แพรแถบย่อ
แพรแถบย่อ (อังกฤษ: medal ribbon, service ribbon หรือ ribbon bar) เป็นริบบิ้นขนาดเล็ก ที่ติดอยู่บนแถบโลหะที่ติดอุปกรณ์สำหรับกลัดหรือติดไว้ โดยทั่วไปจะมีไว้สำหรับประดับแทนเหรียญอิสริยาภรณ์, เครื่องอิสริยาภรณ์ และเครื่องอิสริยาภรณ์ทางทหารเมื่อไม่ใช่โอกาสในการสวมใส่เหรียญเต็ม[1] รัฐบาลของแต่ละประเทศมีกฎเกณฑ์และระเบียบในการประดับแพรแถบของตนเอง ว่าสามารถประดับได้ในสถานการณ์ใดและในลำดับใด โดยปกติจะมีกำหนดไว้ในเอกสารราชการและเรียกว่า "ลำดับฐานันดร" หรือ "ลำดับการประดับเครื่องอิสริยาภรณ์" ในบางประเทศ (โดยเฉพาะในอเมริกาเหนือและอิสราเอล) บางเหรียญจะมีเพียง "แพรแถบเท่านั้น" ไม่มีเหรียญอิสริยาภรณ์ที่เกี่ยวข้อง
การสร้าง
[แก้]แพรแถบย่อมีโครงสร้างที่หลากหลาย ในบางประเทศ แพรแถบจะติดอยู่บนแผ่นรองแบบเข็มกลัด ซึ่งสามารถกลัดผ่านผ้าของเครื่องแบบและยึดด้วยสายรัดที่ขอบด้านใน แพรแถบเหล่านี้สามารถติดแยกกันและเรียงกันเป็นแถว หรือติดทั้งหมดเข้ากับแผ่นยึดเดียวกันก็ได้ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง แพรแถบย่อมักจะได้รับการประดับบนแถบโลหะเส้นเดียวและประดับในลักษณะคล้ายกับเข็มกลัด นอกจากนี้ยังมีวิถียึดติดแพรแถบย่อกับเครื่องแบบด้วยวิธีอื่น ๆ อีก เช่น การใช้ขาแม่เหล็ก คือการใช้แม่เหล็กในการยึดโดยไม่ต้องเจาะเสื้อ[2][3] การใช้ขาเกลียว คือการใช้ขาเกลียดเจาะเสื้อเครื่องแบบและยึดด้วยหมุดเกลียว[4] การใช้ขากิ๊ฟ คือการใช้เข็มเจาะเสื้อเครื่องแบบและยึดด้วยขาด้วยกิ๊ฟ[4]
การประดับ
[แก้]"ลำดับการประดับ" จะกำหนดว่าสามารถประดับแพรแถบใดกับเครื่องแบบประเภทใด ตำแหน่งใด ในสถานการณ์ใด เช่น เหรียญอิสริยาภรณ์ขนาดเล็กในชุดอาหารค่ำ, เหรียญอิสริยาภรณ์แบบเต็มในเครื่องแบบเต็มยศ แต่จะไม่มีการประดับในเครื่องแบบสนามและเครื่องแบบปฏิบัติงาน ในบางประเทศ (เช่น คิวบา) กำหนดให้สามารถสวมเหรียญอิสริยาภรณ์แบบเต็มบนเครื่องแบบสนาม ซึ่งชาติอื่น ๆ มักจะไม่ประดับกัน เนื่องจากเหรียญอิสริยาภรณ์สามารถระบุตัวตนของผู้บังคับบัญชาระดับสูงในสนามรบได้ ทำให้ข้าศึกสามารถเลือกเป้าหมายและสังหารได้ง่าย ซึ่งนายทหารระดับสูงมักจะแต่งกายคล้ายกับทหารนายอื่น ๆ ในหน่วยและไม่ประดับแพรแถบย่อในสนามรบ
โดยปกติเหรียญอิสริยาภรณ์และแพรแถบย่อจะประดับเป็นแถวทางด้านซ้ายของหน้าอก[5] ในบางกรณีเพื่อเป็นอนุสรณ์หรือการรำลึก ญาติอาจจะประดับเหรียญอิสริยาภรณ์หรือแพรแถบย่อของผู้เสียชีวิตไว้ที่ด้านขวาของหน้าอก เหรียญอิสริยาภรณ์และแพรแถบย่อที่ไม่ได้ระบุไว้ใน "ลำดับการประดับ" ปกติจะประดับไว้ที่ด้านขวาของหน้าอก การเรียงลำดับของแพรแถบย่อขึ้นอยู่กับข้อบังคับของแต่ละประเทศ เช่น ในสหรัฐ เหรียญอิสริยาภรณ์ที่มีสถานะสูงสุด — โดยทั่วไปจะเป็นเหรียญอิสริยาภรณ์สำหรับเชิดชูความกล้าหรือการรับใช้ชาติที่โดดเด่น — จะได้รับการประดับไว้ด้านบนสุดของกลุ่มแพรแถบ ในขณะที่เครื่องอิสริยาภรณ์จากต่างประเทศ (หากได้รับอนุญาต) จะอยู่แถวล่างสุด[6] เมื่อเหรียญอิสริยาภรณ์ได้รับการประดับ (โดยปกติจะอยู่ทางด้านซ้ายของเสื้อหรือเสื้อคลุม) แพรแถบที่ไม่มีเหรียญอิสริยาภรณ์จะได้รับการประดับทางด้านขวา
ตัวอย่าง
[แก้]แคนาดา
[แก้]เดนมาร์ก
[แก้]- เซอร์ ฮันส์ เจสเปอร์ เฮลโซ อดีตนายพลและเสนาธิการกลาโหม
ไทย
[แก้]- พันเอก ณรงค์ กิตติขจร, บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องเหตุการณ์ 14 ตุลา, ป.ช. ป.ม. ต.จ.
- พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา, องคมนตรี, ม.ป.ช. ม.ว.ม. ท.จ.ว.
นอร์เวย์
[แก้]- ร้อยเอก กันนาร์ เซนสเตบี, วีรบุรุษแห่งสงครามโลกครั้งที่สอง
ไนจีเรีย
[แก้]- อิบราฮิม บาบันกิดา, ประธานาธิบดีไนจีเรีย และเสนาธิการกองทัพบก
ฟิลิปปินส์
[แก้]- พลเอก เอดูอาร์โด้ อาโน, เสนาธิการทหาร
มาเลเซีย
[แก้]- มุฮ์ยิดดิน ยัซซิน, นายกรัฐมนตรีคนที่ 8 ของมาเลเซีย
ไรซ์เยอรมัน
[แก้]สวีเดน
[แก้]- พลเอก มิเกล ไบเดน, ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพสวีเดน
สหรัฐ
[แก้]ในสหรัฐ ทหาร และหน่วยบริการในเครื่องแบบของรัฐบาลกลางจะมีมาตรฐานการประดับแพรแถบบนเครื่องแบบที่ต่างกัน
- ในกองทัพเรือสหรัฐ จะประดับแพรแถบย่อแถวละ 3 แพรแถบ โดยไม่มีการเว้นระยะห่างระหว่าแถว (ยกเว้นแถวบนสุดที่อาจจะชิดไปทางซ้ายของผู้ประดับหากมีปกเสื้อปิดไว้) ผู้ประดับแพรแถบมากกว่าสามแถวอาจจะเลือกประดับแพรแถบย่อที่มีระดับสูงสุดเพียงสามแถวเท่านั้น แทนที่จะประดับทั้งหมด หากแถบบนสุดถูกปกเสื้อบังไว้ สามารถเอียงแถบบนสุดได้
- ในนาวิกโยธินสหรัฐ สามารถประดับแพรแถบย่อแถวละ 3-4 แพรแถบ โดยสามารถเอียงและเว้นช่องว่างระหว่างแถวได้
- ในกองทัพบกสหรัฐ สามารถประดับโดยเว้นระยะห่างระหว่างแถวได้
การประดับแพรแถบย่อทั้งหมดนั้นมีชื่อเล่นสำหรับเรียกหลายชื่อ เช่น ชั้นแพรแถบ (ribbon rack) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ฟรุ๊ตสลัด (fruit salad) หรือ สลัดบาร์ (salad bar)
สหราชอาณาจักร
[แก้]- จอมพลเรือ เดอะไรต์ออนะระเบิล หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า, KG, GCB, OM, GCSI, GCIE, GCVO, DSO, PC, FRS↵↵↵
ออสเตรเลีย
[แก้]อินเดีย
[แก้]อินโดนีเซีย
[แก้]- พลเอก อันดีกา เปอร์กาซา, ผู้บัญชาการกองทัพแห่งชาติอินโดนีเซียคนที่ 21
อิสราเอล
[แก้]- เสนาธิการและนายกรัฐมนตรี เอฮุด บารัค
อิหร่าน
[แก้]- พลตรี กอเซม โซเลย์มอนี, ผู้บัญชาการกองกำลังโกดส์
อียิปต์
[แก้]- จอมพล มุฮัมมัด ฮุซัยน์ ฏ็อนฏอวี, อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพอียิปต์ ประธานสภาสูงสุดแห่งกองทัพ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
เอกวาดอร์
[แก้]- นายพลแห่งกองทัพเอกวาดอร์ พาโก มอนกาโย
เวียดนามใต้
[แก้]- พลโท ทราน หง็อก ทัม, อดีตเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเวียดนามประจำประเทศไทย
กัมพูชา
[แก้]- พลเอก สมเด็จพิชัยเสนา เตีย บัญ, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา
บรูไน
[แก้]- พลตรี ฮัสไซมี โบล ฮัสซัน, ผู้บัญชาการทหารบกที่ 12 แห่งกองทัพบรูไน
สิงคโปร์
[แก้]- พลโท วินสตัน ชู
ฝรั่งเศส
[แก้]- พลเอก เธียร์รี่ เบิร์คฮาร์ด, เสนาธิการกองทัพฝรั่งเศส
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ U.S. Army Regulation 600-8-22, 2006, P. 72&73, 6--2 Service ribbons, a.
- ↑ "แพรแถบ 2ชั้น แบบใหม่ (แม่เหล็ก)". www.xn--12cbfmcq7gpaea1gtaec6mj8fbc8gn4qpao3p7a3h.com.
- ↑ "แพรแถบแม่เหล็ก,แพรแถบตำรวจ,แพรแถบนายตำรวจ,พีพีซี,พิทักษ์,ตปส,ปีกเหินเวหา". www.tidyod.com.
- ↑ 4.0 4.1 "แพรแถบผ้าแพรประทวน 4 ช่อง(ขาเกลียว/กิี๊ฟ/เข็มกลัด/แม่เหล็ก)". www.policemeshop.com.
- ↑ "แพรแถบย่อ และ ความรู้เบื้องต้นเดี่ยวกับแพรแถบย่อ". www.thaiofficer.com.
- ↑ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย พ.ศ. 2541 (PDF). สำนักนายกรัฐมนตรี. 2541.