ข้ามไปเนื้อหา

อดุล อดุลเดชจรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อดุล อดุลเดชจรัส
อภิรัฐมนตรี
ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 23 มกราคม พ.ศ. 2492 [1]
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
จอมพลป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
พระยามานวราชเสวี
(ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
ถัดไปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
18 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
(2 ปี 164 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
14 กันยายน พ.ศ. 2486 – 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2487
(0 ปี 313 วัน)
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปตนเอง
ดำรงตำแหน่ง
17 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489
(0 ปี 136 วัน)
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าตนเอง
ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม
ถัดไปดิเรก ชัยนาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
19 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489
(0 ปี 134 วัน)
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าทวี บุณยเกตุ
ถัดไปหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต)
ผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 14
ดำรงตำแหน่ง
26 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
(1 ปี 145 วัน)
ก่อนหน้าพิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต
ถัดไปจอมพล ผิน ชุณหะวัณ
อธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน พ.ศ. 2479 – 19 กันยายน พ.ศ. 2488
ก่อนหน้าพระยาอนุสรณ์ธุระการ (จ่าง วัจนะพุกกะ)
ถัดไปพระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 มิถุนายน พ.ศ. 2437
เมืองพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต17 ธันวาคม พ.ศ. 2512 (75 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพรรคสหชีพ
คู่สมรสคุณหญิงเปี่ยมสุข อดุลเดชจรัส
บุตร4 คน
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกไทย
กรมตำรวจ
ชั้นยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก
พลตำรวจเอก

พลเอก อดุล อดุลเดชจรัส หรือ หลวงอดุลเดชจรัส (28 มิถุนายน พ.ศ. 2437 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2512) นามเดิม บัตร พึ่งพระคุณ อดีตองคมนตรี รองนายกรัฐมนตรี อธิบดีกรมตำรวจ ผู้บัญชาการทหารบก

มีสมญานามว่า "นายพลตาดุ" เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ผู้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยขณะนั้นหลวงอดุลเดชจรัส มียศเป็น ร้อยเอก (ร.อ.)[2]ประจำกรมทหารปืนใหญ่ นครราชสีมา และได้หนีราชการมาพระนครด้วยรถไฟเพื่อร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จนถูกหมายจับจากทางต้นสังกัด ซึ่งตัวของหลวงอดุลเดชจรัสก็ได้อาศัยบ้านของพรรคพวกหลบซ่อนสลับกันไป โดยเฉพาะบ้านของเพื่อนสนิทคือ หลวงพิบูลสงคราม หรือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในเวลาต่อมา [3]

เป็นรองนายกรัฐมนตรีและผู้สั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นรองหัวหน้าขบวนการเสรีไทยในประเทศไทย ในช่วงปลายสงคราม หลังจากมีการผลัดเปลี่ยนรัฐบาล ซึ่งมีส่วนอย่างมากที่ทำให้การดำเนินงานเสรีไทยเป็นไปโดยราบรื่น ทั้งที่เป็นอธิบดีกรมตำรวจภายใต้รัฐบาลที่เป็นพันธมิตรกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในอภิรัฐมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และองคมนตรี

หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว หลวงอดุลเดชจรัส ยังได้ร่วมกับนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง ก่อตั้งพรรคสหชีพขึ้น โดยมีแนวทางสนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย โดยหลวงอดุลเดชจรัส เป็นหัวหน้าพรรค และ นายเดือน บุนนาค เป็นเลขาธิการพรรค[4]

ประวัติ

[แก้]

อดุล อดุลเดชจรัส เป็นบุตรหลวงบุรีรัฐพิจารณ์ และนางจันทร์ พึ่งพระคุณ เกิดเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2437 ที่บ้านพักถนนเจริญกรุง อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร บิดานำตัวไปถวายงานเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ จึงพักอาศัยอยู่ในวังปารุสกวันตั้งแต่เด็ก

การศึกษา

[แก้]

รับราชการ

[แก้]

อดุล อดุลเดชจรัส เริ่มเข้ารับราชการครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 โดยได้รับพระราชทานยศเป็น นายร้อยตรี [5]

พ.ศ. 2475 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ ซึ่งเป็นตำแหน่งสุดท้ายในการรับราชการทหาร ก่อนโอนมารับราชการในกรมตำรวจ

14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมตำรวจ ในขณะที่ พ.ต.อ.พระยาอนุสสรธุรการ เป็นอธิบดี ขณะนั้นมียศทางทหารเป็น พันตรี [6][7] และได้รับพระราชทานยศ พันตำรวจเอก ขณะมียศทางทหารเป็น พันโท[8]เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 [9]

1 เมษายน พ.ศ. 2479 ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ [10]

พ.ศ. 2480 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

ได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจตรี เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2483 [11] และได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจโท เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2485 [12]

ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย หลวงอดุลเดชจรัสในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยกลับไปใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลได้ว่า อดุล อดุลเดชจรัส เมื่อ พ.ศ. 2484[13]

พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส ได้รับพระราชทานยศเป็น พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486[14] โดยก่อนหน้านั้นได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจเอก เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2486 [15] และพ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2488 เนื่องจากได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข [16] [17] ก่อนจะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2489[18] กระทั่งลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เพื่อดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีเพียงตำแหน่งเดียว [19] โดยได้ดำรงตำแหน่งคณะอภิรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 [20] ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2493 ต่อมาในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านเป็นองคมนตรี [21] ทางราชการได้สร้างเรือนหลังเล็กในบริเวณวังปารุสกวันให้เป็นที่พัก จนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ด้วยโรคชรา

ยศ ตำแหน่ง บรรดาศักดิ์

[แก้]
  • 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 - ร้อยตรี
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2476 - พันตรี
  • 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 - รองอธิบดีกรมตำรวจ
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2477 - พันโท
  • 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 - พันตำรวจเอก
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2479 - อธิบดีกรมตำรวจ
  • 26 เมษายน พ.ศ. 2481 - พันเอก[22]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

พล.อ. อดุล สมรสกับคุณหญิงเปี่ยมสุข อดุลเดชจรัส มีบุตรธิดารวมกันทั้งสิ้น 4 คน[23]

ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่ขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง แต่กลับไม่แสวงหาอำนาจ กลับพอใจที่จะดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย และซื่อสัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

สถานที่อันเนื่องด้วยนาม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ประเทศไทย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
  2. พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๓๔๒)
  3. นายหนหวย. ทหารเรือปฏิวัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, พฤศจิกายน 2555 (พิมพ์ครั้งที่ 3). 124 หน้า. ISBN 9789740210252
  4. นายควง อภัยวงศ์ กับพรรคประชาธิปัตย์ โดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม (พ.ศ. 2522)
  5. พระราชทานยศนายทหารบก (หน้า ๔๙๙)
  6. ประกาศ ปลดและตั้งอธิบดีและรองอธิบดีกรมตำรวจ
  7. ประกาศพระราชทานยศทหาร
  8. ประกาศ พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๓๗๘)
  9. ประกาศ เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  10. ประกาศ ย้ายรองอธิบดีกรมตำรวจไปรับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ
  11. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  12. เรื่องพระราชทานยศตำรวจ
  13. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ เก็บถาวร 2014-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. "เรื่อง พระราชทานยสทหาน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-30. สืบค้นเมื่อ 2018-07-30.
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
  16. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี
  17. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งประจำ
  18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้บัญชาการทหารบก
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ผู้บัญชาการทหารบกกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
  20. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งอภิรัฐมนตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
  21. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี
  22. เรื่องพระราชทานยศทหาร
  23. "ผู้บัญชาการทหารบกตั้งแต่อตีตจนถึงปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-16. สืบค้นเมื่อ 2016-09-12.
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๒๙๒๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖
  25. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๖, ๑๙ มิถุนายน ๒๔๘๔
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและเครื่องหมายเปลวระเบิด สำหรับผู้กระทำความชอบได้รับบาดเจ็บ, เล่ม ๕๘ ง หน้า ๘๑๐, ๑๕ เมษายน ๒๔๘๔
  27. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๘๔, ๑๑ มกราคม ๒๔๘๗
  28. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๑๐, ๙ มิถุนายน ๒๔๗๘
  29. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความส่งเหรียญดุษฎีมาลาไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๗๗, ๓ มีนาคม ๒๔๗๗
  30. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๙๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
  31. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๐, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
ก่อนหน้า อดุล อดุลเดชจรัส ถัดไป
พลโท พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต
ผู้บัญชาการทหารบก
(26 มิถุนายน พ.ศ. 2489 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490)
จอมพลผิน ชุณหะวัณ
พันตำรวจเอก พระยาอนุสสรธุระการ (จ่าง วัจนะพุกกะ)
อธิบดีกรมตำรวจ
(พ.ศ. 2479 - พ.ศ. 2488)
พลตำรวจโท พระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์)
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(พ.ศ. 2489 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2512)
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี , สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี