แร้งโลกใหม่
แร้งโลกใหม่ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยพาลีโอซีน – สมัยโฮโลซีน, 64.5–0Ma | |
---|---|
แร้งคอนดอร์แอนดีน (Vultur gryphus) ตัวผู้ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ไฟลัมย่อย: | Vertebrata |
ชั้นใหญ่: | Tetrapoda |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Cathartiformes |
วงศ์: | Cathartidae Lafresnaye, 1839 |
สกุล | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของแร้งโลกใหม่ สีเหลือง – ที่อาศัยในฤดูร้อนของแร้งไก่งวง |
แร้งโลกใหม่ (อังกฤษ: New world vulture) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ ในวงศ์ Cathartidae
โดยนกในวงศ์นี้จะพบแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะซีกโลกที่เรียกว่า "โลกใหม่" เท่านั้น คือ ทวีปอเมริกา ทั้ง อเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
แร้งโลกใหม่ เป็นนกที่กินซากสัตว์เป็นอาหารเช่นเดียวกับแร้งโลกเก่า (Aegypiinae) ที่พบในทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรป แต่ทว่ามีลักษณะหลายประการที่แตกต่างกัน คือ แร้งโลกใหม่ในหลายชนิดจะหาอาหารด้วยการใช้ประสาทการดมกลิ่นแทนที่จะการมองเห็น เช่นเดียวกับแร้งโลก หรือนกล่าเหยื่อจำพวกอื่น ๆ และทำให้การจัดอันดับของแร้งโลกใหม่นั้นไม่มีข้อยุติ โดยบางข้อมูลจะจัดให้อยู่ในอันดับ Accipitriformes เช่นเดียวกับนกล่าเหยื่อจำพวกอื่น แต่ในบางข้อมูลก็จัดให้อยู่ในอันดับ Ciconiiformes อันเป็นอันดับเดียวกับพวกนกกระสา โดยเชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากนกกระสา หรือกระทั่งอยู่ในอันดับ Cathartiformes ซึ่งเป็นอันดับของตนเองไปเลยก็มี[1][2][3] [1]
การจำแนก
[แก้]- สกุล Coragyps
- แร้งดำ Coragyps atratus พบในอเมริกาใต้และตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา
- สกุล Cathartes
- แร้งไก่งวง Cathartes aura พบตลอดในสหรัฐอเมริกาและตอนใต้ของแคนาดา
- แร้งหัวเหลืองเล็ก Cathartes burrovianus พบในอเมริกาใต้และตอนเหนือของเม็กซิโก
- แร้งหัวเหลืองใหญ่ Cathartes melambrotus พบในลุ่มแม่น้ำอเมซอนในเขตร้อนของอเมริกาใต้
- สกุล Gymnogyps
- แร้งคอนดอร์แคลิฟอร์เนีย Gymnogyps californianus พบในแคลิฟอร์เนีย (ในอดีตพบได้ทั่วไปในภูเขาของภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา)[4]
- สกุล Vultur
- แร้งคอนดอร์แอนดีน Vultur gryphus พบในเทือกเขาแอนดีส[5]
- สกุล Sarcoramphus
- ราชาแร้ง Sarcoramphus papa พบตั้งแต่ตอนใต้ของเม็กซิโกจนถึงตอนเหนือของอาร์เจนตินา
ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
[แก้]- Diatropornis ("แร้งยุโรป") อีโอซีนตอนปลาย/โอลิโกซีนตอนต้น – โอลิโกซีนตอนกลางของฝรั่งเศส [6]
- Phasmagyps โคโดเนียนของโคโรราโด[6][7]
- Cathartidae gen. et sp. indet. (โอลิโกซีนตอนปลายของมองโกเลีย)[6]
- Brasilogyps โอลิโกซีนตอนปลาย – ตอนต้นไมโอซีนของบราซิล[6]
- Hadrogyps ("แร้งแคระอเมริกัน") ตอนกลางไมโอซีนแห่งภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกาเหนือ[6]
- Cathartidae gen. et sp. indet. ไมโอซีนตอนปลาย/ตอนต้นไพลโอซีนของลีครีกไมล์, สหรัฐอเมริกา[8]
- Pliogyps ("แร้งไมโอซีน") ไมโอซีนตอนปลาย – ไพลโอซีนตอนปลายของภาคใต้อเมริกาเหนือ[6]
- Perugyps ("แร้งเปรูเวียน)" พิสโกไมโอซีนตอนปลาย/ไพลโอซีนตอนต้นแห่งภาคกลางตอนใต้ของเปรู[8]
- Dryornis ("แร้งอาร์เจนติเนียน") ไพลโอซีนตอนต้น – ตอนปลายของอาร์เจนตินา; เป็นไปได้ว่าปัจจุบัน คือ สกุล Vultur[6]
- Cathartidae gen. et sp. indet. ไพลโอซีนตอนกลางของอาร์เจนตินา[8]
- Aizenogyps ("แร้งอเมริกาใต้") ไพลโอซีนตอนปลายของภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกาเหนือ[6]
- Breagyps ("แร้งขายาว)" ไพลโอซีนตอนปลายของภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกาเหนือ[6]
- Geronogyps เพลสโตซีนตอนปลายของอาร์เจนตินาและเปรู[6]
- Gymnogyps varonai ควอเตอนารีตอนปลายของคิวบา [9]
- Wingegyps ("แร้งอเมโซเนีย") เพลสโตซีนตอนปลายของบราซิล [10]
- Cathartidae gen. et sp. indet. (คิวบา)[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Hackett et al 2008.
- ↑ Remsen et al.
- ↑ Chesser et al. 2010.
- ↑ BirdLife, International & (2009a).
- ↑ BirdLif, International & (2009).
- ↑ 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 Emslie (1988)
- ↑ Wetmore, A. (1927). "Fossil Birds from the Oligocene of Colorado" (PDF). Proceedings of the Colorado Museum of Natural History. 7 (2): 1–14.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Stucchi (2005)
- ↑ Suárez (2003)
- ↑ Alvarenga (2004).
- ↑ Suarez (2004)