ABTS
ชื่อ | |
---|---|
IUPAC name
2,2'-azino-bis (3-ethylbenzthiazoline-6-sulphonic acid)
| |
เลขทะเบียน | |
3D model (JSmol)
|
|
เคมสไปเดอร์ | |
CompTox Dashboard (EPA)
|
|
| |
| |
คุณสมบัติ | |
C18H18N4O6S4 | |
มวลโมเลกุล | 514.62 g/mol |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
ในทางชีวเคมี 2,2'-azino-bis (3-ethylbenzthiazoline-6-sulphonic acid) หรือ ABTS เป็นสารประกอบเคมี ใช้ในการสังเกตปฏิกิริยา ของเอนไซม์ที่เฉพาะเจาะจง การใช้โดยทั่วไปคือ enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) เพื่อตรวจสอบสำหรับการจับของโมเลกุลซึ่งกันและกัน
นิยมใช้เป็นสารตั้งต้นกับไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ สำหรับเอนไซม์เปอร์ออกซิเดส หรือ เอนไซม์ออกซิเดสที่มีทองแดงหลายโมเลกุล เช่น แลกเคส หรือ บิลิรูบิน ออกซิเดส ช่วยให้ติดตามจลนพลศาสตร์ของปฏิกิริยาของ เปอรอกซิเดสได้ สามารถใช้ติดตาม จลนพลศาสตร์ปฏิกิริยาของเอนไซม์ใด ๆ ที่ผลิตไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์โดยอ้อม หรือตรวจสอบปริมาณไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ในตัวอย่าง
ศักยภาพรีดักชันของ ABTS จะสูงพอที่จะทำหน้าที่เป็นสารให้อิเล็กตรอนสำหรับโมเลกุลของ oxo เช่น โมเลกุลออกซิเจนและไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ค่าพีเอชที่น้อยมากในการเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ ภายใต้สภาวะนี้ หมู่ซัลโฟเนตเป็นตัวให้โปรตรอนที่เต็มที่ในสภาวะ dianion
สารนี้ถูกเลือกเพราะเอนไซม์กลุ่มนี้ทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ เปลี่ยนให้เป็นผลิตภัณฑ์สีเขียวและละลายน้ำได้ การดูดกลืนแสงสูงสุดของผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 420 นาโนเมตร (ε = 3.6 × 104 M-1 cm-1) [2] ซึ่งตรวจได้ด้วย spectrophotometer และใช้ในการตรวจปริมาณกลูโคส เช่น ในเลือด
ABTS ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและงานวิจัยทางการเกษตร เพื่อวัด ความสามารถของ สารต้านอนุมูลอิสระ ในอาหาร[3] โดย ABTS ถูกเปลี่ยนเป็น ไอออนบวกเรดิคัลด้วยการเติม โซเดียมเพอร์ซัลเฟต ไอออนบวกเรดิคัลนี้เป็นสีน้ำเงินและดูดกลืนแสงที่ 734 nm[4] ไอออนบวกเรดิคัลของ ABTS ทำปฏิกิริยาต่อสารต้านอนุมูลอิสระส่วนใหญ่รวมทั้งโพลีฟีนอล ไทออล และ วิตามินซี[5] ไอออนบวกเรดิคัลสีน้ำเงินของ ABTS ถูกแปลงกลับไปเป็นรูปไม่มีสีที่เป็นกลาง และตรวจวัดได้ การตรวจวัดนี้เรียกว่าวิธี Trolox equivalent antioxidant capacity (TEAC) ซึ่ง ปฏิกิริยาของสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดจะเทียบกับค่าของ Trolox ซึ่งเป็นแอนาลอกของ วิตามินอี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bourbonnais, Robert; Leech, Dónal; Paice, Michael G. (1998-03-02), "Electrochemical analysis of the interactions of laccase mediators with lignin model compounds", Biochimica et Biophysica Acta (BBA) - General Subjects, 1379 (3): 381–390, doi:10.1016/S0304-4165 (97) 00117-7
{{citation}}
: ตรวจสอบค่า|doi=
(help)CS1 maint: date and year (ลิงก์) - ↑ Shin, Kwang-Soo; Lee, Yeo-Jin (2000-12-01), "Purification and Characterization of a New Member of the Laccase Family from the White-Rot Basidiomycete Coriolus hirsutus", Archives of Biochemistry and Biophysics, 384 (1): 109–115, doi:10.1006/abbi.2000.2083
{{citation}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - ↑ Huang, Dejian; Ou, Boxin; Prior, Donald L. (2005-02-25), "The Chemistry Behind Antioxidant Capacity Assays", J. Agric. Food Chem., 53 (6): 1841–1856, doi:10.1021/jf030723c
{{citation}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์) - ↑ Re, Roberta; Pellegrini, Nicoletta; Proteggente, Anna; Pannala, Ananth; Rice-Evans, Catherine (1999-06-02), "Antioxidant activity applying an improved ABTS radical cation decolorization assay", Free Radical Biology and Medicine, 26 (9–10): 1231–1237, doi:10.1016/S0891-5849 (98) 00315-3
{{citation}}
: ตรวจสอบค่า|doi=
(help)CS1 maint: date and year (ลิงก์) - ↑ Walker, Richard B.; Everette, Jace D. (2009-01-29), "Comparative Reaction Rates of Various Antioxidants with ABTS Radical Cation", J. Agric. Food Chem., 57 (4): 1156–1161, doi:10.1021/jf8026765
{{citation}}
: CS1 maint: date and year (ลิงก์)