Nepenthes campanulata
บทความเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนี้มีชื่อบทความเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่มีชื่อสามัญเป็นภาษาไทย |
Nepenthes campanulata | |
---|---|
N. campanulata จากต้นไม้ที่ปลูกเลี้ยง | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช (Plantae) |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Caryophyllales |
วงศ์: | Nepenthaceae |
สกุล: | Nepenthes |
สปีชีส์: | N. campanulata |
ชื่อทวินาม | |
Nepenthes campanulata Sh.Kurata (1973) |
Nepenthes campanulata (มาจากภาษาละติน: campanulatus = ระฆัง), หรือ Bell-Shaped Pitcher-Plant (หม้อทรงระฆัง) [1] เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงถิ่นเดียวของเกาะบอร์เนียว
ไฟป่าได้ทำลายถิ่นที่อยู่ของ N. campanulata ที่เรารู้เพียงแห่งเดียวไปในปี ค.ศ. 1983 และมันไม่เป็นที่แน่ใจว่ายังมีหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ในที่แห่งอื่นอีกหรือไม่หรือมันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว[2] จนถึงปี ค.ศ. 1997 มันได้ถูกค้นพบอีกครั้งในระยะทางไม่กี่ร้อยกิโลเมตรห่างจากที่ตั้งแบบฉบับเดิม N. campanulata มีชื่ออยู่ในบัญชีแดงของIUCNปี ค.ศ. 2006[3]
N. campanulata ไม่มีลูกผสมทางธรรมชาติ และไม่มีหน่วยอนุกรมวิธานต่ำกว่าระดับชนิด[2]
ชื่อและการค้นพบ
[แก้]N. campanulata ถูกเก็บได้ครั้งแรกในวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1957[4][I] บนภูเขาอิลาส บันกาแอน (Ilas Bungaan) โดย เอ.เจ.จี. 'ด็อก' โคสเทอร์แมนส์ (A.J.G. 'Doc' Kostermans) หัวหน้าแผนกพฤกษศาสตร์ของสถาบันวิจัยป่าไม้ที่โบกอร์ (Bogor) ขณะเดียวกันคณะสำรวจเก็บตัวอย่างของ N. mapuluensis ได้ด้วย โคสเทอร์แมนส์เขียนถึงการค้นพบของเขาไว้ว่า:[1]
ฉันได้ทำงานของกรมป่าไม้ที่ซังกูลิรัง (Sangkulirang) และเมื่อเสร็จสิ้นฉันต้องการที่จะตรวจสอบเกี่ยวกับดอกไม้หิน "อิลาส บันกาแอน"[II] ที่ตอนบนของแม่น้ำ หลังจาก 10 วันในการเดินทางฉันเห็นหินสีค่อนข้างเหลืองในครั้งแรก แล้วก็พบว่ามันคือใบของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ขึ้นอยู่บนหินสูงที่ลาดชันซึ่งสูงขึ้นไป 50 ม. เราตัดไม้เพื่อสร้างบันไดแล้วปีนขึ้นไป หม้อข้าวหม้อแกงลิงนี้ไม่มีดอกหรือผลแต่เราพบถ้ำ ในถ้ำมีโลงศพที่คล้ายเรือที่สลักหัวสุนัขไว้ที่ปลายทั้งสองด้าน ภายในมีกระดูกที่ถูกตัดศีรษะ
N. campanulata ถูกแจกแจงลักษณะโดยไซเกะโอะ คุระตะ (Shigeo Kurata) ในปี ค.ศ. 1973 บนพื้นฐานตัวอย่างเพียงตัวอย่างเดียว ที่ชื่อ Kostermans 13764 ที่ถูกเก็บรักษาที่หอพรรณไม้ของสวนพฤกษศาสตร์สิงคโปร์[5] ต้นแบบอื่นๆที่ถูกรักษาไว้มีดังนี้ : ตัวอย่างคู่ตัวอย่างต้นแบบถูกติดป้ายไว้ว่า "spec. nov.!" ถูกรักษาไว้ที่พิพิธภัณประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติในปารีส ตัวอย่างคู่ตัวอย่างต้นแบบมากกว่าสองตัวอย่างถูกเก็บรักษาไว้ที่สวนพฤกษศาสตร์นิวยอร์ก[4][6]
ฉะนั้นคุระตะจึงแถลงถึงตัวอย่างว่าเป็นพืชถิ่นเดียวตามสถานที่พบเพียงแห่งเดียวนี้ โดยมีถ้อยคำแกลงดังนี้ : "สามารถสันนิษฐานได้ว่าเนื่องจากถิ่นอาศัยของมันตามที่บันทึกไว้น่าจะเป็นทรายและผาหินปูนที่ความสูง 300 ม."[5][1]
ตัวอย่างของ N. campanulata ขาดส่วนโครงสร้างดอกไป จนกระทั่งถูกค้นพบอีกครั้งในปี ค.ศ. 1997
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]N. campanulata เป็นไม้เลื้อยไต่ มีลำต้นที่สั้นทรงกระบอกสูง 20 ถึง 50 ซม.[5] และหนา 4 มม. ใบคล้ายแผ่นหนังและไร้ก้าน แผ่นใบรูปช้อนถึงรูปใบหอก ยาว 12 ซม.[7] และกว้าง 2 ซม. ปลายแผ่นใบมนและก้นปิดเล็กน้อย ฐานแผ่นใบเป็นแบบหุ้มลำต้น มีสองถึงสามเส้นใบตามยาวในแต่ละด้าน เส้นใบรูปขนนกไม่ชัดนัก สายดิ่งสั้นและแข็ง ยาวไม่เกิน 4 ซม.[2]
ไม่เหมือนกับชนิดอื่นในสกุล N. campanulata มีหม้อเพียงชนิดเดียว ตามคำระบุชนิดแสดงให้เห็นว่ามันมีทรงรูประฆัง สีเขียวเหลืองสูงประมาณ 10 ซม.[7] และเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.5 ซม. มันไม่มีปีกริมขนฝอยแต่มีสันสองสันด้านหน้าแทน ภายในหม้อมีต่อมบริเวณในส่วนล่างสุดเท่านั้น ปากหม้อเป็นวงกลมและวางตัวตามแนวนอน เพอริสโตมมีขนาดเล็กประกอบไปด้วยฟันบางๆเป็นแนว ฝาเป็นรูปรีถึงรูปขอบขนานไม่มีรยางค์ เดือยเดี่ยวยาว 1 มม.ที่ฐานของฝา N. campanulata ไม่มีสิ่งปกคลุม[2]
ต้นไม้กระจายพันธุ์โดยไหลใต้ดิน ต้นไม้ที่โตเต็มที่บ่อยครั้งพบเป็นกลุ่มก้อนที่เกิดจากการขึ้นของหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลายๆจุด[8]
การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย
[แก้]ประชากรของ N. campanulata แต่ดั้งเดิมตามตัวอย่างต้นแบบได้ถูกทำลายไปด้วยไฟป่าในปี ค.ศ. 1983[8] ประชากรเท่าที่รู้ทั้งหมดตายในปลายปี ค.ศ. 1991 หรือไม่ก็ต้นปี ค.ศ. 1992[9] ในเวลานั้น N. campanulata ถูกคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ต่อมามันถูกค้นพบอีกครั้งในปี ค.ศ. 1997 โดยชีอัน ลีล์ (Ch'ien Lee) บนผาหินปูนของอุทยานแห่งชาติกูนุงมูลูในรัฐซาราวัก ระยะทางมากกว่า 400 กม.จากที่ตั้งแบบฉบับ[3][10][11][12]
N. campanulata เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงพื้นราบ เป็นพืชขึ้นบนหินที่ความสูงระหว่าง 300 ถึง 500 ม.จากระดับน้ำทะเล[7] อาศัยในที่เปียกชื้น หรือบริเวณที่เกิดมอสส์บนผาและเป็นชนิดเดียวที่ขึ้นบนหินปูน[2]
อนุกรมวิธาน
[แก้]ในการแจกแจงลักษณะของ N. campanulata คุระตะเสนอว่ามันอาจเป็นญาติใกล้ชิดกับ N. inermis พืชถิ่นเดียวของสุมาตรา[5] แต่นักอนุกรมวิธานอื่นๆไม่เห็นด้วยกับสมมุติฐานนี้[9] ทั้งสองชนิดอาจจะคล้ายกันในโครงสร้างทั่วไปอย่างเช่นลักษณะของหม้อ[2] อย่างไรก็ตาม มันไม่เฉพาะแต่เพียงแบ่งแยกได้ตามระยะทางตามภูมิศาสตร์เท่านั้น อีกทั้งยังมีถิ่นอาศัยแต่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง N. campanulata เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงพื้นราบถิ่นเดียวที่ขึ้นบนหินปูน แต่ทว่า N. inermis เติบโตแบบอิงอาศัยที่ความสูง 1500 ถึง 2600 ม.[2][13]
ดูเพิ่ม
[แก้]I. ^ โคสเทอร์แมนส์สำรวจภูเขาอิลาส บันกาแอนระหว่างวันที่ 8 กันยายน ถึง 19 กันยายน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจตอนเหนือของบอร์เนียว[14]
II. ^ ในภาษาอินโดนีเซียสำหรับคำว่า "ดอกไม้หิน (Ilas Bungaan)" : ilas แปลว่า "หิน" และ bungaan แปลว่า "ดอกไม้"[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Phillipps, A. & A. Lamb 1996. Pitcher-Plants of Borneo. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Clarke, C.M. 1997. Nepenthes of Borneo. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
- ↑ 3.0 3.1 Hilton-Taylor, C. (2006). Nepenthes campanulata. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 06 May 2006.
- ↑ 4.0 4.1 Specimen Details: Nepenthes campanulata Kurata (NY Specimen ID: 39331). The New York Botanical Garden.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Kurata, S. 1973. Nepenthes from Borneo, Singapore and Sumatra. Gardens' Bulletin Singapore 26 (2) : 227–232.
- ↑ Specimen Details: Nepenthes campanulata Kurata (NY Specimen ID: 39332). The New York Botanical Garden.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Lee, C.C. 2006. Species profile: Nepenthes campanulata เก็บถาวร 2020-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. WildBorneo.
- ↑ 8.0 8.1 Clarke, C.M. & C.C. Lee 2004. Pitcher Plants of Sarawak. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
- ↑ 9.0 9.1 Nerz, J. 1994. Nepenthes-discussion. Carnivorous Plant Mailing List.
- ↑ Steiner, H. 2002. Borneo: Its Mountains and Lowlands with their Pitcher Plants. Toihaan Publishing Company, Kota Kinabalu.
- ↑ Hansen, E. 2001. Where rocks sing, ants swim, and plants eat animals: finding members of the Nepenthes carnivorous plant family in Borneo. Discover 22 (10) : 60–68.
- ↑ Lee, C.C. 2004. New records and a new species of Nepenthes (Nepenthaceae) from Sarawak. Sandakania 15: 93–101. Abstract
- ↑ Clarke, C.M. 2001. Nepenthes of Sumatra and Peninsular Malaysia. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
- ↑ van Steenis-Kruseman, M.J., et al. 2006. Cyclopaedia of Malesian Collectors: André Joseph Guillaume Henri Kostermans เก็บถาวร 2020-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Nationaal Herbarium Nederland.