ข้ามไปเนื้อหา

เขตผู้ว่าการเทาริดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตผู้ว่าการเทาริดา
Таврическая губерния
เขตผู้ว่าการของจักรวรรดิรัสเซีย (ค.ศ. 1802–1917), สาธารณรัฐประชาชนยูเครน (ค.ศ. 1917–1920) และสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (ค.ศ. 1920–1921)
ค.ศ. 1802 – ค.ศ. 1921
Coat of arms of ไครเมีย
ตราอาร์ม

แผนที่ของเขตผู้ว่าการเทาริดา
เมืองหลวงซิมเฟโรปอล
ประวัติศาสตร์ 
19 เมษายน [ตามปฎิทินเก่า: 8 เมษายน] ค.ศ. 1783
• ก่อตั้ง
20 ตุลาคม [ตามปฎิทินเก่า: 8 ตุลาคม] ค.ศ. 1802
• สิ้นสุด
ค.ศ. 1921
ก่อนหน้า
ถัดไป
เขตผู้ว่าการโนโวรอสซียา
เขตผู้ว่าการเยคาเตรีโนสลัฟ
สาธารณรัฐประชาชนไครเมีย

เขตผู้ว่าการเทาริดา (รัสเซีย: Тавріическая губернія, ตัวสะกดแบบใหม่: Таврическая губерния, อักษรโรมัน: Tavricheskaya guberniya; ตาตาร์ไครเมีย: Tavrida guberniyası, Таврида губерниясы) เป็นเขตผู้ว่าการในประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งได้รวมเอาพื้นที่ของคาบสมุทรไครเมียทั้งหมดกับแผ่นดินใหญ่ ที่ตั้งอยู่ระหว่างพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำนีเปอร์กับพื้นที่ชายฝั่งทะเลดำและทะเลอะซอฟ[1] เขตผู้ว่าการเทาริดาได้รับการก่อตั้งขึ้นภายหลังจากที่แคว้นเทาริดาถูกยุบใน ค.ศ. 1802 ในระหว่างการปฏิรูปการปกครองของจักรพรรดิพอลที่ 1 ในดินแดนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งได้มาจากการผนวกรัฐข่านไครเมีย โดยมีศูนย์กลางการปกครองของเขตผู้ว่าการอยู่ที่ซิมเฟโรปอล เขตผู้ว่าการตั้งชื่อตามชื่อในภาษากรีกโบราณคำว่า เทาริดา ซึ่งเป็นชื่อเรียกคาบสมุทรไครเมีย

ศัพทมูล

[แก้]

ในตอนต้นนั้น เทาริดา ถูกเรียกโดยชาวชาวไกรซีอาผู้ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทางตอนใต้ของคาบสมุทรไครเมีย และในสมัยกลางตอนต้น (จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15) ชื่อเทาริดาได้กลายเป็นชื่อสำหรับเรียกพื้นที่คาบสุมทรไครเมียทั้งหมด

ภูมิศาสตร์

[แก้]

เขตผู้ว่าการเทาริดามีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับเขตผู้ว่าการเยคาเตรีโนสลัฟและเฮียร์ซอน ทางช่องแคบเคียร์ชติดกับดินแดนเสรีคอสแซคดอน โดยมีพรมแดนทางธรรมชาติ ซึ่งตัวเขตผู้ว่าการถูกล้อมรอบด้วยน่านน้ำของทะเลดำและทะเลอะซอฟ

พื้นที่บนแผ่นดินใหญ่และพื้นที่บนคาบสมุทรมีความแตกต่างที่สำคัญเป็นอย่างมาก โดยที่พื้นที่ทั้งหมดของเขตผู้ว่าการคือ 63,538 ตารางกิโลเมตร (24,532 ตารางไมล์) ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่บนแผ่นดินใหญ่ 38,405 ตารางกิโลเมตร (14,828 ตารางไมล์) โดยส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบลุ่มสเตปป์ที่มีดินสีดำ (Chernozem) ประชากรของเขตผู้ว่าการทั้งหมด ใน ค.ศ. 1906 มีจำนวน 1,634,700 คน โดยในขณะนั้น ประชากรบนพื้นที่แผ่นดินใหญ่ของเขตผู้ว่าการเป็นชาวยูเครนและชาวรัสเซียเป็นส่วนใหญ่ แต่มีชนกลุ่มน้อยที่สำคัญ เช่น ชาวเยอรมัน, ชาวบัลแกเรีย, ชาวอาร์มีเนีย และชาวยิว ในขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์หลัก ๆ บนคาบสมุทรไครเมียเป็นชาวตาตาร์ไครเมียและชาวรัสเซีย โดยมีชนกลุ่มน้อยชาวเยอรมัน, ชาวกรีก, ชาวโปแลนด์, ชาวอาร์เมเนีย และชาวคาราอิม โดยมีเมืองศูนย์กลางที่สำคัญ ได้แก่ ซิมเฟโรปอล, เซวัสโตปอล, ฟีโอโดซียา, บาฮ์ชีซาไร และยัลตา ซี่งอยู่บนคาบสมุทรไครเมีย และเมืองศูนย์กลางที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ อะเลชกี, เบียร์เดียนสค์ และเมลีโตปอล

เขตการปกครอง

[แก้]

ก่อน ค.ศ. 1820 เขตผู้ว่าการเทาริดาประกอบไปด้วยเทศมณฑล 7 เขต ซึ่งรวมไปถึงเทศมณฑลตมูตาราคันที่อยู่บนคาบสมุทรตามัน ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของช่องแคบเคียร์ช ส่วนเทศมณฑลยัลตาและเบียร์เดียนสค์ถูกก่อตั้งขึ้นมาในภายหลัง นับตั้งแต่ ค.ศ. 1804 จนถึง ค.ศ. 1829 เขตผู้ว่าการเทาริดายังมีนครปกครองตนเอง (Gradonachalstvo) อยู่ 1 แห่ง นั้นคือ นครปกครองตนเองฟีโอโดซียา และใน ค.ศ. 1914 เทศมณฑลยัลตาได้กลายสภาพเป็นนครปกครองตนเองยัลตา

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1917 เขตผู้ว่าการเทาริดาถูกแยกออกเป็นสองส่วน โดยที่พื้นที่ในคาบสมุทรไครเมียส่วนใหญ่ได้ก่อตัวเป็นสาธารณรัฐประชาชนไครเมีย (ค.ศ. 1917–1918) ในขณะที่พื้นที่ที่เหลือยังคงอยู่ในตำแหน่งที่ยังไม่ได้กำหนดเอาไว้ว่าเป็นของรัฐไหน ซึ่งรวมไปถึงเมืองเซวัสโตปอลที่ทำหน้าที่เป็นฐานทัพเรือหลักของกองเรือทะเลดำของสาธารณรัฐรัสเซีย ส่วนเทศมณฑลที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่นั้นก็ได้รับการประกาศว่าให้เป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนยูเครน กระนั้นก็ยังคงอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลของเขตผู้ว่าการเทาริดา

เทศมณฑล เมืองเทศมณฑล ตราอาร์ม ประชากร (คน)
บนแผ่นดินใหญ่
เบียร์เดียนสค์ เบียร์เดียนสค์
304,178
ดเนปรอฟสค์ โอเลชกี
212,241
เมลีโตปอล เมลีโตปอล
384,239
บนคาบสมุทรไครเมีย
เยฟปาโตเรีย เยฟปาโตเรีย
63,211
เปเรคอป เปเรคอป
51393
ซิมเฟโรปอล ซิมเฟโรปอล
141,717
ฟีโอโดซียา ฟีโอโดซียา
115,858
ยัลตา ยัลตา
73,260
นครที่มีสิทธิ์บริหาร (Gradonachalstvo)
เคียร์ช
43,698
เซวัสโตปอล
57,455

อ้างอิง

[แก้]
  1.  Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Taurida" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 26 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 455.

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]