ข้ามไปเนื้อหา

ไปรษณีย์ไทย (บริษัท)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ชื่อท้องถิ่น
Thailand Post Company Limited
ประเภท
อุตสาหกรรมไปรษณีย์
ก่อนหน้าการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ก.ส.ท.)
ก่อตั้ง4 สิงหาคม พ.ศ. 2426; 141 ปีก่อน (2426-08-04)
สำนักงานใหญ่
จำนวนที่ตั้ง
12
  • ศูนย์ไปรษณีย์ 19 แห่ง
  • ศูนย์รับฝากไปรษณีย์จำนวนมาก 6 แห่ง
  • ที่ทำการไปรษณีย์ 1,201 แห่ง
  • ที่ทำการไปรษณีย์รถยนต์ 53 แห่ง
  • ที่ทำการไปรษณีย์สาขา 5 แห่ง
  • ที่ทำการไปรษณีย์อนุญาต 3,081 แห่ง
  • เคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ 276 แห่ง
  • ร้านไปรษณีย์ไทย 185 แห่ง
  • ร้านจำหน่ายตราไปรษณียากร 428 แห่ง
  • จุดบริการไปรษณีย์ 870 แห่ง
  • จุดบริการส่งด่วนพิเศษ 5,500 แห่ง
  • ตู้ไปรษณีย์ 22,267 แห่ง
พื้นที่ให้บริการประเทศไทย
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์
  • ไปรษณียาภัณฑ์ธรรมดา
  • พัสดุไปรษณีย์
บริการ
  • ไปรษณีย์ในประเทศ
  • ไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
รายได้เพิ่มขึ้น 21,926,808,872 บาท
(พ.ศ. 2566)[1][2]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 20,934,470,569 บาท
(พ.ศ. 2566)[2]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 78,544,800 บาท
(พ.ศ. 2566)[2]
ทรัพย์สินสุทธิเพิ่มขึ้น 2,645,719,950 บาท
(พ.ศ. 2566)[2]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 27,185,329,806 บาท
(พ.ศ. 2566)[2]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 14,097,851,272 บาท
(พ.ศ. 2566)[2]
เจ้าของกระทรวงการคลัง (100.00 %)
พนักงาน
30,389 คน (พ.ศ. 2566)[2]
บริษัทแม่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
แผนก
  • สำนักงานไปรษณีย์นครหลวง เขต 1–2
  • สำนักงานไปรษณีย์นครหลวง
  • สำนักงานไปรษณีย์นครหลวง เขต 3–4
  • สำนักงานไปรษณีย์ เขต 1 (พระนครศรีอยุธยา)
  • สำนักงานไปรษณีย์ เขต 2 (ชลบุรี)
  • สำนักงานไปรษณีย์ เขต 3 (นครราชสีมา)
  • สำนักงานไปรษณีย์ เขต 4 (ขอนแก่น)
  • สำนักงานไปรษณีย์ เขต 5 (เชียงใหม่)
  • สำนักงานไปรษณีย์ เขต 6 (นครสวรรค์)
  • สำนักงานไปรษณีย์ เขต 7 (ราชบุรี)
  • สำนักงานไปรษณีย์ เขต 8 (สุราษฎร์ธานี)
  • สำนักงานไปรษณีย์ เขต 9 (หาดใหญ่)
  • สำนักงานไปรษณีย์ เขต 10 (อุบลราชธานี)
บริษัทในเครือไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น
เว็บไซต์เว็บไซต์ของบริษัท
ตราสัญลักษณ์บริษัทไปรษณีย์ไทยเดิม

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการไปรษณีย์ของประเทศไทย ซึ่งแปรรูปมาจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ก.ส.ท.)

ประวัติ

[แก้]

ยุคเริ่มก่อตั้ง

[แก้]
ที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกในกรุงเทพฯ สร้างเมื่อปี 2426

ระบบไปรษณีย์ของประเทศไทย เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบกิจการไปรษณีย์ในสมัยแรกคือ กรมไปรษณีย์ เปิดให้บริการเป็นครั้งแรก ณ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ไปรษณียาคาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ปากคลองโอ่งอ่าง ปัจจุบันรื้อทิ้งเพื่อสร้างสะพานพระปกเกล้า

ในระยะแรกที่ให้บริการ ครอบคลุมเฉพาะกรุงเทพเท่านั้น เมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 จึงเริ่มขยายไปต่างจังหวัดโดยเปิดที่ทำการไปรษณีย์ที่สมุทรปราการและนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดงในปัจจุบัน) และขยายต่อจนถึงเชียงใหม่ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน ส่วนบริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ เริ่มเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 หลังประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหภาพไปรษณีย์สากล

บุรุษไปรณีย์สยามของกรมไปรษณีย์ เปิดให้บริการเป็นครั้งแรก

ในปี พ.ศ. 2441 กรมไปรษณีย์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมไปรษณีย์โทรเลข หลังจากมีการควบรวมกรมไปรษณีย์เข้ากับกรมโทรเลข ซึ่งดูแลงานด้านโทรเลข เมื่อ พ.ศ. 2483 ได้มีการเปิด ที่ทำการไปรษณีย์กลาง ขึ้นบนถนนเจริญกรุง เขตบางรัก และใช้เป็นที่ทำการของกรมไปรษณีย์โทรเลข

ยุครัฐวิสาหกิจ

[แก้]

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ได้แยกงานบางส่วนออกจากกรมไปรษณีย์โทรเลข และจัดตั้งมาเป็นรัฐวิสาหกิจ ใช้ชื่อว่า การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท)[3]

และเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2546[4] มีการปรับโครงสร้างอีกครั้งตามนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยแยกการสื่อสารแห่งประเทศไทย ออกเป็น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) โดยไปรษณีย์ไทยดูแลบริการด้านไปรษณีย์ทั้งหมด รวมถึงรับจ้างให้บริการโทรเลขจาก กสท โทรคมนาคม จนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551[5]

สินค้าและบริการ ของ บริษัทไปรษณีย์ไทย

[แก้]
  • บริการไปรษณีย์ เช่น ไปรษณีย์ในประเทศ และ ไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
  • บริการขนส่ง เช่น ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ โลจิสโพสต์ พัสดุไปรษณีย์ ไปรษณีย์ครบวงจร และ บริการกล่องเหมาจ่าย
  • บริการการเงิน เช่น ธนาณัติออนไลน์ บริการชำระเงินผ่านบริการไปรษณีย์ ฯลฯ
  • บริการค้าปลีก เช่น อร่อยทั่วไทย สั่งได้ที่ไปรษณีย์
  • สินค้าไปรษณีย์ เช่น กล่อง ซอง ของที่ระลึก
  • ตราไปรษณียากรและสิ่งสะสม (แสตมป์)
  • น้ำดื่มไปร (Prai Water)

ที่ทำการไปรษณีย์

[แก้]
ปณฝ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ที่ทำการไปรษณีย์เคยมีการให้บริการด้านโทรเลขด้วย ดังนั้นในอดีตจึงใช้คำว่า ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข แทน แต่หลังจากที่งานด้านโทรเลขแยกไปอยู่กับ กสท โทรคมนาคม จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า ที่ทำการไปรษณีย์ ที่ทำการไปรษณีย์มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับหน้าที่และบริการของแต่ละแห่ง ตัวอย่างเช่น

  • ศูนย์ไปรษณีย์ (ศป., mail centre) มีหน้าที่หลักคือ รวบรวมจดหมาย และพัสดุจากที่ทำการไปรษณีย์ต่าง ๆ มาคัดแยก และส่งต่อ หมายถึงส่งไปที่ทำการปลายทาง หรือส่งต่อไปภูมิภาคอื่น ๆ ทางรถยนต์ รถไฟ หรือ เครื่องบิน ตัวอย่างเช่น ศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพ ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นต้น
  • ศูนย์รับฝากไปรษณีย์จำนวนมาก (ศฝ., bulk mail centre) คือไปรษณีย์ที่เน้นรับจดหมายจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีไปรษณีย์ภัณฑ์จำนวนมากแล้วส่งต่อไปยังศูนย์ไปรษณีย์
  • ที่ทำการไปรษณีย์ศูนย์กลางจ่าย (ปณศ., delivery post office) หรือ ที่ทำการไปรษณีย์รับจ่าย (ปณจ.) มีหน้าที่ รับฝาก คือ รวบรวมจดหมายจากตู้ไปรษณีย์และจากประชาชนที่มาฝากส่งที่ไปรษณีย์แล้ว ส่งต่อ ไปยังศูนย์ไปรษณีย์ และ นำจ่าย คือรับจดหมายที่มีปลายทางในเขตที่รับผิดชอบจากศูนย์ไปรษณีย์ให้บุรุษไปรษณีย์ไปส่งตามที่อยู่ ที่ทำการลักษณะนี้มักมีรหัสไปรษณีย์ที่ลงท้ายด้วยเลขศูนย์
  • ที่ทำการไปรษณีย์รับฝาก (ปณฝ., non-delivery post office) มีหน้าที่ รับฝาก คือ รับจดหมายจากประชาชนที่มาใช้บริการที่ไปรษณีย์หรือจากตู้ไปรษณีย์เท่านั้น มักมีรหัสไปรษณีย์ที่ลงท้ายด้วยเลขอื่นที่ไม่ใช้ศูนย์
  • ที่ทำการไปรษณีย์สาขา (ปณส., branch post office) หน้าที่คล้าย ปณฝ. แต่ขึ้นกับ ปณจ. แทนที่จะทำงานเป็นเอกเทศ จดหมายที่รวบรวมได้ทั้งหมดจะส่งต่อไปยัง ปณจ. ต้นสังกัดอีกทีหนึ่ง ไม่มีรหัสไปรษณีย์ของตัวเอง (ใช้รหัสของ ปณจ. ต้นสังกัด) และไม่เปิดให้บริการบางประเภท เช่น บริการรับชำระเงิน เป็นต้น
  • ที่ทำการไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ., licensed post office) มีทั้งประเภท รับจ่าย (หน้าที่เหมือน ปณจ.) และ รับฝาก (เหมือน ปณฝ.) แต่บริหารโดยหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือ เอกชน ตัวอย่าง เช่น ไปรษณีย์ของชุมชนที่อยู่บนเกาะต่าง ๆ ไปรษณีย์ในสถานศึกษา หน่วยงานราชการ หน่วยงานทหาร บางแห่ง เป็นต้น ไปรษณีย์ดังกล่าวจะใช้ชื่อ ปณจ. ในท้องที่ ตามด้วยตัวเลขสามหลัก เริ่มนับจาก 101 ตัวอย่างเช่น ไปรษณีย์รองเมือง 102 ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เขตปทุมวัน ซึ่งมี ปณจ. รองเมือง รับผิดชอบนำจ่ายไปรษณีย์ภัณฑ์ในท้องที่ สำหรับ ปณอ. รับจ่าย จะมีรหัสไปรษณีย์ของตัวเอง ส่วน ปณอ. รับฝาก จะใช้รหัสไปรษณีย์ของ ปณจ. ที่รับผิดชอบ
  • ที่ทำการไปรษณีย์ชั่วคราว (ปณค., temporary post office) เป็นที่ทำการที่เปิดขึ้นชั่วคราวตามงานต่าง ๆ เช่น งานกาชาด งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ฯลฯ ให้บริการรับฝากไปรษณีย์ภัณฑ์ นิยมใช้รหัสไปรษณีย์ชอง ปณจ. ท้องที่
  • ที่ทำการไปรษณีย์รถยนต์ (ปณย., mobile post office) เป็นที่ทำการที่อยู่บนรถบัสขนาดเล็ก ออกวิ่งไปจอดให้บริการตามจุดต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละวันสามารถออกให้บริการได้หลายจุด ให้บริการรับฝากไปรษณีย์ภัณฑ์

ในอดีตประเทศไทยยังเคยมีที่ทำการไปรษณีย์รถไฟด้วย แต่ปัจจุบันยกเลิกแล้ว สำหรับบริษัทเอกชนที่ให้บริการรับฝากไปรษณีย์แต่ไม่เป็นสถานะที่ทำการไปรษณีย์อนุญาต จะเรียกว่า ผู้รวบรวมไปรษณีย์ ซึ่งต้องมีการจดทะเบียนอย่างถูกต้องกับ ปณท.

ในอดีตสมัยที่เป็น กรมไปรษณีย์โทรเลข และการสื่อสารแห่งประเทศไทย ชื่อประเภทของที่ทำการไปรษณีย์ข้างบนใช้ชื่อว่า ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข แทน ที่ทำการไปรษณีย์ เช่น ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขรับจ่าย (ปทจ.) ยกเว้นที่ทำการไปรษณีย์รถยนต์ ในอดีตเรียก ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเคลื่อนที่ (ปทค.) ส่วนที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขชั่วคราวใช้ชื่อย่อเป็น ปทช.

การเช็คพัสดุ EMS ผ่านระบบออนไลน์

[แก้]

ปัจจุบันการขนส่งได้รับความนิยมโดยมีปัจจัยหลักมาจากธุรกิจการซื้อขายของออนไลน์ แน่นอนว่าไปรษณีย์ไทยได้พัฒนาระบบการตรวจสอบพัสดุธรรมดา และแบบส่งด่วน ให้ลูกค้าได้ทำการเช็คสถานะสิ่งของจัดส่ง ซึ่งเป็นระบบที่ได้รับความนิยม ช่วยยกระดับความเชื่อมั่นในการขนส่งได้เป็นอย่างดี

ศูนย์ไปรษณีย์ไทย

[แก้]
อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก
ศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพ ด้านข้าง
ศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพ ด้านหน้า

นอกจากบริษัทไปรษณีย์ไทยแล้ว ทางบริษัทได้จัดตั้งศูนย์กระจายไปรษณีย์ 20 แห่งดังนี้

  • กรุงเทพมหานคร - ปริมณฑล :
    • ศูนย์หลักสี่
    • ศูนย์กรุงเทพ
    • ศูนย์ด่วนพิเศษ
    • ศูนย์สุวรรณภูมิ
  • ภาคกลาง - ภาคตะวันออก :
    • ศูนย์ศรีราชา
    • ศูนย์ราชบุรี
    • ศูนย์อยุธยา
    • ศูนย์กบินทร์บุรี
  • ภาคเหนือ :
    • ศูนย์เด่นชัย
    • ศูนย์ลำพูน
    • ศูนย์พิษณุโลก
    • ศูนย์นครสวรรค์
  • ภาคอีสาน :
    • ศูนย์อุดรธานี
    • ศูนย์ขอนแก่น
    • ศูนย์นครราชสีมา
    • ศูนย์อุบลราชธานี
    • ศูนย์สกลนคร
  • ภาคใต้ :
    • ศูนย์หาดใหญ่
    • ศูนย์ทุ่งสง
    • ศูนย์ชุมพร

รางวัล

[แก้]
ปี รางวัล สาขา ผล
2566 Thailand Zocial Awards 2023[6] Best Brand Performance on Social Media กลุ่มธุรกิจบริการขนส่งพัสดุและไปรษณียภัณฑ์ ชนะ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. “ไปรษณีย์ไทย” โชว์ปี 2566 รายได้ทะลุ 2 หมื่นล้าน พลิกกำไร 78.54 ล้านบาท ฐานเศรษฐกิจ
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 รายงานประจำปี 2566 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
  3. พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519
  4. "พระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-05-03. สืบค้นเมื่อ 2012-06-22.
  5. "ปิดตำนานบริการโทรเลข". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
  6. "ประกาศผล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 แบรนด์และผู้ทรงอิทธิพลบนโลกโซเชียลยกทัพร่วมงานคับคั่ง". ไทยรัฐ. 2023-02-24. สืบค้นเมื่อ 2023-02-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]