ข้ามไปเนื้อหา

แซม วอลตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แซม วอลตัน
เกิด29 มีนาคม ค.ศ. 1918(1918-03-29)
คิงฟิชเชอร์ รัฐโอคลาโฮมา สหรัฐ
เสียชีวิต5 เมษายน ค.ศ. 1992(1992-04-05) (74 ปี)
ลิตเทิลร็อก รัฐอาร์คันซอ สหรัฐ
สุสานสุสานเบนตันวิล
สัญชาติอเมริกัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมิสซูรี (วท.บ.)
อาชีพผู้ก่อตั้งวอลมาร์ต และแซมส์คลับ
คู่สมรสเฮเลน ร็อบสัน (สมรส 1943)
บุตร
ญาติ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สหรัฐ
แผนก/สังกัด กองทัพบกสหรัฐ
ประจำการค.ศ. 1942–1945
ชั้นยศ ร้อยเอก
หน่วยเหล่าทหารการข่าว
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่สอง

ซามูเอล มัวร์ วอลตัน (อังกฤษ: Samuel Moore Walton; 29 มีนาคม ค.ศ. 1918 – 5 เมษายน ค.ศ. 1992) เป็นนักธุรกิจและผู้ประกอบการชาวอเมริกันที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในการก่อตั้งร้านค้าปลีกวอลมาร์ต และแซมส์คลับ ซึ่งวอลมาร์ตสโตส์ อิงก์. เติบโตขึ้นจนกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยรายรับ ตลอดจนบริษัทว่าจ้างเอกชนรายใหญ่ที่สุดในโลก[1] รวมถึงวอลตันเป็นคนที่ร่ำรวยที่สุดในอเมริกาเป็นระยะเวลาหนึ่ง[2]

ชีวิตในวัยเด็ก

[แก้]

ซามูเอล มัวร์ วอลตัน เป็นลูกของทอมัส กิบสัน วอลตัน และแนนซี ลี โดยเกิดที่คิงฟิชเชอร์ รัฐโอคลาโฮมา เขาอาศัยอยู่ที่นั่นกับพ่อแม่ของเขาในฟาร์มจนถึง ค.ศ. 1923 อย่างไรก็ตาม การทำฟาร์มไม่ได้ให้เงินเพียงพอที่จะเลี้ยงดูครอบครัว และทอมัส วอลตัน ก็ไปจำนองฟาร์ม เขาทำงานให้แก่วอลตันมอร์กิจคอมปานีของพี่ชาย ซึ่งเป็นตัวแทนของเมโทรโพลิทันไลฟ์อินชัวแรนซ์[3][4] ที่เขายึดทรัพย์สินในฟาร์มในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่[5]

เขาและครอบครัว (ปัจจุบันมีลูกชายอีกคนคือเจมส์เกิดใน ค.ศ. 1921) ได้ย้ายจากรัฐโอคลาโฮมา พวกเขาย้ายจากเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่งเป็นเวลาหลายปี โดยส่วนใหญ่อยู่ในรัฐมิสซูรี ขณะเรียนเกรดแปดในเชลไบนา รัฐมิสซูรี แซมกลายเป็นลูกเสืออินทรีที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐ[6] ซึ่งในวัยผู้ใหญ่ วอลตันได้รับรางวัลลูกเสืออินทรีดีเด่นจากลูกเสือแห่งอเมริกา[7]

ในที่สุด ครอบครัวนี้ก็ย้ายไปโคลัมเบีย รัฐมิสซูรี เมื่อเติบโตขึ้นมาในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เขาทำงานบ้านเพื่อช่วยให้ครอบครัวของเขาได้รับผลตอบแทนทางการเงินเหมือนเช่นเคยในขณะนั้น เขารีดนมวัวของครอบครัว, บรรจุขวดส่วนเกิน และขับรถส่งให้ลูกค้า หลังจากนั้น เขาจะจัดส่งหนังสือพิมพ์โคลัมเบียเดลีทริบูนในงานประจำ นอกจากนี้ เขายังขายการสมัครสมาชิกนิตยสาร[8] เมื่อสำเร็จการศึกษาจากเดวิด เอช. ฮิกแมน ไฮสกูล ในโคลัมเบีย เขาได้รับการโหวตให้เป็น "เด็กชายที่เก่งกาจที่สุด"

แซม วอลตัน ในหนังสือรุ่นไฮสกูลของเขา

หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับไฮสกูล วอลตันตัดสินใจเข้าเรียนในวิทยาลัย โดยหวังว่าจะหาวิธีที่ดีกว่าในการช่วยเลี้ยงดูครอบครัวของเขา เขาเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมิสซูรีในฐานะนักเรียนนายร้อยโครงการฝึกกำลังพลสำรอง ในช่วงเวลานี้ เขาทำงานแปลก ๆ หลายอย่าง รวมทั้งบริกรเพื่อแลกกับอาหาร นอกจากนี้ ในระหว่างที่เขาอยู่ในวิทยาลัย วอลตันได้เข้าร่วมคณะซีตาพีของสมาคมบีตาทีตาไพ นอกจากนี้ เขายังได้รับการคัดเลือกจากคิวอีบีเอช ซึ่งเป็นสมาคมลับที่มีชื่อเสียงในวิทยาเขตที่ให้เกียรตินักศึกษาชายชั้นปีสุดท้ายระดับสูง และสมาคมเกียรติยศทางทหารแห่งชาติอย่างสแคบเบิร์ดแอนด์เบลด นอกจากนี้ วอลตันยังดำรงตำแหน่งประธานบูรอลไบเบิลคลาส ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาจำนวนมากจากมหาวิทยาลัยมิสซูรีและวิทยาลัยสตีเฟนส์[9] เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์ใน ค.ศ. 1940 เขาได้รับเลือกให้เป็น "ประธานถาวร" ของรุ่น[10]

ยิ่งกว่านั้น เขายังอธิบายเพิ่มเติมอีกว่าเขาเรียนรู้ตั้งแต่อายุยังน้อยว่าการที่เด็ก ๆ จะช่วยจัดหาบ้านให้ครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพวกเขา โดยเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ วอลตันตระหนักดีขณะรับใช้ในกองทัพ ว่าเขาต้องการเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกและทำธุรกิจด้วยตัวเอง[11]

วอลตันเข้าทำงานที่เจ. ซี. เพนนีย์ ในตำแหน่งผู้บริหารฝึกหัดที่ดิมอยน์ รัฐไอโอวา[10] สามวันหลังจากสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัย[8] โดยจ่ายเงินให้เขาในตำแหน่งนี้ 75 ดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งวอลตันใช้เวลาประมาณ 18 เดือนกับเจ. ซี. เพนนีย์[12] เขาลาออกใน ค.ศ. 1942 โดยความมุ่งหวังว่าจะได้รับเลือกให้เป็นทหารเพื่อรับราชการในสงครามโลกครั้งที่สอง[8] ในระหว่างนี้ เขาได้ทำงานที่โรงงานอาวุธยุทโธปกรณ์ของดูปองท์ ใกล้ทัลซา รัฐโอคลาโฮมา หลังจากนั้นไม่นาน วอลตันได้เข้าร่วมกองทัพในเหล่าทหารการข่าวสหรัฐ โดยควบคุมดูแลความปลอดภัยที่โรงงานเครื่องบินและค่ายเชลยศึก ในตำแหน่งนี้เขาเข้าประจำการที่ฟอร์ตดักลาส ในซอลต์เลกซิตี รัฐยูทาห์ ซึ่งในที่สุดเขาก็ไปถึงยศร้อยเอก

ร้านแรก

[แก้]

ใน ค.ศ. 1945 หลังจากออกจากกองทัพ วอลตันเข้ารับตำแหน่งผู้บริหารร้านลักษณะหลากหลายร้านแรกของเขาเมื่ออายุ 26 ปี[13] ด้วยความช่วยเหลือจากเงินกู้ยืมจำนวน 20,000 ดอลลาร์จากพ่อตาของเขา บวกกับเงินอีก 5,000 ดอลลาร์ที่เขาได้รับจากการทำงานในกองทัพ วอลตันได้ซื้อร้านเบน แฟรงกลิน ในนิวพอร์ต รัฐอาร์คันซอ[8] ซึ่งร้านนี้เป็นแฟรนไชส์ของเครือบัตเลอร์บราเธอส์

วอลตันเป็นผู้บุกเบิกแนวความคิดจำนวนมากที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของเขา ตามความเห็นของวอลตันคือ หากเขาเสนอราคาที่ดีหรือดีกว่าร้านค้าในเมืองที่อยู่ห่างออกไป 4 ชั่วโมงโดยรถยนต์ ผู้คนจะซื้อสินค้าแถวบ้าน[14] วอลตันทำให้แน่ใจว่าชั้นวางมีสต็อกสินค้าจำนวนมากอย่างสม่ำเสมอ ห้างสรรพสินค้าแห่งที่สองของเขาคือห้างสรรพสินค้า "อีเกิล" เล็ก ๆ ซึ่งอยู่ถัดจากร้านเบน แฟรงกลิน ร้านแรกของเขา และอยู่ติดกับคู่แข่งหลักในนิวพอร์ต

ด้วยปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นจาก 80,000 ดอลลาร์เป็น 225,000 ดอลลาร์ในสามปี วอลตันจึงได้รับความสนใจจากพี. เค. โฮมส์ ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งครอบครัวของเขามีประวัติด้านการค้าปลีก[15] โดยการชื่นชมความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของแซม และปรารถนาที่จะเรียกคืนร้านค้า (รวมทั้งสิทธิ์แฟรนไชส์) สำหรับลูกชายของเขา ซึ่งเขาได้ปฏิเสธที่จะต่ออายุสัญญาเช่า การขาดตัวเลือกในการต่ออายุ ประกอบกับค่าเช่าที่สูงเกินควรถึง 5 เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย เป็นบทเรียนทางธุรกิจช่วงแรก ๆ ของวอลตัน และแม้จะบังคับให้วอลตันออกไป แต่โฮมส์ก็ซื้อสินค้าคงคลังและอุปกรณ์ตกแต่งของร้านนี้ในราคา 50,000 ดอลลาร์ ซึ่งวอลตันกล่าวว่าเป็น "ราคายุติธรรม"[16]

ไฟฟ์แอนด์ไดม์ของวอลตัน ซึ่งปัจจุบันเป็นวอลมาร์ตวิซิเตอส์เซ็นเตอร์ เบนตันวิล

เมื่อเหลือสัญญาเช่าหนึ่งปี แต่ร้านขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เขา, เฮเลน ภรรยาของเขา และพ่อตาของเขาสามารถเจรจาซื้อที่ตั้งแห่งใหม่บนจัตุรัสกลางเมืองของเบนตันวิล รัฐอาร์คันซอ วอลตันเจรจาซื้อร้านลดราคาเล็ก ๆ และกรรมสิทธิ์ในอาคาร โดยได้รับสัญญาเช่า 99 ปี เพื่อขยายเป็นร้านข้าง ๆ ซึ่งเจ้าของร้านข้าง ๆ ปฏิเสธถึงหกครั้ง และวอลตันได้ยอมแพ้ต่อเบนตันวิล อันเป็นช่วงที่พ่อตาของเขาไปเยี่ยมเจ้าของร้านเป็นครั้งสุดท้าย และจ่ายเงิน 20,000 ดอลลาร์เพื่อประกันสัญญาเช่าโดยที่แซมไม่รู้ ซึ่งเขามีเหลือพอจากการขายร้านแรกเพื่อปิดข้อตกลง และคืนเงินแก่พ่อของเฮเลน กระทั่งพวกเขาเปิดกิจการโดยมีการปรับปรุงการขายหนึ่งวันเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1950[15]

ก่อนที่เขาจะซื้อร้านเบนตันวิล ได้มียอดขาย 72,000 ดอลลาร์ และเพิ่มขึ้นเป็น 105,000 ดอลลาร์ในปีแรก จากนั้นเป็น 140,000 ดอลลาร์ และ 175,000 ดอลลาร์[17]

เครือร้านเบน แฟรงกลิน

[แก้]

เมื่อ "ไฟฟ์แอนด์ไดม์" ที่เบนตันวิลเปิดทำการใหม่ ซึ่งอยู่ห่างออกไป 220 ไมล์ ได้เหลือเวลาหนึ่งปีในการเช่าในนิวพอร์ต วอลตันหนุ่มที่ติดเงินต้องเรียนรู้ที่จะมอบหมายความรับผิดชอบ[18][19]

หลังจากประสบความสำเร็จกับร้านค้าสองแห่งในช่วงเวลาดังกล่าว (และด้วยผลกระทบจากยุคเบบีบูมหลังสงครามเต็มรูปแบบ) แซมก็กระตือรือร้นที่จะสำรวจสถานที่เพิ่มเติม และเปิดแฟรนไชส์เบน แฟรงกลิน ต่อไป (นอกจากนี้ หลังจากใช้เวลาอยู่หลังพวงมาลัยนับไม่ถ้วน และร่วมกับเจมส์ "บัด" วอลตัน น้องชายคนสนิทของเขาที่เป็นนักบินในสงคราม ซึ่งเขาได้ตัดสินใจซื้อเครื่องบินมือสองขนาดเล็กลำหนึ่ง ทั้งเขาและลูกชายของเขา จอห์น กลายเป็นนักบินที่ประสบความสำเร็จ รวมทั้งบันทึกสถานที่ค้นหานับพันชั่วโมง ตลอดจนขยายธุรกิจของครอบครัวในเวลาต่อมา)[18]

ใน ค.ศ. 1954 เขาได้เปิดร้านร่วมกับบัด ซึ่งเป็นน้องชายของเขา ที่ศูนย์การค้า ณ รัสกินไฮส์ ชานแคนซัสซิตี รัฐมิสซูรี ด้วยความช่วยเหลือจากน้องชายและพ่อตาของเขา แซมได้เปิดร้านสารพันสินค้าใหม่ ๆ จำนวนมาก เขาส่งเสริมให้ผู้จัดการของเขาลงทุนและถือหุ้นในธุรกิจ บ่อยครั้งมากถึง 1,000 ดอลลาร์ในร้านค้าของพวกเขา หรือร้านสาขาถัดไปที่จะเปิด (สิ่งนี้กระตุ้นให้ผู้จัดการฝึกฝนทักษะการจัดการ และเป็นเจ้าของบทบาทในสถานประกอบการดังกล่าว)[18] กระทั่งใน ค.ศ. 1962 เขาพร้อมด้วยบัด ผู้เป็นน้องชายของเขา ได้มีร้านค้า 16 แห่งในรัฐอาร์คันซอ, รัฐมิสซูรี และรัฐแคนซัส (ร้านเบน แฟรงกลิน สิบห้าแห่ง และร้านอิสระหนึ่งแห่งในเฟย์เอตต์วิลล์)[20]

ถือได้ว่าแซม วอลตัน เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการโครงการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมห่วงโซ่การค้าปลีก ซึ่งเขามีความหลงใหลในการเรียนรู้อย่างมาก เขามักจะไปเยี่ยมวอลมาร์ตทั่วประเทศโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าเพื่อเรียนรู้ว่าวิธีการใหม่ในท้องถิ่นทำงานอย่างไร และสามารถแบ่งปันแนวทางแก่วอลมาร์ตสาขาอื่น ๆ ได้ โดยในการไปเยี่ยมครั้งหนึ่ง เขารู้สึกงุนงงกับคำทักทายที่พูดว่า "สวัสดี" ที่ทางเข้าร้าน และถามเพื่อนร่วมงานว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ พนักงานต้อนรับอธิบายว่างานหลักของเขาคือกีดกันไม่ให้คนขโมยของในร้านนำสินค้าที่ยังไม่ได้ชำระเงินออกจากร้านผ่านทางทางเข้า วอลตันรู้สึกอิ่มเอมเป็นอย่างยิ่ง และได้แบ่งปันวิธีการใหม่นี้แก่ “ผู้ร่วมงาน” ตลอดสายงานของเขา[21]

วอลมาร์ตแรก

[แก้]

วอลมาร์ตที่แท้จริงแห่งแรกเปิดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1962 ในโรเจอส์ รัฐอาร์คันซอ[22] โดยเรียกว่าห้างวอล-มาร์ต ดิสเคาต์ซิตี ตั้งอยู่ที่ 719 เวสต์วอลนัตสตรีต ซึ่งเขาได้ประกาศความพยายามอย่างแน่วแน่ในการทำตลาดผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในอเมริกา และสิ่งที่รวมอยู่ในความพยายามดังกล่าวคือความเต็มใจที่จะหาผู้ผลิตชาวอเมริกันที่สามารถจัดหาสินค้าให้แก่เครือวอลมาร์ตทั้งหมดในราคาที่ต่ำพอที่จะตอบสนองการแข่งขันจากต่างประเทศ[23]

เมื่อเครือข่ายร้านค้าของไมเออร์เติบโตขึ้น วอลตันก็ให้ความสนใจ เขารับทราบว่ารูปแบบศูนย์การค้าแบบครบวงจรของเขามีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่เป็นนวัตกรรมดั้งเดิมของไมเออร์[24] ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวทางปฏิบัติของเครือข่ายร้านค้าลดราคาของอเมริกา วอลตันตั้งร้านค้าในเมืองเล็ก ๆ ไม่ใช่เมืองใหญ่ หากต้องการอยู่ใกล้ผู้บริโภค ทางเลือกเดียวในขณะนั้นคือเปิดร้านค้าในเมืองเล็ก ๆ ซึ่งโมเดลของวอลตันมีข้อดีสองประการ ประการแรก การแข่งขันที่มีอยู่มีจำกัด และประการที่สอง หากร้านค้ามีขนาดใหญ่พอที่จะควบคุมธุรกิจในเมืองและบริเวณโดยรอบ ผู้ประกอบการค้ารายอื่นจะถูกกีดกันไม่ให้เข้าสู่ตลาด[14]

ในการสร้างแบบจำลองของเขา เขาได้เน้นด้านโลจิสติกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาร้านค้าภายในระยะทางขับรถหนึ่งวันจากคลังสินค้าในภูมิภาคของวอลมาร์ต และกระจายผ่านบริการขนส่งทางรถบรรทุกของตนเอง โดยการซื้อในปริมาณมากและการส่งมอบที่มีประสิทธิภาพได้เปิดโอกาสให้ขายสินค้าแบรนด์เนมลดราคา ดังนั้น การเติบโตอย่างยั่งยืน — จากร้านค้า 190 แห่งใน ค.ศ. 1977 ถึง 800 แห่งใน ค.ศ. 1985 — จึงประสบความสำเร็จ[10]

ด้วยขนาดและอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วอลมาร์ตได้รับการตั้งข้อสังเกตว่าส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในทุกภูมิภาคที่ก่อตั้งร้านค้า ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ทั้งด้านบวกและด้านลบได้รับการขนานนามว่า "วอลมาร์ตเอฟเฟกต์"[25]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

วอลตันแต่งงานกับเฮเลน ร็อบสัน ในวันวาเลนไทน์ เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943[8] พวกเขามีลูกสี่คน ได้แก่ ซามูเอล ร็อบสัน (ร็อบ) เกิดใน ค.ศ. 1944, จอห์น ที. โทมัส (ค.ศ. 1946–2005), เจมส์ คาร์ (จิม) เกิดใน ค.ศ. 1948 และอลิซ หลุยส์ เกิดใน ค.ศ. 1949[26]

วอลตันสนับสนุนการกุศลต่าง ๆ เขาและเฮเลนมาประจำในโบสถ์เพรสไบทีเรียนที่ 1 ในเบนตันวิล[27] ซึ่งแซมได้รับใช้ในฐานะผู้อาวุโสและครูโรงเรียนวันอาทิตย์ โดยสอนนักเรียนไฮสกูล[28] ครอบครัว​นี้​มีคุณูปการอย่างมาก​​ต่อ​ประชาคมดังกล่าว รวมทั้งวอลตันใช้แนวคิดเรื่อง “ความเป็นผู้นำด้านบริการ” ในโครงสร้างองค์กรของวอลมาร์ต โดยยึดตามแนวคิดที่ว่าพระคริสต์ทรงเป็นผู้นำคนรับใช้ และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการรับใช้ผู้อื่นตามหลักศาสนาคริสต์[29]

ทั้งนี้ วอลตันได้รับการวินิจฉัยและรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์มีขน[30]

การเสียชีวิต

[แก้]

วอลตันเสียชีวิตในวันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1992 (สามเดือนก่อนวันครบรอบสามสิบปีของวอลมาร์ต) ด้วยโรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา ซึ่งเป็นมะเร็งเม็ดเลือดชนิดหนึ่ง[31] ในลิตเทิลร็อก รัฐอาร์คันซอ[32] ข่าวการเสียชีวิตของเขาได้รับการส่งผ่านดาวเทียมไปยังห้างวอลมาร์ตทั้งหมด 1,960 แห่ง[33] ในขณะนั้น บริษัทของเขามีพนักงาน 380,000 คน ส่วนยอดขายประจำปีเกือบ 50 พันล้านดอลลาร์มาจากวอลมาร์ต 1,735 แห่ง, แซมส์คลับ 212 แห่ง และซูเปอร์เซ็นเตอร์ 13 แห่ง[10]

ศพของเขาได้รับการฝังไว้ที่สุสานเบนตันวิล เขาปล่อยความเป็นเจ้าของในวอลมาร์ตให้แก่ภรรยาและลูก ๆ ของเขา ได้แก่ ร็อบ วอลตัน ผู้สืบทอดพ่อของเขาในฐานะประธานวอลมาร์ต และจอห์น วอลตัน ซึ่งเป็นผู้อำนวยการกระทั่งเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกเมื่อ ค.ศ. 2005 ส่วนคนอื่น ๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับบริษัท (ยกเว้นด้วยอำนาจการลงคะแนนของพวกเขาในฐานะผู้ถือหุ้น) อย่างไรก็ตาม จิม วอลตัน ผู้เป็นลูกชายของเขาเป็นประธานของธนาคารอาร์เวสต์ ทั้งนี้ ตระกูลวอลตันได้ครองตำแหน่งห้าคนที่ร่ำรวยที่สุดในสหรัฐจนถึง ค.ศ. 2005 ส่วนลูกสาวสองคนของบัด วอลตัน ซึ่งเป็นน้องชายของแซม ได้แก่ แอน โครเอนเก และแนนซี ลอรี ได้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวด้วยจำนวนน้อยกว่า[34]

สิ่งที่ตามมา

[แก้]
วอลตัน และประธานาธิบดี จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1992

ใน ค.ศ. 1998 วอลตันได้รับการรวมอยู่ในรายชื่อ 100 ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ของนิตยสารไทม์[35] และวอลตันได้รับเกียรติจากการทำงานค้าปลีกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1992 เพียงหนึ่งเดือนก่อนที่เขาจะเสียชีวิต เมื่อเขาได้รับเหรียญอิสรภาพประธานาธิบดีจากจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในขณะนั้น[33]

นิตยสารฟอบส์จัดอันดับให้แซม วอลตันเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในสหรัฐตั้งแต่ ค.ศ. 1982 ถึง 1988 โดยยกให้จอห์น คลูกี เป็นตำแหน่งสูงสุดใน ค.ศ. 1989 เมื่อบรรณาธิการเริ่มให้เครดิตกับทรัพย์สมบัติของวอลตันพร้อมกันกับเขาและลูกทั้งสี่ของเขา[36] (บิล เกตส์ อยู่หัวรายการครั้งแรกใน ค.ศ. 1992 ซึ่งเป็นปีที่วอลตันเสียชีวิต) ซึ่งวอลมาร์ตสโตส์, อิงก์. ยังดำเนินกิจการร้านค้าคลังสินค้าของแซมส์คลับเช่นกัน[37] รวมทั้งวอลมาร์ตดำเนินการในสหรัฐและในตลาดต่างประเทศกว่าสิบห้าแห่ง ได้แก่ อาร์เจนตินา, บราซิล, แคนาดา, ชิลี, จีน, คอสตาริกา, เอลซัลวาดอร์, กัวเตมาลา, อินเดีย, แอฟริกาใต้, บอตสวานา, กานา, มาลาวี, โมซัมบิก, นามิเบีย, แทนซาเนีย, ยูกันดา, แซมเบีย, เคนยา, เลโซโท, เอสวาตินี (สวาซีแลนด์), ฮอนดูรัส, ญี่ปุ่น, เม็กซิโก, นิการากัว และสหราชอาณาจักร[38]

ที่วิทยาลัยธุรกิจ มหาวิทยาลัยอาร์คันซอ (วิทยาลัยธุรกิจแซม เอ็ม. วอลตัน) ได้มีการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา และวอลตันได้รับการเสนอชื่อให้เข้าสู่หอเกียรติยศธุรกิจแห่งความสำเร็จของเยาวชนสหรัฐใน ค.ศ. 1992[39]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Sam Walton Biography". 7infi.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2017. สืบค้นเมื่อ August 10, 2017.
  2. Harris, Art (1985-11-17). "America's Richest Man Lives...Here?Sam Walton, Waiting in Line At the Wal-Mart With Everybody Else". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2021-03-22.
  3. Walton, Sam. Sam Walton: Made in America. Random House Publishing Group. p. 4. ISBN 978-0-345-53844-4.
  4. Lee, Sally (2007). Sam Walton: Business Genius of Wal-Mart. Enslow Publishers, Inc. p. 13. ISBN 978-0766026926. สืบค้นเมื่อ December 30, 2012.
  5. Landrum, Gene N. (2004). Entrepreneurial Genius: The Power of Passion. Brendan Kelly Publishing. p. 120. ISBN 1895997232. สืบค้นเมื่อ December 30, 2012.
  6. Townley, Alvin (December 26, 2006). Legacy of Honor: The Values and Influence of America's Eagle Scouts. Asia: St. Martin's Press. pp. 88–89. ISBN 0-312-36653-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2006. สืบค้นเมื่อ December 29, 2006.
  7. "Distinguished Eagle Scouts" (PDF). Scouting.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 12, 2016. สืบค้นเมื่อ November 4, 2010.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Gross, Daniel; Forbes Magazine Staff (August 1997). Greatest Business Stories of All Time (First ed.). New York: John Wiley & Sonsf. p. 269. ISBN 0-471-19653-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 10, 2020. สืบค้นเมื่อ December 18, 2019.
  9. Walton, Sam. Sam Walton: Made in America. Random House Publishing Group. p. 15. ISBN 978-0-345-53844-4.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 "Sam Walton". Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica Inc. 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 21, 2013. สืบค้นเมื่อ March 30, 2012.
  11. Walton, Sam (1992). Sam Walton, Made in America: My Story. Doubleday. pp. 5, 15, and 20.
  12. Walton, Sam. Sam Walton: Made in America. Random House Publishing Group. p. 18. ISBN 978-0-345-53844-4.
  13. "Lessons from Sam Walton: How a social-local strategy brings the human touch back to business". Hearsay Systems (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2012-06-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-23. สืบค้นเมื่อ 2020-12-05.
  14. 14.0 14.1 Sandra S. Vance, Roy V. Scott (1994). Wal-Mart. New York: Twayne Publishers. p. 41. ISBN 0-8057-9833-1.
  15. 15.0 15.1 "Sam Walton". Butler Center for Arkansas Studies. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2012. สืบค้นเมื่อ March 30, 2012.
  16. Walton & Huey, Made in America: My Story, p. 30.
  17. Wenz, Peter S. (2012). Take Back the Center: Progressive Taxation for a New Progressive Agenda. MIT Press. p. 60. ISBN 978-0262017886. สืบค้นเมื่อ December 30, 2012.
  18. 18.0 18.1 18.2 Walton, Sam; John Huey (1992). Made in America: My Story. New York: Doubleday. ISBN 0-385-42615-1.
  19. Trimble, Vance H. (1991). Sam Walton: the Inside Story of America's Richest Man. Penguin Books. ISBN 0-451-17161-6. ISBN 978-0-451-17161-0
  20. Kavita Kumar (September 8, 2012). "Ben Franklin store, a throwback to the five-and-dime, finally closes". St. Louis Post-Dispatch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 30, 2014. สืบค้นเมื่อ July 26, 2014.
  21. Diamond, Arthur M. (2019). Openness to Creative Destruction- Sustaining Innovative Dynamism. USA & UK: Oxford University Press. p. 25.
  22. Gross, Daniel; Forbes Magazine Staff (1997). Greatest Business Stories of All Time (First ed.). New York: John Wiley & Sons, Inc. p. 272. ISBN 0-471-19653-3.
  23. Yohannan T. Abraham; Yunus Kathawala; Jane Heron (December 26, 2006). "Sam Walton: Walmart Corporation". The Journal of Business Leadership, Volume I, Number 1, Spring 1988. American National Business Hall of Fame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 20, 2002. สืบค้นเมื่อ January 2, 2014.
  24. "Fred Meijer, West Michigan billionaire grocery magnate, dies at 91". MLive.com. November 26, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2018. สืบค้นเมื่อ November 26, 2011.
  25. Fishman, Charles (2006). How The World's Most Powerful Company Really Works – and How It's Transforming the American Economy. New York: The Penguin Press, Inc.
  26. Tedlow, Richard S. (July 23, 2001). "Sam Walton: Great From the Start". Working Knowledge. Harvard Business School. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2015. สืบค้นเมื่อ March 30, 2012.
  27. Hodges, Sam (April 20, 2007). "Presbyterian obit on Wal-Mart founder's widow". The Dallas Morning News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 1, 2019. สืบค้นเมื่อ November 1, 2019.
  28. Robert Frank (July 25, 2009). "Nickel and Dimed". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 21, 2017. สืบค้นเมื่อ February 18, 2017.
  29. Walsh, Colleen (November 19, 2009). "God and Walmart". สืบค้นเมื่อ October 6, 2021.
  30. Hayes, Thomas (April 6, 1992). "Sam Walton Is Dead At 74; the Founder Of Wal-Mart Stores". The New York Times. สืบค้นเมื่อ Mar 14, 2022.
  31. Walton, Sam (1993). Sam Walton: Made in America. Bantam Books. p. 329. ISBN 0-553-56283-5.
  32. Ortega, Bob. "In Sam We Trust: The Untold Story of Sam Walton and How Wal-Mart Is Devouring America". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2005. สืบค้นเมื่อ February 7, 2007.
  33. 33.0 33.1 Gross, Daniel; Forbes Staff (August 1997). Greatest Business Stories of All Time (First ed.). New York: John Wiley & Sons, Inc. p. 283. ISBN 0-471-19653-3.
  34. "Ann Walton Kroenke". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2019. สืบค้นเมื่อ October 31, 2019.
  35. "Time 100 Builders & Titans: Sam Walton". Time Magazine. December 7, 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2000. สืบค้นเมื่อ March 31, 2012. at Wayback Machine
  36. Clare O'Connor (September 9, 2010). "Billionaire John Kluge Dies At 96". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 20, 2017. สืบค้นเมื่อ September 11, 2017.
  37. "Walmart's test store for new technology, Sam's Club Now, opens next week in Dallas". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ November 6, 2020.[ลิงก์เสีย]
  38. International Operations Data Sheet เก็บถาวร มกราคม 11, 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Walmart Corporation, July 2009.
  39. Patty de Llosa and Jessica Skelly von Brachel (March 23, 1992). "The National BUSINESS HALL OF FAME". Fortune. Peter Nulty Reporter Associates. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2016. สืบค้นเมื่อ May 25, 2016.

แหล่งที่มา

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]