ข้ามไปเนื้อหา

โดโรธี ฮอดจ์กิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โดโรธี ฮอดจ์กิน
โดโรธี ฮอดจ์กิน
เกิดโดโรธี แมรี โครว์ฟุต
12 พฤษภาคม ค.ศ. 1910(1910-05-12)
ไคโร อียิปต์
เสียชีวิต29 กรกฎาคม ค.ศ. 1994(1994-07-29) (84 ปี)
อิลมิงตัน วอริกเชอร์ อังกฤษ
สัญชาติบริติช
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจาก
  • พัฒนาวิธีผลิกศาสตร์โปรตีน
  • อธิบายโครงสร้างอินซูลิน
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกจอห์น เดสมอนด์ เบอร์นอล
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ

โดโรธี แมรี ฮอดจ์กิน (อังกฤษ: Dorothy Mary Hodgkin; 12 พฤษภาคม ค.ศ. 191029 กรกฎาคม ค.ศ. 1994) หรือ โดโรธี โครว์ฟุต ฮอดจ์กิน (Dorothy Crowfoot Hodgkin) หรือ โดโรธี ฮอดจ์กิน (Dorothy Hodgkin) เป็นนักชีวเคมีชาวบริติช เป็นผู้พัฒนาเทคนิกผลิกศาสตร์รังสีเอกซ์เพื่ออธิบายโครงสร้างสารชีวโมเลกุล เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี ค.ศ. 1964

ประวัติ

[แก้]

โดโรธี แมรี โครว์ฟุตเกิดที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ในปี ค.ศ. 1910 เป็นบุตรสาวของจอห์น วินเทอร์ โครว์ฟุตและเกรซ แมรี โครว์ฟุต (นามสกุลเดิม ฮูด) บิดามารดาของฮอดจ์กินเป็นนักโบราณคดีที่ทำงานในอียิปต์ ในปี ค.ศ. 1921 ฮอดจ์กินเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมเซอร์จอห์น ลีแมนในเมืองเบคเคิลส์ ส่วนบิดามารดาของเธอย้ายไปทำงานที่เมืองคาร์ทูม ฮอดจ์กินสนใจด้านเคมีตั้งแต่เด็กและได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว เมื่ออายุได้ 18 ปี เธอเรียนต่อด้านเคมีที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (วิทยาลัยซอเมอร์วิลล์)[4] ต่อมาในปี ค.ศ. 1932 ฮอดจ์กินเรียนจบด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เป็นสตรีคนที่สามที่ได้รับเกียรตินี้[5]

ฮอดจ์กินเรียนต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และศึกษาคุณสมบัติของรังสีเอกซ์เพื่อใช้อธิบายโครงสร้างของโปรตีน เธอและอาจารย์ที่ปรึกษา จอห์น เดสมอนด์ เบอร์นอล เริ่มใช้วิธีนี้ในการศึกษาโครงสร้างของเปปซิน[6] ในปี ค.ศ. 1933 ฮอดจ์กินได้รับตำแหน่งนักวิจัยที่วิทยาลัยซอเมอร์วิลล์และย้ายกลับไปออกซฟอร์ดในปีต่อมา เธอทำงานเป็นนักวิจัยและอาจารย์สอนวิชาเคมีที่วิทยาลัยจนถึงปี ค.ศ. 1977 มีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงเช่น มาร์กาเรต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร[7] ต่อมาในปี ค.ศ. 1960 เธอดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์วิจัยวูล์ฟสันของราชสมาคมแห่งลอนดอน ฮอดจ์กินดำรงตำแหน่งนี้ถึงปี ค.ศ. 1970[8]

ฮอดจ์กินเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ค้นพบโครงสร้างชีวโมเลกุลสามมิติและพัฒนาเทคนิกผลิกศาสตร์รังสีเอกซ์[9] โดยในปี ค.ศ. 1945 เธอกับซี. เอช. คาร์ลิเซิลตีพิมพ์ผลงานโครงสร้างของสารสเตียรอยด์ คอเลสเตอริลไอโอไดด์ ในปีเดียวกัน ฮอดจ์กินอธิบายโครงสร้างของเพนิซิลลิน แต่ผลงานนี้ได้รับการตีพิมพ์ในอีก 4 ปีต่อมา[10] ในปี ค.ศ. 1948 เธอศึกษาวิตามินบี12 ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีใครสามารถอธิบายโครงสร้างได้ ฮอดจ์กินประสบความสำเร็จในการอธิบายโครงสร้างของวิตามินบี12 โดยใช้รังสีเอกซ์ เธอตีพิมพ์ผลงานในปี ค.ศ. 1955[11] ผลงานนี้ทำให้เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 1964[12] เป็นสตรีคนที่สามที่ได้รับรางวัลนี้[8] ในปี ค.ศ. 1969 ห้าปีหลังจากได้รับรางวัลโนเบล ฮอดจ์กินพัฒนาเทคนิกรังสีเอกซ์จนสามารถใช้อธิบายโครงสร้างของอินซูลินได้สำเร็จ ผลงานชิ้นนี้เป็นงานที่เธอเริ่มไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1934[13]

ด้านชีวิตส่วนตัว ฮอดจ์กินเคยมีความสัมพันธ์กับจอห์น เดสมอนด์ เบอร์นอล อาจารย์ที่ปรึกษาของเธอ[14] ต่อมาในปี ค.ศ. 1937 เธอแต่งงานกับทอมัส ไลโอเนล ฮอดจ์กิน นักประวัติศาสตร์แอฟริกาและอาจารย์ที่ออกซฟอร์ด ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 3 คนชื่อ ลุค, เอลิซาเบธและโทบี ฮอดจ์กินเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านในวอริกเชอร์ ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1994[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Dodson, Guy (2002). "Dorothy Mary Crowfoot Hodgkin, O.M. 12 May 1910 - 29 July 1994". Biographical Memoirs of Fellows of the Royal Society. London: Royal Society. 48 (0): 179–219. doi:10.1098/rsbm.2002.0011. ISSN 0080-4606.
  2. Anon (2014). "EMBO profile Dorothy Crowfoot Hodgkin". people.embo.org. Heidelberg: European Molecular Biology Organization.
  3. Blundell, T.; Cutfield, J.; Cutfield, S.; Dodson, E.; Dodson, G.; Hodgkin, D.; Mercola, D.; Vijayan, M. (1971). "Atomic positions in rhombohedral 2-zinc insulin crystals". Nature. 231 (5304): 506–511. Bibcode:1971Natur.231..506B. doi:10.1038/231506a0. PMID 4932997.
  4. Ferry, Georgina (1999). Dorothy Hodgkin : a life. London: Granta Books. ISBN 186207285X.
  5. "Hodgkin, Dorothy Mary Crowfoot". Encyclopedia.com. Charles Scribner's Sons. สืบค้นเมื่อ 3 November 2015.
  6. "Dorothy Crowfoot Hodgkin, OM". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-12. สืบค้นเมื่อ 2012-01-13.
  7. Young, Hugo (1989). One of us: a biography of Margaret Thatcher. London: Macmillan. ISBN 0-333-34439-1.
  8. 8.0 8.1 Anon (2014). "The Biography of Dorothy Mary Hodgkin". news.biharprabha.com. news.biharprabha.com. สืบค้นเมื่อ 11 May 2014.
  9. Glusker, J. P. (1994). "Dorothy crowfoot hodgkin (1910-1994)". Protein Science. 3 (12): 2465–2469. doi:10.1002/pro.5560031233. PMC 2142778. PMID 7757003.
  10. Crowfoot, D.; Bunn, Charles W.; Rogers-Low, Barbara W.; Turner-Jones, Annette (1949). "X-ray crystallographic investigation of the structure of penicillin". ใน Clarke, H. T.; Johnson, J. R.; Robinson, R. (บ.ก.). Chemistry of Penicillin. Princeton University Press. pp. 310–367.
  11. Hodgkin, D. C.; Pickworth, J.; Robertson, J. H.; Trueblood, K. N.; Prosen, R. J.; White, J. G. (1955). "Structure of Vitamin B12 : The Crystal Structure of the Hexacarboxylic Acid derived from B12 and the Molecular Structure of the Vitamin". Nature. 176 (4477): 325–8. Bibcode:1955Natur.176..325H. doi:10.1038/176325a0. PMID 13253565.
  12. "The Nobel Prize in Chemistry 1964". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 14 November 2016.
  13. Adams, M. J.; Blundell, T. L.; Dodson, E. J.; Dodson, G. G.; Vijayan, M.; Baker, E. N.; Harding, M. M.; Hodgkin, D. C.; Rimmer, B.; Sheat, S. (1969). "Structure of Rhombohedral 2 Zinc Insulin Crystals". Nature. 224 (5218): 491. Bibcode:1969Natur.224..491A. doi:10.1038/224491a0.
  14. Brown 2005, p. 139
  15. "Dorothy Hodgkin, 84, Is Dead; Briton Won Nobel in Chemistry". The New York Times. 1 August 1994. สืบค้นเมื่อ 14 November 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]