เสีย
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | เสีย | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | sǐia |
ราชบัณฑิตยสภา | sia | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /sia̯˩˩˦/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
[แก้ไข]สืบทอดจากไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *siəᴬ¹; ร่วมเชื้อสายกับอีสาน เสีย, ลาว ເສຍ (เสย), คำเมือง ᩈ᩠ᨿᩮ (สเย), เขิน ᩈ᩠ᨿᩮ (สเย), ไทลื้อ ᦵᦉ (เส), ไทดำ ꪎꪸ (สย̂), ไทใหญ่ သေ (เส), ไทใต้คง ᥔᥥᥴ (เส๋), พ่าเก ꩬေ (เส), อาหม 𑜏𑜦𑜧 (เส)
คำกริยา
[แก้ไข]เสีย (คำอาการนาม การเสีย)
- เสื่อมลงไป, ทำให้เลวลงไป
- ผลของการทำชั่วอาจทำให้เสียเกียรติทั้งตนเองและครอบครัว
- อย่าทำให้บริษัทของเราเสียชื่อก็แล้วกัน
- ทำตัวอย่างนี้เสียศักดิ์ศรีลูกผู้ชายหมด
- สูญไป, หมดไป, สิ้นไป
- อุบัติเหตุในครั้งนั้นทำให้เขาเสียแขน'ไปข้างหนึ่ง แต่ยังโชคดีที่ไม่ถึงกับเสียชีวิต
- การพนันอาจทำให้เสียทรัพย์ไปอย่างรวดเร็ว
- ชำรุด
- ถนนในหมู่บ้านเสียนานแล้ว ทางการยังไม่มาซ่อมแซมเลย
- ใช้ไม่ได้
- น้ำท่วมครั้งนี้ทำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเสียหมดทุกอย่าง
- เมื่อตะกี้เจอรถเสียกลางทาง ก็เลยต้องลงไปช่วย
- ยับเยิน, ย่อยยับ
- ปีนี้ฝนแล้งจัดเรือกสวนไร่นาเสียหมด
- บูด
- แกงหม้อนี้เสียหมดทั้งหม้อ
- เน่า
- ผลไม้เข่งนี้เสียแล้ว
- ไม่ดี
- ราขึ้น ขนมปังจึงเสียหมดทั้งแถว
- เธอดัดผมบ่อยเกินไป ทำให้ผมเสีย
- จ่ายเงิน, ชำระเงิน
- การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของท่าน
- พี่สาวออกไปเสียค่าโทรศัพท์ที่องค์การฯ
- หมดทรัพย์สินไปเพราะการพนัน
- ตาย (ใช้แก่คนทั่วไป)
- เขาเสียไปหลายปีแล้ว
- (โบราณ) ทิ้ง
- ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก- จาก สุภาษิตพระร่วง
- เสียไฟเป่าหิ่งห้อย- จาก ลิลิตพระลอ
คำพ้องความ
[แก้ไข]- (5) เสียหาย
คำเกี่ยวข้อง
[แก้ไข]- เสียกบาล
- เสียกระบวน
- เสียกล
- เสียการ
- เสียการเสียงาน
- เสียกำซ้ำกอบ, เสียกำแล้วซ้ำกอบ
- เสียกำได้กอบ, เสียกำแล้วได้กอบ
- เสียกำลังใจ
- เสียกิริยา
- เสียขวง
- เสียขวัญ
- เสียคน
- เสียคำพูด
- เสียงาน
- เสียงานเสียการ
- เสียจริต
- เสียใจ
- เสียโฉม
- เสียชาติเกิด
- เสียชีพ, เสียชีวิต
- เสียชื่อ
- เสียเช่น
- เสียเชิง
- เสียเชิงชาย
- เสียดาย
- เสียเด็ก
- เสียตัว
- เสียตา
- เสียตีน
- เสียแต่, เสียที่
- เสียแต้ม
- เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร
- เสียท่า
- เสียที
- เสียเที่ยว
- เสียธรรมเนียม
- เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย
- เสียน้ำใจ
- เสียน้ำตา
- เสียนิสัย
- เสียเนื้อเสียตัว
- เสียบน
- เสียปาก
- เสียเปรียบ
- เสียเปล่า
- เสียผี
- เสียผู้ใหญ่
- เสียแผน
- เสียพรหมจรรย์
- เสียพรหมจารี
- เสียเพศ
- เสียภูมิ
- เสียมารยาท
- เสียมือ
- เสียมือเสียตีน, เสียมือเสียเท้า
- เสียยุบเสียยับ
- เสียรอย
- เสียรังวัด
- เสียราศี
- เสียรำคาญ
- เสียรู้
- เสียรูป
- เสียรูปคดี
- เสียรูปทรง, เสียรูปเสียทรง
- เสียแรง
- เสียฤกษ์
- เสียเลือดเนื้อ, เสียเลือดเสียเนื้อ
- เสียเวลา
- เสียศูนย์
- เสียเศวตฉัตร
- เสียสติ
- เสียสมอง
- เสียสละ
- เสียสัตย์
- เสียสันดาน
- เสียสายตา
- เสียสาว
- เสียเส้น
- เสียหน้า
- เสียหลัก
- เสียหลาย
- เสียหัว
- เสียหาย
- เสียหู
- เสียหูเสียตา
- เสียเหลี่ยม
- เสียเหลี่ยมเสียคม
- เสียอารมณ์
คำคุณศัพท์
[แก้ไข]เสีย (คำอาการนาม ความเสีย)
- ที่ไม่ดี
- เด็กอะไรนิสัยเสียมาก
- น้ำในคลองหลังบ้านเป็นน้ำเสีย อย่าให้เด็ก ๆ ลงไปเล่นกันล่ะ
- พิการ
- การมองดวงอาทิตย์โดยตรงเป็นเวลานาน อาจทำให้ตาเสียได้
- บูด
- อย่ากินแกงเสีย จะปวดท้อง
รากศัพท์ 2
[แก้ไข]ร่วมเชื้อสายกับลาว ເສຍ (เสย), ไทลื้อ ᦵᦉ (เส), ไทใหญ่ သေ (เส)
คำอนุภาค
[แก้ไข]เสีย
- เน้นความหมายหรือให้เสร็จไป (ประกอบท้ายกริยาหรือวิเศษณ์)
- กินเสีย
- มัวไปช้าเสีย
คำเกี่ยวข้อง
[แก้ไข]ภาษาอีสาน
[แก้ไข]คำกริยา
[แก้ไข]เสีย (คำอาการนาม การเสีย)
หมวดหมู่:
- สัมผัส:ภาษาไทย/ia̯
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีการออกเสียงไอพีเอ
- ศัพท์ภาษาไทยที่มี 1 พยางค์
- ศัพท์ภาษาไทยที่สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม
- คำหลักภาษาไทย
- คำกริยาภาษาไทย
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีตัวอย่างการใช้
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีนัยโบราณ
- คำคุณศัพท์ภาษาไทย
- คำอนุภาคภาษาไทย
- หน้าที่มีลิงก์แดงภาษาไทย/l
- th:ความตาย
- คำหลักภาษาอีสาน
- คำกริยาภาษาอีสาน
- ศัพท์ภาษาอีสานที่มีตัวอย่างการใช้
- Requests for translations of อีสาน usage examples