ข้ามไปเนื้อหา

แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา

Regione Emilia-Romagna (อิตาลี)
ธงของแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา
ธง
ตราราชการของแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา
ตราอาร์ม
แผนที่ประเทศอิตาลีแสดงที่ตั้งของแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา
แผนที่ประเทศอิตาลีแสดงที่ตั้งของแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา
ประเทศอิตาลี
เมืองหลักโบโลญญา
การปกครอง
 • ประธานแคว้นสเตฟาโน โบนัชชีนี
พื้นที่
 • ทั้งหมด22,446 ตร.กม. (8,666 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (30 พฤศจิกายน 2553)
 • ทั้งหมด4,446,220 คน
 • ความหนาแน่น200 คน/ตร.กม. (510 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
จีดีพี (ตัวเงิน)144.140[1] พันล้านยูโร (2551)
จีดีพี (อำนาจซื้อ)31,900[2] ยูโร (2551)
เว็บไซต์www.regione.emilia-romagna.it

เอมีเลีย-โรมัญญา (อิตาลี: Emilia-Romagna) เป็นแคว้นหนึ่งทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี มีเนื้อที่ทั้งหมด 22,446 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 4.4 ล้านคน เมืองหลักของแคว้นคือโบโลญญา

เอมีเลีย-โรมัญญาเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มั่งคั่งที่สุดและได้รับการพัฒนามากที่สุดในยุโรป โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากรสูงเป็นอันดับที่ 3 ในอิตาลี[3] โบโลญญาเป็นหนึ่งในเมืองที่มีบริการทางสังคมขั้นสูงและดัชนีคุณภาพชีวิตสูงที่สุดในประเทศ[4] แคว้นนี้ยังเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว โดยเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยโบโลญญาซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[5] เป็นที่ตั้งของเมืองสมัยโรมาเนสก์และสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (เช่น โมเดนา, ปาร์มา, แฟร์รารา) เป็นศูนย์รวมอาหารและการผลิตรถยนต์ (ที่ตั้งของบริษัทรถยนต์ต่าง ๆ เช่น เฟอร์รารี่, ลัมโบร์กีนี, มาเซราตี, ปากานี, ดูคาติ) และมีสถานพักตากอากาศชายฝั่งยอดนิยม เช่น แชร์เวีย, เชเซนาตีโค, รีมีนี, ริชโชเน เป็นต้น

ที่ตั้ง

[แก้]

แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาประกอบด้วยภูมิภาคทางประวัติศาสตร์สองภูมิภาค ได้แก่ เอมีเลียและโรมัญญา เนื้อที่เป็นรูปสามเหลี่ยม ด้านตะวันออกเป็นทะเลเอเดรียติก ทางด้านเหนือแม่น้ำโป และทางด้านใต้เป็นเทือกเขาแอเพนไนน์ ตรงกลางเป็นถนนเอมีเลียซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยโรมันที่เริ่มตั้งแต่เมืองรีมีนีไปจนถึงเมืองเปียเชนซาที่สร้างเสร็จเมื่อ 187 ปึก่อนคริสต์ศักราช ตอนกลางของแคว้นเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโป ด้านอื่นเป็นเนินและภูเขาที่กั้นระหว่างตอสคานาและเอมีเลีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Eurostat – Tables, Graphs and Maps Interface (TGM) table". Epp.eurostat.ec.europa.eu. 2013-08-11. สืบค้นเมื่อ 2016-12-01.
  2. "EUROPA – Press Releases – Regional GDP per inhabitant in 2008 GDP per inhabitant ranged from 28% of the EU27 average in Severozapaden in Bulgaria to 343% in Inner London". Europa.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-12. สืบค้นเมื่อ 2013-11-28.
  3. Regional GDP per inhabitant in the EU27: GDP per inhabitant in 2005 ranged from 24% of the EU27 average in Nord-Est Romania to 303% in Inner London. European Commission, Eurostat. 12 February 2008.
  4. "Qualita' della vita: il dossier". Il Sole 24 ORE. สืบค้นเมื่อ 2013-11-28.
  5. "Università di Bologna (oldest university in the world)". 44.49658200;11.35316800: Virtual Globetrotting. 2006-10-21. สืบค้นเมื่อ 2013-11-28.{{cite web}}: CS1 maint: location (ลิงก์)