ข้ามไปเนื้อหา

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
Office of the Royal Society
เครื่องหมายราชการของสำนักงาน
ภาพรวมสำนักงาน
ก่อตั้ง19 เมษายน พ.ศ. 2469; 98 ปีก่อน (2469-04-19)
สำนักงานก่อนหน้า
  • ราชบัณฑิตยสภา (พ.ศ. 2469 – พ.ศ. 2477)
  • ราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ. 2477 – พ.ศ. 2558)
ประเภทส่วนราชการ
สำนักงานใหญ่สนามเสือป่า แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
บุคลากร92 คน (พ.ศ. 2566)
งบประมาณต่อปี196,358,300 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
ฝ่ายบริหารสำนักงาน
  • สุรพล อิสรไกรศีล, นายก
  • สมบูรณ์ สุขสำราญ, อุปนายกคนที่ 1
  • ประพิณ มโนมัยพิบูลย์, อุปนายกคนที่ 2
  • กฤษฎา คงคะจันทร์, เลขาธิการ
  • ศานติ ภักดีคำ, รองเลขาธิการ
ต้นสังกัดสำนักงานนายกรัฐมนตรี
เอกสารหลัก
  • พระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2558[2]
เว็บไซต์เว็บไซต์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา เป็นส่วนราชการอิสระในฝ่ายบริหารของประเทศไทย มีหน้าที่ค้นคว้า วิจัย และบำรุงวิชาการด้านต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สาธารณะ[3] เป็นที่รู้จักจากบทบาทในการควบคุมภาษาไทย ผ่านการจัดทำพจนานุกรม และการบัญญัติหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในทางภาษา

ในทางประวัติศาสตร์นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงก่อตั้ง ราชบัณฑิตยสภา ขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2469 ต่อมาในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2476 มีการยุบราชบัณฑิตยสภาแยกไปจัดตั้งเป็น ราชบัณฑิตยสถาน กับกรมศิลปากร ราชบัณฑิตยสถานมีการดำเนินงาน 2 ส่วน คือ สภาราชบัณฑิต ซึ่งทำหน้าที่ด้านวิชาการ กับข้าราชการประจำ ซึ่งทำหน้าที่ด้านธุรการสนับสนุนงานของสภาราชบัณฑิต กระทั่งวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 จึงเปลี่ยนชื่อ ราชบัณฑิตยสถาน เป็น สำนักงานราชบัณฑิตยสภา และเปลี่ยนชื่อ สภาราชบัณฑิต เป็น ราชบัณฑิตยสภา ตามชื่อดั้งเดิมสมัยรัชกาลที่ 7[3]

ตามโครงสร้างปัจจุบัน ราชบัณฑิตยสภามีสมาชิก 3 ประเภท คือ ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิต และราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[4]

เดิมสำนักงานตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระลานในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาย้ายไปที่สนามเสือป่าตั้งแต่ พ.ศ. 2549

อำนาจหน้าที่และผลงาน

[แก้]
อาคารที่ทำการ สนามเสือป่า
ห้องประชุมภายในอาคารสำนักงานฯ ระหว่างการบรรยายทางวิชาการของราชบัณฑิตหรือภาคีสมาชิก

อำนาจหน้าที่

[แก้]

สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเป็นสถาบันหลักของเครือข่ายทางปัญญาแห่งชาติ และเป็นองค์การพัฒนาความรู้ที่สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ โดยมีพันธกิจดังต่อไปนี้

  1. ค้นคว้า วิจัย และบำรุงสรรพวิชา แล้วนำผลงานที่ได้สร้างสรรค์ออกเผยแพร่ให้เป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน
  2. ติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้ และประสานงานทางวิชาการกับองค์กรปราชญ์และสถาบันทางวิชาการอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
  3. ให้ความเห็น คำแนะนำ และคำปรึกษาทางวิชาการแก่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี
  4. ให้บริการทางวิชาการแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงานของเอกชนและประชาชน
  5. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธาน การบัญญัติศัพท์วิชาการสาขาต่าง ๆ รวมทั้งการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วิชาการภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย และงานวิชาการอื่น ๆ
  6. กำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย การอนุรักษ์ภาษาไทยมิให้เปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม และการส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น
  7. ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของราชบัณฑิตยสภา

สำนักงานราชบัณฑิตยสภามีหน้าที่ในการค้นคว้า วิจัย และนำเสนอผลงานอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ทั้งให้คำแนะนำทางวิชาการแก่หน่วยงานราชการและประชาชน ทั้งนี้ยังมีหน้าที่สำคัญ คือ การจัดทำพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธานธรรมชาติวิทยา การบัญญัติศัพท์วิชาการ และงานวิชาการอื่น ๆ

ผลงาน

[แก้]

ผลงานหลัก

[แก้]

สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจะเสนอผลงานเหล่านี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ใช้เป็นมาตรฐานในทางราชการและการศึกษา

ผลงานอื่น ๆ

[แก้]
  • อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร
  • ลักษณนาม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
  • หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ
  • ภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
  • พจนานุกรมและสารานุกรมซึ่งบัญญัติและอธิบายศัพท์วิชาการสาขาต่าง ๆ เป็นภาษาไทย เช่น ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ศัพท์รัฐศาสตร์ ศัพท์นิติศาสตร์ ศัพท์สังคมวิทยา ศัพท์ปรัชญา ศัพท์ศาสนาสากล ศัพท์จิตวิทยา ศัพท์คณิตศาสตร์ ศัพท์วิทยาศาสตร์ ศัพท์วิศวกรรมเครื่องกล ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ศัพท์ธรณีวิทยา ศัพท์ภูมิศาสตร์ ศัพท์ภาษาศาสตร์ ศัพท์สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศัพท์ศิลปะ ศัพท์วรรณกรรมไทย ศัพท์ดนตรีไทย ศัพท์ดนตรีสากล ศัพท์การกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นต้น
  • พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมท้องถิ่นไทย ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้
  • สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
  • สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทยและสารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ ภูมิภาคเอเชีย ภูมิภาคยุโรป และภูมิภาคอเมริกา
  • อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทยและพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากล
  • อักขรานุกรมวิธานพืชและอนุกรมวิธานสัตว์
  • พจนานุกรมคำใหม่และพจนานุกรมศัพท์ต่างประเทศที่ใช้คำไทยแทนได้
  • คู่มือระบบเขียนภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เป็นอักษรไทย เช่น ภาษาชอง ภาษาเขมรถิ่นไทย ภาษาเลอเวือะ ภาษาญัฮกุร เป็นต้น
  • เห็ดกินได้และเห็ดมีพิษในประเทศไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
  • ฯลฯ

หน่วยงาน

[แก้]

การแบ่งส่วนราชการ

[แก้]

ราชบัณฑิตยสภาแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้

  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองธรรมศาสตร์และการเมือง
  • กองวิทยาศาสตร์
  • กองศิลปกรรม

สำนัก

[แก้]

สำนักในราชบัณฑิตยสภามีด้วยกัน 3 สำนัก แต่ละสำนักประกอบด้วยคณะราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกสาขาวิชาต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 137 สาขา

กองธรรมศาสตร์และการเมือง

[แก้]

กองวิทยาศาสตร์

[แก้]

กองศิลปกรรม

[แก้]

ผู้บริหาร

[แก้]

ผู้บริหารในราชบัณฑิตยสภาแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ

  • ฝ่ายราชบัณฑิต มี นายกราชบัณฑิตยสภา เป็นผู้บริหารสูงสุด
  • ฝ่ายข้าราชการประจำ มี เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา เป็นผู้บริหารสูงสุด

สมาชิก

[แก้]

สมาชิกของราชบัณฑิตยสภา มี 3 ประเภทดังนี้

ราชบัณฑิต

[แก้]

ราชบัณฑิต ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยราชบัณฑิตจากทุกสำนักจะเป็นผู้คัดเลือกจากภาคีสมาชิก แล้วนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง มีได้จำกัดจำนวน 118 ตำแหน่ง ปัจจุบันมีราชบัณฑิตจำนวน 110 คน[5]

ภาคีสมาชิก

[แก้]

ภาคีสมาชิก ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ที่สมัครเข้าทำการร่วมกับราชบัณฑิตยสภา และราชบัณฑิตยสภาได้รับสมัครเป็นภาคีสมาชิกของสำนักใดสำนักหนึ่งแล้ว จำนวนภาคีสมาชิกมีจำกัดได้ไม่เกิน 84 คน แบ่งเป็น สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง 33 คน สำนักวิทยาศาสตร์ 55 คน สำนักศิลปกรรม 30 คน ปัจจุบันมีภาคีสมาชิก 74 คน[5]

ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์

[แก้]

ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ซึ่งนายกรัฐมนตรี โดยคำแนะนำของราชบัณฑิตยสภา ได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง โดยไม่จำกัดจำนวน ปัจจุบันมีราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ จำนวน 8 คน เรียงตามลำดับการได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ดังนี้

คำนำหน้าชื่อ รายชื่อ ปีที่ได้รับแต่งตั้ง สาขาวิชา อ้างอิง
พลตรี เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ 2486 - [6]
พลตรี ประยูร ภมรมนตรี 2486 - [6]
พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ 2486 - [6]
พลตรี วิจิตร วิจิตรวาทการ 2486 - [6]
หม่อมหลวง เดช สนิทวงศ์ 2486 - [6]
ศาสตราจารย์ เดือน บุนนาค 2486 - [6]
พลโท หลวงละออภูมิลักษณ์ (ลออ บุนนาค) 2521 - [7]
พระอัพภันตราพาธพิศาล (กำจร พลางกูร) 2524 - [8]
หม่อมหลวง ปิ่น มาลากุล 2529 วรรณศิลป์ [9]
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เฟื้อ หริพิทักษ์ 2529 วิจิตรศิลป์ [10]
บุญมา วงศ์สวรรค์ 2536 เศรษฐศาสตร์ทั่วไป [11]
ศาสตราจารย์ ประเวศ วะสี 2548 แพทยศาสตร์ [12]
ศาสตราจารย์ สิปปนนท์ เกตุทัต 2548 ฟิสิกส์ [12]
ศาสตราจารย์พิเศษ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) 2550 ศาสนศาสตร์ [13]
มีชัย ฤชุพันธุ์ 2550 นิติศาสตร์ [13]
ศาสตราจารย์ คุณหญิง กุหลาบ มัลลิกะมาส 2550 วรรณคดีเปรียบเทียบ [13]
ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิง พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา 2552 ศึกษาศาสตร์ [14]
ศาสตราจารย์ ยงยุทธ ยุทธวงศ์ 2552 เคมี [14]
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ พูนพิศ อมาตยกุล 2552 ดุริยางคกรรม [14]
ศาสตราจารย์ พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) 2552 อัคฆวิทยา [15]
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ กุสุมา รักษมณี 2562 วรรณศิลป์ [16]
ศาสตราจารย์ ไพรัช ธัชยพงษ์ 2563 วิศวกรรมศาสตร์ [17]

  ผู้ได้รับแต่งตั้งที่ยังมีชีวิตอยู่

วิทยาการที่ราชบัณฑิตยสภาจัดเผยแพร่ทางเว็บไซต์

[แก้]

คลังความรู้

[แก้]
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • สังคมศาสตร์
  • ภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม

หลักเกณฑ์ต่าง ๆ

[แก้]
  • การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
  • การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน
  • การอ่านตัวเลขต่าง ๆ
  • การอ่านเครื่องหมาย
  • การอ่านคำวิสามานยนาม
  • เครื่องหมายวรรคตอน
  • การเว้นวรรค
  • การเขียนคำย่อ
  • ชื่อจังหวัด เขต อำเภอ
  • ชื่อทะเล
  • ชื่อธาตุ
  • ชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง
  • ลักษณนาม
  • ราชาศัพท์

สิ่งพิมพ์

[แก้]
  • ราชบัณฑิตยสภามีสิ่งพิมพ์ทางวิชาการเกือบทุกสาขาไว้จำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๘๓, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๑, ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
  3. 3.0 3.1 "สำนักงานราชบัณฑิตยสภา". www.orst.go.th.
  4. "สำนักงานราชบัณฑิตยสภา". www.orst.go.th.
  5. 5.0 5.1 รายชื่อราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกปัจจุบัน
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
  9. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ 2018-01-18.
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (นายเฟื้อ หริพิทักษ์)
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (นายบุญมา วงศ์สวรรค์)
  12. 12.0 12.1 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศาสตราจารย์ประเวศ วะสี, ศาสตราจารย์สิปปนนท์ เกตุทัต)
  13. 13.0 13.1 13.2 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พระพรหมคุณาภรณ์ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ศาสตราจารย์ คุณหญิงกุหลาบ มัลลิกะมาส)
  14. 14.0 14.1 14.2 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา ศาสตราจารย์ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ศาสตราจารย์พูนพิศ อมาตยกุล)
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, เล่ม 126, ตอนพิเศษ 62 ง, 23 เมษายน 2552, หน้า 31
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, เล่ม 136, ตอนพิเศษ 115 ง, 10 พฤษภาคม 2562, หน้า 11
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, เล่ม 137, ตอนพิเศษ 222 ง, 23 กันยายน 2563, หน้า 2

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
องค์กร
สิ่งพิมพ์