แกงกระด้าง
หน้าตา
มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
ชื่ออื่น | แกงหมูด้าง, แกงหมูหนาว |
---|---|
มื้อ | จานหลัก |
แหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภูมิภาค | ภาคเหนือ |
ผู้สร้างสรรค์ | ชาวล้านนา |
ส่วนผสมหลัก | ขาหมู, กระเทียม, พริกไทย, รากผักชี, ผักชี, ต้นหอม, เกลือ |
รูปแบบอื่น | สูตรเชียงใหม่และล้านนา |
แกงกระด้าง หรือบ้างเรียก แกงหมูด้าง หรือ แกงหมูหนาว เป็นอาหารพื้นบ้านชาวล้านนา (ชาวเหนือ) นิยมใช้ขาหมูเป็นส่วนประกอบสำคัญ เพราะมีเอ็นอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อนำมาเป็นส่วนประกอบหลักในการแกงจะทำให้แกงข้น หรือกระด้างได้ง่าย ในปัจจุบันมักเติมผงวุ้นลงไปด้วยเพราะผงวุ้นทำให้แกงกระด้างได้ดีและเร็วขึ้น แกงกระด้างมี 2 สูตร คือ สูตรเชียงใหม่และสูตรล้านนา ในสูตรล้านนาขณะต้มขาหมูจะมีการเติมเครื่องแกงและเติมพริกแห้งลงไปด้วยเพื่อเพิ่มสีส้มในอาหารให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น[1]
ในสมัยก่อนแกงกระด้างจะมีให้รับประทานในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น แต่ ณ ปัจจุบันเทคโนโลยีทางอาหารดีขึ้นมาก ผู้ที่ทำแกงกระด้างจะใช้ผงวุ้นเย็นเป็นตัวเร่งประสิทธิภาพในการจับตัว และเกาะตัวของแกงให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น ณ ปัจจุบันแกงกระด้างสามารถหารับประทานได้ทุกฤดูกาล[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รัตนา พรหมพิชัย. (2542). แกงกระด้าง. สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 1, หน้า 475). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
- ↑ ข้อมูลแกงกระด้างจากเว็บไซต์กองบิน 41 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557