้าเมืองขอนแก่น และตรงไปข้ามลำน้ำพองไปบ้านหมากแข้งเมืองอุดรธานี ศูนย์กลางมณฑลอุดร กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (ผู้ปกครองมณฑลอุดรธานีในขณะนั้น) ซึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑลอุดรธานีทรงดำริว่า ที่ว่าการเมืองขอนแก่นที่ตั้งอยู่ที่บ้านดอนบม ไม่สะดวกแก่ราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองขอนแก่นไปตั้งอยู่ที่บ้านทุ่ม (อำเภอเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน) ในปลาย พ.ศ. 2439 และเปลี่ยนนามตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง และตั้งชื่อเมืองว่า "ขอนแก่น" จนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานบรรดาศักดิ์ท้าวหนูหล้าปลัดเมืองขอนแก่นเป็นพระพิทักษ์สารนิคม และในปี พ.ศ. 2442 ก็ได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านทุ่มกลับไปตั้งอยู่ที่บ้านเมืองเก่าตามเดิม โดยตั้งศาลากลางขึ้นที่ริมบึงเมืองเก่าทางด้านเหนือ (หน้าสถานีโทรทัศน์ในปัจจุบัน) ด้วยเหตุผลที่ว่า บ้านทุ่มนั้นกันดารน้ำในฤดูแล้ง

ในปี พ.ศ. 2444 ทางราชการได้เกณฑ์แรงงานของราษฎรที่เคยหลงผิดไปเชื่อผีบุญ-ผีบาป ที่เขตแขวงเมืองอุบลราชธานีในตอนนั้น โดยให้พากันมาช่วยสร้างทำนบกั้นน้ำขึ้นเป็นถนนรอบบึงเมืองเก่า เพื่อกักน้ำไว้ใช้สอยในฤดูแล้ง เพราะบึงนี้เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของชาวเมืองขอนแก่น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 พระนครบริรักษ์ (อุ นครศรี) เจ้าเมืองขอนแก่น ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ เหตุเพราะชราภาพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งพระพิทักษ์สารนิคม (หนูหล้า สุนทรพิทักษ์) ปลัดเมืองขอนแก่นขึ้นเป็นเจ้าเมืองขอนแก่น และในปีนั้นเอง ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนามตำแหน่งข้าหลวงประจำเมืองขอนแก่นเป็นข้าหลวงประจำบริเวณพาชี ส่วนเมืองต่าง ๆ ที่ขึ้นต่อนั้น ก็ให้เปลี่ยนเป็นอำเภอ และผู้เป็นเจ้าเมืองนั้น ๆ ก็ให้เปลี่ยนเป็นนายอำเภอ ตำแหน่งอุปฮาดก็เป็นปลัดอำเภอไป แต่ขึ้นตรงต่อเมืองอุดรธานี มณฑลอุดรธานีในขณะนั้น

ต่อมาในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกเลิกระบบมณฑลในประเทศ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดแทน ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองจึงกลายเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และศาลาว่าการเมืองก็เปลี่ยนมาเป็นศาลากลางจังหวัด นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาขอนแก่นจึงได้กำเนิดเป็น "จังหวัดขอนแก่น"

ภูมิศาสตร์

แก้

ภูมิประเทศ

แก้

จังหวัดขอนแก่นมีสภาพพื้นที่ลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกและทิศใต้ บริเวณที่สูงทางด้านตะวันตกมีสภาพพื้นที่เป็นเขาหินปูนตะปุ่มตะป่ำสลับกับพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีระดับความสูงประมาณ 200-250 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีภูเขารูปแอ่งหรือภูเวียงวางตัวอยู่ติดอำเภอภูเวียง บริเวณที่สูงตอนกลางและด้านเหนือมีสภาพพื้นที่เป็นเทือกเขา ได้แก่ ภูเก้า ภูเม็ง ภูพานคำ เป็นแนวขวางมาจากด้านเหนือ แล้ววกลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้ ไหล่เขาด้านนอกมีความสูงและลาดชันมาก สูงประมาณ 300-660 เมตร ไหล่เขาด้านในมีความลาดชันน้อย มีระดับความสูงประมาณ 220-250 เมตร

บริเวณแอ่งโคราช ครอบคลุมพื้นที่ทางด้านใต้จังหวัด สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความสูงประมาณ 150-200 เมตร มีบางส่วนเป็นเนิน สูงประมาณ 170-250 เมตร และลาดต่ำไปทางราบลุ่มที่ขนานกับลำน้ำชี มีความสูงประมาณ 130-150 เมตร จากนั้น พื้นที่จะลาดชันไปทางตะวันออก มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาดมีความสูงประมาณ 200-250 เมตร และค่อนข้างราบ มีความสูงประมาณ 170 -180 เมตร

จังหวัดขอนแก่นมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

ภูมิอากาศ

แก้

สภาพภูมิอากาศของขอนแก่น โดยทั่วไปเป็นแบบทุ่งหญ้าในเขตร้อน คือ มีฝนตกสลับกับแห้งแล้ง ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีอุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ย 36.35 องศาเซลเซียส และมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนจัดในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม โดยจะมีฝนตกชุกในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ สภาพอากาศจะหนาวเย็น โดยทั่วไปจะหนาวจัดในช่วงเดือนธันวาคมจนถึงเดือนมกราคมของทุกปี อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 15.4 องศาเซลเซียส

ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดขอนแก่น (พ.ศ. 2504-2533)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.3
(86.5)
32.7
(90.9)
35.2
(95.4)
36.4
(97.5)
34.5
(94.1)
33.2
(91.8)
32.7
(90.9)
32.0
(89.6)
31.6
(88.9)
31.4
(88.5)
30.7
(87.3)
29.7
(85.5)
32.53
(90.56)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 16.2
(61.2)
19.3
(66.7)
22.3
(72.1)
24.5
(76.1)
24.8
(76.6)
24.8
(76.6)
24.4
(75.9)
24.2
(75.6)
23.7
(74.7)
22.5
(72.5)
19.6
(67.3)
16.4
(61.5)
21.89
(71.41)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 2.1
(0.083)
14.7
(0.579)
38.0
(1.496)
72.5
(2.854)
172.2
(6.78)
170.9
(6.728)
165.2
(6.504)
206.8
(8.142)
239.4
(9.425)
113.3
(4.461)
15.1
(0.594)
4.2
(0.165)
1,214.4
(47.811)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 0.8 2.2 3.8 7.7 13.9 14.9 16.2 17.1 17.6 9.7 2.3 0.7 106.9
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 280.5 245.4 252.6 250.8 238.8 179.0 182.2 163.3 171.6 232.8 255.1 267.5 2,719.6
แหล่งที่มา 1: WMO
แหล่งที่มา 2: CMA

การเมืองการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 26 อำเภอ 199 ตำบล 2331 หมู่บ้าน

แผนที่
 
แผนที่อำเภอในจังหวัดขอนแก่น
หมายเลขในแผนที่ อำเภอ อักษรโรมัน ชั้น จำนวนตำบล ประชากร
(พ.ศ. 2566)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
ระยะห่างจากตัวจังหวัด
1
อำเภอเมืองขอนแก่น Amphoe Mueang Khon Kaen
พิเศษ
18
415,947 953.40 436.28 -
2
อำเภอบ้านฝาง Amphoe Ban Fang
3
7
54,621 334.00 163.54 23
3
อำเภอพระยืน Amphoe Phra Yuen
3
5
34,376 172.0 199.86 29
4
อำเภอหนองเรือ Amphoe Nong Ruea
2
10
91,943 673.80 136.45 46
5
อำเภอชุมแพ Amphoe Chum Phae
1
12
122,382 510.90 239.54 82
6
อำเภอสีชมพู Amphoe Si Chom Phu
3
10
76,602 529.04 144.79 113
7
อำเภอน้ำพอง Amphoe Nam Phong
1
12
111,762 828.70 134.86 37
8
อำเภออุบลรัตน์ Amphoe Ubonrat
3
6
43,917 487.70 90.05 51
9
อำเภอกระนวน Amphoe Kranuan
1
9
77,786 322.02 241.56 48
10
อำเภอบ้านไผ่ Amphoe Ban Phai
1
10
98,502 497.70 197.91 46
11
อำเภอเปือยน้อย Amphoe Pueai Noi
3
4
20,008 173.00 115.65 81
12
อำเภอพล Amphoe Phon
1
12
85,188 420.50 202.59 77
13
อำเภอแวงใหญ่ Amphoe Waeng Yai
3
5
29,041 189.07 153.60 76
14
อำเภอแวงน้อย Amphoe Waeng Noi
3
6
41,347 243.60 169.73 99
15
อำเภอหนองสองห้อง Amphoe Nong Song Hong
2
12
76,823 514.50 149.32 96
16
อำเภอภูเวียง Amphoe Phu Wiang
2
11
71,237 621.60 114.60 67
17
อำเภอมัญจาคีรี Amphoe Mancha Khiri
2
8
69,393 757.83 91.57 56
18
อำเภอชนบท Amphoe Chonnabot
3
8
46,995 404.30 116.24 58
19
อำเภอเขาสวนกวาง Amphoe Khao Suan Kwang
3
5
37,885 328.91 115.18 51
20
อำเภอภูผาม่าน Amphoe Phu Pha Man
4
5
22,943 284.60 80.61 110
21
อำเภอซำสูง Amphoe Sam Sung
3
5
23,227 116.70 199.03 35
22
อำเภอโคกโพธิ์ไชย Amphoe Khok Pho Chai
3
4
24,975 238.82 104.58 72
23
อำเภอหนองนาคำ Amphoe Nong Na Kham
3
3
23,565 158.90 148.30 85
24
อำเภอบ้านแฮด Amphoe Ban Haet
3
4
32,659 205.20 159.16 31
25
อำเภอโนนศิลา Amphoe Non Sila
3
5
26,497 182.0 145.59 60
26
อำเภอเวียงเก่า Amphoe Wiang Kao
4
3
19,752 286.00 69.06 79
รวม
199
1,779,373 10,885.991 158.45

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

มีจำนวนทั้งสิ้น 225 แห่ง แบ่งออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 6 แห่ง เทศบาลตำบล 77 แห่ง และ องค์การบริหารส่วนตำบล 140 แห่ง โดยเทศบาลสามารถจำแนกได้ตามพื้นที่ดังนี้

อำเภอเมืองขอนแก่น

อำเภอกระนวน

อำเภอชุมแพ

อำเภอพล

อำเภอบ้านไผ่

อำเภอน้ำพอง

อำเภอหนองเรือ

อำเภออุบลรัตน์

อำเภอเปือยน้อย

อำเภอมัญจาคีรี

อำเภอภูเวียง

อำเภอภูผาม่าน

อำเภอสีชมพู

อำเภอพระยืน

อำเภอบ้านฝาง

อำเภอหนองสองห้อง

อำเภอชนบท

อำเภอแวงน้อย

อำเภอโคกโพธิ์ไชย

อำเภอบ้านแฮด

อำเภอแวงใหญ่

อำเภอเขาสวนกวาง

อำเภอโนนศิลา

อำเภอซำสูง

อำเภอเวียงเก่า

อำเภอหนองนาคำ

รายนามผู้ว่าราชการขอนแก่น

แก้

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แก้

จังหวัดขอนแก่นมีความสัมพันธ์ในฐานะเมืองพี่น้องกับเมืองดังต่อไปนี้

ประชากร

แก้
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดขอนแก่น
ปีประชากร±%
2550 1,752,414—    
2551 1,756,101+0.2%
2552 1,762,242+0.3%
2553 1,767,601+0.3%
2554 1,766,066−0.1%
2555 1,774,816+0.5%
2556 1,781,655+0.4%
2557 1,790,049+0.5%
2558 1,798,014+0.4%
2559 1,801,753+0.2%
2560 1,805,910+0.2%
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[11]

จังหวัดขอนแก่นมีประชากรทั้งสิ้น 1,790,055 คน นับเป็น 576,964 ครัวเรือน นับเป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง 1,802,872 คน (ณ ปี พ.ศ. 2563)[12]

จังหวัดขอนแก่นเคยเคยอยู่ในเขตการปกครองของอาณาจักรล้านช้าง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ มีการอพยพของประชาชนชาวลาวเข้ามาอาศัย โดยเกิดขึ้นในสมัยธนบุรีและต้นสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นประชากรดั้งเดิมของจังหวัด นอกจากนั้นแล้ว ในเขตเมืองยังมีชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นชุมชนใหญ่และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก รวมถึงชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ชาวไทญ้อและชาวต่างชาติอื่นๆ ซึ่งย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดขอนแก่น

ศาสนาและวัฒนธรรม

แก้

ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา 1,466 แห่ง ประกอบด้วย วัด 1,371 แห่ง โบสถ์คริสต์ 58 แห่ง มัสยิด 7 แห่ง และสุเหร่า 2 แห่ง โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม - บาลี 26 แห่ง และมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง (ส่านักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดขอนแก่น 2557)

การศึกษา

แก้

จังหวัดขอนแก่น มีสถาบันการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานหลากหลายสิบแห่ง

  1. โรงเรียนประถมศึกษา อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น ซึ่งมีทั้งหมด 5 เขต สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งครอบคลุมโรงเรียนขยายโอกาศทางการศึกษา 43 แห่ง และสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น อีก 2 แห่ง
  2. โรงเรียนมัธยมศึกษา โดยประกอบด้วยโรงเรียนมัธยมจาก 3 สังกัด ได้แก่

- สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ครอบคลุมโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น 84 แห่ง

- สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ครอบคลุมโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น 17 แห่ง

- สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น อีก 2 แห่ง


3. สถานศึกษาในระดับอาชีวศึกษาทั้งรัฐและเอกชน ในกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรรมการการอาชีวศึกษา

4. สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน โดยมี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ ที่เก่าแก่ และมีความสำคัญที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การสาธารณสุข

แก้

สถานบริการด้านสาธารณสุข มีโรงพยาบาล 32 แห่ง

สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ขอนแก่น 22 แห่ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 แห่ง กระทรวงกลาโหม 1 แห่ง กรมอนามัย 1 แห่ง กรม สุขภาพจิต 1 แห่ง กรมการแพทย์ 1 แห่ง เอกชน 4 แห่ง ประกอบไปด้วย

1. สถานบริการสาธารณสุข สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
แก้

1) โรงพยาบาลขอนแก่น (โรงพยาบาลศูนย์) ขนาด 1,000 เตียง 1 แห่ง

2) โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น (รพท.) ขนาด 250 เตียง 1 แห่ง

3) โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 120 เตียง 1 แห่ง, ขนาด 90 เตียง 2 แห่ง, ขนาด 60 เตียง 5 แห่ง และ ขนาด 30 เตียง 12 แห่ง

4) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 248 แห่ง

5) ศูนย์แพทย์ 4 มุมเมือง (สังกัดโรงพยาบาลขอนแก่น) 4 แห่ง - ศูนย์แพทย์ชาตะผดุง - ศูนย์แพทย์ประชาสโมสร - ศูนย์แพทย์มิตรภาพ - ศูนย์แพทย์ชุมชนวัดหนองแวง พระอารามหลวง

6) ศูนย์อนามัยที่ 6 - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ขนาด 100 เตียง 1 แห่ง

7) ศูนย์บ่าบัดรักษายาเสพติด จังหวัดขอนแก่น ขนาด 150 เตียง 1 แห่ง

8) โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ขนาด 400 เตียง 1 แห่ง

2. สถานบริการสาธารณสุข สังกัดกระทรวงอื่น
แก้

1) โรงพยาบาลศรีนครินทร์ สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขนาด 1,466 เตียง 1 แห่ง

2) ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขนาด 200 เตียง 1 แห่ง โรงพยาบาลเฉพาะทางโรคหัวใจและหลอดเลือดมาตรฐานสากล ตรวจรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดตลอด 24 ชั่วโมง โดยวิธีการผ่าตัดแบบเปิดและปิด รวมทั้งตรวจวินิจฉัย ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูน ใส่ขดลวดค้ำยัน รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยวิธี Electrophysio Study & Radio Frequency Ablation เป็นที่แรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

3) โรงพยาบาลค่ายศรีพัชรินทร จังหวัดขอนแก่น ขนาด 50 เตียง 1 แห่ง

4) ศูนย์บริการสาธารณสุขสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น 3 แห่ง - ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 1 เทศบาลนครขอนแก่น - ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 3 บ้านโนนชัย - ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 5 บ้านหนองใหญ่

3. สถานบริการสาธารณสุขเอกชน
แก้
 
โรงพยาบาลขอนแก่นราม

1) โรงพยาบาลขอนแก่นราม ขนาด 300 เตียง

2) โรงพยาบาลราชพฤกษ์ แห่งที่ 1 ขนาด 50 เตียง (ปัจจุบันยกเลิกการให้บริการแล้ว)

3) โรงพยาบาลราชพฤกษ์ แห่งที่ 2 ขนาด 200 เตียง

4) โรงพยาบาลกรุงเทพฯ ขอนแก่น ขนาด 150 เตียง

4. การปรับปรุงและพัฒนาขีดความสามารถของโรงพยาบาลศรีนครินทร์

แก้

เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพ และสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่เขตภาคอีสาน 20 จังหวัด ที่มีจำนวนมากกว่า 20 ล้านคน ให้สามารถเข้าถึงการรักษา ทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้เริ่มปรับปรุงโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ให้เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีจำนวน 5,000 เตียง โดยใช้งบประมาณ 24,500 ล้านบาท โดยจะมีความทันสมัย มีอุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ และมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีทักษะความรู้ ความสามารถ เชี่ยวชาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และโรคเฉพาะทาง

โดยโครงการดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ระยะแรก จำนวน  3,500 เตียง ใช้งบประมาณ  14,000 ล้านบาท คาดว่าจะใช้เวลา 2 - 3 ปี เมื่อดำเนินการระยะแรกเสร็จก็จะดำเนินการระยะที่ 2 ทันที ให้ครบ 5,000 เตียง ใช้งบฯ 10,500ล้านบาท  โดยจะสร้างอาคารสูงประมาณ 20-39 ชั้น เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มาใช้บริการ มีที่จอดรถ 1,600 คัน มีห้องผ่าตัดเพิ่ม 2-3 เท่าจากเดิม มีเตียงสำหรับผู้ป่วยวิกฤตในห้องไอซียูเพิ่มอีก 30% มีเรือนพักญาติ อาคารสนับสนุนบริการ  โดยจะให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One stop service) แก่ผู้ป่วยทุกกลุ่ม


เศรษฐกิจ

แก้

จังหวัดขอนแก่นมี เศรษฐกิจมูลค่า 185,603 ล้านบาท เป็นลำดับที่ 14 ของประเทศ และเป็นอันดับที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาขาการผลิตที่สร้างรายได้ให้กับจังหวัดขอนแก่น ในปี 2555 คือ สาขานอกภาคเกษตร มีมูลค่า 163,144 ล้านบาท ในขณะที่สาขาภาคเกษตรมีมูลค่า 22,451 ล้านบาท สาขานอกภาคเกษตร มีมูลค่าอันดับ 1 คือ สาขาผลิตอุตสาหกรรม มีมูลค่า 77,001 ล้านบาท รองลงมา คือสาขาการศึกษา มีมูลค่า 18,468 ล้านบาท และการขายส่ง ขายปลีก ซ่อมแซมฯ มีมูลค่า 16,426 ล้านบาท

รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร (Per Capita GPP) ของจังหวัดขอนแก่น ปี 2555 คือ 106,583 บาท อยู่ใน อันดับที่ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นอันดับที่ 33 ของประเทศ

(ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)


กรมธนารักษ์ประเมินราคาที่ดินระยะ 4 ปี โดยประกาศใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2559 - 31 ธ.ค.2562 พบว่าจังหวัดขอนแก่นมีราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 29% แพงที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยย่าน ถนนศรีจันทร์ มีราคาสูงที่สุด เฉลี่ย 5,000-200,000 ต่อตารางวา ซึ่งทำให้อสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมีเนียมแบบ high rise ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จาก คอนโดมีเนียมความสูง 30 ชั้นขึ้นไปหลายแห่งภายในเขตเทศบาล

ภาคการเกษตร

แก้

จังหวัดขอนแก่นมีพื้นที่การเกษตร 4,369,043 ไร่ (ร้อยละ 64.19 ของพื้นที่จังหวัด) โดยอยู่ในเขตชลประทาน 757,542 ไร่ (คิดเป็นร้อยละ 13.14 ของพื้นที่การเกษตร หรือร้อยละ 8 ของพื้นที่จังหวัด) จำนวนคนทำงานในภาค เกษตร 439,583 คน

โดยพืชที่สำคัญ คือ ข้าว มัน สำปะหลัง และอ้อยโรงงาน และสัตว์เศรษฐกิจสำคัญ คือ โคเนื้อ สุกร ไก่เนื้อ และโคนม

(ที่มา : สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น)

ภาคการเงินการธนาคาร

แก้

จังหวัดขอนแก่น เป็นที่ตั้งของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสถาบันการเงิน พิเศษของรัฐ ได้แก่ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธ.ออมสิน ธ.อาคารสงเคราะห์ ธ.พัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธ.อิสลามแห่งประเทศ ไทย รวมทั้ง ธ.พาณิชย์สาขาหลักและสาขาย่อย รวมทั้งสิ้น 168 แห่ง

ธุรกิจ Mice

แก้

จากสภาพที่ตั้งของเมือง ขอนแก่นจึงเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการศึกษาของภูมิภาค และเป็นจุดหมายยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยว เป็นเมืองศูนย์กลางการปฏิบัติงานตาม "แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจ" และเชื่อมต่อประเทศไทย พม่า เวียดนามเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางบกและทางอากาศที่สำคัญ ทำให้ขอนแก่นเป็นเมืองไมซ์ที่สำคัญของประเทศ มีศักยภาพในการรองรับผู้เดินทางมาร่วมอีเวนต์ทางธุรกิจได้เป็นจำนวนมาก โดยมี ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น บนถนนมะลิวัลย์ และ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น (KICE)[13] บนถนนมิตรภาพ เป็นสองศูนย์ประชุมหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่รองรับการประชุมสัมนาขนาด 10,000 คน และการแสดงสินค้าระดับนานาชาติได้ ทำให้จังหวัดขอนแก่น เป็นศูนย์กลางการประชุมสัมมนา (MICE City) การคมนาคมสะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน พื้นที่ฟรี WiFi ในที่สาธารณะ จำนวน 661 จุด สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ ท่าให้มีนักท่องเที่ยว และผู้มาประชุมสัมมนา รวมถึงรายได้จากการท่องเที่ยวมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ธุรกิจการท่องเที่ยว

แก้

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประกาศความสำเร็จถึงยอดนักท่องเที่ยวที่เข้าไปยังขอนแก่นทะลุเป้า 5 ล้านคน[14] โดยขยับจากเมืองรองก้าวขึ้นสู่เมืองหลักทางการท่องเที่ยว จากรายงานสถิติกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปี 2561 พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวของขอนแก่นมีจำนวน 5,207,787 คน[15] เติบโตขึ้นถึงร้อยละ 11 จากปี 2560 โดยส่วนหนึ่งของความสำเร็จมาจากการส่งเสริมตลาดท่องเที่ยวของ ททท. ภายใต้กลยุทธ์ ขอนแก่น โมเดล ที่นำการท่องเที่ยวมาเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สร้างรายได้กว่า 17,018 ล้านบาท

ธุรกิจโรงแรม

แก้
 
Pull man Khon kaen

ขอนแก่นมีจำนวนห้องพักมากกว่า 10,000 ห้อง โดยมีโรงแรมมาตรฐาน 3 และ 4 ดาว หลายแห่งเปิดให้บริการห้องพัก และโรงแรม พูลแมน ราชาออร์คิด ยังเป็นโรงแรมมาตรฐาน 5 ดาว แห่งแรกและแห่งเดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่วันที่ วันที่ 1 มีนาคม 2539

อุตสาหกรรมหนัก

แก้

การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการขยายตัวในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความสำคัญต่อเศรษฐกิจของจังหวัดมากขึ้นเป็นลำดับ มีโรงงานอุตสาหกรรมได้รับอนุญาตให้ประกอบการ จ่านวนทั้งสิ้น 4,131 โรงงาน เงินทุน 77,233,083,744 บาท คนงาน 85,528 คน ประเภทของอุตสาหกรรมได้เริ่มปรับเปลี่ยน จากอุตสาหกรรมเกษตร มาเป็นอุตสาหกรรมวิศวการ ทั้งนี้อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น โรงสีข้าว  โรงงานมันเส้น  โรงงานน้ำตาล โรงงานเยื่อกระดาษ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องจากการค้นพบแหล่งปิโตรเลียม (แก๊สธรรมชาติ) ฯลฯ

อุตสาหกรรมที่สำคัญของจังหวัด 7 อันดับ ได้แก่

  1. อุตสาหกรรม กระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ
  2. อุตสาหกรรม การผลิตไฟฟ้า
  3. อุตสาหกรรม การผลิตปิโตรเลียม (แก๊สธรรมชาติ)
  4. อุตสาหกรรม การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 
  5. อุตสาหกรรม อาหาร และเครื่องดื่ม 
  6. อุตสาหกรรม การผลิดอาหารสัตว์
  7. อุตสาหกรรม ผลิตเอทานอล

พลังงาน

แก้

จังหวัดขอนแก่นโรงงานผลิตเอทานอล 2 แห่ง โดยมีก่าลังการผลิตจากมันส่าปะหลัง 130,000 ลิตร/วัน และจาก กากน้าตาล 150,000 ลิตร/วัน สถานีบริการน้ามันเชื้อเพลิง 667 แห่ง สถานีบริการแก๊สธรรมชาติ (NGV) จ่านวน 9 แห่ง สถานีบริการก๊าซ LPG 61 แห่ง และร้านจ่าหน่ายก๊าซหุงตุ้ม (LPG) 680 แห่ง

การไฟฟ้ามีแหล่งผลิตไฟฟ้าที่ส่าคัญ คือ โรงไฟฟ้าพลังน้าเขื่อนอุบลรัตน์ และโรงไฟฟ้าพลังความ ร้อนร่วมน้าพอง ก่าลังผ ลิต 30 เมกกะวัตต์ และ 750 เมกกะวัตต์

สถานการณ์ใช้ ไฟฟ้าของจังหวัด ขอนแก่น 478,919 ครัวเรือน มีไฟฟ้าใช้แล้ว 464,286 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว 96.94

การคมนาคม

แก้

ทางถนน

แก้
 
พระธาตุ 9 ชั้นริมบึงแก่นนคร

ขอนแก่นอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 449 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี ตรงหลักกิโลเมตรที่ 107 แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมาถึงจังหวัดขอนแก่น

รถโดยสารประจำทาง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) มีรถโดยสารธรรมดา รถปรับอากาศ และรถนอนพิเศษชนิด 24 ที่นั่ง วิ่งบริการทุกวัน

รถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศ บริษัทขนส่งจำกัด และรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ ร่วมเปิดเส้นทางเดินรถระหว่าง ขอนแก่น-นครหลวงเวียงจันทน์ โดบจัดรถปรับอากาศมาตรฐาน 45 ที่นั่ง ให้บริการ 2 เที่ยวต่อวัน มีต้นทางและปลายทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ 2 และ สถานีรถเมล์ขนส่งผู้โดยสารตลาดเช้า นครหลวงเวียงจันทน์ โดยไม่มีจุดจอดระหว่างทาง

ทางรถไฟ

แก้

ขบวนรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ ผ่านจังหวัดขอนแก่นไปยังจังหวัดอุดรธานีและหนองคายทุกวัน ขบวนรถที่ให้บริการได้แก่ รถด่วนพิเศษอีสานมรรคา (ขบวนที่ 25), รถด่วนดีเซลรางปรับอากาศที่ 75 และ 77 และรถเร็วที่ 133

 
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สถานีรถไฟขอนแก่นเป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัด โดยด้านหน้าสถานีจะมีขอนไม้ตั้งอยู่พร้อมตัวอักษร "ขอน–แก่น" ปัจจุบันตัวอาคารหลังเดิมถูกรื้อทิ้ง เพื่อสร้างอาคารสถานีรถไฟขอนแก่นหลังใหม่ ในรูปแบบสถานีรถไฟยกระดับขนาดใหญ่แห่งแรก โดยเป็นระบบรางคู่สายแรกของประเทศที่เปิดให้บริการ โดยมีจุดสิ้นสุดที่สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ จังหวัดนครราชสีมา

ทางอากาศ

แก้

ท่าอากาศยานขอนแก่น มีจำนวนผู้โดยสารราว 1.9 ล้านคนต่อปี มีสายการบินให้บริการเป็นจำนวนมาก มีจุดหมายปลายทางได้แก่ กรุงเทพฯ, สงขลา (หาดใหญ่), เชียงใหม่, ภูเก็ต และ ระยอง (อู่ตะเภา) ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการดำเนินการขยายอาคารสนามบิน เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้
 
เทศบาลนครขอนแก่น
 
พระมหาธาตุแก่นนคร

สถานที่ทางประวัติศาสตร์

แก้
  • ศาลหลักเมืองขอนแก่น : เป็นสถานที่เคารพบูชาของชาวขอนแก่น[16] ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาสุขใจ ถนนเทพารักษ์ หน้าสำนักงานเทศบาลนครขอนแก่น ท่านเจ้าคุณปู่พระราชสารธรรมมุนีและหลวงธุรนัยพินิจ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้นำหลักศิลาจารึกมาจากโบราณสถานในท้องที่อำเภอชุมแพมาประกอบพิธีตามแนวทางพระพุทธศาสนาทำเป็นหลักเมืองเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2499 ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2549 เทศบาลนครขอนแก่น ได้ทำการบูรณะศาลหลักเมืองขอนแก่น ตามโครงการบูรณะพัฒนาปฏิสังขรณ์ศาลหลักเมืองและในวโรกาสมหามงคลสมัยเพื่อน้อมถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา โดยผลการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างวิธีพิเศษ ได้ตกลงว่าจ้าง หจก.แก่นชาญกิจวิศวกรรม มาดำเนินการก่อสร้าง แล้วเสร็จและมีการฉลองสมโภชศาลหลักเมืองขอนแก่น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 80 พรรษา เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2550 สิ้นค่าก่อสร้างกว่า 54 ล้านบาท ศาลหลักเมืองขอนแก่นที่ปรับปรุงใหม่นั้น อยู่ ณ บริเวณจุดเดิม ลักษณะตัวอาคารมีศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ ทรวดทรงและส่วนประกอบงานศิลป์เป็นการอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมที่สำคัญของ ท้องถิ่นอีสาน ขนาดและรูปทรงเป็นเป็นอาคารโถงจัตุรมุข กว้างขวางโอ่โถงกว่าของเดิมมาก โดยมีขนาดตัวอาคาร 13 x 13 เมตร โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีพื้นที่ภายในเป็นห้องโถงรวม 73 ตารางเมตร ย่อมุมตัวอาคารโดยรอบมีระเบียงยื่นทั้ง 4 ด้าน ความสูงจากพื้นลานรอบอาคารถึงถึงยอดฉัตรทองคำรวม 27.50 เมตร หลังคาเป็นทรงจั่วจัตุรมุขหลังคาซ้อน 3 ชั้น และชั้นเครื่องยอดเป็นรูปเจดีย์ศิลปะพื้นเมืองอีสาน สัณฐานเป็นเจดีย์จำลองจากองค์พระธาตุขามแก่น
  • พระมหาธาตุแก่นนคร: ตั้งอยู่ภายในวัดหนองแวงพระอารามหลวง ถนนกลางเมือง เป็นศิลปะสมัยทวารวดีผสมผสานศิลปะอินโดจีน รูปทรงแบบชาวอีสานตากแห มี 9 ชั้น เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีการตกแต่งด้วยลวดลายแกะสลัก และภาพเขียนอย่างงดงาม เป็นสถานที่เคารพบูชาของชาวขอนแก่น และเป็นสถานที่ชมทัศนียภาพเมืองขอนแก่น
  • อนุสาวรีย์พระนครศรีบริรักษ์: ตั้งอยู่ที่สวน เจ.ซี. ถนนรอบบึง พระนครศรีบริรักษ์หรือท้าวเพี้ยเมืองแพนเป็นขุนนางเชื้อพระวงศ์กษัตริย์เวียงจันทน์ มีธิดาชื่อนางคำแว่นเป็นสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในปี พ.ศ. 2332 ท้าวเพี้ยเมืองแพนได้พาสมัครพรรคพวกประมาณ 330 คน อพยพมาอยู่ที่บ้านบึงบอน ขึ้นตรงต่อพระยานครราชสีมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2340 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ยกบ้านบึงบอนขึ้นเป็น "เมืองขอนแก่น" และยกฐานันดรศักดิ์ท้าวเพี้ยเมืองแพนขึ้นเป็น "พระนครศรีบริรักษ์" พ่อเมืองคนแรกของจังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2525 ประชาชนชาวขอนแก่น ได้ร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์พระนครศรีบริรักษ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์และเคารพสักการะของชาวเมือง
  • น้ำส่างสนามบิน: ตั้งอยู่บริเวณถนนหน้าศูนย์ราชการ ตรงข้ามโรงเรียนสนามบินด้านทิศเหนือ เป็นบ่อน้ำประวัติศาสตร์ที่มีมาก่อนที่เมืองขอนแก่นจะมีน้ำประปาบริโภค เป็นจุดรวมใจของชาวขอนแก่น เป็นแหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวขอนแก่นในอดีต และให้คุณประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่แก่ประชาชนชาวขอนแก่นมาเป็นเวลายาวนาน
  • ศาลหลักเมือง (เมืองเก่า) : เป็นศาลหลักเมืองหรือบือบ้านที่ท้าวเพี้ยเมืองแพนได้ตั้งไว้ ณ บริเวณใจกลางหมู่บ้าน เป็นเสาหลักเมืองขอนแก่นหลักแรกก่อนจะมีการย้ายเมืองอีก 5 ครั้ง ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณซอยกลางเมือง 21 ด้านข้างศูนย์กัลยาณมิตร
  • พระธาตุขามแก่น: พระธาตุขามแก่นตั้งอยู่ที่วัดเจติยภูมิ บ้านขาม หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง เป็นปูชนียสถานของจังหวัดขอนแก่น บ้านขามเคยเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเวลาประมาณ 2000 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 500
  • บึงละเลิงหวาย อำเภอพล : เป็นบึงขนาดเล็กซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าละเลิงหวาย และเป็นที่กราบสักการะของคนไทยเชื้อสายจีน และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง
  • ปราสาทเปือยน้อย ตั้งอยู่ที่ อ.เปือยน้อย เป็นปราสาทศิลปะขอมโบราณผสมระหว่างศิลปะเขมรแบบบาปวนและแบบนครวัด สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อใช้เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู เป็นปราสาทที่มีความสมบูรณ์ที่สุดในเขตภาคอีสานตอนบน
  • นาหลังหมู่บ้านทุ่งน้อย ( นาเช้าสุข ) : เป็นทุ่งนาบริเวณกว้าง อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านทุ่งน้อย ตำบลลอมคอม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ และมีทิวทัศน์ที่สวยงาม
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น: ตั้งอยู่ที่ถนนกสิกรทุ่งสร้าง เป็นสถานที่ที่เก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่เป็นของแถบอีสานตอนเหนือ โดยรอบอาคารพิพิธภัณฑ์จัดตั้งใบเสมาหินที่ได้จาก "เมืองฟ้าแดดสงยาง" ไว้เป็นจำนวนมาก
  • หอศิลปวัฒนธรรมและอาคารศูนย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น: เป็นแหล่งแสดงศิลปะพื้นบ้านและเป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการต่างๆ ตั้งอยู่ที่ถนนมะลิวัลย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • โฮงมูนมังเมืองขอนแก่น: โฮงมูนมังเมืองขอนแก่น ตั้งอยู่ ณ บริเวณชั้นล่างอาคารสวนสาธารณะ 200 ปี บึงแก่นนคร เทศบาลนครขอนแก่น ภายในโฮงมูนมันเมืองขอนแก่น ได้จัดแบ่งพื้นที่ออกเป็นพื้นที่ในส่วนของนิทรรศการ และห้องจำหน่ายของที่ระลึก สำหรับการจัดนิทรรศการได้แบ่งออกเป็น 5 โซน โดยแบ่งตามเนื้อหาสาระในระบบการปกครอง วิถีชีวิต ภูมิปัญญา และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันน่าภาคภูมิใจของชาวขอนแก่น นับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสร้างบ้านแปงเมือง จวบจนเป็นเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน
 
ศาลหลักเมือง

สถานที่ทางธรรมชาติ

แก้
  • ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ประจำท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น: ตั้งอยู่ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 4 บ้านสามเหลี่ยม ถนนศรีมารัตน์ เป็นแหล่งศึกษาความรู้สำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ที่พร้อมไปด้วยข้อมูลพื้นฐาน ความรู้ หลักการทฤษฎีทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนเป็นแหล่งรวบรวมอุปกรณ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และการแสดงถึงวิวัฒนาการในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
  • พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง: ตั้งอยู่ในเขตตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า เป็นพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการกำเนิดและวิวัฒนาการของโลก[17] ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาและกำเนิดและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งไดโนเสาร์ที่ขุดค้นพบในหุบเขาภูเวียง ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะกับสถานศึกษาและนักท่องเที่ยวทั่วไป
  • บึงทุ่งพึงพืด: ศูนย์รวมพรรณไม้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น เป็นสาขา สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่ ทำหน้าที่รวบรวม พรรณไม้ประจำถิ่นและข้อมูลพืชของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นศูนย์ทดลอง สาธิตและวิจัยพืชเศรษฐกิจและพืชทนเค็มตลอดจนที่ข้องเกี่ยวโดยร่วมมือกับนักวิจัยจากสถาบันในภูมิภาค ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่และภูมิทัศน์ ให้เป็นสถานที่ศึกษาฝึกอบรมของนักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาในภูมิภาคและเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในธรรมชาติตลอดจนแหล่งสันทนาการและท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์แก่ผู้เข้าเยี่ยมชม
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดขอนแก่น: ตั้งอยู่ติดถนนมิตรภาพ ทางไปจังหวัดนครราชสีมา ประมาณกิโลเมตรที่ 44-45 ในเขตอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
  • บึงแก่นนคร : เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและสถานที่ท่องเที่ยวใจกลางเมือง เป็นบึงธรรมชาติคู่เมืองขอนแก่น ที่มีความกว้างถึง 600 ไร่ในฤดูฝนจะมีระดับน้ำปริ่มฝั่ง มีสถานที่ออกกำลังกาย โซนตกปลา ลานกีฬา แหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลา ตั้งอยู่ติดกับถนนรอบบึง[18]
  • บึงทุ่งสร้าง : ตั้งอยู่ที่ ถนนจอมพล ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (ทางไปบ้านดอนหญ้านาง) เป็นบึงน้ำและสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีเขตเทศบาลนครขอนแก่นคอยดูแล เพื่อให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกายให้กับชาวเมือง มีการให้บริการต่างๆ เช่น สนามบาสเกตบอล ลานอเนกประสงค์ สระน้ำ และยังมีสวนนกขนาดใหญ่อยู่ภายในสวนสาธารณะด้วย บรรยากาศร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ที่มีทั้งไม้ดอกไม้ประดับปลูกไว้อย่างสวยงาม ปัจจุบันบึงทุ่งสร้าง ทางองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยกำลังปรับปรุงสถานที่ให้เป็นสวนสัตว์ ไนท์ซาฟารี หรือ ซิตตี้ซู
  • บึงหนองโคตร
  • สวนประตูเมือง ขอนแก่น (สวนเรืองแสง)

งานประจำปี

แก้

จังหวัดขอนแก่นมีงานประเพณีและงานเทศกาลท้องถิ่นที่สำคัญ ดังนี้

  • งานประเพณีทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี
  • งานประเพณีสุดยอดสงกรานต์อีสานเทศกาลดอกคูน–เสียงแคน และถนนข้าวเหนียว โดยจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 13–15 เมษายน ของทุกปี
  • งานประเพณีวันเข้าพรรษา โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันเข้าพรรษาของทุกปี
  • งานประเพณีออกพรรษา ไต้ประทีปบูชา พุทธกตัญญู โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันออกพรรษาของทุกปี
  • งานเทศกาลไหมนานาชาติประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาด จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน–10 ธันวาคม ของทุกปี

บุคคลที่มีชื่อเสียง

แก้

ศิลปิน/นักแสดง

ผู้ประกาศข่าว

นักกีฬา

นักวิชาการ

นักการเมือง

อ้างอิง

แก้
  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จานวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกรายอายุ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564
  3. http://www.khonkaen.go.th/khonkaen6/main.php?cont=kkdata
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-17. สืบค้นเมื่อ 2021-05-17.
  5. https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=448596862264409&id=425747804549315
  6. https://www.facebook.com/groups/205491703372233?view=permalink&id=216268608961209
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-17. สืบค้นเมื่อ 2021-05-17.
  8. https://www.facebook.com/722488218128250/posts/1173867826323618/
  9. 9.0 9.1 https://www.facebook.com/722488218128250/posts/1185849368458797/
  10. 10.0 10.1 https://www.facebook.com/722488218128250/posts/1180913005619100/
  11. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  12. http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/districtList/S010107/th/56.htm
  13. https://www.kice-center.com/
  14. https://www.posttoday.com/life/healthy/578232
  15. https://www.khonkaenthinktank.com/news_view.php?id=74
  16. https://old.khonkaenlink.info/home/news/3989.html
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-17. สืบค้นเมื่อ 2021-05-17.
  18. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-17. สืบค้นเมื่อ 2021-05-17.
  • สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น (ข้อมูลสำรวจเมื่อเดือนตุลาคม 2549)

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

16°25′N 102°50′E / 16.42°N 102.83°E / 16.42; 102.83