ข้ามไปเนื้อหา

แนวคิดโลกเป็นศูนย์กลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Figure of the heavenly bodies — ภาพแบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาลของปโตเลมีโดย Bartolomeu Velho ใน ค.ศ. 1568 (Bibliotèque National, Paris)

ในทางดาราศาสตร์ แนวคิดโลกเป็นศูนย์กลาง (อังกฤษ: geocentrism หรือ geocentric model) คือแนวคิดเก่าแก่ที่ว่าเอกภพทั้งมวลโคจรไปรอบโลกของเราที่อยู่ตรงจุดศูนย์กลางของจักรวาล เป็นแนวคิดที่มีกำเนิดมาแต่ยุคสมัยของกรีกโบราณ โดยมีนักปราชญ์ในยุคนั้นทั้งปโตเลมีและอริสโตเติลให้การสนับสนุน นักปรัชญากรีกโบราณล้วนแต่เชื่อว่า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ตลอดจนดวงดาวต่าง ๆ ล้วนแต่เคลื่อนที่เป็นวงกลมไปรอบ ๆ โลก มีแนวคิดคล้าย ๆ กันนี้ปรากฏในประเทศจีนเช่นกัน ความคิดและความเชื่อในแนวนี้ได้โยงไปถึงความเชื่อเรื่องเทพเจ้าซึ่งมีมาอย่างนานและความคิดแนวนี้ได้คร่าชีวิตนักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาไปอย่างมากมาย[1]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Colin Ronan, "Astronomy in China, Korea and Japan," in Walker, ed., Astronomy Before the Telescope, pp. 264–5.