ข้ามไปเนื้อหา

สาธารณรัฐหลานฟาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐหลานฟาง

蘭芳共和國 (จีน)
1777–1884
ธงชาติหลานฟาง
ธงชาติ
ตราสาธารณรัฐของหลานฟาง
ตราสาธารณรัฐ
แผนที่สาธารณรัฐกงสีในบอร์เนียวตะวันตก
แผนที่สาธารณรัฐกงสีในบอร์เนียวตะวันตก
สถานะรัฐบรรณาการของจีนสมัยราชวงศ์ชิง
เมืองหลวงDong Wan Li (東萬律) (ปัจจุบันคือมันดอร์)
ภาษาทั่วไปฮากกา, มลายู, กลุ่มภาษาดายัก
เดมะนิมฮากกาหรือหลานฟางเหริน (蘭芳人)
การปกครองสาธารณรัฐกงสี ระบบประธานาธิบดี
ประธานาธิบดี 
• 1777-1795
Low Lan Pak
• 1795-1799
Jiang Wubo
• 1799-1804
Yan Sibo
• 1804-1811
Jiang Wubo
• 1811-1823
Song Chabo
• 1823-1838
Liu Taiji
• 1838-1842
Gu Liubo
• 1842-1843
Xie Guifang
• 1843-1845
Ye Tenghui
• 1845-1848
Liu Ganxing
• 1848-1876
Liu Asheng
• 1876-1880
Liu Liang
• 1880-1884
Liu Asheng
ยุคประวัติศาสตร์จักรวรรดินิยมใหม่
1777
1884
ถัดไป
หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย
มาเลเซีย

สาธารณรัฐหลานฟาง (อังกฤษ: Lanfang Republic; จีน: 蘭芳共和國; พินอิน: Lánfāng Gònghéguó, Pha̍k-fa-sṳ: Làn-fông Khiung-fò-koet) มีอีกชื่อว่า บริษัทหลานฟาง (จีน: 蘭芳公司; พินอิน: Lánfāng gōngsī) เป็นรัฐของชาวจีนที่ใช้ระบบกงสีในกาลีมันตันตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย ก่อตั้งโดยชาวจีนฮากกาชื่อหลัว ฟางปั๋ว (羅芳伯) เมื่อ พ.ศ. 2320 ก่อนจะสิ้นสุดลงโดยการยึดครองของดัตช์เมื่อ พ.ศ. 2427

การมาถึงของชาวจีน

[แก้]

สุลต่านแห่งบอร์เนียวตะวันตกได้นำเข้าแรงงานชาวจีนในพุทธศตวรรษที่ 23 เพื่อทำงานในเหมืองทองคำและตะกั่ว กลุ่มกงสีของแรงงานเหมืองได้จัดตั้งกลุ่มเพื่อปกครองตนเอง[1] แต่หลานฟางเป็นที่รู้จักเพราะบันทึกไว้โดยยับ เซียงโยน บุตรเขยของกัปตันคนสุดท้ายของกงสีแห่งหลานฟาง ซึ่งแปลเป็นภาษาดัตช์ใน พ.ศ. 2428[2][3][4][5][6][7][8][9][10][11][12] ไม่มีหลักฐานที่เป็นเอกสารเกี่ยวกับกลุ่มกรรมกรเหมืองกลุ่มอื่น

การปกครองของหลัว ฟางปั๋ว

[แก้]

ผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐหลานฟางคือหลัว ฟางปั๋ว ผู้มาจากเหมย์โจวในมณฑลกวางตุ้ง และมาอาศัยในเกาะบอร์เนียวเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการค้าและทำเหมือง เขาก่อตั้งบริษัทของเขาเอง หลัวได้จัดตั้งสาธารณรัฐหลานฟางขึ้นใน พ.ศ. 2320 เมืองหลวงอยู่ที่วันยินตะวันออกเพื่อปกป้องผู้ตั้งถิ่นฐานชาวจีนจาการกดดันของชาวดัตช์[13][14][15][16][17][18][19][20][21][22][23][24][25][26][27][28][29][30] หลัวได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี เขาได้นำหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยมาใช้เช่น การมีส่วนร่วมของพลเมือง ตำแหน่งผู้บริหารต่างๆมาจากการเลือกตั้ง หลานฟางเป็นพันธมิตรกับสุลต่านอับดูร์เราะห์มานแห่งรัฐสุลต่านปอนเตียนัก[31][32][33][34][35]

การบริหารของหลัวปฏิเสธการจัดตั้งราชวงศ์ แต่ดำเนินตามประเพณีของชาวจีน เช่น ประกาศใช้ปีที่ก่อตั้งสาธารณรัฐเป็นปีแรกของปฏิทิน แต่เขาก็ส่งรายงานไปยังราชวงศ์ชิงว่าเขาเป็นผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐและส่งบรรณาการให้ราชวงศ์ชิง

หลัวเป็นประมุขของรัฐจนเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2338 ชาวหลานฟางเลือกเจียง อู่ปั๋ว (江戊伯) เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป มีชาวพื้นเมืองเข้ามาเป็นพันธมิตรกับหลานฟางมากขึ้น แต่จะมีชาวจีนในสาธารณรัฐเท่านั้นที่เลือกผู้นำได้

การรุกรานของดัตช์

[แก้]

เมื่อราชวงศ์ชิงอ่อนแอลงและไม่สามารถสนับสนุนสาธารณรัฐหลานฟางในฐานะรัฐบรรณาการได้อีก ทำให้หลานฟางเผชิญการรุกรานของดัตช์ ประชากรของสาธารณรัฐพยายามต่อต้านแต่ขาดแคลนอาวุธ ลิน อาห์ซินเป็นผู้นำคนสุดท้ายของหลานฟาง[36] ชาวจีนในหลานฟางเดินทางไปยังสุมาตราและสิงคโปร์เพื่อหวังสร้างสาธารณรัฐชองชาวจีนแห่งใหม่ในเอเชียตะวันออก สงครามระหว่างชาวจีนกับกองทัพของดัตช์อีสต์อินดีสที่เรียกสงครามกงสี มีเหตุการณ์ที่สำคัญคือการขยายตัวสู่ชายฝั่งตะวันตกของบอร์เนียว (พ.ศ. 2365 – 2367) การต่อต้านของชาวจีนที่มนตราโด (พ.ศ. 2393 – 2397) และการลุกฮือของชาวจีนที่มันโดร์ บอร์เนียว (พ.ศ. 2427 – 2428) ในที่สุดชาวจีนจึงเสียการปกครองของตนเองไป ดัตช์มิได้ผนวกหลานฟางในทันทีแต่ตั้งระบอบหุ่นเชิดขึ้นมาแทน จนกระทั่งราชวงศ์ชิงล่มสลายใน พ.ศ. 2455 ดัตช์จึงประกาศผนวกดินแดน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "海外華人創建了世上第一個共和國". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-24. สืบค้นเมื่อ 2015-11-28.
  2. Groot, J.J.M. (1885), Het Kongsiwezen van Borneo: eene verhandeling over den grondslag en den aard der chineesche politieke vereenigingen in de koloniën, The Hague: M. Nijhof.
  3. Lindsey'& Pausacker & Coppel &Institute of Southeast Asian Studies & Monash Asia Institute 2005, p. 105.
  4. ed. Gerber &Guang 2006, p. 164.
  5. ed. Reid & Alilunas-Rodgers 1996, p. 169.
  6. ed. Blussé & Zurndorfer & Zürcher 1993, p. 288.
  7. Chin 1981, p. 19.
  8. ed. Suryadinata 1997,
  9. Setyautama & Mihardja 2008, p. 233.
  10. ed. Oelschlägel & Nentwig & Taube 2005, p. 290.
  11. Zhang 2002, p. 2.
  12. Gakuen 1967, p. 258.
  13. Gernet 1996, p. 489.
  14. "YUNOS 2011". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 2015-11-28.
  15. ""The Eurozone as a Lan Fang Republic" 2012". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-09. สืบค้นเมื่อ 2015-11-28.
  16. Zheng 1982, p. 40.
  17. Wang 1994, p. 87.
  18. "Taiwan guang Hua za zhi, Volume 33, Issues 7-12" 2008, p. 119.
  19. "The Numismatic Chronicle, Volume 153" 1993, p. 172.
  20. "Revue bibliographique de sinologie, Volumes 6-7" 1988, p. 165.
  21. ed. Reid 2008, p. 74.
  22. Yong 1994, p. 27.
  23. "Mitteilungen der Gesellschaft für Natur- und Völkerkunde Ostasiens, Volume 75; Volume 77" 1979, p. 189.
  24. Zheng 1969, p. xvi.
  25. "China Today, Volume 6" 1963, p. 33.
  26. Reece 1993, p. 3.
  27. "Tempo: Indonesia's Weekly News Magazine, Volume 4, Issues 43-52" 2004, p. 9.
  28. "Excerpta Indonesica, Issues 58-62" 1998, p. 45.
  29. "Jahrbuch des Museums für Völkerkunde zu Leipzig, Volume 41" 1997, p. 273.
  30. "The Sarawak Museum Journal, Volume 19" 1971, p. 119.
  31. "The Sarawak Museum Journal" 1959, p. 671.
  32. Heidhues 2003, p. 65.
  33. Heidhues 2003, p. 103.
  34. Luo & Luo 1941,
  35. 羅 1961,
  36. Irwin 1955, p. 173.

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]