แตงกวา
แตงกวา | |
---|---|
เถาแตงกวา | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Cucurbitales |
วงศ์: | Cucurbitaceae |
สกุล: | Cucumis |
สปีชีส์: | C. sativus |
ชื่อทวินาม | |
Cucumis sativus L. |
แตงกวา หรือ แตงร้าน[1] เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Cucurbitaceae (วงศ์เดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย[1] นิยมปลูกเพื่อใช้ผลเป็นอาหาร มีอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 40-60 วัน แตงกวาสามารถนำไปปรุงอาหารได้มากมายหลายชนิดเช่น แกงจืด ผัด กินกับน้ำพริก หรืออาจแปรรูปเป็นแตงกวาดอง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]แตงกวามีรากแก้ว แตกแขนงเป็นจำนวนมาก รากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถามีขนขึ้นมีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10 ถึง 20 เซนติเมตร มีหนวดเกาะบริเวณข้อโดยส่วนปลายของหนวดไม่มีการแตกแขนง ใบมีก้านใบยาว 5 – 15 เซนติเมตร ใบหยาบมีขนใบ มีมุมใบ 3 ถึง 5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่มี เส้นใบ 5 – 7 เส้น ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ ดอกตัวผู้เป็นดอกเดี่ยว ผลแตงกวามีลักษณะเรียวยาวทรงกระบอก มีใส้ภายในผล ความยาวระหว่างผล 5- 40 เซนติเมตร[2]
ประโยชน์
[แก้]แตงกวามีน้ำเป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ 96 จึงมีคุณสมบัติแก้กระหาย และเพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยการกำจัดของเสียตกค้างในร่างกาย นอกจากนี้แตงกวามีสารอาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่ วิตามินซี กรดคาเฟอิก กรดทั้ง 2 นี้ป้องกันการสะสมน้ำเกินจำเป็นในร่างกาย เปลือกแตงกวามีกากใยอาหาร และแร่ธาตุจำเป็น เช่น ซิลิกา โพแทสเซียม โมลิบดีนัม แมงกานีส และแมกนีเซียม
ซิลิกาเป็นแร่ธาตุที่เสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน เส้นเอ็น และกระดูก ปริมาณ เส้นใย ธาตุโพแทสเซียมและแมงกานีส ในเปลือกแตงกวาช่วยควบคุมความดันเลือดและความ สมดุลของสารอาหารในร่างกาย ธาตุแมกนีเซียมช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และระบบการไหลเวียนโลหิต เส้นใยอาหารควบคุมระดับคอเลสเตอรอล และช่วยระบบขับถ่ายโดยมีพลังงานต่ำเหมาะ กับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก[3]
แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ทนทานต่อสารมลพิษอินทรีย์แต่สามารถส่งเสริมการย่อยสลายสารพิษในไรโซสเฟียร์ได้ดี โดยสามารถส่งเสริมการย่อยสลาย เอนโดซัลแฟน ซัลเฟต[4] แอนทราซีนและฟลูออรีน[5]ได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-02. สืบค้นเมื่อ 2014-11-14.
- ↑ เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา ภัสรา ชวประดิษฐ์. (2539). แตงกวา. กรมส่งเสริมการเกษตร. [online]. เข้าถึง ได้จาก: http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=442&s=tblplant เก็บถาวร 2010-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ "ประโยชน์ของแตงกวา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-02. สืบค้นเมื่อ 2012-05-23.
- ↑ Somtrakoon, K., M. Kruatrachue, and H. Lee.Phytoremediation of Endosulfan Sulfate-Contaminated Soil by Single and Mixed Plant Cultivations. Water, Air, & Soil Pollution. 2014, 225:1886
- ↑ Somtrakoon, K., W. Chouychai, H. Lee.Comparing Anthracene and Fluorene Degradation in Anthracene and Fluorene-Contaminated Soil by Single and Mixed Plant Cultivation International Journal of Phytoremediation. 2014. 16: 415-428. DOI: 10.1080/15226514.2013.803024
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Cucumis sativus ที่วิกิสปีชีส์