ไฮยีนา
ไฮยีนา (อังกฤษ: hyena; มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า ὕαινα, hýaina ออกเสียงว่า /ฮือไอนา/ หรือ /ฮือแอนา/)[1] เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง โดยใช้ชื่อวงศ์ว่า Hyaenidae พร้อมกับ 4 สายพันธุ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ (แต่ละชนิดมีสกุลของตนเอง) ไฮยีนาเป็นวงศ์ที่เล็กอันดับ 5 ในอันดับสัตว์กินเนื้อ และเป็นหนึ่งในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เล็กที่สุด[2] ถึงแม้ว่าจะมีความหลากหลายน้อย ไฮรนาเป็นสัตว์ที่เป็นเอกลักษณ์และสำคัญในระบบนิเวศแอฟริกาส่วนใหญ่[3]
ไฮยีนา มีลักษณะและรูปร่างโดยรวมคล้ายกับสุนัขหรือหมาป่า ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อที่อยู่ในวงศ์ Canidae แต่ไฮยีนาก็ไม่ใช่สุนัข หากแต่เป็นสัตว์ที่อยู่ในวงศ์ของตนเองต่างหาก โดยอยู่ในอันดับย่อย Feliformia ซึ่งใกล้ชิดกับวงศ์เสือและแมวและวงศ์ชะมดและอีเห็น มากกว่า
ลักษณะและพฤติกรรม
[แก้]ไฮยีนาสามารถแบ่งได้เป็น 25 สกุล (ดูในตาราง)[4] หลาย ชนิดแต่ปัจจุบัน เหลือแค่ 4 ชนิด 3 สกุล กระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปแอฟริกาและบางส่วนในภูมิภาคอาหรับและอินเดีย ไฮยีนามีลักษณะรูปร่างคล้ายกับสุนัข มีขนหยาบหนาสีน้ำตาลแกมเทา มีลายและจุดแตกต่างกันตามแต่ละชนิด และมีหางยาวราว 18 นิ้ว ไหล่และหัวมีส่วนกว้าง ไหล่สูงกว่าขาหลังมาก และมีกรามที่แข็งแกร่งและแข็งแรงมาก ทำให้เป็นสัตว์จำพวกหนึ่งที่มีแรงกัดรุนแรงมาก
ไฮยีนามักจะรวมตัวกันออกหาเหยื่อโดยมีตัวเมียเป็นจ่าฝูง ไฮยีนาตัวเมียนั้นจะมีอวัยวะเพศที่ขยายใหญ่ได้จนมีขนาดเท่ากับอวัยวะเพศของตัวผู้ ตัวใดที่มีลักษณะอวัยวะเพศคล้ายเพศผู้ จะสามารถเข้ากลุ่มตัวเมียได้ดี ไฮยีนาตัวเมียที่ไม่มีอวัยวะเพศผู้จะถูกขับออกจากกลุ่มตัวเมีย และไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการมีกลุ่มได้ ไฮยีนาสามารถวิ่งได้เร็วถึง 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นิสัยค่อนข้างดุ ไฮยีนาตัวเมียจะมีรูปร่างที่ใหญ่กว่าตัวผู้ เนื่องจากจะเป็นฝ่ายดูแลลูก เพราะตัวผู้จะทำอันตรายและกินลูกไฮยีนาที่เกิดใหม่เป็นอาหารได้
ไฮยีนาออกหากินในเวลากลางคืน ตอนกลางวันจะนอนหลับพักผ่อนในโพรงหรือซอกหิน จะคลอดลูกและเลี้ยงดูลูกในโพรง โดยออกลูกครั้งละประมาณ 1-2 ตัว บางครั้งอาจได้ถึง 4 ตัว โดยลูกอ่อนจะยังลืมตาและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
ในวัฒนธรรมและความสัมพันธ์กับมนุษย์
[แก้]แม้ไฮยีนาจะมีขนาดและรูปร่างที่เล็กกว่าสิงโต แต่จะเป็นสัตว์ที่สิงโตมักจะแพ้เมื่อล่าเหยื่อได้แล้ว ไฮยีนาเข้ามาก่อกวนเพื่อที่จะแย่งซากสัตว์ที่ล่าได้ จนสิงโตเป็นฝ่ายล่าถอยไป จนมีความเชื่อกันว่า ไฮยีนาเป็นสัตว์ขี้ขลาด แต่ไฮยีนาก็มีพฤติกรรมล่าเหยื่อได้เอง และบางครั้งก็คุกคามสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ของมนุษย์ด้วย อาทิ วัว ควาย แพะ หรือแกะ และบางครั้งก็อาจโจมตีมนุษย์ได้เช่นกัน มีตำนานคล้ายมนุษย์หมาป่าคือมนุษย์ไฮยีนา (Werehyena)
ไฮยีนา เป็นสัตว์ที่กินไม่เลือก แม้แต่กระดูกก็กินได้ รวมทั้งซากศพด้วย อีกทั้งยังมีความเชื่อว่า ไฮยีนาเป็นสัตว์เจ้าเล่ห์ เมื่อถูกหมาป่ารุมทำร้าย ไฮยีนามักจะทำเป็นแกล้งตายเพื่อหลอกหมาป่า ทันทีที่หมาป่าละความสนใจ ก็จะลุกขึ้นหนีไป อีกทั้งเสียงร้องของไฮยีนานั้นยังคล้ายกับเสียงหัวเราะ ด้วยเหตุนี้ ทำให้ไฮยีนาได้กลายเป็นตัวละครที่เจ้าเล่ห์ในวัฒนธรรมร่วมสมัยหลายประการ อาทิ เป็นตัวละคร 3 ตัว ที่ชื่อ Shenzi, Banzai และ Ed ซึ่งมีบทบาทสำคัญในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องThe Lion King ของบริษัท วอลต์ ดิสนีย์ ในปี ค.ศ. 1995 เป็นต้น
ในประเทศไทยมีไฮยีนาเลี้ยงในสวนสัตว์ต่าง ๆ ได้แก่ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว, สวนสัตว์นครราชสีมา, สวนสัตว์สงขลา, เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เป็นต้น[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ὕαινα, Henry George Liddell, Robert Scott, A Greek-English Lexicon, on Perseus. Etymologically, this is a feminine of ὕς "swine".
- ↑ Wilson, D.E.; Mittermeier, R.A., บ.ก. (2009). Handbook of the Mammals of the World, Volume 1: Carnivora. Barcelona: Lynx Edicions. pp. 50–658. ISBN 978-84-96553-49-1.
- ↑ Mills & Hofer 1998, p. iv
- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ หน้า 108-110, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม 2518)
บรรณานุกรม
[แก้]- Heptner, V. G.; Sludskii, A. A. (1992). "Mammals of the Soviet Union: Carnivora (hyaenas and cats), Volume 2". Smithsonian Institution Libraries and National Science Foundation.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - Kruuk, Hans (1972). "The Spotted Hyena: A Study of Predation and Social Behaviour". University of California Press.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - Kurtén, Björn (1968). "Pleistocene mammals of Europe". Weidenfeld and Nicolson.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - Macdonald, David (1992). The Velvet Claw: A Natural History of the Carnivores. New York: Parkwest. ISBN 0-563-20844-9.
- Mills, Gus; Hofer, Heribert (1998). Hyaenas: status survey and conservation action plan (PDF). IUCN/SSC Hyena Specialist Group. ISBN 2-8317-0442-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 6, 2013.
- Mills, Gus; Mills, Margie (2010). Hyena Nights and Kalahari Days. Jacana Education. ISBN 978-1-77009-811-4.
- Pocock, R. I. (1941). "Fauna of British India: Mammals Volume 2". Taylor and Francis.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - Rosevear, Donovan Reginald (1974). The carnivores of West Africa. London : Trustees of the British Museum (Natural History). ISBN 0565007238.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Funk, Holdger (2010) Hyaena: On the Naming and Localisation of an Enigmatic Animal, GRIN Verlag, ISBN 3-640-69784-7
- Lawick, Hugo & Goodall, Jane (1971) Innocent Killers, Houghton Mifflin Company Boston
- Mills, M. G. L. (2003) Kalahari Hyenas: Comparative Behavioral Ecology of Two Species, The Blackburn Press