สะพานลูเดินดอร์ฟ
สะพานลูเดินดอร์ฟ | |
---|---|
Ludendorff-Brücke | |
สะพานเมื่อมองจากฝั่งแม่น้ำไรน์ก่อนถล่มในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 | |
พิกัด | 50°34′45″N 7°14′39″E / 50.579167°N 7.244167°E |
เส้นทาง | ทางราง |
ข้าม | แม่น้ำไรน์ |
ที่ตั้ง | รัฐไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ |
ชื่อทางการ | สะพานลูเดินดอร์ฟ |
ชื่ออื่น | สะพานที่เรมาเกิน |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | สะพานรูปโค้ง |
วัสดุ | เหล็ก |
ความยาว | 325 m (355 yd) |
จำนวนตอม่อ | สอง |
ประวัติ | |
ผู้ออกแบบ | คาร์ล ไวเนอร์ |
ผู้สร้าง | Grün & Bilfinger |
วันเริ่มสร้าง | 1916 |
วันสร้างเสร็จ | 1919 |
ทำลาย | 1945 |
ที่ตั้ง | |
สะพานลูเดินดอร์ฟ (เยอรมัน: Ludendorff-Brücke) ในต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำไรน์ในประเทศเยอรมนีหนึ่งในสองแห่งที่ยังเหลืออยู่เมื่อถูกกำลังกองทัพบกสหรัฐยึดระหว่างยุทธการที่เรมาเกินในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง สะพานลูเดินดอร์ฟสร้างในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเพื่อช่วยส่งกำลังเพิ่มเติมและการส่งกำลังให้ทหารเยอรมันในแนวรบด้านตะวันตก ซึ่งเชื่อมเรมาเกินบนฝั่งตะวันตกและหมู่บ้านแอร์เพิลบนฝั่งตะวันออกระหว่างสองเขาที่ขนาบแม่น้ำ ถูกตั้งชื่อตามพลเอกเอริช ลูเดินดอร์ฟ
เมื่อสิ้นสุดปฏิบัติการช่างตัดไม้ (1–7 มีนาคม ค.ศ. 1945) ทหารกองทัพที่ 1 แห่งสหรัฐมาถึงเรมาเกินและประหลาดใจที่พบว่าสะพานยังอยู่ การยึดสะพานนี้ทำให้กองทัพบกสหรัฐสถาปนาหัวสะพานบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์ หลังกำลังสหรัฐยึดสะพาน เยอรมนีพยายามทำลายอยู่หลายครั้งจนถล่มในวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1945 สิบวันหลังถูกยึด ฆ่าทหารช่างสหรัฐ 28 นาย ระหว่างที่สะพานยังอยู่ สะพานทำให้กองทัพบกสหรัฐวางกำลังทหาร 25,000 นาย หกกองพลทหารบกกับรถถัง ปืนใหญ่และรถบรรทุกจำนวนมากข้ามแม่น้ำไรน์ สะพานนี้ไม่เคยถูกสร้างใหม่ หอคอยบนฝั่งตะวันตกถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์และหอคอยบนฝั่งตะวันออกเป็นที่แสดง