ข้ามไปเนื้อหา

ไมกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปแสดงกลุ่มแร่ไมกา(Muscovite)
รูปแสดงรอยแตกกลุ่มแร่ไมกา(Muscovite)

กลุ่มแร่ไมกา (อังกฤษ: Mica Group) ได้แก่ แร่ดิน (Clay mineral) และแร่กลีบหิน (flaky minerals) ประกอบด้วย ปิรามิดฐานสามเหลี่ยมที่จับตัวกันเป็นแผ่นซิลิเกด (sheet silicste) โดยแต่ละปิรามิดมีการใช้ออกซิเจนร่วมกับปิรามิดอื่นสามตัว จึงเหลือออกซิเจนอีกตัวที่ยังไม่สมดุล จึงมีสูตรทั่วไปว่า (Si4O10)n-4 ในกรณีที่ง่ายที่สุดก็คือเอา Al+3 มาจับกับออกซิเจน จนเกิดเป็นแร่ดินขาว (kaolinite)

ในกรณีของแร่ไมกาตัวอื่น เช่น คลอไรด์หรือไบโอไทด์ นอกจาก Al แล้วยังมีไอออนตัวอื่นปรากฏและจับตัวเป็นแผ่นซิลิเกด แรงเกาะยึดก็มีลักษณะคล้ายพวกที่เป็นโซ่ คือแรงเกาะยึดระหว่างซิลิเกดกับออกซิเจนมากกว่าแรงจากออกซิเจนกับแคทไอออนตัวอื่น ด้วยเหตุนี้เองแร่ดินและแร่กลีบหินจึงมักแตกออกหรือปรากฏรอยแตกถี่ๆ ไปตามระนาบของแผ่นนั่นเองสำหรับกรณีกลุ่มแร่แผ่น (mica group) เช่น ไบโอไทต์ (biotite) แคทไอออน Al+3 สามารถเข้ามาแทนที่ Si+4 ในปิรามิดโดยการแทนที่ไอออน และไม่ทำให้สมบัติการจัดต่อสายโซ่เปลี่ยนแปลง

เนื่องจาก Al+3 มีขนาดประจุเล็กกว่า Si+4 เล็กน้อย จึงอาจจับกับปิรามิดที่มีประจุลบเกินค่าอยู่หนึ่งประจุก็พบการทำให้ประจุสมดุลไม่สามารถทำได้การจัดต่อเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงต้องนำเอาแคทไอออนมาเพิ่มในโครงสร้างผลึก โดยทั่วไปประมาณหนึ่งในสี่ของปิรามิดในกลุ่มแร่ไมกา (หรือกลุ่มแร่แผ่น) ประกอบด้วย Al+3 (แทนที่จะเป็น Si+4 ตามปกติ) ดังนั้นเพื่อให้ประจุสมดุล ต้องมีการเพิ่มประจุบวกของ K+1 หรือ Mg+2 หรือแม้แต่ Al+3 ด้วยกัน ภายนอกปิรามิด ตัวอย่างแร่ที่สำคัญคือ แร่กลีบหินขาว (Muscovite-มัสโคไวต์ ซึ่งมีสูตร KAl2(Si3Al)O10(OH) 2 แร่คลอไรต์ (Chlorite) นับได้ว่าเป็นแร่แผ่น ซึ่งโดยมากเป็นสีเขียว (คลอไรต์มาจากภาษากรีกซึ่งก็แปลว่าเขียว) มีปิรามิดจับต่อสายโซ่เป็นแผ่น ซึ่งประกอบด้วยประจุไม่สมดุล ดังนั้นจึงต้องต่อกันหรือเกาะกับไอออนประจุบวกของ Mg+2,Fe+2 และ Al+3 เพื่อให้ได้มากซึ่งสูตร (Mg,Fe,Al)6(Si,Al)4O10(OH)8 แร่กลีบหินเขียว (หรือแร่คลอไรด์) นี้มักเป็นแร่ที่เป็นผลมาจากการแปลงเปลี่ยน (alteration) มาจากแร่ตัวอื่นที่มี Fe และ Mg เป็นองค์ประกอบ เช่น ไบโอไทด์ ฮอนเบลด์ หรือออไจด์

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]