ข้ามไปเนื้อหา

โดโลไมต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โดโลไมต์และแมกนีไซต์พบในประเทศสเปน
การจำแนก
ประเภทCarbonate mineral
สูตรเคมีCaMg (CO3) 2
คุณสมบัติ
สีขาว เทา ถึงชมพู
รูปแบบผลึกtabular crystals, often with curved faces, also columnar, stalactitic, granular, massive.
โครงสร้างผลึกtrigonal - rhombohedral, bar3
การเกิดผลึกแฝดพบได้บ่อย เช่นเดียวกับ simple contact twins
แนวแตกเรียบrhombohedral cleavage (3 planes)
รอยแตกเปราะ - conchoidal
ค่าความแข็ง3.5-4
ความวาวใสถึงขุ่นเหมือนมุก
ดรรชนีหักเหnω = 1.679–1.681 nε = 1.500
คุณสมบัติทางแสงUniaxial (-)
ค่าแสงหักเหสองแนวδ = 0.179–0.181
สีผงละเอียดขาว
ความถ่วงจำเพาะ2.84–2.86
สภาพละลายได้ละลายได้น้ยใน HCl เว้นแต่จะบดเป็นผง
คุณสมบัติอื่นอาจเรืองแสงเป็นสีขาวถึงชมพูภายใต้รังสี UV; triboluminescent.
อ้างอิง: [1][2][3][4]

โดโลไมต์ (อังกฤษ: dolomite) เป็นชื่อแร่ ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่นักเคมีชาวฝรั่งเศส Déodat Gratet de Dolomieu (พ.ศ. 2293-2344)

รูปผลึกแบบหกเหลี่ยม[ต้องการอ้างอิง] ผลึกของแร่มักจะพบในรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ผิวหน้าผลึกมักจะโค้ง บางครั้งจะโค้งเป็นรูปคล้ายอานม้า ผลึกในแบบอื่นมีพบได้บ้างแต่น้อย ซึ่งอาจพบเป็นเม็ดหยาบๆ ไปจนกระทั่งเม็ดเล็กเกาะกันแน่น แข็ง 3.5-4 ถ.พ. 2.85 วาวคล้ายแก้ว บางชนิดวาวคล้ายมุก (Pearl Spar) สีปกติมักจะมีสีออกชมพู สีเนื้อ อาจไม่มีสีหรือพบสีขาว เทา เขียว น้ำตาล หรือสีดำ เนื้อแร่มีทั้งโปร่งใสและโปร่งแสง

มีสูตรเคมี CaMg (CO3) 2 มี CaO 30.4 % MgO 21.7% และ CO2 47.9% โดยปกติโดโลไมต์มีสัดส่วนของ CaCO3 ต่อ MgCO3 ประมาณ 1:1 ถ้ามี Ferrous iron เข้ามาแทนที่แมกนีเซียมและปริมาณมากกว่าแมกนีเซียมแล้วจะเรียก แองเคอไรต์ (Ankerite)

ลักษณะเด่นและวิธีตรวจ ทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ (HCl) แต่ช้ามาในอุณหภูมิธรรมดา นอกจากจะบดเนื่อแร่ให้เป็นก้อนเล็กๆ ละเอียด จึงละลายในกรดเป็นฟองฟู่ หากไม่บดต้องใช้กรดไฮโดรคลอริกร้อนๆจึงจะทำปฏิกิริยาเป็นฟองฟู่ รูปผลึกเหลี่ยมขนมเปียกปูนมักจะโค้งและมีสีออกสีเนื้อๆเนื้อปกติมักจะด้าน

มีกำเนิดเช่นเดียวกับแคลไซต์ พบในหินปูนโดโลมิติก (Dolomitic limestone) หรือในหินอ่อนโดโลมิติก (Dolomitic marble) โดโลไมต์ที่พบมีมวลขนาดใหญ่ๆนั้น เข้าใจกันว่าเป็นการกำเนิดแบบทุติยภูมิ ซึ่งเกิดจากหินปูนที่มีอยู่เดิมถูกแทนที่ด้วยธาตุแมกนีเซียม หรือมักเกิดเป็นเพื่อนแร่ในสายตะกั่วหรือสังกะสีซึ่งตัดผ่านหินปูน

แหล่งที่พบ

[แก้]

ในประเทศไทย

[แก้]

พบที่ อ.ท่าม่วง เขาถ้ำ อ.เมือง วังกะโด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เกาะสีชัง จ.ชลบุรี, อ.ดอนสัก อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี อ.เมือง จ.กระบี่ และที่เขารักเกียด อ.รัตภูมิ จ.สงขลา,อำเภอบางเตย จังหวัดพังงา

ต่างประเทศ

[แก้]

แบบผลึกพบที่บินเนนธาล (Binnenthal) ในสวิตเซอร์แลนด์ ในสหรัฐอเมริกา พบที่โจพลิน และมิสซูรี

ประโยชน์

[แก้]

ใช้เป็นหินก่อสร้างหรือหินประดับ ทำปูนซีเมนต์บางชนิด ใช้ทำแมกนีเซียมซึ่งเป็นวัสดุทนไฟใช้สำหรับการบุเตาถลุงเหล็ก โดยเป็นเตาคอนเวอร์ในการผลิตเหล็กกล้าขั้นต้น โดโลไมต์เป็นสินแร่หลักของโลหะแมกนีเซียม ใช้ในอุตสาหกรรมทำแก้วบางชนิด เช่น พวกแก้วแผ่น และใช้เป็นปุ๋ยในการเกษตร เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Deer, W. A., R. A. Howie and J. Zussman (1966) An Introduction to the Rock Forming Minerals, Longman, pp. 489–493. ISBN 0-582-44210-9.
  2. http://rruff.geo.arizona.edu/doclib/hom/dolomite.pdf Handbook of Mineralogy
  3. http://webmineral.com/data/Dolomite.shtml Webmineral
  4. http://www.mindat.org/min-1304.html Mindat data
  • หนังสือแร่ กรมทรัพยากรธรณี พิมพ์ครั้งที่4 พ.ศ. 2543 หน้า 123