ข้ามไปเนื้อหา

เท็ตสึ นากามูระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เท็ตสึ นากามูระ
中村 哲
เกิด15 กันยายน พ.ศ. 2489
จังหวัดฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิต4 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (73 ปี)
จะลาลาบาด ประเทศอัฟกานิสถาน
สาเหตุเสียชีวิตอาวุธปืน
สัญชาติ
ชื่ออื่นKaka Murad (کاکا مراد)
Kaka Nakamura (کاکا ناکامورا)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยคีวชู
อาชีพแพทย์
คู่สมรสนาโอโกะ นากามูระ[1]
รางวัล
เว็บไซต์www.peshawar-pms.com

เท็ตสึ นากามูระ (ญี่ปุ่น: 中村 哲โรมาจิNakamura Tetsu; ปาทาน: تېڅو ناکامورا) หรือฉายาในภาษาปาทานว่า Kaka Murad[2] (کاکا مراد) หรือลุงมูรัดในภาษาปาทานและภาษาฟาร์ซี เป็นแพทย์ชาวญี่ปุ่นและพลเมืองกิตติมศักดิ์ของประเทศอัฟกานิสถาน นากามูระเป็นหัวหน้าหน่วย Peace Japan Medical Services (PMS) ในอัฟกานิสถาน เขาได้รับรางวัลแมกไซไซใน พ.ศ. 2546[3]

เพื่อนร่วมงานชาวญี่ปุ่นของเขาได้แก่คาซูยะ อิโต ซึ่งดูแลการก่อสร้างคลองชลประทานในจังหวัดนานการ์ฮาร์ถูกกลุ่มฏอลิบานลักพาตัวและสังหารใน พ.ศ. 2551[4] อย่างไรก็ตาม นากามูระยังคงทำงานต่อไป รวมทั้งสานต่องานชลประทานด้วยตนเอง นากามูระเป็นที่ยอมรับจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทะเลทรายในจังหวัดนานการ์ฮาร์ให้อุดมสมบูรณ์และสามารถเพาะปลูกข้าวสาลีได้ นอกจากนี้เขายังสร้างโรงพยาบาลและมัสยิดขึ้นอีกอย่างละสองแห่ง[5] เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ประธานาธิบดีอัชราฟ ฆานีได้มอบสถานะพลเมืองกิตติมศักดิ์ให้กับนากามูระเพื่อตอบแทนงานด้านมนุษยธรรมของเขา

วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ขณะที่นากามูระกำลังเดินทางผ่านเมืองจะลาลาบาดในประเทศอัฟกานิสถาน เขาถูกลอบสังหารด้วยอาวุธปืนพร้อมกับบอดีการ์ด คนขับรถ และผู้โดยสารในรถ นากามูระเสียชีวิตที่ท่าอากาศยานจะลาลาบาดขณะที่กำลังถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในฐานทัพอากาศบากรามใกล้กับกรุงคาบูล กลุ่มฏอลิบานได้ปฏิเสธความรับผิดชอบ[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Japanese doctor's family to bring body home from Afghanistan". The Washington Post. 6 December 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-06. สืบค้นเมื่อ 6 December 2019.
  2. "Killing of aid group chief Tetsu Nakamura in Afghanistan looked like well-planned hit". The Japan Times. 2019-12-05. ISSN 0447-5763. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-05. สืบค้นเมื่อ 2019-12-07.
  3. "The 2003 Ramon Magsaysay Award for Peace and International Understanding". rmaf.org.ph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2007.
  4. "Body of Japanese aid worker discovered". The National. 2008-08-27. สืบค้นเมื่อ 2019-12-06.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. Muzhda, Wahid (2019-12-05). "Afghans Hold Vigils for Slain Dr. Nakamura". TOLO News. สืบค้นเมื่อ 2019-12-06.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. Beaumont, Peter (2019-12-04). "Japanese aid chief among six dead in Afghanistan attack". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2019-12-06.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)