ข้ามไปเนื้อหา

เอชแอนด์เอ็ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฮนเนส แอนด์ มอริทส์ อาเบ
ชื่อท้องถิ่น
Hennes & Mauritz AB
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
แนสแด็ก สต็อกโฮล์มHM B
ISINSE0000106270 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมการค้าปลีก
ก่อนหน้าแฮนเนส
ก่อตั้ง1947; 77 ปีที่แล้ว (1947) (ในชื่อ แฮนเนส)
เวสเตโรส ประเทศสวีเดน
ผู้ก่อตั้งErling Persson
สำนักงานใหญ่สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
จำนวนที่ตั้ง5,076 (30 พฤศจิกายน 2019)[1]
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลักสเตฟาน แพร์สัน (ประธานบริษัท)
ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า, เครื่องประดับ
รายได้เพิ่มขึ้นUS$25.191 พันล้าน (2016)[2]
รายได้จากการดำเนินงาน
ลดลงUS$2.692 พันล้าน (2016)[2]
รายได้สุทธิ
ลดลงUS$2.106 พันล้าน (2016)[2]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้นUS$11.139 พันล้าน (2016)[2]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นUS$6.919 พันล้าน (2016)[2]
เจ้าของสเตฟาน แพร์สัน (28%)[3]
พนักงาน
126,376 คน[a] (30 พฤศจิกายน 2019)
บริษัทในเครือMonki, Weekday, Cheap Monday, COS, & Other Stories, ARKET
เว็บไซต์www2.hm.com/en_gb/index.html แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

แฮนเนส แอนด์ มอริทส์ อาเบ (สวีเดน: Hennes & Mauritz AB) หรือ เอชแอนด์เอ็ม (H&M) เป็นบริษัทเครื่องแต่งกายของประเทศสวีเดน มีสาขาจำนวนกว่า 5,076 สาขา ใน 74 ประเทศ มีพนักงานกว่า 126,000 คน

เอชแอนด์เอ็ม ออกเสียงเป็นภาษาสวีเดนว่า "โฮเอ็ม" แต่ในบางประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร หรือ สหรัฐอเมริกา จะออกเสียงว่า "เอช แอนด์ เอ็ม"

เอช แอนด์ เอ็ม ในสต็อกโฮล์ม

เอชแอนด์เอ็มในต่างประเทศ

[แก้]

สาขาในต่างประเทศสาขาแรกเปิดที่นอร์เวย์ในปี ค.ศ. 1964[4] หลังจากนั้นได้ขยายตลาดในทวีปยุโรปเรื่อยมา โดยมีสาขาแรกนอกสแกนดิเนเวียที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร[5] รวมถึงสาขาในเดนมาร์ก, สวิตเซอร์แลนด์ และเยอรมนี ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1990 เปิดสาขาเพิ่มเติมที่ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เบลเยียม, ออสเตรีย และเนเธอร์แลนด์ รวมถึงมีการขยายเครือข่ายสาขาไปทั่วทั้งทวีปยุโรป

หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 2000 เอชแอนด์เอ็มได้เปิดสาขาแรกในสหรัฐและสาขาแรกนอกทวีปยุโรปบนถนนฟิฟท์อเวนิวที่นครนิวยอร์ก[6] ปัจจุบันมีสาขาเฉพาะในสหรัฐอเมริกากว่า 152 สาขา โดยมีสาขาใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ เดอะฟอรัมช็อปส์แอทซีซาร์พาเลซ ลาสเวกัส

ในปี ค.ศ. 2006 เอชแอนด์เอ็มมีสาขาแรกในทวีปเอเชียที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (และเป็นแฟรนไชส์แรกของเอชแอนด์เอ็ม) และในปี ค.ศ. 2007 เริ่มเปิดสาขาแรกในฮ่องกง, จีน และญี่ปุ่น

ปัจจุบันในประเทศไทยมีทั้งหมด 33 สาขา โดยสาขาแรกเปิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2012 ที่สยามพารากอน และในอีกเก้าปีต่อมาได้ปรับปรุงร้านเดิมที่เซ็นทรัลเวิลด์ ในแนวคิดทาวน์สแควร์เป็นแห่งแรกในเอเชีย ซึ่งนอกจากส่วนจำหน่ายเสื้อผ้าเช่นเดียวกับสาขาอื่น ๆ แล้ว ยังประกอบด้วย เอชแอนด์เอ็มโฮม เอชแอนด์เอ็มมิวสิกสตูดิโอแห่งแรกของโลก และร้านกาแฟ[7]

เชิงอรรถ

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Total full-time equivalent positions; H&M reports do not publish total full-time, part-time and casual employment levels.

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Full year report 2019 Q4" (PDF). H&M Group. สืบค้นเมื่อ 2 March 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Annual Report 2016" (PDF). Hennes & Mauritz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-01-27. สืบค้นเมื่อ 27 February 2018.
  3. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2018. สืบค้นเมื่อ 29 August 2017.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  4. "Mote og kvalitet til beste pris – H& NO".
  5. "Mote og kvalitet til beste pris – H& NO".
  6. "H&M: Our-History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2013.
  7. "H&M Town square แห่งแรกในเอเชีย มิติใหม่แห่งการช้อปปิ้งและไลฟ์สไตล์". www.gourmetandcuisine.com (ภาษาอังกฤษ).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]