เทียนกง-1
ข้อมูลของสถานี | |
---|---|
เลขทะเบียน COSPAR | 2011-053A |
หมายเลข SATCAT | 37820 |
จำนวนลูกเรือ | 3 (คาดการณ์) |
ส่งขึ้นเมื่อ | 29 กันยายน พ.ศ. 2554 21:16:03.507 CST [1][2] |
ฐานส่ง | ศูนย์ส่งดาวเทียมจิ่วเฉฺวียน |
มวล | 8,506 กิโลกรัม (18,753 ปอนด์)[3] |
ความยาว | 10.4 เมตร (34.1 ฟุต) |
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 3.35 เมตร (11.0 ฟุต) |
ปริมาตรอากาศ | 15 เมตร³[4] |
จำนวนวันที่โคจร | 4846 (4 มกราคม) |
เทียนกง-1 (จีน: 天宫一号; พินอิน: Tiāngōng yīhào; แปลตรงตัว: "วิมาน, ปราสาทลอยฟ้า") เป็นสถานีอวกาศต้นแบบแห่งแรกของจีน[5] โคจรรอบโลกตั้งแต่เดือนกันยายน 2554 ถึงเมษายน 2561 ใช้เป็นห้องปฏิบัติการมีคนประจำและเป็นแท่นทดสอบเพื่อสาธิตสมรรถนะนัดพบและเทียบท่าในวงโคจรระหว่างช่วงปฏิบัติการสองปี[6]
มีการปล่อยโดยไม่มีมนุษย์โดยสารบนจรวดลองมาร์ช 2เอฟ/จี[1] เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2554[7] เป็นองค์ประกอบปฏิบัติการแรกของโครงการเทียนกง ซึ่งมุ่งวางสถานีมอดูลใหญ่กว่าเข้าสู่วงโคจรในปี 2566[6][8] เทียนกง-1 เดิมคาดว่าจะออกจากวงโคจรในปี 2556[9] และถูกแทนที่ในทศวรรษต่อมาด้วยมอดูลเทียนกง-2 และเทียนกง-3[10] แต่โคจรจนถึงวันที่ 2 เมษายน 2561[11][12][13][14][15]
มียานอวกาศเฉินโจวหลายลำเยือนเทียนกง-1 เที่ยวแรก คือ เฉินโจว 8 ซึ่งไม่มีมนุษย์โดยสาร เทียบท่าสำเร็จกับมอดูลในเดือนพฤศจิกายน 2554[16][17] ส่วนภารกิจเฉินโจว 9 ที่มีมนุษย์โดยสารเทียบเท่าในเดือนมิถุนายน 2555[18][19][20] ภารกิจที่สามและสุดท้ายไปเทียนกง-1 คือ เฉินโจว 10 ที่มีมนุษย์โดยสาร เทียบท่าในเดือนมิถุนายน 2556[21][22][23]
วันที่ 21 มีนาคม 2559 หลังต่ออายุมาสองปี สำนักงานวิศวกรรมอวกาศมีมนุษย์โดยสารของจีนประกาศว่าเทียนกง-1 ยุติบริการอย่างเป็นทางการแล้ว[24][25] แล้วแถลงว่าการเชื่อมโยงวัดและส่งข้อมูลทางไกลกับเทียนกง-1 สูญหาย[26] อีกหลายเดือนต่อมา ผู้ติดตามดาวเทียมสมัครเล่นที่เฝ้าดูเทียนกง-1 พบว่าองค์การอวกาศจีนเสียการควบคุมสถานี[26] ในเดือนกันยายน หลังยอมรับว่าเสียการควบคุมสถานี ข้าราชการตั้งข้อสังเกตว่าสถานีจะกลับเข้าสู่บรรยากาศและเผาไหม้หมดในปลายปี 2560[27][28] ตามข้อมูลของสำนักงานวิศวกรรมอวกาศมีมนุษย์โดยสารของจีน เทียนกง-1 กลับเข้าสู่โลกเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตาฮีตี เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2561 เมื่อเวลา 00:15 น. UTC[12][13][14][15]
การออกแบบและพัฒนา
[แก้]ตามข้อมูลขององค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) เทียนกง-1 เป็น "โมดุลห้องปฏิบัติการอวกาศ" หนัก 8.5 เมตริกตัน และสามารถเทียบกับอวกาศยานมีคนบังคับและอัตโนมัติได้ อวกาศยานเสินโจว 8, เสินโจว 9 และเสินโจว 10 คาดว่าจะเทียบกับเทียนกง 1 ระหว่างช่วงที่ยังปฏิบัติการได้อีกสองปีข้างหน้า
เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 จาง เจียนชี (张建启) รองผู้อำนวยการสำนักงานวิศวกรรมอวกาศมีคนบังคับของจีน (CMSEO) ประกาศในระหว่างการให้สัมภาษณ์แก่สถานีโทรทัศน์กลางจีน (CCTV) ว่า เทียนกง-1 จะปล่อยขึ้นสู่อวกาศใน พ.ศ. 2553 หรือ 2554[29] ภายหลังสำนักข่าวซินหัว แถลงว่า สถานีอวกาศไร้คนบังคับจะถูกปล่อยในปลาย พ.ศ. 2553 และประกาศว่า การปรับปรุงซ่อมแซมอุปกรณ์ภาคพื้นดินกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ[30]
ใน พ.ศ. 2551 เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ CMSEO โพสต์รายละเอียดคร่าว ๆ ของเทียนกง-1[31] ร่วมกับเทียนกง 2 และเทียนกง 3 ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการอวกาศอีกสองแห่งซึ่งมีแผนจะปล่อยขึ้นสู่อวกาศหลังเทียนกง-1 แบบจำลองของสถานีอวกาศถูกเปิดเผยในรายการโทรทัศน์เฉลิมฉลองตรุษจีน ทาง CCTV เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552[32]
เทียนกง-1 ประกอบด้วยอุปกรณ์ออกกำลังกายและสถานีนอนสองแห่ง[4] กำแพงภายในโมดุลมีการแตกแต่งสีสองสี สีหนึ่งแทนพื้นดิน และอีกสีหนึ่งแทนท้องฟ้า ซึ่งตั้งใจจะช่วยให้นักบินอวกาศกำหนดทิศทางได้ถูกในสภาวะไร้น้ำหนัก[4]
จนถึงกลาง พ.ศ. 2554 การก่อสร้างโมกุลเทียนกงเสร็จสิ้นแล้ว และกำลังมีการทดสอบคุณสมบัติด้านอิเล็กทรอนิกส์ กลไกและความร้อน นอกจากนี้ยังมีการทดสอบจรวดขนส่งลองมาร์ช 2เอฟ ซึ่งเป็นตัวส่งเทียนกง-1 ขึ้นสู่อวกาศ นักบินอวกาศจีน ซึ่งเป็นหญิงสองคน กำลังอยู่ในระหว่างการฝึกภารกิจมีคนควบคุมไปยังสถานีอวกาศ
การปล่อย
[แก้]เทียนกง-1 เดิมมีกำหนดปล่อยขึ้นสู่อวกาศในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 และถูกส่งไปยังศูนย์ส่งดาวเทียมจิ่วเฉฺวียน เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม และผ่านการทดสอบส่งเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม[33] อย่างไรก็ดี หลังการปล่อยจรวดลองมาร์ช 2ซี ล้มเหลวในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 ทำให้การปล่อยสถานีอวกาศดังกล่าวต้องเลื่อนออกไป หลังการสืบสวนสาเหตุความล้มเหลวของการปล่อยครั้งนั้น[7][34] ได้มีการกำหนดใหม่ให้ปล่อยเทียนกง-1 ในปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2554[35] ส่วนหนึ่งเพื่อให้เกิดพร้อมกับวันชาติจีน ซึ่งตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม[36]
เมื่อวันที่ 20 กันยายน พาหนะอวกาศถูกนำออกไปประจำฐานปล่อยที่ 1 แห่งจุดปล่อยใต้ที่จิ่วเฉฺวียน ในการเตรียมความพยายามปล่อยอีกครั้ง[37] การปล่อยมีขึ้นเมื่อเวลา 13:16 UTC ของวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554 ประสบความสำเร็จด้วยดี และนำเทียนกง-1 ขึ้นสู่วงโคจรระดับต่ำของโลก[33] โทรทัศน์จีนแพร่ภาพการปล่อยคลอไปกับเพลงทำนองปลุกใจรักชาติของสหรัฐ America the Beautiful ซึ่งเหตุผลที่เลือกเพลงดังกล่าวนั้นไม่มีคำอธิบายออกมา[38]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "China to launch unmanned space module by Sept 30". Spacedaily.com. สืบค้นเมื่อ 2011-09-29.
- ↑ Insider: Tiangong 1 to launch in early Sept
- ↑ 天宫一号任务飞行方案[ลิงก์เสีย]
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Xin, Dingding (2011-09-27). "Spacecraft ready to go on mission". China Daily. สืบค้นเมื่อ 2011-09-27.
- ↑ "China launches Tiangong-1 to mark next human space flight milestone". NASASpaceflight.com. 28 September 2011. Retrieved 22 October 2011.
- ↑ 6.0 6.1 David, Leonard (2011-03-11). "China Details Ambitious Space Station Goals". SPACE.com. สืบค้นเมื่อ 2011-03-09.
China is ready to carry out a multiphase construction program that leads to a large space station around 2020. As a prelude to building that facility, China is set to loft the Tiangong-1 module this year as a platform to help master key rendezvous and docking technologies.
- ↑ 7.0 7.1 "Spacecraft Tiangong-1 launch delayed". China Daily. 2 September 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-09-14.
- ↑ "China to launch space station by 2023". BBC. 26 September 2013. สืบค้นเมื่อ 1 October 2013.
- ↑ "China to launch module for future space station" (PDF). PhysOrg.com. 28 September 2011. Retrieved 10 March 2013.
- ↑ "China to launch Tiangong-2 and cargo spacecraft in 2015". GB Times. 13 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-18. สืบค้นเมื่อ 16 June 2013.
- ↑ "Tracking and Impact Prediction". Space-Track.Org. JFSCC/J3. 1 April 2018. สืบค้นเมื่อ 1 April 2018.
- ↑ 12.0 12.1 Chiles, Cody (1 April 2018). "JFSCC tracks Tiangong-1's reentry over the Pacific Ocean". Vandenberg Air Force Base (Press release). สืบค้นเมื่อ 3 April 2018.
U.S. Strategic Command’s (USSTRATCOM) Joint Force Space Component Command (JFSCC), through the Joint Space Operations Center (JSpOC), confirmed Tiangong-1 reentered the Earth’s atmosphere over the southern Pacific Ocean at approximately 5:16 p.m. (PST) April 1, 2018.
- ↑ 13.0 13.1 "Tiangong-1 reenters the atmosphere". cmse.gov.cn. China Manned Space. 2 April 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-02. สืบค้นเมื่อ 2 April 2018.
- ↑ 14.0 14.1 Staff (1 April 2018). "Tiangong-1: Defunct China space lab comes down over South Pacific". BBC News. สืบค้นเมื่อ 1 April 2018.
- ↑ 15.0 15.1 Chang, Kenneth (1 April 2018). "China's Tiangong-1 Space Station Has Fallen Back to Earth Over the Pacific". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 1 April 2018.
- ↑ "Chinese spacecraft dock in orbit". BBC. 2 November 2011. Retrieved 15 June 2013.
- ↑ "China completes second space docking" เก็บถาวร 2014-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. AFP via Google. 14 November 2011. Retrieved 15 November 2011.
- ↑ "China launches space mission with first woman astronaut". BBC. 16 June 2012. สืบค้นเมื่อ 4 November 2013.
- ↑ "Shenzhou-9 docks with Tiangong-1". BBC. 18 June 2012. Retrieved 4 November 2013.
- ↑ "China to carry out manned space flight". BBC. 9 June 2012. สืบค้นเมื่อ 26 October 2012.
- ↑ "China to launch next crewed spaceship in 2013". BBC. 10 November 2012. สืบค้นเมื่อ 4 November 2013.
- ↑ "Shenzhou-10: China launches next manned space mission". BBC. 11 June 2013. สืบค้นเมื่อ 11 June 2013.
- ↑ "Shenzhou-10: Chinese capsule docks with space laboratory". BBC. 13 June 2013. สืบค้นเมื่อ 13 June 2013.
- ↑ "天宫一号正式终止数据服务 全面完成各项在轨试验任务-新华网" (ภาษาจีน). Xinhua News Agency. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ "China's 1st space lab Tiangong-1 ends data service". Space Daily. Beijing: Space Media Network. 23 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 March 2018.
- ↑ 26.0 26.1 Jones, Morris (30 March 2016). "Has Tiangong 1 gone rogue". Space Daily. สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.
- ↑ "China's Tiangong-1 to fall to Earth late 2017", Xinhua News Agency, China, 14 September 2016. Retrieved 22 September 2016.
- ↑ Guarino, Bin (21 September 2016). "Out of control? China's Tiangong 1 space station will fall to Earth – somewhere – in 2017". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.
- ↑ "我国将于2010年-2011年发射小型空间站". 2008-09-29.
- ↑ "Unmanned space module to be launched in 2010, await space docking". 2009-02-28.
- ↑ "future plan of space laboratory system (in Chinese)". 2008-09-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-28. สืบค้นเมื่อ 2011-09-30.
- ↑ "天宫一号"空间站已进入初样研制阶段 (图)". 2009-01-25.
- ↑ 33.0 33.1 Barbosa, Rui. "China launches TianGong-1 to mark next human space flight milestone". NASASpaceflight.com.
- ↑ Moskowitz, Clara. (2011-09-14) MSNBC. Retrieved 2011-09-17. MSNBC. Retrieved on 2011-09-30.
- ↑ China Readies for Own Space Station in Test Launch เก็บถาวร 2011-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. International Business Times (2011-09-21). Retrieved on 2011-09-30.
- ↑ SPACE: ‘Heavenly Palace’ heads into space. Businessday.co.za (2011-09-21). Retrieved on 2011-09-30.
- ↑ China set to ‘Leap Forward in Space’ as Tiangong 1 Rolls to Launch Pad. Universe Today (2011-09-26). Retrieved on 2011-09-30.
- ↑ Murray, Warren (30 September 2011). "Rocket's red glaring error: China sets space launch to America the Beautiful". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 30 September 2011.