ข้ามไปเนื้อหา

เป่ายิ้งฉุบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เป่ายิ้งฉุบ
ตารางรูปทั้งสามในเป่ายิ้งฉุบชนะอะไร
ประเภทของเกมเกมมือ
จำนวนผู้เล่น2 คน (ขั้นต่ำ)
ระยะเวลาติดตั้งไม่มี
ระยะเวลาเล่นไม่กี่วินาที
โอกาสสุ่มไม่มีหรือบางครั้ง ขึ้นอยู่กับทักษะผู้เล่น

เป่ายิ้งฉุบ หรือ เป่ายิงฉุบ หรือ เป่า ยิง ฉุบ เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งที่อาศัยเพียงเสี่ยงมือระหว่างผู้เล่นสองฝ่ายเพื่อเอาชนะกัน การเสี่ยงมือทำได้ 3 แบบ คือ ค้อน (กำมือ) , กระดาษ (แบมือ) และกรรไกร (ยื่นเฉพาะนิ้วชี้และนิ้วกลาง) เกมเป่ายิ่งฉุบแบบแรกสุดมีต้นกำเนิดในประเทศจีนแล้วภายหลังนำเข้าประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจากนั้นได้พัฒนาเป็นรูปแบบสมัยใหม่ ก่อนที่จะกระจายไปทั่วโลกเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20

เกมผลรวมเป็นศูนย์ที่เล่นพร้อมกันมีผลลัพธ์ที่เป็นไปได้สามแบบ: เสมอ ชนะ หรือแพ้ ผู้เล่นที่ใช้รูปหินจะชนะผู้เล่นที่ใช้รูปกรรไกร ("หินทำลายกรรไกร" หรือในบางครั้ง "ทำกรรไกรทื่อ"[1]) แต่จะแพ้ผู้เล่นที่ใช้รูปกระดาษ ("กระดาษคลุมหิน") ผู้เล่นที่ใช้รูปกระดาษจะแพ้ผู้เล่นที่ใช้รูปกรรไกร ("กรรไกรตัดกระดาษ") ถ้าผู้เล่นทั้งสองคนใช้รูปเดียวกัน เกมนั้นถือเป็นเสมอ และมักเล่นใหม่เพื่อไม่ให้เสมอ

เป่ายิ้งฉุบมักใช้เป็นวิธีการเลือกที่ยุติธรรมระหว่างคนสองคน ซึ่งคล้ายกับการดีดเหรียญ, จับไม้สั้นไม้ยาว หรือทอยลูกเต๋าเพื่อระงับข้อพิพาทหรือให้กลุ่มที่เป็นกลางตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป่ายิ้งฉุบมีความแตกต่างจากวิธีการสุ่มแบบแท้จริงอยู่ที่ผู้เล่นสามารถเล่นได้โดยใช้ทักษะในระดับหนึ่ง ผ่านการจดจำและใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมแบบไม่สุ่มของฝ่ายตรงข้าม[2][3]

กติกาการเล่น

[แก้]
  • ค้อน : ชนะกรรไกร แต่แพ้กระดาษ
  • กระดาษ : ชนะค้อน แต่แพ้กรรไกร
  • กรรไกร : ชนะกระดาษ แต่แพ้ค้อน

การเล่น

[แก้]

ผู้เล่นทั้งสองจะหันหน้าเข้าหากัน ไพล่มือที่จะเสี่ยงไว้ด้านหลัง เมื่อนับ "เป่า ยิ้ง" จะเตรียมเสี่ยงมือเอาไว้ ว่าจะออกเป็น ค้อน กระดาษ หรือกรรไกร เมื่อพูด "ฉุบ" ทั้งสองจะออกมือมาพร้อมกัน และจะรู้ทันทีว่าใครแพ้หรือชนะ

บางแห่ง เด็ก ๆ จะกำมือสองข้าง หมุนกำมือซ้ายและกำมือขวาวนรอบกัน หรืออาจจะแค่ยกกำมือข้างเดียวขึ้นเขย่า ๆ หรือเอามือจับติ่งหูพร้อมพูดคำเต็ม ๆ ว่า "ยัน ยิง เยา ปั๊กกะเป้า ยิ้งงงงงงงงง" เป็นการนัดพร้อม แล้วแสดงมือเป็น ค้อน กรรไกร หรือกระดาษ เมื่อจบท้ายที่เสียง "ฉุบ" ซึ่งหากออกเสียงฉุบไม่พร้อมกัน หรือแสดงมือไม่พร้อมกัน จะถือว่าเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ก็ต้องเริ่มใหม่

ถ้าหากเสี่ยงมือออกมาเหมือนกันถือว่าเสมอ ต้องเล่นใหม่จนกว่าจะรู้แพ้ชนะ หรือบางครั้งนับจำนวนครั้งที่ชนะ เอา 2 ใน 3 หรือเอา 3 ใน 5

เคล็ดลับและเทคนิค

[แก้]

แม้จะไม่เป็นที่ยืนยันแน่นอน แต่ก็มีเคล็ดลับบางประการในการเล่นเป่ายิ้งฉุบดังนี้

  1. การเล่นเป่ายิ้งฉุบนั้น เริ่มต้นด้วยการกำมือ และแบเปลี่ยนเป็นรูปร่างต่าง ๆ เมื่อออกเสียงคำว่าฉุบ ตามหลักจิตวิทยาแล้ว ผู้เล่นส่วนมากมักจะออกกรรไกรหรือกระดาษในตาแรก เนื่องจากการออกค้อนนั้นยังคงสภาพกำมือไว้แบบ เดิมตามความรู้สึกแล้ว ผู้เล่นจึงมักจะไม่ออกค้อนในตาแรก ฉะนั้น หากในตาแรกออกกรรไกรไว้ก่อน เมื่อปะทะกับกรรไกร หรือกระดาษของฝ่ายตรงข้าม ก็จะมีโอกาสชนะ หรือเสมอมากกว่าแพ้
  2. ในตาที่สอง ให้ออกสัญลักษณ์ที่ฝ่ายตรงข้ามออกไว้ในตาที่แล้ว เช่น ฝ่ายตรงข้ามออกกรรไกร ก็ให้ออกกรรไกรตามในตาถัดไป จะมีโอกาสชนะมากกว่า
  3. ในการเล่นบางครั้งก็มีการออกสัญลักษณ์พิเศษที่เรียกว่าค้อนกระดาษ คือการเหยียดนิ้วโป้ง ชี้ และกลางออกไป ส่วนสองนิ้วที่เหลือกำไว้ เหมือนกับการออกค้อน กรรไกร และกระดาษพร้อมกัน ถือว่าชนะทุกอย่าง สัญลักษณ์นี้เป็นเพียงการล้อเล่นเพื่อความบันเทิงเท่านั้น ไม่ใช่กติกาที่ใช้จริง
  4. หลัง ๆ เริ่มมีมุกออกมือเป็นภาษามือ ที่สื่อคำว่า "รัก" (i love you) คือการ เหยียดนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วก้อย หุบไว้สองนิ้วคือ นิ้วกลางกับนิ้วนาง ซึ่งใช้อ้างว่า "ความรัก ชนะทุกสิ่ง" เพื่อเป็นที่ขบขัน หรือออกเป็นปืน แล้วบอกว่าปืนยิงทุกอย่างพัง

การเล่นในประเทศต่างๆ

[แก้]

มีดังต่อไปนี้[4]

รูปประกอบการเล่น เป่ายิ้งฉุบ แบบชาติตะวันตก
เกาหลีและญี่ปุ่น ค่อน-ข้างที่จะไม่ทันสมัยเนื่องจากที่เกาหลีนั้นมีประชากรที่นิสัยคล้ายๆกันนั่นคือ ชาตินิยม เกาหลีและญี่ปุ่นจึงมักไม่ค่อยยอมรับวัฒนธรรมตะวันตกมากนัก
  • เกาหลี เรียก คาวี พาวี โพ (가위 바위 보) พอพูดเร็วๆ ก็จะแผลงเป็น ไค ไพ โพ
  • ญี่ปุ่น เรียก จัง เคน โปง ใช้หลักเดียวกับไทย
สิงคโปร์

การเล่นมีทำมือสามแบบ คือ มังกร จีบนิ้วทั้งห้า ก้อนหิน กำมือ น้ำ หงายฝ่ามือ เริ่มเล่น ร้องว่า ชุ่ม ชุ่ม พัท มีกติกา คือ

  • มังกรดื่มน้ำ มังกรชนะ
  • น้ำทำให้ก้อนหินจม น้ำชนะ
  • ก้อนหินฆ่ามังกร ก้อนหินชนะ
มาเลเซีย

เรียกว่า วัน ทู ซุม การทำมือ มีห้าอย่าง คือ นก จีบนิ้วทั้งห้า ก้อนหิน กำมือ ปืน กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ กระดาน คว่ำมือลง น้ำ หงายฝ่ามือขึ้น มีกติกา คือ

  • นกดื่มน้ำ นกชนะ
  • หินขว้างนก หินชนะ
  • หินทุบกระดานแตก หินชนะ
  • ปืนยิงก้อนหินแตก ปืนชนะ
  • ปืนยิงนกตาย ปืนชนะ
  • ปืนยิงกระดานแตก ปืนชนะ
  • น้ำทำให้ปืนจม น้ำชนะ
  • น้ำทำให้หินจม น้ำชนะ
  • กระดานลอยน้ำ กระดานชนะ
  • กระดานกดนก กระดานชนะ
ชาติตะวันตก

เรียก ร็อก-เปเปอร์-ซิสเซอร์ (Rock-paper-scissors) มี กรรไกร กระดาษ และ หิน เล่นตามแบบไทยและญี่ปุ่น เชื่อว่าเป็นการเล่นตามชาติตะวันออก ชาวอเมริกันมักเรียกเกม เป่า ยิ้ง ฉุบ ว่า "โรแชมโบ้" (roshambo) [5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Fisher, Len (2008). Rock, Paper, Scissors: Game Theory in Everyday Life (ภาษาอังกฤษ). Basic Books. p. 92. ISBN 9780786726936.
  2. Fisher, Len (2008). Rock, paper, scissors: game theory in everyday life. Basic Books. p. 94. ISBN 9780786726936.
  3. "How to win at rock-paper-scissors". BBC News. 2 May 2014. สืบค้นเมื่อ 2 May 2015.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-01. สืบค้นเมื่อ 2007-07-06.
  5. ตำนาน "เป่า ยิ้ง ฉุบ" [ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]