เตโอโดโร โอเบียง อึงเกมา อึมบาโซโก
เตโอโดโร โอเบียง อึงเกมา อึมบาโซโก | |
---|---|
โอเบียงในปี ค.ศ. 2019 | |
ประธานาธิบดีแห่งอิเควทอเรียลกินี คนที่ 2 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 3 สิงหาคม ค.ศ. 1979 | |
นายกรัฐมนตรี | กริสติโน เซริเช บิโอโก ซิลเบสเตร เซียเล บิเลกา อังเฆล เซราฟิน เซริเช โดว์กัน กันดิโด มัวเตเตมา ริบัสs มิเกล อาเบีย บิเตโอ โบริโก ริการ์โด มังเก โอบามา อึนฟูเบอา อิกนาซิโอ มิลัม ตัง บิเซนเต เออาเต โตมี ฟรันซิสโก ปัสกวล โอบามา อาซูเอ Manuela Roka Botey |
รองประธานาธิบดี | อิกนาซิโอ มิลัม ตัง เตโอโดโร อึงเกมา โอเบียง มังเก |
ก่อนหน้า | ฟรันซิสโก มาซิอัส อึงเกมา |
ประธานสหภาพแอฟริกา | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มกราคม ค.ศ. 2011 – 29 มกราคม ค.ศ. 2012 | |
ก่อนหน้า | บินกู วา มูธาริก้า |
ถัดไป | ยายี บอนี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | อาโกอากัน, สแปนิชกินี (อิเควทอเรียลกินีในปัจจุบัน) | 5 มิถุนายน ค.ศ. 1942
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
พรรคการเมือง | พรรคประชาธิปไตย |
คู่สมรส | กอนส์ตันเซีย มังเก |
บุตร | เตโอโดโร |
เตโอโดโร โอเบียง อึงเกมา อึมบาโซโก (สเปน: Teodoro Obiang Nguema Mbasogo, เกิด 5 มิถุนายน ค.ศ. 1942) เป็นประธานาธิบดีคนปัจจุบันของอิเควทอเรียลกินี เขาขับไล่ฟรันซิสโก มาซิอัส อึงเกมา อาของเขา ในรัฐประหารเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1979 ภายใต้การปกครองของเขา ประเทศอิเควทอเรียลกินีเป็นผู้ผลิตน้ำมันที่สำคัญตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 โอเบียงยังเคยเป็นประธานสหภาพแอฟริกาตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2011 ถึง 29 มกราคม ค.ศ. 2012 เขาเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในแอฟริกาและเป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในโลกในขณะนี้ [1]
รัฐบาลของโอเบียงนั้นไม่เป็นประชาธิปไตย โอเบียงยังถูกกล่าวหาว่าทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และใช้อำนาจในทางที่ผิด รัฐธรรมนูญให้อำนาจโอเบียงอย่างกว้างขวางรวมถึงสามารถออกกฎหมายได้โดยไม่ต้องผ่านสภา
รัฐประหาร
[แก้]หลังจากที่มาซิอัสสั่งประหารผู้คนมากมายและสมาชิกในครอบครัวตัวเองรวมถึงพี่ชายของโอเบียง โอเบียงและคนอื่น ๆ ต่างคิดว่ามาซิอัสเสียสติไป โอเบียงโค่นล้มมาซิอัสในรัฐประหารนองเลือดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1979[2]และดำเนินคดีกับเขาในข้อหาต่าง ๆ รวมถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวบูบี (Bubi) ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มาซิอัสถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการยิงเป้าในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1979
โอเบียงประกาศว่ารัฐบาลใหม่จะยุติความโหดร้ายและระบอบการปกครองที่กดขี่ของมาซิอัส เขาประกาศนิรโทษกรรมนักโทษทางการเมืองและยุติระบอบการปกครองแบบบังคับใช้แรงงาน อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้ถูกกล่าวถึงว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในความโหดร้ายของระบอบมาซิอัส[2]
ประธานาธิบดี
[แก้]การปกครองของโอเบียงในตอนแรกนั้นมีมนุษยธรรมมากกว่าอาของเขา แต่อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลบางแหล่ง ความโหดร้ายของระบอบของเขาได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้สังเกตการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศกล่าวว่าระบอบการปกครองของเขาเป็นหนึ่งในระบอบที่มีการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่ กดขี่ และไม่เป็นประชาธิปไตยที่สุดในโลก ข่าวและสื่อต่าง ๆ ทุกประเภทถูกจำกัดให้ในความควบคุมของรัฐบาลและพันธมิตร[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Equatorial Guinea: Palace in the jungle: Ordinary folk see none of their country's riches". The Economist. 12 March 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.
- ↑ 2.0 2.1 Gardner, Dan (6 November 2005). "The Pariah President: Teodoro Obiang is a brutal dictator responsible for thousands of deaths. So why is he treated like an elder statesman on the world stage?". The Ottawa Citizen (reprint: dangardner.ca). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2008.
- ↑ Alexander Smoltczyk (28 August 2006). "Rich in Oil, Poor in Human Rights: Torture and Poverty in Equatorial Guinea". Der Spiegel.