ข้ามไปเนื้อหา

อุมัร อิบน์ อับดุลอะซีซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุมัรที่ 2
عمر بن عبد العزيز
เคาะลีฟะฮ์
อะมีรุลมุอ์มินีน
ดีนารทองคำของอุมัรที่ 2 ผลิตที่ดามัสกัส, ค.ศ. 719/20
เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 8 แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
ครองราชย์22 กันยายน ค.ศ. 717/ฮ.ศ.99 – 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 720/ฮ.ศ. 101
ก่อนหน้าสุลัยมาน อิบน์ อับดุลมะลิก
ถัดไปยะซีดที่ 2
ประสูติ2 พฤศจิกายน ค.ศ. 680/ฮ.ศ. 61
มะดีนะฮ์ คาบสมุทรอาหรับ รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
สวรรคตป. 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 720/ฮ.ศ. 101 (37 พรรษา)
Dayr Sim'an, ซีเรีย รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
ฝังพระศพDayr Sim'an, ซีเรีย รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
คู่อภิเษกฟาฏิมะฮ์ บินต์ อับดุลมะลิก
พระราชบุตร
  • อับดุลลอฮ์
  • อับดุลมะลิก
  • อับดุลอะซีซ
  • Asim
  • อับดุรเราะห์มาน
  • สุลัยมาน
  • Maslama
  • ซัยด์
  • อุบัยดุลลอฮ์
  • อุษมาน
พระนามเต็ม
อะบูฮัฟศ์ อุมัร อิบน์ อับดุลอะซีซ อิบน์ มัรวาน อิบน์ อัลฮะกัม
ราชวงศ์มัรวาน
ราชวงศ์อุมัยยะฮ์
พระราชบิดาอับดุลอะซีซ อิบน์ มัรวาน
พระราชมารดาอุมม์ อาศิม บินต์ อาศิม อิบน์ อุมัร อิบน์ อัลค็อฏฏอบ
ศาสนาอิสลาม

อุมัร อิบน์ อับดุลอะซีซ (อาหรับ: عمر بن عبد العزيز, อักษรโรมัน: ʿUmar ibn ʿAbd al-ʿAzīz; 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 680 – ป. 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 720) โดยทั่วไปรู้จักในพระนาม อุมัรที่ 2 (عمر الثاني) เป็นเคาะลีฟะฮ์แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์องค์ที่ 8 พระองค์ทรงมีส่วนสำคัญหลายประการและได้ปฏิรูปสังคม และมักระบุเป็นมุญัดดิดคนแรกและเคาะลีฟะฮ์ผู้ชอบธรรมแห่งอิสลามองค์ที่ 6[1]

พระองค์เป็นลูกพี่ลูกน้องในอดีตเคาะลีฟะฮ์ โดยเป็นพระราชโอรสของอับดุลอะซีซ พระอนุชาในอับดุลมะลิก พระองค์ยังเป็นพระราชปนัดดาฝ่ายพระราชมารดาของอุมัร อิบน์ อับค็อฏฏอบ เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 2 ด้วย

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

อุมัรน่าจะเสด็จพระราชสมภพในมะดีนะฮ์เมื่อประมาณ ค.ศ. 680[2][3] อับดุลอะซีซ อิบน์ มัรวาน พระราชบิดาของพระองค์ อยู่ในตระกูลอุมัยยะฮ์อันมั่งคั่งในนครนี้ ส่วนอุมม์ อาศิม บินต์ อาศิม พระราชมารดา เป็นหลานวาสของเคาะลีฟะฮ์ อุมัร อิบน์ อัลค็อฏฏอบ (ค. 634 – 644)[4] การที่อุมัรที่ 2 สืบเชื้อสายจากเคาะลีฟะฮ์อุมัรทำให้ภายหลังพระองค์เน้นย้ำในเรื่องนี้ และข้อมูลธรรมเนียมมุสลิมแยกพระองค์จากผู้นำอุมัยยะฮ์องค์อื่น ๆ[2] ในช่วงที่พระองค์เสด็จพระราชสมภพนั้น ผู้ปกครองรัฐเคาะลีฟะฮ์มาจากสายซุฟยาน ซึ่งปกครองรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์จากดามัสกัส เมื่อเคาะลีฟะฮ์ ยะซีดที่ 1 และมุอาวิยะฮ์ที่ 2 พระราชโอรสของพระองค์และผู้สืบทอด สววรคตใน ค.ศ. 683 และ 684 ตามลำดับ อำนาจของอุมัยยะฮ์ล่มสลายทั่วรัฐเคาะลีฟะฮ์และตระกูลอุมัยยะฮ์ในฮิญาซ (รวมมะดีนะฮ์) ถูกขับออกจากบริเวณนี้โดยผู้สนับสนุนเคาะลีฟะฮ์คู่เข้าชิงที่มีฐานในมักกะฮ์นาม อับดุลลอฮ์ อิบน์ อัซซุบัยร์ ฝ่ายอุมัยยะฮ์ลี้ภัยไปที่ซีเรีย ซึ่งยังมีชนเผ่าอาหรับที่จงรักภักดีสนับสนุนราชวงศ์อยู่ โดยพวกชนเผ่าให้การยอมรับมัรวานที่ 1 พระอัยกาของอุมัร เป็นเคาะลีฟะฮ์และจัดตั้งการปกครองของอุมัยยะฮ์ในซีเรียใหม่[5]

สวรรคต

[แก้]

ขณะเดินทางกลับจากอะเลปโปไปยังดามัสกัส หรืออาจกลับไปที่คฤหาสน์ Khunasira ของพระองค์ อุมัรกลับทรงพระประชวร[6] พระองค์สวรรคตในช่วงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ถึง 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 720[6] ขณะมีพระชนมพรรษา 37 พรรษา[7] ที่หมู่บ้าน Dayr Sim'an (มีอีกชื่อว่า Dayr al-Naqira) ใกล้มะอะเราะตุนนัวะอ์มาน[6] อุมัรได้ซื้อที่ดินด้วยเงินของพระองค์เองและฝังในหมู่บ้านนั้น โดยซากสุสานที่ไม่ทราบวันก่อสร้างของพระองค์ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่[6] ยะซีดที่ 2 ขึ้นครองราชย์ถัดจากอุมัรที่ 2[8]

ณ วันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 ในช่วงสงครามกลางเมืองซีเรีย มีรายงานกองกำลังอาสาสมัครที่หนุนโดยอิหร่านเข้าจู่โจมสุสานของอุมัร ตามภาพวิดีโอที่เผยแพร่ในหน้าเพจที่สนับสนุนรัฐบาลซีเรียบนสื่อสังคม[9] ส่วนอีกวิดีโอหนึ่งแสดงภาพสุสานที่ถูกเปิดและไม่มีศพข้างใน ไม่มีข้อมูลว่าส่วนหลงเหลือที่อยู่ข้างในนั้นถูกย้ายไปไว้ที่ไหน[10]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hoyland, In God's Path, 2015: p.199
  2. 2.0 2.1 2.2 Wellhausen 1927, p. 267.
  3. Cobb 2000, p. 821.
  4. 4.0 4.1 Cobb 2000, pp. 821–822.
  5. Kennedy 2004, pp. 90–91.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Cobb 2000, p. 822.
  7. Wellhausen 1927, p. 311.
  8. Kennedy 2004, p. 107.
  9. "Umar bin Abdulaziz's tomb desecrated in Syria's Idlib". The Rahnuma Daily. 29 May 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-07. สืบค้นเมื่อ 29 May 2020.
  10. "Iran-backed terrorist groups exhume shrine of Muslim caliph Omar bin Abdulaziz in Syria's Idlib". Daily Sabah. 27 May 2020. สืบค้นเมื่อ 29 May 2020.
  11. 11.0 11.1 11.2 ibn Sa'd 1997, p. 153.
  12. 12.0 12.1 Fishbein 1990, p. 162.
  13. 13.0 13.1 ibn Sa'd 1997, p. 20.
  14. ibn Sa'd 1997, p. 6.

บรรณานุกรม

[แก้]