ข้ามไปเนื้อหา

โรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ IV: วอลออฟไฟร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ IV:
วอลออฟไฟร์
ภาพหน้าปกเวอร์ชันเพลย์สเตชันในทวีปอเมริกาเหนือ
ผู้พัฒนาโคเอ/อีนิส
ผู้จัดจำหน่ายโคเอ
ชุดโรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์
เครื่องเล่นพีซี-9801, เอฟเอ็ม ทาวส์, ซูเปอร์แฟมิคอม, ทรีดีโอ อินเตอร์แอกทีฟมัลติเพลเยอร์, เซกา 32เอกซ์, เพลย์สเตชัน, แซตเทิร์น, วินโดวส์ 3.x
วางจำหน่าย
กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994
แนววางแผนผลัดกันเล่น
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

โรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ IV: วอลออฟไฟร์ (อังกฤษ: Romance of the Three Kingdoms IV: Wall of Fire) ได้รับการเปิดตัวในชื่อ ซังโงกูชิ IV (ญี่ปุ่น: 三國志IV) ในประเทศญี่ปุ่น เป็นเกมที่สี่ในซีรีส์โรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ของเกมกลยุทธ์ผลัดกันเล่นที่ผลิตโดยบริษัทโคเอ และอิงจากนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ซึ่งโรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ IV: วอลออฟไฟร์ เป็นเกมสุดท้ายในซีรีส์ที่จะวางจำหน่ายสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในสหรัฐไปจนถึงโรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ XI และนี่เป็นเกมโรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ภาคสุดท้ายที่จะวางจำหน่ายในระบบซูเปอร์แฟมิคอม

รูปแบบการเล่น

[แก้]

รูปแบบการเล่นโดยทั่วไปจะคล้ายกับภาคที่แล้ว

หกสถานการณ์ในเกมนี้มีการระบุไว้ดังต่อไปนี้:

  1. ตั๋งโต๊ะเข้ายึดอำนาจลกเอี๋ยง (ค.ศ. 189)
  2. ขุนพลผงาดฟ้าเร่ร่อน ณ ที่ราบภาคกลาง (ค.ศ. 194)
  3. เล่าปี่หาที่พักพิงในอำเภอซินเหย่ (ค.ศ. 201)
  4. มังกรหลับบินข้ามผาแดง (ค.ศ. 208)
  5. สิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น - กำเนิดสามก๊ก (ค.ศ. 221)
  6. ดาวตกที่ทุ่งราบอู่จั้ง (ค.ศ. 235)

กราฟิกได้รับการปรับปรุงในภาคนี้ และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม เช่น:

  • เรือรบสามารถทำให้เรือรบลำอื่นติดไฟได้
  • นักธนูสามารถยิงธนูเพลิงใส่ทหารและแคทะพัลต์อื่น ๆ ได้
  • สามารถเรียกชนเผ่าป่าเถื่อนเพื่อทำการโจมตีในดินแดนของศัตรูได้
  • พันธมิตรสามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างผู้เล่นและขุนศึกคนอื่น ๆ แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่ถาวร

ชุดเพาเวอร์-อัป

[แก้]

ได้มีการเปิดตัวชุดเพาเวอร์-อัป แยกต่างหากสำหรับเกมพีซีเวอร์ชันภาษาจีนและญี่ปุ่น ซึ่งช่วยให้ปรับแต่งตัวละครในเกมเพิ่มเติมได้ โดยพอร์ตเพลย์สเตชัน และเซกา แซตเทิร์น ของเกมดังกล่าวมีชุดเพาเวอร์-อัป

ทั้งนี้ สถานการณ์เพิ่มเติมสามสถานการณ์ (สองสถานการณ์แรกไม่ได้อิงจากนวนิยาย) มีอยู่ในเวอร์ชันชุดเพาเวอร์-อัป ได้แก่:

  1. วายร้ายแย่งชิงอำนาจของราชวงศ์ฮั่น - การรวมชาติของจีน (ค.ศ. 189)
  2. สามผู้ยิ่งใหญ่แย่งชิงอำนาจในประเทศจีนที่ถูกทำลายจากสงคราม (ค.ศ. 190)
  3. กำเนิดผู้นำชนเผ่าป่าเถื่อน (ค.ศ. 225)

การตอบรับ

[แก้]
การตอบรับ
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
อิเล็กทรอนิกเกมมิงมันท์ลี8.125/10 (แซตเทิร์น)[1]
แฟมิซือ28/40 (แซตเทิร์น)[2]
27/40 (32เอกซ์)[3]
เน็กซ์เจเนเรชัน3/5 stars (ซูเปอร์แฟมิคอม, เพลย์สเตชัน)[4][5]

นิตยสารเกมโปรให้การวิจารณ์เวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอมในเชิงบวก โดยยกย่องกราฟิกและเสียงที่อัปเกรด ดนตรีที่ "ละเอียดอ่อนและผ่อนคลาย" และ "ระบบเมนูที่ลึกหลายชั้น" ซึ่งพวกเขากล่าวว่าเป็นเกมที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุดในซีรีส์จนถึงปัจจุบัน พวกเขาสรุปว่า "แน่นอนว่าการดูตัวเลขที่เพิ่มขึ้นและลดลงจะทำให้คุณตื่นเต้นกับเกมโคเอทุกเกม แต่คราวนี้กราฟิกที่ได้รับการปรับปรุงและอินเทอร์เฟซคำสั่งที่ราบรื่นดูเหมือนจะซ่อนตัวเลขที่อยู่เบื้องหลังการวางอุบายทางการเมืองและกลยุทธ์การต่อสู้ ภาควอลออฟไฟร์เพิ่มความเผ็ดร้อนให้แก่เกมโรแมนซ์"[6] ส่วนนิตยสารเนกซ์เจเนอเรชันได้วิจารณ์เวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอมของเกมดังกล่าว และกล่าวว่า "มันสวยงาม, ลึกซึ้ง และน่าดึงดูด แต่มันก็เป็นมากกว่าสิ่งเดียวกัน"[4]

เมื่อเปิดตัว นิตยสารแฟมิคอมซือชินได้ให้คะแนนเกมเวอร์ชันเซกา แซตเทิร์น ที่ 28 คะแนนจากคะแนนเต็ม 40 คะแนน[2] ต่อจากนั้น ได้ให้คะแนนเวอร์ชัน 32เอกซ์ ที่ 27 คะแนนจากคะแนนเต็ม 40 คะแนน[3] ส่วนนักวิจารณ์ทั้งสี่รายของนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงมันทลีได้ชมเชยรูปแบบการเล่นที่น่าติดตาม, ความสามารถในการสร้างนายพลแบบกำหนดเอง และระดับความลึก รวมทั้งได้แสดงความคิดเห็นว่าฟูลโมชันวิดีโอของเวอร์ชันแซตเทิร์นเป็นการอัปเกรดที่ยอดเยี่ยมสำหรับเกมดังกล่าว[1] ด้านโบร' บัซ แห่งนิตยสารเกมโปรนั้น แม้ว่าเขาจะยกย่องอินเทอร์เฟซและรูปแบบการเล่นที่คุ้มค่า แต่กลับมองว่าเวอร์ชันแซตเทิร์น "แทบจะเหมือนกันทุกประการ" กับเวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอม[7]

นักวิจารณ์ของนิตยสารเนกซ์เจเนอเรชันให้ความเห็นว่าเวอร์ชันเพลย์สเตชันไม่ได้แตกต่างไปจากเวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอมโดยสิ้นเชิง และขาดการรองรับเพลย์สเตชัน เมาส์ เขาประเมินตัวเกมว่าเป็นการปรับแต่งสูตรที่บริษัทโคเอใช้มาหลายปีแล้วทั้งในซีรีส์โรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์และซีรีส์โนบูนางะส์แอมบิชัน ซึ่งเขาตัดสินว่าด้วยเหตุนี้ เกมนี้จึงเป็นภาคที่ดีที่สุดของซีรีส์ที่โดดเด่น แต่จะรู้สึกคุ้นเคยต่อแฟนพันธุ์แท้ของโคเอมากเกินไป[5] ส่วนนักวิจารณ์ของนิตยสารเกมโปรรู้สึกไม่ประทับใจกับเกมนี้ เขาตั้งข้อสังเกตว่ามันขาดการปรับปรุงรุ่นต่อไปนอกเหนือจากฟูลโมชันวิดีโอ และเปรียบเทียบเกมอย่างไม่น่าพอใจกับไอเอิร์นสตอร์มที่มีอยู่ในสมัยเดียวกัน[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Review Crew: Romance of the Three Kingdoms IV" (PDF). Electronic Gaming Monthly. No. 76. Sendai Publishing. November 1995. p. 46.
  2. 2.0 2.1 NEW GAMES CROSS REVIEW: 三國志IV. Weekly Famicom Tsūshin. No.333. Pg.32. 5 May 1995.
  3. 3.0 3.1 NEW GAMES CROSS REVIEW: 三國志IV. Weekly Famicom Tsūshin. No.346. Pg.33. 4 August 1995.
  4. 4.0 4.1 "Finals". Next Generation. No. 8. Imagine Media. August 1995. p. 77.
  5. 5.0 5.1 "Romance of the Three Kingdoms IV". Next Generation. No. 18. Imagine Media. June 1996. pp. 114, 117.
  6. "Romance of the Three Kingdoms IV: Wall of Fire". GamePro. No. 82. IDG. July 1995. pp. 76–77.
  7. "Romance of the Three Kingdoms IV". GamePro. No. 87. IDG. December 1995. p. 128.
  8. "Quick Hits: Romance of the Three Kingdoms IV". GamePro. No. 94. IDG. July 1996. p. 78.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]