ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศโรมาเนีย

พิกัด: 46°N 25°E / 46°N 25°E / 46; 25
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โรมาเนีย)

46°N 25°E / 46°N 25°E / 46; 25

โรมาเนีย

România (โรมาเนีย)
ที่ตั้งของ ประเทศโรมาเนีย  (เขียวเข้ม)

– ในทวีปยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม)
– ในสหภาพยุโรป  (เขียว)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
บูคาเรสต์
44°25′N 26°06′E / 44.417°N 26.100°E / 44.417; 26.100
ภาษาราชการโรมาเนีย[1]
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการรับรอง[2]
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2011)[3]
ศาสนา
(ค.ศ. 2011)[4]
เดมะนิมชาวโรมาเนีย
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี
กลาอุส ยอฮานิส
มาร์เชล ชอลากู
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
ประวัติการก่อตั้ง
24 มกราคม ค.ศ. 1859
9 พฤษภาคม ค.ศ. 1877/1878
ค.ศ. 1918/1920
30 ธันวาคม ค.ศ. 1947
27 ธันวาคม ค.ศ. 1989[5][6][7]
พื้นที่
• รวม
238,397 ตารางกิโลเมตร (92,046 ตารางไมล์) (อันดับที่ 81)
3
ประชากร
• 1 มกราคม ค.ศ. 2021 ประมาณ
ลดลงเป็นกลาง 19,186,201[8][9] (อันดับที่ 61)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2011
20,121,641[3]
80.4 ต่อตารางกิโลเมตร (208.2 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 136)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 704,355 ล้านดอลลาร์[10] (อันดับที่ 36)
เพิ่มขึ้น 36,446 ดอลลาร์[10] (อันดับที่ 66)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 314,876 ล้านดอลลาร์[10] (อันดับที่ 47)
เพิ่มขึ้น 16,293 ดอลลาร์[10] (อันดับที่ 56)
จีนี (ค.ศ. 2020)positive decrease 33.8[11]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.828[12]
สูงมาก · อันดับที่ 49
สกุลเงินเลวูโรมาเนีย (RON)
เขตเวลาUTC+2 (EET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (EEST)
รูปแบบวันที่วว.ดด.ปปปป (ค.ศ.)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+40
รหัส ISO 3166RO
โดเมนบนสุด.roa
  1. และ .eu ซึ่งใช้ร่วมกับรัฐสมาชิกอื่น ๆ ของสหภาพยุโรป

โรมาเนีย (อังกฤษ: Romania; โรมาเนีย: România, ออกเสียง: [romɨˈni.a] ( ฟังเสียง)) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บริเวณทางแยกระหว่างยุโรปกลาง, ยุโรปตะวันออก และยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมอลโดวาทางทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศยูเครนทางทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศฮังการีทางทิศตะวันตก ติดต่อกับประเทศเซอร์เบียทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับประเทศบัลแกเรียทางทิศใต้ และจรดทะเลดำทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีภูมิอากาศภาคพื้นทวีปเขตอบอุ่นเป็นหลัก มีเนื้อที่ 238,397 ตารางกิโลเมตร (92,046 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 19 ล้านคน โรมาเนียเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ในยุโรปและเป็นรัฐสมาชิกที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของสหภาพยุโรป เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือบูคาเรสต์ เขตเมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ยัช, กลุฌ-นาปอกา, ตีมีชออารา, กอนสตันซา, กรายอวา, บราชอฟ และกาลัตส์

แม่น้ำดานูบซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของยุโรป มีต้นกำเนิดอยู่ในป่าดำของประเทศเยอรมนีและไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นระยะทาง 2,857 กิโลเมตร (1,775 ไมล์) ก่อนไหลลงสู่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบของโรมาเนีย เทือกเขาคาร์เพเทียนซึ่งพาดผ่านโรมาเนียจากทิศเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่ตั้งของยอดเขามอลดอเวอานูซึ่งมีระดับความสูง 2,544 เมตร (8,346 ฟุต)[13]

โรมาเนียได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1859 ผ่านการรวมกันระหว่างราชรัฐมอลเดเวียกับราชรัฐวอลเลเกียแห่งลุ่มน้ำดานูบ รัฐใหม่ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าโรมาเนียตั้งแต่ ค.ศ. 1866 ได้รับเอกราชจากจักรวรรดิออตโตมันใน ค.ศ. 1877[14] ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากประกาศความเป็นกลางใน ค.ศ. 1914 โรมาเนียได้ต่อสู้ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งแต่ ค.ศ. 1916 เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ภูมิภาคบูโควีนา, เบสซาเรเบีย, ทรานซิลเวเนีย และบางส่วนของภูมิภาคบานัต, กรีชานา และมารามูเรชกลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรโรมาเนีย[15] ในเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ค.ศ. 1940 ด้วยผลของกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพและรางวัลเวียนนาครั้งที่ 2 โรมาเนียจำต้องยกเบสซาเรเบียและตอนเหนือของบูโควีนาให้แก่สหภาพโซเวียต และยกตอนเหนือของทรานซิลเวเนียให้แก่ฮังการี ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1940 โรมาเนียลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี และด้วยเหตุนี้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 จึงเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ร่วมกับฝ่ายอักษะ โดยต่อสู้กับสหภาพโซเวียตจนถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 จากนั้นก็เปลี่ยนมาเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรและได้ครอบครองตอนเหนือของทรานซิลเวเนีย หลังสงครามและการยึดครองของกองทัพแดง โรมาเนียได้กลายเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมและเป็นสมาชิกกติกาสัญญาวอร์ซอ หลังการปฏิวัติใน ค.ศ. 1989 โรมาเนียเริ่มเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี

โรมาเนียเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีเศรษฐกิจรายได้สูง[16] อยู่ในอันดับที่ 49 ในดัชนีการพัฒนามนุษย์ มีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 47 ของโลกตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด) โรมาเนียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 โดยเศรษฐกิจในปัจจุบันขึ้นอยู่กับภาคบริการเป็นหลัก นอกจากนี้ยังเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกสุทธิของเครื่องจักรและพลังงานไฟฟ้าผ่านบริษัทอย่างอาวูตอมอบีเลดาชียาและออเอมเว เปตรอม เป็นต้น โรมาเนียเป็นสมาชิกสหประชาชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1955 เป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือตั้งแต่ ค.ศ. 2004 และเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่ ค.ศ. 2007 ประชากรส่วนใหญ่ของโรมาเนียเป็นกลุ่มชาติพันธุ์โรมาเนีย นับถือศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และพูดภาษาโรมาเนียซึ่งเป็นภาษากลุ่มโรมานซ์

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ชื่อ "โรมาเนีย" แผลงมาจากคำว่า รอมึน (român) ซึ่งเป็นชื่อในท้องถิ่นที่ใช้เรียกชาวโรมาเนีย โดยแผลงมาจากคำว่า โรมานุส (romanus) ซึ่งแปลว่า "ชาวโรมัน" หรือ "จากโรม"[17] ในภาษาละตินอีกทอดหนึ่ง ชื่อชาติพันธุ์โรมาเนียดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ยืนยันเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยนักมนุษยนิยมชาวอิตาลีที่เดินทางอยู่ในทรานซิลเวเนีย, มอลเดเวีย และวอลเลเกีย[18][19][20] เอกสารที่เขียนเป็นภาษาโรมาเนียที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่เป็นจดหมายที่เขียนขึ้นใน ค.ศ. 1521 และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "จดหมายของเนอักชูจากกึมปูลุงก์" (Scrisoarea lui Neacșu din Câmpulung)[21] มีความโดดเด่นเนื่องจากเป็นเอกสารที่ปรากฏการใช้ศัพท์ โรมาเนีย ในชื่อประเทศเป็นครั้งแรก โดยผู้เขียนจดหมายฉบับนี้เรียกภูมิภาควอลเลเกียเป็นภาษาโรมาเนียว่า เซอารารูมือเนอัสเกอ (Țeara Rumânească)

ภูมิศาสตร์

[แก้]

โรมาเนียเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีเทือกเขาทรานซิลเวเนียแอลป์อยู่ทางตอนกลางของประเทศ และมีเทือกเขาคาร์เพเทียนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีที่ราบทางตอนใต้ของเทือกเขาทรานซิลเวเนียแอลป์เป็นที่ทางการเกษตรเรียกว่า วอลเลเกีย

โรมาเนียจัดเป็นประเทศที่ยังมีความหลากหลายทางธรรมชาติอยู่มาก โดยทางเมืองแถบทรานซิลเวเนียแอลป์ยังมีสัตว์ป่า เช่น หมีสีน้ำตาล หมาป่าสีเทา แมวป่าบางชนิด และละมั่งอยู่ในปริมาณที่เยอะมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในแถบยุโรป ซึ่งลดจำนวนลงเรื่อย ๆ

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ดินแดนโรมาเนียส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เมื่อในอดีตอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน ต่อมาได้ประกาศเอกราชและสถาปนาเป็นราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2421 ภายใต้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินแดนโรมาเนียถูกกองทัพไรช์ที่สาม เวร์มัคท์เข้ายึดครอง

กองทัพโซเวียตได้ปลดปล่อยและมีอำนาจเหนือโรมาเนียแทนเมื่อสิ้นสุดสงคราม มีการโค่นล้มระบอบกษัตริย์และเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ ในปี 2490

ในเดือนธันวาคม 2532 ประชาชนได้ก่อการปฏิวัติล้มล้างการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย และประกาศใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2534 เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยกำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐใหม่เป็นรัฐประชาธิปไตยและสวัสดิการสังคม (Democratic and Social State) มีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนเป็นประมุข ภายหลังจากการปกครองแบบระบบคอมมิวนิสต์ของโรมาเนียถูกล้มล้างโดยการปฏิวัติ

การเมืองการปกครอง

[แก้]

สถานการณ์สำคัญ

[แก้]

เดิมรัฐบาลโรมาเนียเป็นรัฐบาลผสมระหว่างพรรค National Liberal Party (NLP) พรรค Democratic Party (DP) และพรรค Hungarian Democratic Union of Romania (HDUR) อย่างไรก็ดี ในระยะหลัง 2 พรรคใหญ่ คือ พรรค NLP (ของนายกรัฐมนตรี Popescu-Tariceanu) และพรรค DP (ของประธานาธิบดี Basescu) เริ่มไม่ลงรอยกัน อันมีสาเหตุมาจากการที่ประธานาธิบดี Basescu ประกาศจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2551 การประกาศตนเป็นคู่แข่งดังกล่าว ทำให้ประธานาธิบดี Basescu และนายกรัฐมนตรี Popescu-Tariceanu เริ่มมีความขัดแย้งมากขึ้น

รัฐบาลชุดปัจจุบันของนายกรัฐมนตรี Popescu-Tariceanu มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องต่างๆ ดังนี้ การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของโรมาเนีย การแก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง การปฏิรูประบบศาลให้มีอิสระอย่างแท้จริง การเพิ่มสิทธิเสรีภาพแก่สื่อมวลชน การเสริมสร้างบรรยากาศ การแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์ การพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีและพหุภาคี การส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งด้านพรมแดนกับยูเครน รวมทั้งการส่งเสริมความสัมพันธ์กับมอลโดวา

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 นาย Mihai Razvan Ungureanu รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดนาย Basescu ประธานาธิบดี ได้ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมิได้รายงานให้นาย Popescu-Tariceanu นายกรัฐมนตรี ทราบถึงกรณีคนงานชาวโรมาเนีย 2 รายถูกจับกุม เนื่องจากถ่ายภาพในฐานทัพของสหรัฐฯ ในอิรักโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งสื่อต่างประเทศวิเคราะห์ว่า การลาออกของ นาย Ungureanu เป็นการตอกย้ำความไม่ลงรอยกันระหว่างประธานาธิบดี Basescu กับนายกรัฐมนตรี Popescu Tariceanu และเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่โรมาเนียเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป รัฐบาลโรมาเนียก็ประสบวิกฤตการณ์ทางการเมือง โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวหาประธานาธิบดีว่ามีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการสร้างสาธารณูปโภค นอกจากนี้การลาออกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และการที่ประธานาธิบดีกล่าวหานายกรัฐมนตรีว่าโกหกในเรื่องการผลักดัน การลาออกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ทำให้คาดการณ์ว่า หากรัฐบาลสามารถคงอยู่ต่อไป ก็จะเป็นรัฐบาลไร้เสถียรภาพ หรือหากมีความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปเร็วขึ้นกว่ากำหนด

การที่หัวหน้าพรรคใหญ่ที่ทรงอิทธิพล 2 พรรค ได้แก่ พรรค PNL ของนายกรัฐมนตรี Popescu Tariceanu และพรรค PD ของประธานาธิบดี Basescu มีความขัดแย้งกันเช่นนี้ นำไปสู่การที่นายกรัฐมนตรี Popescu Tariceanu ประกาศปรับคณะรัฐมนตรีใหม่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 โดยการถอดพรรค PD ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้มีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีซึ่งมาจากพรรค PD ออก 8 ตำแหน่ง ส่งผลให้พรรคร่วมรัฐบาลใหม่ประกอบด้วยพรรค PNL และพรรค Democratic Union of Hungarians in Romania (UDMR) แทน โดยคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้รับการรับรองจากรัฐสภาโรมาเนียแล้วเมื่อ วันที่ 3 เมษายน 2550

การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีชุดนี้มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการรวมตัวของยุโรป กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สำคัญของ โรมาเนีย และแม้ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย (ร้อยละ 26) แต่ก็ได้รับการรับรองจากรัฐสภาซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มาจากพรรค PNL คู่ปรับ เนื่องจากสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ยังไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้น (ตามรัฐธรรมนูญโรมาเนีย หากรัฐสภาปฏิเสธที่จะให้การรับรองรายชื่อคณะรัฐมนตรี 2 ครั้ง ประธานาธิบดีสามารถยุบสภาได้)

ความตึงเครียดทางความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนการถอดพรรค PD ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล ส่งผลให้เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2550 รัฐสภาโรมาเนียได้มีมติถอดถอนประธานาธิบดี Basescu ด้วยคะแนนเสียง 322 ต่อ 108 ด้วย 19 ข้อหา อาทิ ประธานาธิบดี Basescu พยายามเข้าครอบงำหน่วยงานรัฐ ซึ่งรวมถึงหน่วยงานด้านความมั่นคง และวิพากษ์วิจารณ์ศาล ซึ่งมีผลให้ประธานาธิบดี Basescu ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จนกว่าจะมีการลงประชามติว่าประชาชนเห็นชอบกับการถอดถอนดังกล่าวหรือไม่เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2550 ซึ่งปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิลงประชามติประมาณ 5.8 ล้านคน (หรือประมาณร้อยละ 44 ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด) และปรากฏว่า มีผู้ลงมติสนับสนุนประธานาธิบดี (คัดค้านมติของรัฐสภา) ถึงประมาณร้อยละ 75 และมีผู้ลงมติไม่สนับสนุนประธานาธิบดีประมาณร้อยละ 25 ซึ่งผลการลงประชามติในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงชัยชนะของประธานาธิบดี Basescu ที่มีต่อรัฐสภาและรัฐบาล และแสดงให้เห็นถึงความนิยมของประชาชนที่มีต่อประธานาธิบดี Basescu พร้อมกันนี้ นาย Jose Manuel Barosso ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้กล่าวแสดงความหวังว่า ผลการลงประชามติดังกล่าว จะมีส่วนสนับสนุนให้โรมาเนียดำเนินการปฏิรูปสังคมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการยุติธรรม ต่อไป

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
แผนที่เขตการปกครองของประเทศโรมาเนีย

โรมาเนียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 41 เทศมณฑล (județ) กับ 1 เทศบาลนคร (municipiu) การจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปตามหลักแห่งการปกครองตนเองและการกระจายอำนาจการบริการสาธารณะ

เขตการปกครอง เมืองหลัก เขตการปกครอง เมืองหลัก
เทศมณฑลกลุฌ กลุฌ-นาปอกา เทศมณฑลบิสตริตซา-เนอเซอวุด บิสตริตซา
เทศมณฑลกอนสตันซา กอนสตันซา เทศมณฑลบีฮอร์ ออราเดอา
เทศมณฑลกอร์ฌ ตือร์กูฌิว เทศมณฑลบูเซิว บูเซิว
เทศมณฑลกอวัสนา สฟึนตูกียอร์กีเย เทศมณฑลเบรอยีลา เบรอยีลา
เทศมณฑลการัช-เซเวริน เรชิตซา เทศมณฑลปราฮอวา ปลอเยชต์
เทศมณฑลกาลัตส์ กาลัตส์ เทศมณฑลมารามูเรช บายามาเร
เทศมณฑลเกอเลอรัช เกอเลอรัช เทศมณฑลมูเรช ตือร์กูมูเรช
เทศมณฑลจูร์จู จูร์จู เทศมณฑลเมเฮดินตส์ ดรอเบตา-ตูร์นูเซเวริน
เทศมณฑลซาตูมาเร ซาตูมาเร เทศมณฑลยัช ยัช
เทศมณฑลซีบิว ซีบิว เทศมณฑลยาลอมิตซา สลอบอซียา
เทศมณฑลซูชาวา ซูชาวา เทศมณฑลวรันชา ฟอกชัน
เทศมณฑลเซอลัฌ ซาเลิว เทศมณฑลวัสลุย วัสลุย
เทศมณฑลดอลฌ์ กรายอวา เทศมณฑลวึลชา รึมนีกูวึลชา
เทศมณฑลดึมบอวิตซา ตือร์กอวิชเต เทศมณฑลออลต์ สลาตีนา
เทศมณฑลตีมิช ตีมีชออารา เทศมณฑลอัลบา อัลบายูลียา
เทศมณฑลตุลชา ตุลชา เทศมณฑลอาร์เจช ปีเตชต์
เทศมณฑลเตเลออร์มัน อาเลกซันดรียา เทศมณฑลอารัด อารัด
เทศมณฑลเนอัมตส์ ปียาตราเนอัมตส์ เทศมณฑลอิลฟอฟ บูคาเรสต์
เทศมณฑลบราชอฟ บราชอฟ เทศมณฑลฮาร์กีตา มีเยร์กูเรอาชุก
เทศมณฑลบอตอชัน บอตอชัน เทศมณฑลฮูเนดออารา เดวา
เทศมณฑลบาเกิว บาเกิว เทศบาลนครบูคาเรสต์

เศรษฐกิจ

[แก้]

โรมาเนียประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอยกว่า 3 ปี ก่อนที่จะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้ในปี 2543 [ต้องการอ้างอิง]จากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของตลาดสหภาพยุโรป ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา โรมาเนียประสบปัญหาหลัก 4 ประการ คือ [ต้องการอ้างอิง] (1) การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ปัญหาหนี้สินทั้งของภาครัฐและเอกชน (2) ปัญหาค่าเงินเลตกต่ำ (3) ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และ (4) ปัญหาระบบธนาคาร ซึ่งรัฐบาลโรมาเนียได้พยายามดำเนินมาตรการจำเป็นต่างๆ เพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ และระบบราชการ รวมทั้งแก้ปัญหาการขาดความชัดเจนด้านกฎหมาย ปัญหาด้านศุลกากร และปัญหาคอรัปชั่น ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการระดมทุนจากต่างประเทศ

ในปี 2545 เศรษฐกิจของโรมาเนียเริ่มมีสภาวะดีขึ้น โดยภาคธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาได้แก่ อุตสาหกรรมก่อสร้าง การสร้างทางรถไฟและท่าเรือ และโครงการด้านการพลังงาน โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ยังมีภาคธุรกิจอื่นๆ ที่มีแนวโน้มในศักยภาพ อาทิ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์ ประกันภัย การท่องเที่ยว เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าและสิ่งทอ อุตสาหกรรมอาหาร ในการปฏิรูประบบโครงสร้าง รัฐบาลมีโครงการจำหน่ายรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ อาทิ ธนาคาร Banca Coerciala Romana (BCR) ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ [ต้องการอ้างอิง] และบริษัทน้ำมันแห่งชาติ PETROM และยังมีโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน เหมืองแร่ และอาวุธ รัฐบาลโรมาเนียจึงต้องกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่างๆ มาชำระหนี้สิน โดยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้อนุมัติเงินกู้ระยะ 2 ปี จำนวน 367 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่โรมาเนีย [ต้องการอ้างอิง]โรมาเนียได้ดำเนินการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ เพื่อให้พร้อมในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งจะทำให้โรมาเนียได้รับเงินช่วยเหลือทางการเกษตรหลายร้อยล้านยูโร ความช่วยเหลือในการพัฒนาระบบขนส่งและสาธารณูปโภค รวมทั้ง เงินลงทุนจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เนื่องจากค่างจ้างแรงงานและค่าใช้จ่ายซึ่งถูกกว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรป

ประชากรศาสตร์

[แก้]

เชื้อชาติ

[แก้]

ประชากร 22.3 ล้านคน (กรกฎาคม 2549) ประกอบด้วยชาวโรมาเนีย (ร้อยละ 89.5) ชาวฮังการี (ร้อยละ 6.6) ชาวโรมานี (ร้อยละ 2.5) ชาวเยอรมัน (ร้อยละ 0.3) ชาวยูเครน (ร้อยละ 0.3)

ศาสนา

[แก้]
Religion in Romania
Religion Percentage
(2011 census)
ออร์ทอดอกซ์
  
86.5%
โรมันคาทอลิก
  
4.6%
Reformed
  
3.2%
Pentecostal
  
1.9%
Greek Catholic
  
0.8%
แบปทิสต์
  
0.6%
Seventh-day Adventist
  
0.4%
อื่น ๆ
  
1.8%
Atheist
  
0.2%

ประเทศโรมาเนียไม่มีศาสนาประจำชาติ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ โดย 81.0% ของผู้ที่ตอบสำมะโนประชากรของประเทศในปี ค.ศ. 2011 ถือนิกายออร์ทอดอกซ์ ซึ่งจัดอยู่ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์แห่งโรมาเนีย อีก 6.2% เป็นโปรเตสแตนต์ 4.3% เป็นโรมันคาทอลิก และ 0.8% เป็นออร์ทอดอกซ์แบบกรีก จากประชากรที่เหลือ 195,569 คน นับถือศาสนาคริสต์นิกายอื่น หรือนับถือศาสนาอื่น โดย 64,337 คนนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งโดยมากเป็นชาวโรมาเซียเชื้อสายเติร์กและตาร์ตาร์ ส่วนอีก 3,519 คนเป็นชาวยิว นอกจากนี้ ประชากรจำนวน 39,660 คน ไม่นับถือศาสนาใดเลย หรือถืออเทวนิยม ในขณะที่ที่เหลือไม่มีข้อมูลว่านับถืออะไร[4]

ภาษา

[แก้]

ภาษาทางการของโรมาเนียคือภาษาโรมาเนีย ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ตัวอักษรละติน จัดอยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ บางส่วนของประเทศมีการใช้ภาษาโรมาเนียควบคู่ไปกับภาษาฮังการี ในขณะที่บางแห่งของประเทศยังมีการพูดภาษาเยอรมันเล็กน้อย

โดยทั่วไป ชาวโรมาเนียหลายคนพูดภาษาอังกฤษและหรือภาษาฝรั่งเศสได้ดีพอใช้ ซึ่ง ทั้งสองภาษานั้น โดยเฉพาะภาษาอังกฤษจะใช้บ่อยในวงการธุรกิจ

วัฒนธรรม

[แก้]

อาหาร

[แก้]

อาหารโรมาเนีย ประกอบด้วยอาหารหลากหลายชนิด ซึ่งได้รับอิทธิพลจากกลุ่มชนต่าง ๆ โดยอิทธิพลที่ได้รับส่วนใหญ่มาจากอาหารออตโตมัน ในขณะที่ยังได้รับอิทธิพลจากอาหารจากประเทศยุโรปอื่น คือ อาหารเยอรมัน อาหารเซอร์เบีย อาหารบัลแกเรีย และอาหารฮังการี ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้ ทำให้อาหารโรมาเนียมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Constitution of Romania". Cdep.ro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2017. สืบค้นเมื่อ 2 October 2013. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  2. "Reservations and Declarations for Treaty No.148 – European Charter for Regional or Minority Languages". Council of Europe. Council of Europe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 3 December 2015.
  3. 3.0 3.1 "Romanian 2011 census (final results)" (PDF) (ภาษาโรมาเนีย). INSSE. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2013. สืบค้นเมื่อ 28 August 2012.
  4. 4.0 4.1 "2011 census results by religion" (xls). www.recensamantromania.ro, website of the Romanian Institute of Statistics. สืบค้นเมื่อ 2015-05-05.
  5. Elgie, Robert (28 November 2017). Political Leadership: A Pragmatic Institutionalist Approach. Springer. ISBN 9781137346223 – โดยทาง Google Books.
  6. Romania Directory. Editura Cronos. 1 April 1990. ISBN 9789739000000 – โดยทาง Google Books.
  7. "DECRET-LEGE 2 27/12/1989 - Portal Legislativ". legislatie.just.ro.
  8. "Populația rezidentă la 1 Ianuarie 2021" [The usually resident population on 1 January 2021] (PDF). Insse.ro (ภาษาโรมาเนีย). National Institute of Statistics. สืบค้นเมื่อ 30 August 2021.
  9. "Populaţia rezidentă pe sexe şi vârste, la 1 Ianuarie 2021". Insse.ro (ภาษาโรมาเนีย). National Institute of Statistics. สืบค้นเมื่อ 30 August 2021.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 "World Economic Outlook Database, October 2021 Edition". IMF.org. International Monetary Fund. October 2021.
  11. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.
  12. "2020 Human Development Report" (PDF). United Nations Development Programme. 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
  13. "Romania Geography". aboutromania.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2015. สืบค้นเมื่อ 4 April 2015.
  14. "The Story of the Romanian Royal Family – a Journey into the Past". TravelMakerTours.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 12 January 2018. สืบค้นเมื่อ 4 March 2020.
  15. Stoleru, Ciprian (13 September 2018). "Romania during the period of neutrality". Europe Centenary (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 4 March 2020.
  16. "World Bank Country and Lending Groups". datahelpdesk.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 1 July 2020.
  17. "Explanatory Dictionary of the Romanian Language, 1998; New Explanatory Dictionary of the Romanian Language, 2002" (ภาษาโรมาเนีย). Dexonline.ro. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2016. สืบค้นเมื่อ 25 September 2010.
  18. Cl. Isopescu (1929). "Notizie intorno ai romeni nella letteratura geografica italiana del Cinquecento". Bulletin de la Section Historique. XVI: 1–90. ... si dimandano in lingua loro Romei ... se alcuno dimanda se sano parlare in la lingua valacca, dicono a questo in questo modo: Sti Rominest ? Che vol dire: Sai tu Romano, ...
  19. Holban, Maria (1983). Călători străini despre Țările Române (ภาษาโรมาเนีย). Vol. II. Ed. Științifică și Enciclopedică. pp. 158–161. Anzi essi si chiamano romanesci, e vogliono molti che erano mandati quì quei che erano dannati a cavar metalli ...
  20. Cernovodeanu, Paul (1960). "Voyage fait par moy, Pierre Lescalopier l'an 1574 de Venise a Constantinople, fol 48". Studii și Materiale de Istorie Medievală (ภาษาโรมาเนีย). IV: 444. Tout ce pays la Wallachie et Moldavie et la plus part de la Transilvanie a eté peuplé des colonies romaines du temps de Traian l'empereur ... Ceux du pays se disent vrais successeurs des Romains et nomment leur parler romanechte, c'est-à-dire romain ...
  21. Ion Rotaru, Literatura română veche, "The Letter of Neacșu from Câmpulung" เก็บถาวร 9 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, București, 1981, pp. 62–65

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • คู่มือการท่องเที่ยว Romania จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)