ข้ามไปเนื้อหา

Neurapraxia

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Neurapraxia
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-1058 .9 G 58 .9

Neurapraxia เป็นความผิดปกติของระบบประสาทนอกส่วนกลางที่ทำให้การควบคุมกล้ามเนื้อ (motor) หรือการรับความรู้สึก (sensory) เสียหายเนื่องจากส่งกระแสประสาทไม่ได้ โดยเฉลี่ยจะคงยืนประมาณ 6-8 อาทิตย์ก่อนหาย

ภาวะนี้มักจะมีเหตุจากความบาดเจ็บต่อระบบประสาทเนื่องจากแรงกระแทกจากภายนอกต่อเส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) และต่อใยประสาทสั่งการ ซึ่งสร้างแรงกดที่เส้นประสาทอย่างซ้ำ ๆ หรือคงยืน เพราะแรงกดนี้ การขาดเลือดเฉพาะที่ก็จะเกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดรอยโรคที่เส้นประสาท ซึ่งร่างกายมนุษย์โดยธรรมชาติจะตอบสนองเป็นอาการบวมน้ำรอบ ๆ จุดที่ถูกกด รอยโรคจะหยุดหรือขัดขวางกระแสประสาทที่ช่วงหนึ่งในเส้นประสาท ทำให้ระบบประสาทต่อจากจุดนั้นไม่ทำงานหรือทำงานได้ไม่สมบูรณ์ แล้วทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง

อาการนี้ทำปลอกไมอีลินที่หุ้มเส้นประสาทให้เสียหายอย่างชั่วคราว แต่ไม่ทำให้เส้นประสาทเสียหาย จึงไม่ใช่ความเสียหายอย่างถาวร ดังนั้น กระบวนการที่ทำให้เสียเส้นประสาทอย่างถาวรคือ Wallerian degeneration จึงไม่เกิดขึ้นเนื่องกับอาการนี้ เพื่อจะจัดว่าเป็น neurapraxia ตามระบบจำแนกความบาดเจ็บต่อเส้นประสาทนอกส่วนกลาง Seddon classification เมื่อกระแสประสาทกลับสามารถส่งต่อได้แล้ว อาการจะต้องหายอย่างสมบูรณ์และรวดเร็ว ไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะจัดเป็นอาการที่หนักกว่า เช่น axonotmesis หรือ neurotmesis ดังนั้น neurapraxia จึงเป็นการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทนอกส่วนกลางแบบเบาสุด เป็นอาการที่สามัญต่อนักกีฬามืออาชีพ โดยเฉพาะนักอเมริกันฟุตบอล และเป็นอาการที่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา

คำว่า Neurapraxia เป็นคำอนุพัทธ์ของคำว่า apraxia (ภาวะเสียการรู้ปฏิบัติ) ซึ่งเป็น "การเสียหรือความพิการของสมรรถภาพในการเคลื่อนไหวแบบประสานและซับซ้อน โดยการควบคุมกล้ามเนื้อหรือการรับความรู้สึกจะไม่บกพร่อง"

ดูเพิ่ม

[แก้]