ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลไทยฮอนด้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทยฮอนด้า
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลไทยฮอนด้า
ฉายาอินทรีอัคนี
พญาอินทรี
สิงห์นักบิด
ก่อตั้งพ.ศ. 2543 ในนาม สมาคมกีฬาไทยฮอนด้า
ยุบพ.ศ. 2562
สนามสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
(ความจุ:8,000 คน)
เจ้าของบริษัท พญาอินทรี ลาดกระบัง จำกัด
ประธานมนนเทพ พรประภา
ผู้ฝึกสอนวรชัย สุรินทร์ศิริรัฐ
เว็บไซต์http://www.thaihondafc.com
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่ 3

สโมสรฟุตบอลไทยฮอนด้า หรือเดิมคือ สมาคมกีฬาไทยฮอนด้า เป็นอดีตสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร และใช้สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เขตมีนบุรี เป็นสนามเหย้า โดยทางบอร์ดบริหารสโมสรได้ประกาศพักทีมตั้งแต่ฤดูกาล 2563 เป็นต้นไป

ประวัติสโมสร

[แก้]

สโมสรฟุตบอลไทยฮอนด้า ลาดกระบัง นับเป็นสโมสรฟุตบอลแรกในกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เคยลงแข่งขันในระดับไทยพรีเมียร์ลีก ดำเนินกิจการโดยบริษัท พญาอินทรี ลาดกระบัง จำกัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริง ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง โดยมีฐานแฟนบอลอยู่ในกลุ่มพนักงานของบริษัทไทยฮอนด้า และในเขตนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง

บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้เริ่มส่งทีมฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขันชิงถ้วยฟุตบอลอุตสาหกรรมสมุทรปราการ ครั้งแรก เมื่อปี 2514 โดยเริ่มจากการรวมตัวกันของพนักงานเอง และ ในปี 2543 จึงได้จัดตั้งเป็นชมรมฟุตบอลไทยฮอนด้าอย่างเป็นทางการ ชมรมฟุตบอลไทยฮอนด้า มีกิจกรรมหลัก 2 ประการ คือ

  1. จัดแข่งขันฟุตบอลภายใน โดยมีทีมเข้าร่วมแข่งขันประมาณ 20 ทีม - 400 คนต่อปี
  2. ส่งทีมฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลอุตสาหกรรมสมุทรปราการอย่างต่อเนื่องผลงานในแข่งขันฟุตบอลอุตสาหกรรมสมุทรปราการ

และในปี 2543 จึงได้จัดตั้งเป็นชมรมฟุตบอลไทยฮอนด้าอย่างเป็นทางการ และเริ่มต้นส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ถ้วย ง และได้จัดตั้งเป็น สมาคมกีฬาไทยฮอนด้า โดยมีวัตถุประสงค์คือ

  1. เป็นองค์กรที่สังคมให้ดำรงอยู่โดยช่วยเหลือกิจกรรมสังคมด้านกีฬา
  2. เป็นแหล่งที่ทำให้พนักงานเป็นหนึ่งเดียวกัน มีมุมมองแนวคิดร่วมกัน โดยพัฒนาจากการแข่งขันด้านกีฬาฟุตบอลและกีฬาประเภทอื่น

2545 - 2548

[แก้]

สโมสรทำผลงานเลื่อนชั้น 4 ครั้งติดต่อกัน ในช่วงปี พ.ศ. 2545-2548 สโมสรทำผลงานเลื่อนชั้น 4 ครั้งติดต่อกัน โดยเริ่มจากการได้ตำแหน่งรองแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ง. ประจำปี 2545 , แชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค. ประจำปี 2546 , แชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข. ประจำปี 2547 ก่อนจะคว้าตำแหน่งรองแชมป์ไทยลีก ดิวิชัน 1 ในฤดูกาล 2548 ได้สำเร็จ ทำให้ได้ลงแข่งขันในระดับลีกสูงสุดของประเทศไทยอย่างไทยพรีเมียร์ลีก 1

ไทยฮอนด้า ลงแข่งขันในลีกสูงสุดของประเทศไทยเป็นเวลา 2 ฤดูกาล ในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2549 และไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2550 ก่อนจะตกชั้นกลับลงไปเล่นในไทยลีก ดิวิชัน 1และลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2

ดิวิชั่น 1

[แก้]

ในช่วงสองปีแรกหลังการตกชั้นจากลีกสูงสุด ผลงานของสโมสรไม่ดีหนัก โดยใน ดิวิชั่น 1 ปี 2551 สโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 13 จาก 16 ซึ่งตกชั้น แต่ในปีถัดมา (ฤดูกาล 2552) ทางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มีมติหาสโมสรแทน สโมสรธนาคารกรุงเทพ ที่ไม่ได้ส่งทีมเข้าแข่งขัน สโมสรเลยได้สิทธิอีกครั้งในการอยู่รอด ซึ่งก็เพลย์ออฟ ชนะ สโมสรนครสวรรค์ เอฟซี แต่ผลงานของสโมสรก็ยังไม่ดีขึ้น จนตกชั้นใน ดิวิชั่น 1 ปี 2554 ซึ่งในระหว่างนั้น มีนักฟุตบอลหลายๆคน ได้ลงเล่นให้กับสโมสร เช่น ปกเกล้า อนันต์

ขณะเดียวกัน ในปี 2553 ทางสโมสรก็ได้มีการเปลื่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของสโมสรที่ใช้มาตั้งแต่ก่อตั้ง เป็นรูป "วิงมาร์ค" มาสื่อความหมายถึงแบรนด์ฮอนด้า ซึ่งนำมารวมกับรูป "วิหคเพลิง" เป็นการสื่อความหมายถึงความมีพลังอันกล้าแกร่ง เป็นอมตะ นิรันดร ไม่มีวันตาย รวมไปถึงเปลื่ยนฉายาของสโมสรเป็น "พญาอินทรี"

ดิวิชั่น 2 และเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก

[แก้]

หลังจากที่ตกชั้นลงมาสู่ ไทยลีก ดิวิชัน 2 ในปี พ.ศ. 2554 ไทยฮอนด้าต้องใช้เวลาถึง 3 ปี ก็สามารถกลับมาเลื่อนชั้นขึ้นสู่ ไทยลีก ดิวิชัน 1 ภายใต้การคุมทีมของ Masami Taki โดยมีประธานสโมสรคือ วิน บุญห้อย และ อดิเรก ไกรเทพ เป็นผู้จัดการทีม ทำให้ปีต่อมา ในวันที่ 22 มกราคม 2558 ทางบริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้จดทะเบียนกับกรมธุรกิจการค้าจัดตั้งบริษัทนิติบุคคลเพื่อทำหน้าที่บริหารสโมสรฟุตบอลไทยฮอนด้าในนาม บริษัท พญาอินทรี ลาดกระบัง จำกัด และได้แต่งตั้ง ศิริศักดิ์ ยอดญาติไทย มาเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนแทน Masami Taki ที่จะทำหน้าที่เป็น ผู้อำนวยการเทคนิคของสโมสร และ สโมสรในปีนั้น สามารถเลื่อนชั้นสู่ ไทยลีกได้สำเร็จ และ ได้ตำแหน่งชนะเลิศ ใน ฤดูกาล 2559


ที่ตั้งสโมสรและสนามเหย้า

[แก้]
พิกัด ที่ตั้ง สนามเหย้า ปี
13°48′07″N 100°47′27″E / 13.801944°N 100.790833°E / 13.801944; 100.790833 มีนบุรี สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา 2550-2553, 2555, 2558-ปัจจุบัน
13°43′49″N 100°46′20″E / 13.730347°N 100.772122°E / 13.730347; 100.772122 ลาดกระบัง สนามกีฬาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 2554, 2556-2557

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ลีก[1] เอฟเอ คัพ ลีก คัพ ผู้ทำประตูสูงสุด
ลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย คะแนน อันดับ ชื่อ ประตู
2548 ดิวิชั่น 1 22 13 2 7 38 15 46 รองชนะเลิศ
2549 ไทยลีก 22 4 9 9 23 26 21 อันดับ 11 Coulibaly Cheick Ismael 3
2550 ไทยลีก 30 7 8 15 26 38 29 อันดับ 14 Ismail Faday Kamara 6
2551 ดิวิชั่น 1 30 9 7 14 29 38 34 อันดับ 13
2552 ดิวิชั่น 1 30 8 12 10 30 35 36 อันดับ 11 รอบสอง สุทิน อนุกูล 8
2553 ดิวิชั่น 1 30 11 7 12 32 32 40 อันดับ 8 รอบสอง รอบสาม Nana Yaw Asamoah 6
2554 ดิวิชั่น 1 34 6 6 22 33 69 24 อันดับ 18 ไม่ได้ส่งแข่งขัน รอบสอง Nana Yaw Asamoah 8
2555 ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพฯ 34 21 8 5 57 33 71 ชนะเลิศ รอบสอง รอบแรก
2556 ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพฯ 26 11 6 9 57 34 39 อันดับ 5
2557 ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพฯ 26 21 4 1 63 16 67 ชนะเลิศ รอบสาม รอบคัดเลือก รอบแรก โรโดลจุ๊บ พาอูโนวิช 25+7
2558 ดิวิชั่น 1 38 16 9 13 62 46 57 อันดับ 6 รอบสี่ รอบสอง แกสตัน ราอูล รามิเรซ 17
2559 ดิวิชั่น 1 26 14 10 2 46 23 52 ชนะเลิศ รอบแรก รอบสอง รีการ์ดู ชีซุซ 13
2560 ไทยลีก 34 8 4 22 43 68 28 อันดับ 16 รอบสอง รอบแรก รีการ์ดู ชีซุซ 9
2561 ไทยลีก 2 28 8 8 12 32 39 32 อันดับ 12 รอบแรก รอบคัดเลือก ถวิล บุตรสมบัติ 11
2562 ไทยลีก 2 33 12 12 9 49 40 48 อันดับ 6 รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบเพลย์ออฟ วัลโดมิโร ซัวเรส 17
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ เลื่อนชั้น ตกชั้น


สถิติที่สุดของสโมสร

  • ผู้เล่นที่ยิงประตูมากสุด โรโดลจุ๊บ พาอูโนวิช 30 ประตู (2557)
  • แมตช์ที่มีการทำประตูมากที่สุด ไทยฮอนด้า 11-1 ปลวกแดง ระยอง ยูไนเต็ด (2557)
  • แมตช์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุด ไทยฮอนด้า 2-1 สุโขทัย ผู้เข้าชม 13,000 คน (2557)
  • ไม่แพ้ใครติดต่อกันนานสุด 23 นัด (29 มี.ค. - 8 พ.ย. 2557)
  • ชนะติดต่อกันนานสุด 13 นัด (12 เม.ย. - 16 ส.ค. 2557)
  • ทำแต้มเยอะสุด 87 แต้ม (2557 - ลีกโซนกรุงเทพ 67 แต้ม, ชปล 20 แต้ม)

หัวหน้าผู้ฝึกสอน

[แก้]
วันที่ ชื่อ สัญชาติ
2545-2551 เฉลิมวุฒิ สง่าพล ไทย ไทย
2552 เสนอ ไชยยงค์ ไทย ไทย
2553 มาซามิ ทากิ ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
2553 คมสันต์ ตุ้มนนชัย ไทย ไทย
2554 พิชัย คงศรี ไทย ไทย
2554 ครองพล ดาวเรือง ไทย ไทย
2555 อภิรักษ์ ศรีอรุณ ไทย ไทย
2556 สุรชัย จิระศิริโชติ ไทย ไทย
2557-2559 มาซามิ ทากิ ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
2559-2560 ศิริศักดิ์ ยอดญาติไทย ไทย ไทย
2560-2561 อัคถภรณ์ ชลิตาภรณ์ ไทย ไทย
2561 วรชัย สุรินทร์ศิริรัฐ ไทย ไทย

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดฤดูกาล 2562

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย ปริญญ์ กุญชร
3 DF ไทย เกรียงไกร ชาสังข์
4 MF ไทย ธนัตถ์ วงศ์ศุภลักษณ์
5 DF โครเอเชีย Aleksandar Kapisoda
6 DF ไทย วัชระ มหาวงศ์
7 MF ญี่ปุ่น เคนโตะ นากาซากิ
9 FW ไทย สีหนาท สุทธิศักดิ์
10 FW ไทย ถวิล บุตรสมบัติ
11 FW ไทย สราวุฒิ คงเจริญ
13 GK ไทย รัชชานนท์ อินทรวิสูตร์
14 DF ไทย สุทิวัส จำนงค์
15 MF ไทย ปฏิพัทธิ์ อามะดันตรี
16 DF ไทย ไมตรี กุหลาบขาว
17 MF ไทย ศตวรรษ อินเจริญ
18 GK ไทย ทัตพิชา อักษรศรี
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
19 MF ไทย สุชานนท์ มะลิซ้อน
20 MF ไทย กิตติศักดิ์ โฮชิน
21 MF ไทย วัฒนศัพท์ เจริญศรี
22 DF ไทย อาทิตย์ วิเศษศิลป์
23 DF ไทย อดิศักดิ์ เส็นสมเอียด
24 MF บราซิล Thiago de Jesus Santos
26 DF ไทย มีเดช สรายุทธพิสัย
30 DF ไทย อธัชชา ระหงษ์ทอง
32 DF ไทย นภพล ศรีประทีป
33 FW บราซิล วัลโดมิโร ซัวเรส
36 DF ไทย ธเนศ เบญพาด
37 MF ไทย ชโนทัจน์ พิพัฒน์มงคลชัย
40 MF ไทย อลงกรณ์ สิทธิไชย
48 DF ไทย มนตรี มีเจริญ
89 FW ไทย วานิช ใจแสน

เกียรติประวัติ

[แก้]
ชนะเลิศ (1) : 2547[2]
ชนะเลิศ (1) : 2546[2]
รองชนะเลิศ (1): 2545[2]
ชนะเลิศ (1) : 2559
รองชนะเลิศ (1) : 2548
รองชนะเลิศ (1) : 2557
ชนะเลิศ (2) : 2555, 2557

อ้างอิง

[แก้]
  1. King, Ian; Schöggl, Hans & Stokkermans, Karel (20 March 2014). "Thailand – List of Champions". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014. Select link to season required from chronological list.
  2. 2.0 2.1 2.2 https://www.thaihondafc.com/club-proifle/[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]