ข้ามไปเนื้อหา

Toxorhynchites

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Toxorhynchites
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Miocene–Present
Toxorhynchites speciosus
ลูกน้ำของ Toxorhynchites speciosus
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์ขาปล้อง
Arthropoda
ชั้น: แมลง
Insecta
อันดับ: Diptera
Diptera
วงศ์: Culicidae
Culicidae
วงศ์ย่อย: Culicinae
Culicinae
เผ่า: Toxorhynchitini
Toxorhynchitini
สกุล: Toxorhynchites
Toxorhynchites
Theobald, 1901
สปีชีส์

ดูในบทความ

Toxorhynchites หรือยุงยักษ์, ยุงช้าง เป็นสกุลของยุงที่หากินตอนกลางวัน มักมีสีสันสดใส พบได้ทั่วโลกระหว่าง 35° เหนือ และ35° ใต้ หลายสปีชีส์อาศัยอยู่ในป่า หนึ่งในนี้เป็นยุงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ค้นพบ โดยมีความยาวได้ถึง 18 มม. และความกว้างจากปีกข้างหนึ่งไปอีกข้างถึง 24 มม.[1] สกุลนี้เป็นหนึ่งในยุงหลายชนิดที่ไม่กินเลือดเป็นอาหาร ตัวเต็มวัยดำรงชีวิตด้วยสารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่นน้ำหวานบนใบไม้, หรือน้ำยางและน้ำหวานจากพืชที่ต้นเสียหาย, ของเสีย, ผลไม้, และน้ำต้อย[2]

เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้และตัวเมียจะปรับการกระพือปีกให้มีความถี่เท่ากัน[3][4] ตอนวางไข่ ตัวเมียจะบินอยู่เหนือน้ำและหย่อนไข่ไปที่ผิวน้ำ[3] สีของไข่มีอาจเป็นสีเหลืองหรือขาว มีระยะฟักตั้งแต่ 40–60 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ยิ่งยุงตัวเมียมีอายุมาก ความแข็งแรงสมบูรณ์ของไข่จะน้อยลง[5]

ลูกน้ำของยุงสกุลนี้กินลูกน้ำของยุงชนิดอื่นและเนกตอน (nekton) ที่คล้ายกันเป็นอาหาร แตกต่างจากลูกน้ำของยุงสปีชีส์ที่ดูดเลือดกิน ทำให้ Toxorhynchites เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์[1] ตัวเต็มวัยของยุงสกุลนี้ไม่มีความจำเป็นต้องดูดเลือด เนื่องจากตอนเป็นลูกน้ำได้กินอาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูงสะสมไว้เพียงพอสำหรับการสร้างไข่และไข่แดง ลูกน้ำของ Toxorhynchites splendens พันธุ์ที่อาศัยอยู่ในป่าทึบกินลูกน้ำของยุงชนิดอื่นตามรอยแตกของเปลือกไม้ โดยเฉพาะ Aedes aegypti

นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเสนอให้นำยุงในสกุล Toxorhynchites ไปปล่อยไว้นอกพื้นที่หากินตามธรรมชาติของมันเพื่อควบคุมการระบาดของไข้เลือดออก ในอดีตเคยมีการทำเช่นนี้มาแล้ว แต่มีข้อผิดพลาดหลายประการ ตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์ตั้งใจจะนำ T. splendens ไปปล่อยในพื้นที่อื่น แต่ว่ากลับเป็นยุง T. amboinensis[5] ซึ่งเป็นยุงสูญพันธุ์แล้วที่ค้นพบจากอำพันสมัยไมโอซีนในเม็กซิโก[6]

ยุง Toxorhynchites rutilus ตัวผู้ขณะเกาะอยู่บนดอกสร้อยทอง

สปีชีส์

[แก้]

สกุล Toxorhynchites แบ่งเป็น 4 สกุลย่อย ประกอบด้วย 92 สปีชีส์:[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Cook, G.C.; Zumla, A (2009). Manson's Tropical Diseases (22 ed.). Saunders Elsevier. p. 1735. ISBN 978-1-4160-4470-3.
  2. Bonnet, D. D.; Hu, S. M. K. (1951). "The Introduction of Toxorhynchites brevipalpis Theobald into the Territory of Hawaii". Proceedings of the Hawaiian Entomological Society. 14 (2): 237–242. hdl:10125/16231.
  3. 3.0 3.1 Hansen, Cypress (19 August 2021). "The Secret Lives of Mosquitoes, the World's Most Hated Insects". Smithsonian Voices.
  4. Gibson, Gabriella; Russell, Ian (July 2006). "Flying in Tune: Sexual Recognition in Mosquitoes". Current Biology. 16 (13): 1311–1316. doi:10.1016/j.cub.2006.05.053. PMID 16824918. S2CID 11833769.
  5. 5.0 5.1 Collins, Larissa E.; Blackwell, Alison (2000). "The biology of Toxorhynchites mosquitoes and their potential as biocontrol agents". Biocontrol News and Information. 21 (4): 105–116.
  6. Zavortink, Thomas J.; Poinar, George O. (January 2008). "Toxorhynchites (toxorhynchites) mexicanus, N. SP. (Diptera: Culicidae) from Mexican Amber: A New World Species with Old World Affinities". Proceedings of the Entomological Society of Washington. 110 (1): 116–125. doi:10.4289/0013-8797-110.1.116. S2CID 85578548.
  7. Toxorhynchites at the Integrated Taxonomic Information System.
  8. Röder, V. von (1885). "Diptera von Insel Portorico". Entomologische Zeitung [de]. 46: 337–349.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]