แบร์รี มาร์แชลล์
แยร์รี มาร์แชลล์ | |
---|---|
มาร์แชลล์เมื่อปี 2021 | |
เกิด | แบร์รี เจมส์ มาร์แชลล์ 30 กันยายน ค.ศ. 1951[1] แคลกูรี ประเทศออสเตรเลีย |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยออสเตรเลียตะวันตก (MBBS)[1] |
มีชื่อเสียงจาก | Helicobacter pylori |
คู่สมรส | Adrienne Joyce Feldman (สมรส 1972)[1] |
บุตร | 4 คน[1] |
รางวัล |
|
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | |
สถาบันที่ทำงาน | |
เว็บไซต์ | www |
แบร์รี เจมส์ มาร์แชลล์ (อังกฤษ: Barry James Marshall AC FRACP FRS FAA,[1][2] เกิด 30 กันยายน 1951) เป็แพทย์ชาวออสเตรเลีย ผู้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์หรือสรีรวิทยา, ศาสตราจารย์ด้านจุลชีววิทยาคลินิก และผู้อำนวยการร่สมของศูนย์มาร์แชลล์[4] มหาวิทยาลัยออสเตรเลียตะวันตก[5] มาร์แชลล์ ร่วมกับรอบิน วอร์เรน ได้สาธิตให้เห็นว่าเชื้อแบคทีเรียม Helicobacter pylori (หรือ H. pylori) มีบทบาทสำคัญในการก่อแผลเปื่อยเพปติกหลายชนิด ซึ่งท้าทายความเชื่อในโลกการแพทย์ที่ว่าแผลเปื่อยเพปติกเกิดจากความเครียด อาหารรสเผ็ด และกรดเกินเป็นหลัก การค้นพบนี้ช่วยให้เกิดความเข้าใจเชิงเหตุผลระหว่างการติดเชื้อ Helicobacter pylori กับมะเร็งกระเพาะอาหาร[6][7][8]
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
[แก้]มาร์แชลล์เกิดที่เมืองแคลเกอร์ลีในออสเตรเลีย เขาอาศัยอยู่ที่นั่นกับที่คาร์แนร์วอน ก่อนจะโยกย้ายไปเพิร์ธเมื่ออายุแปดปี บิดาของเขาประกอบหลายอาชีพ ส่วนมารดาเป็นพยาบาล เขาเป็นลูกคนโตสุดของบ้าน มาร์แชลล์จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากวิทยาลัยนิวแมน และเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยออสเตรเลียตะวันตก จบการศึกษาด้วยวุฒิแพทยศาสตรบัณฑิต, ศัลยศาสตรบัณฑิต (MBBS) ในปี 1974[1] เขาสมรสกับภรรยา แอเดรียน (Adrienne) ในปี 1972 ทั้งคู่มีลูกด้วยกันรวมสี่คน[9][10][11]
อาขีพการงานและงานวิจัย
[แก้]ในปี 1979 มาร์แขลล์ได้แต่งตั้งเรียนต่อเฉพาะทาง (Registrar in Medicine; เป็นคำในระบบแพทยศาสตร์ศึกษาของออสเตรเลีย) ประจำที่โรงพยาบาลรอยัลเพิร์ธ ต่อมาในปี 1981 เขาได้พบกับแพทย์รอบิน วอร์เรน แพทย์พยาธิวิทยาซึ่งมีความสนใจในโรคกระเพาะอักเสบ ขณะมาร์แขลล์กำลังฝึกเป็นแพทย์เฉพาะทางต่อยอด (fellowship training) ในสาขาอายุรศาสตร์ที่โรงพยาบาลรอยัลเพิร์ธ ทั้งคู่ได้ร่วมกันศึกษาการพบแบคเรียทรงเกลียวที่เกี่ยวข้องกับโรคกระเพาะอักเสบ ในปี 1982 ทั้งคู่ได้ทำการเพาะเชื้อ H. pylori เบื้องต้น และตั้งสมมติฐานว่าแบคทีเรียนี้ก่อให้เกิดแผลเปื่อยเพปติกและมะเร็งกระเพาะอาหาร[9] ว่ากันว่าทฤษฎี H. pylori ก่อโรคในกระเพาะอาหารนี้ถูกเยาะเย้ยโดยทั้งแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่มีตำแหน่งและหม่เชื่อว่าแบคทีเรียใด ๆ จะดำรงอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดของกระเพาะอาหาร มาร์แชลล์เมื่อปี 1998 เคยกล่าวไว้ว่า "ทุกคนต่อต้านผม แต่ผมรู้ว่าผม[คิด]ถูก"[12] อย่างไรก็ตาม มีข้อโต้แย้งว่าบรรดานักวิจัยทางการแพทย์ได้แต่เพียงตั้งข้อสงสัยทางวิทยาศาสตร์ต่อสมมติฐานเรื่อง H. pylori จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์เท่านั้น[13]
หลังความล้มเหลวหลายครั้งในการพยายามเพาะเชื้อในลูกหมูในปี 1984 แซม แวง (Sam Wang) รายงานว่าหลังมาร์แชลล์ทำการตรวจส่องกล้องภายในเพื่อเป็นค่าฐาน (baseline) เสร็จ เขาได้ดื่มน้ำเชื้อที่มีเชื้อ H. pylori เพาะอยู่ ด้วยหวังว่าจะก่อแผลเปื่อยเพปติกในปีให้หลัง[14] เขากลับต้องฉงนเมื่อสามวันต่อมา เขาเกิดอาการอาเจียนและกลิ่นปากอันเนื่องมาจากอะคลอรัยเดีย ภรรยาของเขาสังเกตว่าเนื่องจากไม่มีกรดในกระเพาะอาหารไปฆ่าแบคทีเรีย ของเสียที่ได้จากแบคทีเรียเหล่านี้ส่งออกมาในรูปของกลิ่นปาก[15] ในวันที่ 5–8 ให้หลัง เขาได้อาเจียนออกมาโดยอาเจียนมีลักษณะไม่เป็นกรด ในวันที่แปด เขาทำการส่องกล้องภายในอีกครั้ง และพบการอักเสบในกระเพาะอาหารอย่างรุนแรง การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจเพาะเชื้อ H. pylori ขึ้น และเชื้อนี้ได้ทำการรุกรานกระเพาะของเขาแล้ว ในวันที่สิบสี่ เขาทำการส่องกล้องเป็นครั้งที่สาม และเริ่มทานยาฆ่าเชื้อ[16] มาร์อชลล์ไม่ได้พัฒนายาฆ่าเชื้อสำหรับ H. pylori และเสนอว่าภูมิคุ้มกันเดิมในบางครั้งสามารถฆ่าล้างการติดเชื้อ H. pylori ฉับพลันได้ การเจ็บป่วยและการฟื้นฟูจากโรคของมาร์แชลล์บนพื้นฐานของเชื้อที่ได้มาจากผู้ป่วยคนหนึ่ง เข้าได้กันกับเงื่อนไขของค็อกว่ามีความสัมพันธ์ระหว่าง H. pylori กับการเกิดลำไส้อักเสบ แต่ไม่ใช่สำหรับแผลเปื่อยเพปติก การทดลองนี้ได้ตีพิมพ์ในปี 1985 ใน วารสารการแพทย์ออสเตรเลีย[17] ชิ้นงานของเขาเป็นหนึ่งในชิ้นงานที่ถูกอ้างอิงมากที่สุดของวารสารหัวนี้[18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 ,. ukwhoswho.com. Who's Who. Vol. 2015 (online Oxford University Press ed.). A & C Black, an imprint of Bloomsbury Publishing plc. doi:10.1093/ww/9780199540884.013.U26713
- ↑ 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อfrs
- ↑ "U.Va. Top News Daily". Virginia.edu. 4 ตุลาคม 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2010. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2010.
- ↑ "The Marshall Centre". The Marshall Centre. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2021. สืบค้นเมื่อ 3 May 2021.
- ↑ "The University of Western Australia". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2008.
- ↑ Marshall BJ, Warren JR (June 1983). "Unidentified curved bacilli on gastric epithelium in active chronic gastritis". The Lancet. 321 (8336): 1273–5. doi:10.1016/S0140-6736(83)92719-8. PMID 6134060.
- ↑ Marshall BJ, Warren JR (June 1984). "Unidentified curved bacilli in the stomach of patients with gastritis and peptic ulceration". The Lancet. 323 (8390): 1311–5. doi:10.1016/S0140-6736(84)91816-6. PMID 6145023. S2CID 10066001.
- ↑ Sweet, Melissa (2 August 1997). "Smug as a bug". The Sydney Morning Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2014. สืบค้นเมื่อ 28 January 2007.
- ↑ 9.0 9.1 Barry, Marshall (2005). "Autobiography". Nobel Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2007. สืบค้นเมื่อ 28 January 2007.
- ↑ ในปี 1972 เขาเป็นผู้ชนะการแข่งขันโยโย่ระดับรัฐ
- ↑ "Sydney Morning Herald Features Barry Marshall Helicobacter pylori". Vianet.net.au. 2 August 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2014. สืบค้นเมื่อ 2 March 2010.
- ↑ "Barry Marshall Interview, H. Pylori and the Making of a Myth". Academy of Achievement. 23 May 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2013. สืบค้นเมื่อ 28 January 2007.
- ↑ Atwood, Kimball C. (November 2004). "Bacteria, Ulcers, and Ostracism?". Skeptical Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2013. สืบค้นเมื่อ 17 July 2007.
- ↑ "The Doctor Who Drank Infectious Broth, Gave Himself an Ulcer, and Solved a Medical Mystery". Discover Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2018. สืบค้นเมื่อ 23 January 2018.
- ↑ https://www.nobelprize.org/uploads/2018/06/marshall-lecture.pdf
- ↑ This story is related by Marshall in his Nobel acceptance lecture 8 December 2005, available for viewing on the Nobel website. "Barry J. Marshall – Biographical". Nobelprize.org. Nobel Media AB. สืบค้นเมื่อ 1 August 2013.
- ↑ Marshall BJ, Armstrong JA, McGechie DB, Glancy RJ (1985). "Attempt to fulfil Koch's postulates for pyloric Campylobacter". Medical Journal of Australia. 142 (8): 436–9. doi:10.5694/j.1326-5377.1985.tb113443.x. PMID 3982345. S2CID 42243517.
- ↑ Van Der Weyden, Martin B; Armstrong, Ruth M; Gregory, Ann T (2005). "The 2005 Nobel Prize in Physiology or Medicine". Medical Journal of Australia. 183 (11/12): 612–4. PMID 16336147.