เต่าอัลลิเกเตอร์
เต่าอัลลิเกเตอร์ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน Reptilia |
อันดับ: | เต่า Testudines |
อันดับย่อย: | อันดับย่อยเต่า Cryptodira |
วงศ์: | วงศ์เต่าสแนปปิ้ง Chelydridae |
สกุล: | เต่าอัลลิเกเตอร์ Macrochelys (Troost, 1835)[1] |
สปีชีส์: | Macrochelys temminckii |
ชื่อทวินาม | |
Macrochelys temminckii (Troost, 1835)[1] | |
ชื่อพ้อง | |
Species synonymy[2]
|
เต่าอัลลิเกเตอร์ หรือ เต่าอัลลิเกเตอร์ สแนปปิ้ง (อังกฤษ: Alligator snapping turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Macrochelys temminckii) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์เต่าสแนปปิ้ง (Chelydridae) จัดเป็นเต่าเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Macrochelys ซึ่งหลายชนิดในวงศ์นี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตชนิดหนึ่ง[3] และตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นเกียรติแด่ คอนราด จาค็อบ แทมมินค์ นักสัตววิทยาชาวดัตช์
เต่าอัลลิเกเตอร์ มีส่วนหัวใหญ่ตัน ขากรรไกรรูปร่างเหมือนจะงอยปากและกระดองยาวหนามีสัน 3 สันแลดูคล้ายหลังของอัลลิเกเตอร์ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ กระดองของมีสีเทาเข้ม หรือน้ำตาล, ดำ, หรือสีเขียวมะกอก ในบางครั้งอาจมีตะไคร่น้ำเกาะเพื่อใช้พรางตัว มีลายสีเหลืองบนตาที่ช่วยในการพรางตัวและมีหน้าที่แบ่งส่วนลูกตา รอบ ๆ ดวงตาของถูกล้อมรอบด้วยเนื้อรูปดาวซึ่งดูแล้วเหมือนขนตา ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย โดยตัวผู้นั้นนั้นมีความยาวกระดอง 66 เซนติเมตร และมีน้ำหนักได้ถึง 80 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียมีน้ำหนัก 23 กิโลกรัม ความแตกต่างระหว่างเพศสามารถดูได้จากความหนาของโคนหาง โดยเต่าตัวผู้จะมีโคนหางที่หนากว่าเพราะเป็นส่วนที่ซ่อนอวัยวะสืบพันธุ์ไว้
โดยตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่มีบันทึกอย่างไม่เป็นทางการระบุว่ามีน้ำหนักถึง 403 ปอนด์ (ประมาณ 183 กิโลกรัม) พบในแม่น้ำนีโอโช ในรัฐแคนซัส เมื่อปี ค.ศ. 1937 ขณะที่ตัวที่มีบันทึกไว้อย่างเป็นทางการมีน้ำหนักถึง 236 ปอนด์ อยู่ที่สวนสัตว์บรู๊คฟิลด์ ในชิคาโก
เต่าอัลลิเกเตอร์ จัดเป็นเต่าน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีแรงกัดของกรามที่รุนแรง โดยเต่าขนาด 1 ฟุต มีแรงกัดถึง 1,000 ปอนด์ ซึ่งเป็นแรงกัดมหาศาลเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจาก จระเข้น้ำเค็ม และ ไฮยีน่า[4] แม้แต่สุนัขขนาดใหญ่ที่ดุร้าย เช่น พิทบูล ยังมีแรงกัดได้เพียง 400-500 ปอนด์เท่านั้น และเมื่อกัดแล้วกรามจะล็อกเพื่อไม่ให้ดิ้นหลุด จนผู้เชี่ยวชาญในการจับเต่าอัลลิเกเตอร์กล่าวว่า หากถูกเต่าอัลลิเกเตอร์กัดแล้ว วิธีเดียวที่จะเอาออกมาได้ คือ ต้องตัดหัวออกแล้วใช้ไม้เสียบเข้าไปในรูจมูกให้ทะลุถึงคอ เพื่อปลดล็อกกราม[5]
เต่าอัลลิเกเตอร์ เป็นเต่าที่กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดของหลายพื้นที่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา กินเนื้อเป็นอาหาร กินปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยวิธีการซุ่มนิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนไหวใต้น้ำ แล้วอ้าปากใช้ลิ้นที่ส่วนปลายแตกเป็น 2 แฉกที่ส่วนปลายสุดของกรามล่าง เพื่อตัวหลอกปลาให้เข้าใจว่าเป็นหนอน เมื่อปลาเข้าใกล้ได้จังหวะงับ ก็จะงับด้วยความรุนแรงและรวดเร็ว นอกจากนี้แล้วเต่าอัลลิเกเตอร์ยังกินเต่าด้วยกัน รวมถึงเต่าอัลลิเกเตอร์ด้วยกันเองเป็นอาหารด้วยจากการขบกัดที่รุนแรง[5]
เชื่อกันว่า เต่าอัลลิเกเตอร์มีอายุยืนได้ถึง 200 ปี แต่อายุโดยเฉลี่ยในที่เลี้ยง คือ 20-70 ปี เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 11-13 ปี โดยจะโตไปได้เรื่อย ๆ ตลอดชีวิต โดยเฉพาะในวัยเจริญพันธุ์ แต่เมื่อเลยไปแล้วอัตราการเจริญเติบโตก็จะช้าลง ตัวเมียวางไข่ขนาดเท่าลูกปิงปองได้มากถึง 52 ฟอง แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 29-31 ฟอง โดยขุดหลุมฝังไว้ในพื้นดิน ซึ่งไข่จำนวนหนึ่งอาจถูกสัตว์กินเนื้อต่าง ๆ เช่น แรคคูน ขุดขโมยไปกินได้ และด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้เต่าในธรรมชาติต้องวางไข่ใกล้กับทางรถไฟมากขึ้น[5]
เต่าอัลลิเกเตอร์ นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และจัดแสดงตามสวนสัตว์ ขณะที่กฎหมายในบางที่เช่น รัฐแคลิฟอร์เนีย ห้ามเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง[6][7] แต่ในบางพื้นที่ เช่น รัฐลุยเซียนา มีการนำไปปรุงเป็นซุป ถือเป็นอาหารท้องถิ่นอย่างหนึ่ง โดยมีการจับส่งให้แก่ร้านอาหารตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 30 จนถึง ทศวรรษที่ 70-80 ทำให้ประชากรเต่าอัลลิเกเตอร์มีจำนวนที่ลดลง[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Tortoise & Freshwater Turtle Specialist Group (2016) [errata version of 1996 assessment]. "Macrochelys temminckii ". IUCN Red List of Threatened Species. 1996: e.T12589A97272309. doi:10.2305/IUCN.UK.1996.RLTS.T12589A3362355.en. สืบค้นเมื่อ June 5, 2022.
- ↑ 2.0 2.1 Fritz, Uwe; Havaš, Peter (2007). "Checklist of Chelonians of the World" (PDF). Vertebrate Zoology. 57 (2): 149–368. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 1, 2011.
- ↑ ["(อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-30. สืบค้นเมื่อ 2012-08-10. (อังกฤษ)]
- ↑ มาเลี้ยง เต่าอัลลิเกเตอร์ สแนปปิ้ง ดีกว่า
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Swamp Thing, "Nick Baker's Weird Creatures". สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: จันทร์ที่ 28 มกราคม 2556
- ↑ 10 Awesome Snapping Turtle Facts (อังกฤษ)
- ↑ ["Alligator Snapping Turtle (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-03-07. สืบค้นเมื่อ 2012-08-10. Alligator Snapping Turtle (อังกฤษ)]
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Behler JL, King FW (1979). The Audubon Society Field Guide to North American Reptiles and Amphibians. New York: Alfred A. Knopf. 743 pp. ISBN 0-394-50824-6. (Macroclemys temmincki, pp. 436–437 + Plates 325, 326, 327).
- Goin CJ, Goin OB, Zug GR (1978). Introduction to Herpetology, Third Edition. San Francisco: W.H. Freeman. xi + 378 pp. ISBN 0-7167-0020-4. (Macroclemys temmincki, pp. 77, 124, 256–257).
- Powell R, Conant R, Collins JT (2016). Peterson Field Guide to Reptiles and Amphibians of Eastern and Central North America, Fourth Edition. Boston and New York: Houghton Mifflin Harcourt. xiv + 494 pp., 47 color plates, 207 figures. ISBN 978-0-544-12997-9. (Macrochelys temminckii, p. 196, Figure 90 + Plates 14, 21).
- Smith HM, Brodie ED Jr (1982). Reptiles of North America: A Guide to Field Identification. New York: Golden Press. 240 pp. ISBN 0307136663. (Macroclemys temmincki, pp. 38–39).
- Troost G (1835). In: Harlan R (1835). Medical and Physical Researches: or Original Memoirs in Medicine, Surgery, Physiology, Geology, Zoology, and Comparative Anatomy. Philadelphia: L.R. Bailey. xxxix + 653 pp. (Chelonura temminckii, new species, p. 158).
- Zim HS, Smith HM (1956). Reptiles and Amphibians: A Guide to Familiar American Species. Golden Nature Guides. New York: Simon and Schuster. 160 pp. (Macroclemys temmincki, pp. 25, 155).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Alligator vs. common snapping turtle – Chelydra.org
- "Care Sheet - Alligator Snapping Turtle".
- "CRUNCH History". Crunch, the alligator snapping turtle
- Dohnal, Martin (August 12, 2013). "Kajmanka supí zaútočila v Bavorsku na dítě. Městečko je na nohou". Deník.cz. (ในภาษาเช็ก)