ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คือ ห้องปฏิบัติการสำหรับตรวจสิ่งส่งตรวจ (Specimens) ของผู้เข้ามารับบริการตรวจทางสุขภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย สำหรับประเทศไทย ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ อาจจะมีชื่อเรียกได้หลายแบบ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาคลินิค และห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร เป็นต้น
แผนก
[แก้]ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็นหลายแผนก เนื่องจากการตรวจสิ่งส่งตรวจแต่ละแผนกนั้น มีขั้นตอนที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถแบ่งเป็นแผนกได้ ดังนี้
- แผนกจุลชีววิทยา เป็นแผนกที่รับสิ่งส่งตรวจ เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ เลือด เพื่อตรวจหาจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรค
- แผนกโลหิตวิทยา เป็นแผนกที่ทดสอบสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเลือด เช่น การตรวจเลือดแบบสมบูรณ์ (Complete blood count, CBC) การตรวจการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น
- แผนกเคมีคลินิค เป็นแผนกที่ตรวจถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ในน้ำเหลือง เช่น ระดับเกลือแร่ต่าง ๆ
- แผนกภูมิคุ้มกันวิทยา เป็นแผนกที่ตรวจถึงระดับภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- แผนกธนาคารเลือด เป็นแผนกที่ตรวจเกี่ยวกับการเข้ากันได้ของผู้บริจาคเลือด และผู้รับบริจาคเลือด รวมถึงกรุ๊ปเลือด
- แผนกปรสิตวิทยา เป็นแผนกที่ตรวจหาพยาธิ
ประเภทของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
[แก้]ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งมีหน้าที่หลักในการตรวจสิ่งตรวจของผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลนั้น ๆ และห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เอกชน เป็นห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในโรงพยาบาล แต่เปิดให้บริการโดยเอกชน เช่น ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของบริษัทประกันชีวิต
ขั้นตอนการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สารสนเทศภายในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |