สนิท
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสภา ระบุว่ามาจากภาษาบาลี สินิทฺธ (“เสน่หา, รักใคร่; ชิด”), จากภาษาสันสกฤต स्निग्ध (สฺนิคฺธ) แต่หากพิจารณาจากความหมายที่ใกล้เคียง อาจมาจากภาษาเขมรเก่า ត្និត៑ (ตฺนิตฺ) หรือภาษาสันสกฤต सनीड (สนีฑ); เทียบภาษาเขมร ស្និទ្ធ (สฺนิทฺธ)
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | สะ-หฺนิด | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | sà-nìt |
ราชบัณฑิตยสภา | sa-nit | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /sa˨˩.nit̚˨˩/(สัมผัส) |
คำคุณศัพท์
[แก้ไข]สนิท (คำอาการนาม ความสนิท)
คำกริยาวิเศษณ์
[แก้ไข]สนิท (คำอาการนาม ความสนิท)
- แนบชิด
- เข้าปากไม้ได้สนิท
- กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็นเนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
- ประตูปิดสนิท
- สีเข้ากันสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน
- ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้สนิท
- อย่างแท้จริง หรือทั้งหมดโดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน
- มะปรางหวานสนิท
- เชื่อสนิท
- ตีหน้าสนิท
- มาก, จริง ๆ, (ใช้กับคำกริยาบางคำ)
- แสบสนิท
- โสดสนิท
ลูกคำ
[แก้ไข]อ้างอิง
[แก้ไข]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส, 2553. หน้า 15.
หมวดหมู่:
- ศัพท์ภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาบาลี
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาบาลี
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาสันสกฤต
- ศัพท์ภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาเขมรเก่า
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาเขมรเก่า
- ศัพท์ภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤต
- สัมผัส:ภาษาไทย/it̚
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีการออกเสียงไอพีเอ
- ศัพท์ภาษาไทยที่มี 2 พยางค์
- คำหลักภาษาไทย
- คำคุณศัพท์ภาษาไทย
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีตัวอย่างการใช้
- คำกริยาวิเศษณ์ภาษาไทย