ข้ามไปเนื้อหา

อากิเอะ อาเบะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อากิเอะ อาเบะ
安倍 昭恵
อาเบะใน พ.ศ. 2562
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
26 ธันวาคม 2555 – 16 กันยายน 2563
กษัตริย์
นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ
ก่อนหน้าฮิโตมิ โนดะ
ถัดไปมาริโกะ ซูงะ
ดำรงตำแหน่ง
26 กันยายน 2549 – 26 กันยายน 2550
กษัตริย์
นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ
ก่อนหน้าจิเอโกะ โมริ
ถัดไปคิโยโกะ ฟูกูดะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
อากิเอะ มัตสึซากิ

10 มิถุนายน พ.ศ. 2505 (62 ปี)
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
พรรคการเมืองพรรคเสรีประชาธิปไตย
คู่สมรสชินโซ อาเบะ (2530–2565)
บุพการี
  • อากิโอะ มัตสึซากิ (บิดา)
  • เอมิโกะ มัตสึซากิ (มารดา)
ศิษย์เก่าวิทยาลัยการอาชีพพระหฤทัย
มหาวิทยาลัยริกเกียว
อาชีพนักจัดรายการวิทยุ

อากิเอะ อาเบะ (ญี่ปุ่น: 安倍 昭恵; สกุลเดิม มัตสึซากิ; เกิด 10 มิถุนายน พ.ศ. 2505) หรือที่รู้จักในนาม ดีเจอักกี (ญี่ปุ่น: アッキー) เป็นภรรยาของชินโซ อาเบะนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น

ประวัติ

[แก้]

อากิเอะ อาเบะ เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2505 เธอเกิดในครอบครัวที่มีฐานะ มีชื่อเดิมว่า อากิเอะ มัตสึซากิ (ญี่ปุ่น: 松崎 昭恵) เป็นบุตรสาวของอากิโอะ มัตสึซากิ กับเอมิโกะ มัตสึซากิ บิดาของเธอเคยเป็นอดีตผู้บริหารบริษัทโมรินางะ[1] หนึ่งในบริษัทผลิตขนมหวานที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น เธอสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพระหฤทัยโตเกียว (ญี่ปุ่น: 聖心女子学院 Seishin Joshi Gakuin) ซึ่งเป็นโรงเรียนในคริสต์ศาสนา และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยการอาชีพพระหฤทัย (ญี่ปุ่น: 聖心女子専門学校 Seishin Joshi Gakuin Senmon Gakkō)[1][2]

หลังจากสำเร็จการศึกษา เธอได้เริ่มงานกับบริษัทเด็งสึ ซึ่งเป็นบริษัทโฆษณาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ภายหลังเธอจึงได้สมรสกับชินโซ อาเบะ ในปี พ.ศ. 2530 แต่ไม่มีบุตร-ธิดาด้วยกัน

หน้าที่การงาน

[แก้]

ต่อมาหลังจากการสมรสกับสามี เธอได้ทำงานเป็นนักจัดรายการวิทยุในช่วงปี พ.ศ. 2533 โดยจัดรายการที่บ้านเกิดของสามีที่ชิโมะโนะเซกิ จนมีชื่อเสียงในนามของดีเจอักกี (Akky) นอกจากนี้เธอยังเป็นแฟนคลับของละครเกาหลีใต้ และชื่นชอบศิลปินเกาหลีใต้อย่าง แพ ยง-จุน และพัก ยง-ฮา[3]

ทั้งนี้เธอนับว่าเป็นภริยาของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่มีอายุน้อย หากเปรียบเทียบกับภริยาของอดีตนายกรัฐมนตรีท่านอื่น ๆ เป็นสตรียุตใหม่ที่มีความคิดอ่าน กล้าแสดงออกด้านความคิดเห็นมากกว่าภริยานายกในอดีต อาทิ ในปี พ.ศ. 2556 เธอแสดงตัวว่าเป็นนักต่อต้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์[4] และในปี พ.ศ. 2557 เธอได้ร่วมงานเดินขบวนของกลุ่มเพศที่สามที่รณรงค์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ[5]

อากิเอะเป็นภริยานายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นคนแรกที่ใช้เครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม แต่ภายหลังเธอได้ลดกิจกรรมด้านนี้ลงและปรับเปลี่ยมลักษณะการโพสต์ หลังเกิดกรณีทุจริตการซื้อขายที่ดินโรงเรียนโมริโตโมะกากูเอ็ง (ญี่ปุ่น: 学校法人森友学園) อันอื้อฉาวซึ่งทั้งนายกรัฐมนตรีและคู่สมรสต่างมีส่วนรู้เห็น[6][7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 オフイス・マツナガ2006年5月30日ポスト小泉レース 次のファーストレデイはだれだ!
  2. 聖心女子専門学校:ホーム เก็บถาวร 2016-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ญี่ปุ่น)
  3. Japan’s First Lady-to-Be an Avid Korean Wave Fan เก็บถาวร 2006-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Chosun Ilbo. Accessed September 26, 2006.
  4. "สตรีหมายเลข 1 ญีปุ่นประกาศตัวนักต่อต้านนิวเคลียร์". เดลินิวส์. 11 มิถุนายน 2556. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ภริยาผู้นำญี่ปุ่นร่วมพาเหรดสีรุ้ง". กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 29 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  6. "Akie Abe's social media silence creates questions". Mainichi Daily News (ภาษาอังกฤษ). 2017-04-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-24. สืบค้นเมื่อ 2017-04-24.
  7. "สะดุดคำ เรื่องวุ่นๆ ของ "สตรีหมายเลขหนึ่งญี่ปุ่น" กับ "โมะริโตะโมะกะกุเอ็ง"". MGR Online. 27 มีนาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-03. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]