อาชิกางะ โยชิฮารุ
足利義晴 | |
---|---|
ยุค | ยุคมูโรมาจิ |
เกิด | 2 เมษายน ค.ศ. 1511 |
ถึงแก่กรรม | 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1550 | (39 ปี)
เปลี่ยนชื่อ | คาเมโอมารุ (ชื่อวัยเด็ก)→โยชิฮารุ |
ตระกูล | ตระกูลอาชิกางะ |
บิดามารดา | อาชิกางะ โยชิซูมิ |
บุตร | โยชิเตรุ, โยชิอากิ |
อาชิกางะ โยชิฮารุ (足利 義晴; 2 เมษายน 1511 - 20 พฤษภาคม 1550) เป็นโชกุนคนที่ 12 ของรัฐบาลโชกุนอาชิกางะระหว่างปี ค.ศ. 1521 ถึงปี ค.ศ. 1546 ในช่วงปลายยุคมูโรมาจิ[1] เขาเป็นบุตรชายของโชกุนคนที่ 11 คือ อาชิกางะ โยชิซูมิ[2] ชื่อในวัยเด็กของเขาคือ คาเมโอมารุ (亀王丸) ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1521 หลังจากที่โชกุนอาชิกางะ โยชิตาเนะซึ่งเป็นบิดาบุญธรรมของเขาและเป็นโชกุนคนที่ 10 แต่ได้กลับมาดำรงตำแหน่งโชกุนอีกครั้งหนึ่งกับโฮโซกาวะ ทากากูนิ (細川高国) ได้ต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงอำนาจเหนือรัฐบาลซึ่งโยชิตาเนะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามและถูกเนรเทศไปยังเกาะอาวาจิ มินาโมโตะ โนะ โยชิฮารุได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโชกุนขณะที่เขาเข้าสู่เกียวโต[3][1]
เขาไม่มีอำนาจทางการเมืองและถูกบังคับให้ออกจากตำแหน่งในปี ค.ศ. 1546 เนื่องจากการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างมิโยชิ นางาโยชิ และโฮโซกาวะ ฮารุโมโตะ ทำให้บุตรชายของเขาคืออาชิกางะ โยชิเตรุได้เป็นโชกุนคนที่ 13 เขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1550[4] ต่อมาในปี ค.ศ. 1568 จากการสนับสนุนของโอดะ โนบูนางะ ทำให้บุตรชายอีกคนของเขาคืออาชิกางะ โยชิอากิ กลายเป็นโชกุนคนที่ 15 และคนสุดท้ายของรัฐบาลโชกุนอาชิกางะ[1]
จากมุมมองของตะวันตกโยชิฮารุมีความสำคัญในขณะที่เขาเป็นโชกุนเมื่อมีการติดต่อกันเป็นครั้งแรกของญี่ปุ่นกับชาติในยุโรปโดยเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1543 เมื่อเรือโปรตุเกสลำหนึ่งซึ่งกำลังเดินทางไปจีนถูกคลื่นพัดพาไปที่ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1526 โยชิฮารุเชิญนักธนูจากจังหวัดใกล้เคียงมาที่เมืองหลวงเพื่อแข่งขันยิงธนู[5]
เหตุการณ์ในสมัยของโยชิฮารุ
[แก้]เหตุการณ์สำคัญในช่วงที่โยชิฮารุเป็นโชกุน
- ค.ศ. 1521 – โฮโซกาวะ ทากากูนิแต่งตั้งให้โยชิฮารุเป็นโชกุน[1]
- ค.ศ. 1526 – กบฏคาไซ, กบฏมิโยชิ: จักรพรรดิโกะ-นาระสืบราชบัลลังก์[1]
- ค.ศ. 1533 − เกิดกบฏอิกโก-อิกกิ[1]
- ค.ศ. 1536 − จักรพรรดิโกะ-นาระ ประกอบพิธีบรมราชาภิเษก[1]
- ค.ศ. 1546 − โชกุนโยชิฮารุหนีไปโอมิ โยชิเตรุบุตรชายของเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นโชกุน[1]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Ackroyd, Joyce. (1982). Lessons from History: The Tokushi Yoron, p. 332.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, p. 370., p. 370, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Titsingh, p. 371., p. 371, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Titsingh, p. 379., p. 379, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Titsingh, p. 373., p. 373, ที่กูเกิล หนังสือ
อ้างอิง
[แก้]- Ackroyd, Joyce. (1982) Lessons from History: The Tokushi Yoron. Brisbane: University of Queensland Press. ISBN 9780702214851; OCLC 7574544
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 585069