สตาร์คราฟต์
สตาร์คราฟต์ | |
---|---|
ตราสัญลักษณ์สตาร์คราฟต์ | |
ผู้พัฒนา | บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ |
ผู้จัดจำหน่าย | บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ |
ออกแบบ |
|
แต่งเพลง |
|
ชุด | สตาร์คราฟต์ |
เครื่องเล่น | |
วางจำหน่าย | |
แนว | Real-time strategy |
รูปแบบ | คนเดียว, หลายคน |
สตาร์คราฟต์ เป็นวิดีโอเกมประเภทวางแผนเรียลไทม์และบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์การทหาร พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบลิซซาร์ด เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ออกบนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2541[1] ต่อมา เกมขยายเป็นแฟรนไชส์ และเป็นเกมแรกของซีรีส์สตาร์คราฟต์ รุ่นแมคโอเอสออกในเดือนมีนาคม 2542 และรุ่นดัดแปลงนินเทนโด 64 ซึ่งพัฒนาร่วมกับแมสมีเดีย ออกในวันที่ 13 มิถุนายน 2543[3] การพัฒนาเกมนี้เริ่มขึ้นไม่นานหลังวอร์คราฟต์ 2: ไทด์สออฟดาร์กเนส ออกในปี 2538 สตาร์คราฟต์เปิดตัวในงานอี3 ปี 2539 ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบน้อยกว่าวอร์คราฟต์ 2 ฉะนั้น โครงการจึงถูกพลิกโฉมทั้งหมดแล้วแสดงต่อสาธารณะในต้นปี 2540 ซึ่งได้รับการตอบรับดีกว่ามาก
เกมมีฉากท้องเรื่องในเส้นเวลาสมมติระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 25 ของโลก โดยมุ่งไปยังสามสปีชีส์ที่แก่งแย่งชิงความเป็นใหญ่ในส่วนห่างไกลของดาราจักรทางช้างเผือก ซึ่งเรียก ภาคคอปรูลู (Koprulu Sector) สามสปีชีส์นั้นได้แก่ เทอร์แรน (Terran) มนุษย์ซึ่งถูกเนรเทศจากโลก และมีทักษะการปรับตัวเข้ากับทุกสถานการณ์, เซิร์ก (Zerg) เผ่าพันธุ์คล้ายแมลงต่างดาวที่แสวงความสมบูรณ์ของพันธุกรรม และหมกมุ่นกับการกลืนกินเผ่าพันธุ์อื่น และโพรทอส (Protoss) เผ่าพันธุ์คล้ายมนุษย์ซึ่งมีเทคโนโลยีล้ำหน้าและความสามารถพลังจิต โดยพยายามรักษาอารยธรรมของพวกตนและวิถีชีวิตปรัชญาเคร่งครัดจากพวกเซิร์ก
นักหนังสือพิมพ์ของอุตสาหกรรรมวิดีโอเกมจำนวนมากยกย่อง สตาร์คราฟต์ ว่าเป็นเกมที่ดีที่สุด[4] และสำคัญที่สุด[5]ตลอดกาลเกมหนึ่ง และว่าได้ยกระดับการพัฒนาเกมวางแผนเรียลไทม์[6] สตาร์คราฟต์เป็นเกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขายดีที่สุดเกมหนึ่ง โดยจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2552 สามารถขายได้ 11 ล้านแผ่นทั่วโลก[7] เกมยังได้รับการยกย่องจากการบุกเบิกการใช้กลุ่มแยกมีเอกลักษณ์ในการเล่นวางแผนเรียลไทม์[8] และเรื่องที่เร้าความสนใจ[9] รูปแบบหลายผู้เล่นของสตาร์คราฟต์ได้รับความนิยมเป็นพิเศษในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งผู้เล่นและทีมร่วมการแข่งขันอาชีพ ได้รับการสนับสนุน และแข่งขันในทัวร์นาเมนต์ที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์[10] สตาร์คราฟต์มีการดัดแปลงและขยายแนวเรื่องผ่านชุดนวนิยาย ภาคเสริม (expansion pack) สตาร์คราฟต์: บรูดวอร์ และตัวเสริม (add-on) ที่ได้รับอนุญาตอีกสองตัว อีก 12 ปีให้หลัง ภาคต่อ สตาร์คราฟต์ 2: วิงส์ออฟลิเบอร์ตี ออกในเดือนกรกฎาคม 2553
การเล่น
[แก้]การที่บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ใช้สามเผ่าพันธุ์แยกกันในสตาร์คราฟต์ ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นการปฏิวัติเกมประเภทวางแผนเรียลไทม์[6] ทุกยูนิต (unit) มีเฉพาะเผ่าพันธุ์ของตน แม้ว่าสามารถเปรียบเทียบระหว่างยูนิตประเภทต่าง ๆ ในต้นไม้เทคโนโลยี (technology tree) อย่างหยาบ ๆ ได้ แต่ทุกยูนิตปฏิบัติการต่างกันและผู้เล่นต้องใช้กลยุทธ์ต่างกันเพื่อบรรลุเป้าหมาย
เผ่าพันธุ์โพรทอสอันลึกลับเข้าถึงยูนิตและจักรกลทรงพลัง และเทคโนโลยีล้ำหน้า เช่น โล่พลังงานและสมรรถนะวาร์พ (warp) เฉพาะที่ โดยได้พลังงานจากลักษณะพลังจิตของพวกเขา อย่างไรก็ดี กำลังของโพรทอสมีกระบวนการผลิตนานและแพง กระตุ้นให้ผู้เล่นดำเนินยุทธศาสตร์ที่คุณภาพของยูนิตเหนือกว่าปริมาณ[11] เผ่าพันธุ์เซิร์กคล้ายแมลงนั้นประกอบด้วยยูนิตและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ซึ่งสามารถผลิตได้อย่างรวดเร็วและมีราคาทรัพยากรถูกกว่ามาก แต่ยูนิตก็อ่อนแอกว่าตามไปด้วย โดยอาศัยปริมาณมากและความเร็วเพื่อเอาชนะข้าศึก[12] ส่วนเทอร์แรนอยู่กึ่งกลางระหว่างอีกสองเผ่าพันธุ์ โดยมียูนิตอเนกประสงค์และยืดหยุ่น พวกเขาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและจักรกลทหารที่เน้นโจมตีระยะไกลมากกว่า เช่น รถถังและอาวุธนิวเคลียร์[13]
แม้แต่ละเผ่าพันธุ์มีองค์ประกอบเป็นเอกลักษณ์ แต่ไม่มีเผ่าพันธุ์ใดได้เปรียบเหนือเผ่าพันธุ์อื่นโดยกำเนิด แต่ละเผ่าพันธุ์ถูกดุลให้มีจุดแข็ง พลังและความสามารถ ความแข็งแกร่งโดยรวมพอ ๆ กัน นอกจากนี้ บลิซซาร์ดยังออกแพทช์ (อัปเดตเกม) เพื่อปรับสมดุลนาน ๆ ครั้ง[14]
สตาร์คราฟต์ มีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่มีความยากแตกต่างกัน แต่ผู้เล่นไม่สามารถเปลี่ยนระดับความยากในยุทธการ (campaign) ผู้เล่นคนเดียวได้ แต่ละยุทธการเริ่มด้วยศัตรูที่ดำเนินงานเอไอภาวะง่าย แล้วค่อยทวีความยากขึ้นตามลำดับตลอดระยะของยุทธการจนเอไอภาวะยากสุด ในตัวตัดต่อด่าน (level editor) ซึ่งให้มากับเกม นักออกแบบเข้าถึงความยากของเอไอสี่ระดับ ได้แก่ "ง่าย" "ปานกลาง" "ยาก" และ "บ้า" (insane) โดยการตั้งค่าแต่ละระดับจะอนุญาตให้เอไอเข้าถึงยูนิตและเทคโนโลยีแตกต่างกัน และขอบเขตของการวางแผนทางยุทธวิธีและยุทธศาสตร์ของเอไอ[15] ยุทธการผู้เล่นคนเดียวประกอบด้วยสามสิบด่าน แบ่งเป็นเผ่าพันธุ์ละสิบด่าน
การจัดการทรัพยากร
[แก้]ทุกเผ่าพันธุ์อาศัยทรัพยากรสองชนิดเพื่อดำรงเศรษฐกิจในเกมและเพื่อสร้างกำลังของตน คือ แร่ (mineral) และแก๊สเวสปีน (vespene gas) แร่นั้นจำเป็นต่อยูนิตและสิ่งปลูกสร้างทุกชนิด และได้มาโดยใช้ยูนิตคนงานไปเก็บโดยตรงจากแหล่งแร่ที่กระจายอยู่ทั่วแผนที่ ผู้เล่นต้องใช้แก๊สเวสปีนสร้างยูนิตและสิ่งปลูกสร้างขั้นสูง และได้มาโดยการสร้างโรงกลั่นเหนือกีย์เซอร์ (geyser) และใช้ยูนิตคนงานแยกแก๊สออกมา[16] นอกจากนี้ ผู้เล่นยังต้องวางระเบียบกำลังบำรุง (supply) สำหรับกำลังของตนเพื่อประกันว่าสามารถสร้างยูนิตได้ตามจำนวนที่ต้องการ แม้ลักษณะของกำลังบำรุงจะแตกต่างกันตามเผ่าพันธุ์ คือ เทอร์แรนใช้กำลังบำรุงกายภาพที่เก็บในคลัง[17] โปรทอสใช้ส่วนเชื่อมต่อพลังจิต[18] และเซิร์กควบคุมโดยจำนวนยูนิตโอเวอร์ลอร์ด (overlord) ที่มี[19] แต่กลไกกำลังบำรุงทำงานเหมือนกันสำหรับทุกเผ่าพันธุ์ คือ ให้ผู้เล่นสร้างยูนิตใหม่เมื่อมีทรัพยากรเพื่อคงไว้เพียงพอ
การสร้างฐาน
[แก้]การสร้างสิ่งปลูกสร้างของโพรทอสและเซิร์กจำกัดเฉพาะบางที่เท่านั้น คือ สิ่งปลูกสร้างของโพรทอสจำต้องเชื่อมกับสายส่งพลังงาน ขณะที่สิ่งปลูกสร้างของเซิร์กแทบทั้งสิ้นต้องอยู่บนพรมชีวมวล เรียกว่า "ครีพ" (creep) ซึ่งผลิตจากสิ่งปลูกสร้างบางอย่าง สิ่งปลูกสร้างของเทอร์แรนมีความจำกัดน้อยกว่ามาก โดยสิ่งปลูกสร้างฐานที่สำคัญบางอย่างมีความสามารถทะยานและบินอย่างช้า ๆ ไปที่ใหม่ได้ อย่างไรก็ดี สิ่งปลูกสร้างของเทอร์แรนต้องให้ยูนิตคนงานก่อสร้างอาคารเรื่อย ๆ จนเสร็จ เช่นเดียวกัน เมื่ออาคารของเทอร์แรนได้รับความเสียหายถึงระดับหนึ่ง อาคารจะติดไฟจนสุดท้ายจะทำให้อาคารพังลงโดยศัตรูไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม สามารถป้องกันเหตุการณ์นี้โดยให้ยูนิตคนงานซ่อม ในทางกลับกัน โพรทอสเพียงต้องใช้ยูนิตคนงานเริ่มกระบวนการขนส่งอาคารมายังยุทธบริเวณโดยการวาร์พ และโล่ของอาคารพวกเขาสามารถฟื้นฟูได้ แต่มิใช่ตัวอาคารเอง ยูนิตคนงานของเซิร์กเปลี่ยนแปลงทางกายภาพไปเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สร้างขึ้น ซึ่งมีความสามารถรักษาตนเองอย่างช้า ๆ
หลายผู้เล่น
[แก้]เกมหลายผู้เล่นของสตาร์คราฟต์ ได้รับการสนับสนุนผ่านบริการอินเทอร์เน็ตแบตเทิล.เน็ตของบลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ผู้เล่นสูงสุดแปดคนสามารถแข่งขันในเกมหลายภาวะ รวมถึงโหมดทำลายผู้เล่นอื่นทั้งหมดในแผนที่ (ซึ่งอาจเป็นการแข่งขัน อย่างในการเล่นแลดเดอร์ (Ladder, การไต่เต้า) หรือไม่จัดอันดับ อย่างในการเล่นเมเล (melee) ไปจนถึงเกมที่เน้นวัตถุประสงค์ ราชาแห่งขุนเขา (king of the hill) และยึดธง นอกจากนี้ เกมยังรวมฉากที่สร้างเป็นพิเศษสำหรับเกมแต่ละประเภท เช่น การจำลองเกมอเมริกันฟุตบอล การใช้ยูนิตโฮเวอร์ไบค์ของเทอร์แรนแข่งขันจักรยานยนต์ หรือการจัดการแข่งขันการล่าเซิร์ก[15] เป็นต้น สตาร์คราฟต์ยังเป็นหนึ่งในไม่กี่เกมที่รวมการติดตั้งแบบวางไข่ (spawn installation) ซึ่งอนุญาตระบบหลายผู้เล่นจำกัด คือ เกมจะต้องติดตั้งจากดิสก์ และต้องใช้กุญแจผลิตภัณฑ์ (product key) เพื่อให้ทำงานเหมือนรุ่นสมบูรณ์ อย่างไรก็ดี กุญแจผลิตภัณฑ์หนึ่งสามารถรองรับการติดตั้งแบบวางไข่ได้สูงสุดแปดครั้งโดยสามารถเข้าถึงแบตเทิล.เน็ตได้ ข้อจำกัดของการติดตั้งแบบวางไข่รวมการไม่สามารถเล่นด่านผู้เล่นคนเดียว สร้างเกมหลายผู้เล่นหรือใช้ตัวตัดต่อยุทธการได้[20] การออกเกมครั้งหลัง ๆ ซึ่งหาได้ผ่านแบตเทิล.เน็ตหรือดิสก์ที่รวมป้ายวินโดวส์ วิสตาไม่รองรับการติดตั้งแบบวางไข่[21]
เรื่องย่อ
[แก้]ฉากเนื้อเรื่อง
[แก้]สตาร์คราฟต์ดำเนินเรื่องในจักรวาลบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์ที่คริส เมทเซน (Chris Metzen) และเจมส์ ฟินนีย์ (James Phinney) สร้างให้บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ตามเรื่องที่นำเสนอในคู่มือเกม จากที่ประชากรล้นโลกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ทำให้รัฐบาลระหว่างประเทศเนรเทศเผ่าพันธุ์มนุษย์บางส่วน เช่น อาชญากร พวกที่เสริมไซเบอร์เนติกส์ (cybernetically enhanced) และสายพันธุ์กลายไปตั้งนิคมในที่ไกลโพ้นของดาราจักร[22] ความพยายามตั้งนิคมในระบบสุริยะใกล้เคียงเกิดผิดพลาด ส่งผลให้มนุษยชาติมาถึงภาคคอปรูลู ในภาคคอปรูลูของดาราจักรอันห่างไกล ผู้ถูกเนรเทศตั้งรัฐบาลขึ้นจำนวนมาก ทว่าไม่นานก็เกิดความขัดแย้งกัน สุดท้าย คอนเฟเดอราซีออฟแมน (Confederacy of Man, สมาพันธ์มนุษย์) รัฐบาลหนึ่ง ผงาดขึ้นเป็นกลุ่มแยกที่แข็งแกร่งที่สุด แต่ธรรมชาติอันกดขี่และวิธีการปราบผู้เห็นแย้งอย่างป่าเถื่อนจุดชนวนการต่อต้านของกบฏครั้งใหญ่ในรูปกลุ่มก่อการร้าย ชื่อ ซันส์ออฟคอร์ฮอล (Sons of Korhal) ไม่นานก่อนเริ่มเกม ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2499 เผ่าพันธุ์ต่างดาวซึ่งมีเทคโนโลยีล้ำหน้าและพลังจิต โพรทอส ติดต่อมนุษยชาติครั้งแรกโดยทำลายโลกอาณานิคมของคอนเฟเดอราซีดวงหนึ่งโดยปราศจากการเตือนล่วงหน้าใด ๆ จากนั้นไม่นาน เทอร์แรนพบว่าเผ่าพันธุ์ต่างดาวที่สอง คือ เซิร์กคล้ายแมลง ลอบบุกรุกพื้นผิวของอาณานิคมเทอร์แรนหลายแห่ง และโพรทอสกำลังทำลายดาวเคราะห์เพื่อป้องกันมิให้เซิร์กลุกลาม คอนเฟเดอราซีที่ถูกคุกคามโดยสองเผ่าพันธุ์ต่างดาวและการกบฏภายในเริ่มพังทลาย[23]
ตัวละคร
[แก้]ผู้เล่นสวมบทบาทตัวละครนิรนามสามคนตลอดเกม ในองก์แรก ผู้เล่นเป็นพนักงานปกครองของสมาพันธ์แห่งมาร์ซารา (Mar Sara) โลกอาณานิคมอันห่างไกล ซึ่งถูกทั้งเซิร์กและโพรทอสคุกคาม และถูกเหตุการณ์บังคับให้เข้ากับกบฏ ซันส์ออฟคอร์ฮอล ภายใต้ผู้นำ อาร์กทูรัส เมงสก์ (Arcturus Mengsk) การทัพของเมงสก์ มีจิม เรย์เนอร์ (Jim Raynor) เจ้าพนักงานบังคับกฎหมายที่มีสำนึกศีลธรรมจากมาร์ซารา และซาราห์ เคอร์ริแกน (Sarah Kerrigan) มือสังหารพลังจิตและรองผู้บัญชาการของเมงสก์ ร่วมด้วย ภาคที่สองของเกม ผู้เล่นเป็นเซเรเบรท (cerebrate) ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาในเซิร์กสวอร์ม (Zerg Swarm, ฝูง-) ผู้เล่นถูกเซิร์กโอเวอร์มายด์ (Zerg Overmind) ปกครอง โอเวอร์มายด์นี้เป็นการแสดงซึ่งพิชาน (consciousness) รวมแห่งสวอร์ม และปฏิปักษ์หลักของเกม และได้รับคำแนะนำจากเซเรเบรทอื่นที่มียศและสถานภาพสูงกว่าระหว่างทำภารกิจเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์แห่งสวอร์ม ในส่วนสุดท้ายของสตาร์คราฟต์ ผู้เล่นเป็นเอ็กซีคิวเตอร์ (Executor, ผู้ปฏิบัติงาน) ในกองทัพโปรทอส รายงานต่ออัลดาริส (Aldaris) ผู้แทนของรัฐบาลโพรทอส อัลดาริสหมางใจกับเจ้าของตำแหน่งของผู้เล่นคนก่อน ทัสซาดาร์ (Tassadar) จากการสมาคมกับเซราตูล (Zeratul) สมาชิกกลุ่มมิจฉาทิฐิ ชื่อ ดาร์คเทมพลาร์ (dark templar, นักรบมืด)[24]
โครงเรื่อง
[แก้]เรื่องสตาร์คราฟต์นำเสนอผ่านคู่มือคำสั่ง บทสรุปย่อแต่ละด่านและบทสนทนาในด่านเอง ร่วมกับการใช้คัตซีนฉากที่จุดสำคัญ ตัวเกมแบ่งเป็นสามภาค ภาคหนึ่งผู้เล่นจะได้บังคับเผ่าพันธุ์หนึ่ง ในส่วนแรกของเกม ผู้เล่นและจิม เรย์เนอร์พยายามควบคุมอาณานิคมมาร์ซาราในห้วงที่เซิร์กโจมตีโลกเทอร์แรนอื่น หลังคอนเฟเดอราซีจับกุมเรย์เนอร์ฐานทำลายทรัพย์สินของสมาพันธ์ แม้ข้อเท็จจริงว่ามันถูกเซิร์กรังควาญแล้วก็ตาม ผู้เล่นเข้าร่วมกับอาร์กทูรัส เมงสก์และซันส์ออฟคอร์ฮอล เรย์เนอร์ซึ่งทหารของเมงสก์ปล่อยเป็นอิสระ ก็เข้าด้วยและร่วมทำภารกิจกับผู้เล่นบ่อย ๆ จากนั้น เมงสก์เริ่มใช้เทคโนโลยีของสมาพันธ์ที่ยึดได้บนมาร์ซาราล่อให้เซิร์กมายังที่ตั้งของสมาพันธ์และเดินหน้าเป้าหมายของเขาเอง หลังบีบให้เอ็ดมุนด์ ดุค (Edmund Duke) นายพลของสมาพันธ์ เข้ากับตนแล้ว เมงสก์สละรองผู้บัญชาการของเขา ซาราห์ เคอร์ริแกน เพื่อประกันการทำลายคอนเฟเดอเรซีโดยการล่อให้เซิร์กไปทาร์โซนิส (Tarsonis) เมืองหลวงของสมาพันธ์ เรย์เนอร์โกรธกับเป้าหมายที่แท้จริงของเมงสก์ในการได้มาซึ่งอำนาจไม่ว่าจ่ายราคาและสละเท่าใดก็ตาม และพากองทัพอดีตทหารอาสาสมัครอาณานิคมมาร์ซาราขนาดเล็กไปกับเขาด้วย เมงสก์จัดระเบียบประชากรเทอร์แรนที่เหลือใหม่เป็นเทอร์แรนโดมินเนียน (Terran Dominion, ราชอาณาจักรเทอร์แรน) และปราบดาภิเษกตนเป็นจักรพรรดิ
การทัพที่สองนั้นเปิดเผยว่า เคอร์ริแกนมิได้ถูกเซิร์กฆ่า แต่ถูกจับและติดเชื้อในความพยายามรวมลักษณะทางจิตของเธอเข้ากับยีนพูลของเซิร์ก เธอกำเนิดโดยมีพลังจิตและความแข็งแกร่งทางกายภาพสูงกว่าเดิมมาก ดีเอ็นเอถูกเปลี่ยนโดยสมบูรณ์ ขณะเดียวกัน ทัสซาดาร์ ผู้บัญชาการโพรทอส พบว่าเซเรเบรทของเซิร์กไม่สามารถถูกสังหารด้วยวิธีการปกติ แต่จะถูกทำลายได้ด้วยพลังที่ดาร์คเทมพลาร์อันมีมิจฉาทิฐิมีอยู่ ทัสซาดาร์เป็นพันธมิตรกับดาร์คเทมพลาร์สูงศักดิ์ เซราตูล ผู้ลอบสังหารซาร์ซ (Zasz) เซเรเบรทหนึ่งของเซิร์กในกลุ่มรังบนดาวชาร์ (Char) มรณะของเซเรเบรทส่งผลให้กองกำลังของมันวิ่งอาละวาดทั่วรังของเซิร์ก แต่เชื่อมโยงจิตของเซราตูลกับเซิร์กโอเวอร์มายด์ครู่หนึ่ง ทำให้โอเวอร์มายด์ทราบที่ตั้งของดาวบ้านเกิดเมืองนอนของโพรทอส ไอเออร์ (Aiur) ซึ่งโอเวอร์มายด์แสวงมาหลายสหัสวรรษ ในที่สุด สวอร์มเซิร์กหลักบุกครองไอเออร์ทันที ขณะที่เคอร์ริแกนถูกส่งไปรับมือกับทัสซาดาร์ และแม้โพรทอสจะต้านทานอย่างหนัก แต่โอเวอร์มายด์ก็สามารถฝังตัวเองเข้ากับเปลือกดาวเคราะห์ได้
ในภาคสุดท้ายของเกม อัลดาริสและรัฐบาลโพรทอสตีตราทัสซาดาร์ว่าเป็นผู้ทรยศและคนนอกรีตที่สมคบกับดาร์คเทมพลาร์ เดิมผู้เล่นรับใช้อัลดาริสในการป้องกันไอเออร์จากการบุกครองของเซิร์ก แต่ระหว่างภารกิจไปจับกุมทัสซาดาร์ ผู้เล่นกลับเข้ากับเขาแทน สงครามกลางเมืองโพรทอสอุบัติขึ้น ซึ่งทำให้ทัสซาดาร์ เซราตูลและพันธมิตรของพวกเขาติดพันกับกลุ่มผู้ทรงอำนาจโพรทอส ดาร์คเทมพลาร์พิสูจน์คุณค่าแห่งตนเมื่อใช้พลังงานฆ่าเซเรเบรทเซิร์กอีกสองตนบนดาวไอเออร์ และที่ประชุมปรองดองกับพวกเขา โพรทอส ด้วยการสนับสนุนโดยกองกำลังของเรย์เนอร์ ผู้เข้าร่วมกับทัสซาดาร์บนชาร์ เจาะผ่านการป้องกันที่ถูกทำให้อ่อนแอลงของโอเวอร์มายด์และทำลายเปลือกชั้นนอกของโอเวอร์มายด์ได้ แต่ก็ได้รับความสูญเสียอย่างหนักเช่นกัน ทัสซาดาร์ส่งพลังจิตของเขารวมกับพลังของดาร์คเทมพลาร์ผ่านลำยานบัญชาการของเขา แล้วชนใส่โอเวอร์มายด์ สละชีพตนเพื่อทำลายมัน
การพัฒนา
[แก้]บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์เริ่มการพัฒนาสตาร์คราฟต์ในปี 2538 ไม่นานหลังออกวอร์คราฟต์ 2: ไทด์สออฟดาร์คเนสที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง[25] สตาร์คราฟต์เปิดตัวในงานอี3 ปี 2539[26] โดยใช้เกมเอนจินของไทด์สออฟดาร์คเนสเป็นฐาน รุ่นดังกล่าวของเกมที่ประกอบโดยบ็อบ ฟิทช์ หัวหน้าโปรแกรมเมอร์ ซึ่งถูกจัดแสดง ได้รับการตอบรับค่อนข้างอ่อนจากงาน และถูกหลายคนวิจารณ์ว่าเป็น "วอร์คราฟต์ในอวกาศ"[27] ผลคือ มีการยกเครื่องใหม่ทั้งโครงการ โดยนำความสนใจมายังการสร้างสามสปีชีส์แยกกัน บิล โรเปอร์ (Bill Roper) ผู้ผลิตเกมคนหนึ่ง แถลงว่า นี่จะเป็นการเบี่ยงเบนครั้งสำคัญจากแนวการเข้าสู่วอร์คราฟต์ โดยเทียบสองฝั่งเท่ากันกับหมากรุก และแถลงว่า สตาร์คราฟต์จะให้ผู้เล่น "พัฒนายุทธศาสตร์เอกลักษณ์ขึ้นอยู่กับว่ากำลังเล่นสปีชีส์อะไร และจะกำหนดให้ผู้เล่นต้องคิดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อต่อสู้กับอีกสองสปีชีส์"[28] ต้นปี 2540 มีการเปิดตัวสตาร์คราฟต์รุ่นใหม่ ซึ่งได้รับการตอบรับดีกว่ารุ่นแรกมาก
กระนั้น เกมยังประสบอุปสรรคทางเทคนิค ฉะนั้นบ็อบ ฟิทช์ จึงออกแบบเอนจินวอร์คราฟต์ 2 ใหม่ทั้งหมดในสองเดือนเพื่อประกันว่าคุณลักษณะจำนวนมากที่นักออกแบบต้องการ เช่น ความสามารถชอนไช (burrow) และอำพรางของยูนิต สามารถทำให้เกิดผลได้[29] การปรับปรุงเกมภายหลังรวมถึงสไปรท์ (sprite) และพื้นหลังก่อนให้แสงและเงา ซึ่งสร้างโดยใช้ 3ดี สตูดิโอแม็กซ์ มีการนำมุมมองสมมิติในเกมมาใช้เช่นกัน ตรงข้ามกับทัศนมิติ 3/4เอส เบิดส์อาย (3/4s birdseye perspective) ของวอร์คราฟต์ 2 ยิ่งไปกว่านั้น เกมยังใช้ดนตรีคุณภาพสูง ซึ่งประพันธ์โดยคีตกวีประจำของบลิซซาร์ด และมีการจ้างนักพากย์เสียงอาชีพ[30]
แม้ความคืบหน้าเหล่านี้ สตาร์คราฟต์ก็ยังออกช้า ความล่าช้าต่อเนื่องจูงใจให้กลุ่มแฟนสตาร์คราฟต์กลุ่มหนึ่งบนฟอรัมอย่างเป็นทางการที่ตั้งชื่อตนเองว่า "Operation: Can't Wait Any Longer" (ปฏิบัติการ: รอต่อไปไม่ไหวแล้ว) เขียนชุดเรื่องบันเทิงคดีซึ่งสมาชิกของกลุ่มดังกล่าวพยายามนำสตาร์คราฟต์รุ่นบีตาจากสำนักงานใหญ่ของบลิซซาร์ดในเมืองเออร์ไวน์ รัฐแคลิฟอร์เนีย[31] เพื่อแสดงความเคารพต่อการมีกลุ่มนี้ในฟอรัมและความกระตือรือร้นกับเกมของพวกเขา ต่อมาบลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์รวมชื่อกลุ่มดังกล่าวเข้าในสตาร์คราฟต์โดยเป็นสูตรโกงเกมที่เร่งการสร้างยูนิต[32] และกล่าวขอบคุณกลุ่มดังกล่าวในเครดิตของเกม[33] ตัวเกมออกสำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2541[1] โดยรุ่นแมคโอเอสออกมาในปีต่อมา คือ ปี 2542[34] การพัฒนาสตาร์คราฟต์ 64 ซึ่งเป็นรุ่นสำหรับนินเทนโด 64 เริ่มต้นในปี 2542 ซึ่งแปลงจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยแมสมีเดียอินเตอร์แอ็คทีฟเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของทีเอชคิว[35] และวางจำหน่ายโดยนินเทนโด[36] สตาร์คราฟต์ 64 ออกในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรปในวันที่ 13 มิถุนายน 2543[3] และยังออกในประเทศออสเตรเลียเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2544
เสียง
[แก้]โน้ตดนตรีในสตาร์คราฟต์ประพันธ์โดยคีตกวีในองค์กรของบลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ดีเรก ดุ๊ก และเกล็นน์ สตัฟฟอร์ดประพันธ์เพลงในรายการเลือกและเพลงในเกม ขณะที่เจสัน เฮยส์ประพันธ์เพลงที่ใช้ในคัตซีนฉาก เทรซี ดับเบิลยู. บุช ให้การสนับสนุนการประพันธ์เพลงเพิ่มเติม[37] เพลงของเกมได้รับเสียงตอบรับดีจากนักวิจารณ์ ผู้อธิบายว่า "ไพเราะกับมืดมนอย่างเหมาะสม"[9] และ "น่าประทับใจ"[38] โดยมีนักวิจารณ์คนหนึ่งชี้ว่า บางเพลงได้รับแรงบันดาลใจมาจากเพลงภาพยนตร์เอเลียนของเจอร์รี โกลด์สมิธ[39] ซาวแทร็กแรกของเกมอย่างเป็นทางการ สตาร์คราฟต์: เกมมิวสิก วอลุม 1 ซึ่งออกในปี 2543 ซึ่งประกอบด้วยเพลงจากทั้งสตาร์คราฟต์และบรูดวอร์ เช่นเดียวกับเพลงรีมิกซ์และดนตรีที่ได้แรงบันดาลใจจากสตาร์คราฟต์ สร้างสรรค์โดยดีเจชาวเกาหลีใต้หลายคน เน็ตวิชชันเอ็นเตอร์เทนเมนต์เป็นผู้แจกจ่ายซาวแทร็ก[40] ในเดือนกันยายน 2551 บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ประกาศว่า ซาวแทร็กที่สอง สตาร์คราฟต์ออริจินัลซาวแทร็ก ออกทางไอทูนส์แล้ว ซาวแทร็กนี้ประกอบด้วยเพลงจากสตาร์ฟคราต์และบรูดวอร์ทั้งหมด ทั้งจากธีมในเกมจนถึงเพลงที่ใช้ในคัตซีนฉาก[41]
ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
1. | "Prologue: Requiem" (composed by Blizzard Entertainment) | 2:13 |
2. | "Rescue The Marines (Remix)" (composed by "Honey Family") | 3:47 |
3. | "Nuclear Attack" (composed by Jung Dana) | 4:11 |
4. | "12th Area (Terran Theme)" (composed by "Jijix") | 4:29 |
5. | "Zerg Are Coming (Zerg Theme)" (composed by Shin Hae Chul) | 4:37 |
6. | "Kerrigan" (composed by Blizzard Entertainment) | 4:14 |
7. | "I Felt It Was You" (composed by "Mina") | 3:39 |
8. | "John's Prediction" (composed by "MC Sniper") | 5:08 |
9. | "Overmind Theme" (composed by Nam Koong Yun) | 3:55 |
10. | "For Adun (Protoss Theme)" (composed by "Novasonic") | 2:46 |
11. | "Rescue The Marines (Radio Version)" (composed by "Honey Family") | 3:32 |
12. | "Epilogue" (composed by Blizzard Entertainment) | 5:04 |
13. | "Nonstop Remix" (composed by Blizzard Entertainment) | 6:53 |
ความยาวทั้งหมด: | 56:49 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
1. | "StarCraft Main Title" | 2:26 |
2. | "First Contact" | 1:56 |
3. | "Terran One" | 4:56 |
4. | "Terran Ready Room" | 0:45 |
5. | "Terran Two" | 3:56 |
6. | "Terran Defeat" | 0:50 |
7. | "Terran Three" | 4:24 |
8. | "The Death of the Overmind" | 1:49 |
9. | "Protoss One" | 4:44 |
10. | "Protoss Ready Room" | 1:26 |
11. | "Protoss Two" | 4:51 |
12. | "Protoss Defeat" | 1:00 |
13. | "Protoss Three" | 5:03 |
14. | "Zerg Ready Room" | 0:31 |
15. | "Zerg One" | 4:40 |
16. | "Zerg Defeat" | 0:24 |
17. | "Zerg Two" | 5:07 |
18. | "Zerg Victory" | 0:34 |
19. | "Zerg Three" | 5:06 |
20. | "Brood War: Aria" | 2:06 |
21. | "Funeral for a Hero" | 0:32 |
22. | "Terran Victory" | 0:52 |
23. | "Dearest Helena" | 0:54 |
24. | "The Ascension" | 0:52 |
25. | "Char Falls Under Directorate Control" | 0:43 |
26. | "Fury of the Xel'Naga" | 3:07 |
ความยาวทั้งหมด: | 63:34 |
ภาคเสริมและรุ่น
[แก้]ภาคเสริมคอมพิวเตอร์
[แก้]ไม่นานก่อนสตาร์คราฟต์ออกวางจำหน่าย บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนนต์พัฒนาการทัพเกมเดโมแชร์แวร์ออกมาตัวหนึ่ง ชื่อว่า ลูมิงส์ (Loomings) ซึ่งประกอบด้วยสามภารกิจและสอนเล่น (tutorial) เนื้อเรื่องเป็นเรื่องก่อนหน้าเกตุการณ์ในสตาร์คราฟต์ โดยเกิดขึ้นในอาณานิคมของสมาพันธ์แห่งหนึ่งระหว่างที่ถูกเซิร์กบุก[42][43] ในเดือนตุลาคม 2542 บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ได้สร้างเป็นการทัพแผนที่ตามสั่ง (custom map) ในเกมตัวเต็ม โดยเพิ่มอีกสองภารกิจและตั้งไว้บนแบตเทิล.เน็ต[44] นอกเหนือจากนี้ การวางจำหน่ายสตาร์คราฟต์ตัวเต็มยังรวมการทัพอันดับรอง ชื่อ เอ็นสเลฟเวอร์ส (Enslavers) ประกอบด้วยห้าภารกิจที่เล่นเป็นทั้งเทอร์แรนและโปรทอส เอ็นสเลฟเวอร์สมีฉากท้องเรื่องในการทัพที่สองในสตาร์คราฟต์ และติดตามเรื่องของผู้ลักลอบเทอร์แรนที่สามารถควบคุมเซเรเบรทของเซิร์กได้ และถูกตามล่าจากทั้งโปรตอสและเทอร์แรนโดมินเนียน เอ็นสเลฟเวอร์สใช้เป็นการทัพผู้เล่นคนเดียวตวอย่างสำหรับตัวออกแบบด่านของเกม โดยเน้นวิธีใช้คุณลักษณะของโปรแกรม[45]
ภาคเสริมแรกของสตาร์คราฟต์ อินเซอร์เร็กชัน (Insurrection) ออกบนวินโดวส์เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2541[46] แอซเท็กนิวมีเดียพัฒนาภาคเสริมดังกล่าว และบลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์อนุญาต[47] เรื่องมุ่งไปยังอาณานิคมสมาพันธ์แยกแห่งหนึ่งซึ่งมีพาดพิงในคู่มือสตาร์คราฟต์ ติดตามกลุ่มผู้อยู่ในนิคมเทอร์แรนหนึ่งและกองยานโปรตอสในการต่อสู้กับเซิร์กและการก่อการกำเริบท้องถิ่นที่กำลังมีขึ้น กระแสตอบรับของอินเซอร์เร็กชันไม่ค่อยดี โดยผู้ทบทวนวิจารณ์ว่าขาดคุณภาพของเกมต้นฉบับ[48] อีกหลายเดือนให้หลังมีภาคเสริมที่สองตามมา คือ เรทริบิวชัน (Retribution) พัฒนาโดย สตาร์ด็อค จัดจำหน่ายโดย วิซาร์ดเวิคส์ซอฟต์แวร์ และบลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์อนุญาต[47] เรทริบิวชันติดตามทั้งสามเผ่าพันธุ์ซึ่งพยายามควบคุมคริสตัลทรงพลังหนึ่งในอาณานิคมอาณาจักรเทอร์แรน ภาคเสริมนี้ไม่ได้รับการต้อนรับด้วยการสนับสนุนสำคัญ แต่ถูกมองว่าปานกลางแต่อย่างน้อยยังน่าท้าทายอยู่[49] หลังการออกเรทริบิวชัน บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ออกชุดภาคเสริมอย่างเป็นทางการใหม่ซึ่งจะต่อเรื่องของสตาร์คราฟต์ จึงมีการสร้างสตาร์คราฟต์: บรูดวอร์ พัฒนาร่วมกันโดยบลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์และซาฟไฟร์ บรูดวอร์ต่อเรื่องสตาร์คราฟต์ตั้งแต่หลายวันหลังบทสรุป และออกสำหรับทั้งวินโดวส์และแม็กโอเอสและได้คำสรรเสริญอย่างสำคัญ[50][51]เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2541 ในสหรัฐอเมริกา และในเดือนมีนาคม 2542 ในทวีปยุโรป[52]
ก่อนอินเซอร์เร็กชัน มีการจัดจำหน่ายชุดภาคเสริมไม่ได้รับอนุญาต เรียก สเตลลาร์ฟอร์ซิส โดยไมโครสตาร์ แต่ถูกเรียกคืนหลายสัปดาห์ให้หลังเมื่อบลิซซาร์ดชนะคดีในศาลต่อไมโครสตาร์ ชุดดังกล่าวประกอบด้วยแผนที่ผู้เล่นคนเดียว 22 แผนที่ และแผนที่หลายผู้เล่น 32 แผนที่ ซึ่งถูกมองว่าค่อนข้างเรียบ ๆ[53][54]
รุ่นนินเทนโด 64
[แก้]ในปี 2543 สตาร์คราฟต์ 64 ออกสำหรับนินเทนโด 64 ซึ่งพัฒนาโดยบลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์และบริษัทแมสมีเดียร่วมกัน และจัดจำหน่ายโดยนินเทนโด เกมมีทุกภารกิจจากทั้งสตาร์คราฟต์ และภาคเสริม บรูดวอร์ เช่นเดียวกับภารกิจเฉพาะที่เพิ่มมาบ้าง เช่น แผนที่สอนเล่น (tutorial) สองแผนที่และภารกิจลับใหม่ เรซะเร็กชัน 4 (Resurrection IV)[55] เรซะเร็กชัน 4 มีฉากท้องเรื่องหลังบทสรุปของบรูดวอร์ และติตดามจิม เรย์เนอร์กำลังมุ่งหน้าไปภารกิจกู้ตัวละครบรูดวอร์ อะเล็กเซย์ ซตูคอฟ (Alexei Stukov) พลเรือจัตวาจากโลกที่ถูกเซิร์กจับไป ภารกิจบรูดวอร์ต้องใช้เอกซ์แพนชันแพก (Expansion Pak) นินเทนโด 64 ในการเล่น[56] นอกจากนี้ สตาร์คราฟต์ 64 ยังมีภาวะร่วมมือแบ่งจอภาพ ทำให้ผู้เล่นสองคนควบคุมกำลังหนึ่งในเกมได้[57] ซึ่งต้องการเอกซ์แพนชันแพกเช่นกัน สตาร์คราฟต์ 64 ไม่เป็นที่นิยมเท่ารุ่นพีซี และขาดสมรรถภาพออนไลน์และคำพูดในคำสั่งละเอียดภารกิจ ยิ่งไปกว่านั้น ยังย่นคัตซีนด้วย[55] บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์เคยพิจารณาพอร์ตเพลย์สเตชันของเกม แต่ตัดสินใจว่าเกมควรออกบนนินเทนโด 64 แทน[58]
สตาร์คราฟต์ 64 มีแผนออกในทวีปยุโรปในฤดูใบไม้ร่วงปี 2543 แต่สุดท้ายถูกยกเลิก รุ่น PAL ออกเฉพาะในประเทศออสเตรเลีย
ผลกระทบทางวัฒนธรรม
[แก้]การตอบรับ
[แก้]การตอบรับ | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| ||||||||||||||||||||||||||||
|
สตาร์คราฟต์ ออกทั่วโลกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2541 และเป็นเกมพีซีขายดีที่สุดในปีนั้น ขายได้กว่า 1.5 ล้านชุดทั่วโลก[70] ในทศวรรษถัดมา สตาร์คราฟต์ ขายได้กว่า 9.5 ล้านชุดทั่วโลก ในจำนวนนี้ 4.5 ล้านชุดขายได้ในประเทศเกาหลีใต้[71] ตั้งแต่ออกสตาร์คราฟต์ ทีแรก บลิซซาร์ดเอนเตอร์เทนเมนต์รายงานว่า บริการหลายผู้เล่นออนไลน์ แบตเทิลดอตเน็ต ของบริษัทฯ เติบโตกว่าร้อยละ 800[72] สตาร์คราฟต์ ยังเป็นเกมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของโลกเกมหนึ่ง[73][74]
โดยทั่วไป นักวิจารณ์ตอบรับสตาร์คราฟต์อย่างดี โดยนักวิจารณ์ร่วมสมัยจำนวนมากสังเกตว่า แม้เกมอาจมิได้เบี่ยงบนจากสถานะเดิมของเกมวางแผนเรียลไทม์ส่วนใหญ่อย่างสำคัญ แต่เป็นเกมที่ดีที่สุดเกมหนึ่งที่ประยุกต์สูตรนั้น[9][39] นอกจากนี้ นักวิจารณ์ยกย่องการบุกเบิกการใช้สามเผ่าพันธุ์ที่แตกต่าง มีเอกลักษณ์และสมดุลแทนสองฝ่ายเท่ากันของสตาร์คราฟต์[8] โดยเกมสปอตออกความเห็นว่า อย่างนี้ช่วยให้เกม "เลี่ยงปัญหาที่ระบาดเกมอื่น ๆ ในประเภทนี้"[9] นักวิจารณ์จำนวนมากยังยกย่องความเข้มแข็งของเรื่องประกอบเกม โดยนักวิจารณ์บางคนประทับใจวิธีที่เรื่องเปิดเผยออกมาเป็นเกมการเล่นอย่างดี[8] โดยเฉพาะการให้เสียงของเกมได้รับการสรรเสริญ ต่อมา เกมสปอตเชิดชูว่างานเสียงในเกมว่ายอดเยี่ยมหนึ่งในสิบในอุตสาหกรรมเกมขณะนั้น[75] ส่วนหลายผู้เล่นของเกมได้รับการตอบรับทางบวกพอ ๆ กัน สตาร์คราฟต์ ได้หลายรางวัล รวมถึงได้รับการเสนอชื่อเป็นหนึ่งในเกมยอดเยี่ยมตลอดกาลโดยเกมสปอต ไอจีเอ็นและเกมอินฟอร์เมอร์[6][76][77][78] ตามข้อมูลของบลิซซาร์ด เอนเตอร์เทนเมนต์ สตาร์คราฟต์ คว้า 37 รางวัล และได้รับดาวบนพื้นของเมทรีออน (Metreon) เป็นส่วนหนึ่งของวอล์กออฟเกมในซานฟรานซิสโกเมื่อต้นปี 2549[69]
แม้นักวิจารณ์ยกย่องกราฟิกส์และเสียงของสตาร์คราฟต์ ในเวลานั้น[59] แต่บทปฏิทัศน์ภายหลังสังเกตว่า กราฟิกส์ไม่เทียบกับเกมทันสมัยกว่า[8] สมรรถภาพของปัญญาประดิษฐ์ของเกมในการนำยูนิตไปจุดระหว่างทางยังเผชิญการวิจารณ์อย่างหนักบ้าง โดยพีซีโซนแถลงว่า ความไร้สามารถของผู้พัฒนาในการสร้างระบบหาเส้นทางทรงประสิทธิภาพเป็น "ส่วนน่าโมโหที่สุดหนึ่งของประเภทวางแผนเรียลไทม์"[63] นอกจากนี้ นักวิจารณ์หลายคนยังแสดงความกังวลต่อความคล้ายกันบ้างระหว่างโครงสร้างยูนิตของแต่ละเผ่าพันธุ์ ตลอดจนความไม่สมดุลที่อาจเกิดขึ้นของผู้เล่นที่ใช้ยุทธวิธีรุดเช้าในเกมหลายผู้เล่น[60] บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์บากบั่นดุลยุทธวิธีรุดในอัปเดตหลัง ๆ นักทบทวนตอบรับรุ่นนินเทนโด 64 ของเกมไม่ในทางบวก และวิจารณ์ว่า มีกราฟิกส์เลวเมื่อเทียบกับรุ่นพีซี ทว่า นักวิจารณ์ยกย่องเกมและแมสมีเดียสำหรับการใช้การควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพบนเกมแพด (gamepad) และคงเสียงคุณภาพสูง[38][55][61]
มรดก
[แก้]เกมสปอตอธิบายสตาร์คราฟต์ว่า "เกมนิยามของประเภทมัน มันเป็นมาตรฐานซึ่งตัดสินเกมวางแผนเรียลไทม์ทุกเกม"[6] ไอจีเอ็นแถลงว่า สตาร์คราฟต์ "มอบเกมวางแผนเรียลไทม์ดีที่สุดหรือหนึ่งในที่ดีที่สุดที่เคยสร้าง"[76] สตาร์คราฟต์ รวมอยู่ในการจัดอันดับเกมยอดเยี่ยมของอุตสาหกรรมเกมบ่อยครั้ง ตัวอย่างเช่น เกมอยู่ในอันดับที่ 37 ของสุดยอด 100 เกมตลอดกาลของเอดจ์[4] สตาร์คราฟต์ ยังถูกนำขึ้นอวกาศ เมื่อแดเนียล บาร์รีนำเกมก๊อปปีหนึ่งไปกับเขาบนภารกิจกระสวยอวกาศ STS-96 ในปี 2542[79] ความนิยมของสตาร์คราฟต์ ส่งผลให้บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ให้เกมได้สถิติโลกสี่อย่าง รวมถึง "เกมวางแผนพีซีขายดีที่สุด" "รายได้สูงสุดในเกมอาชีพ" และ "ผู้ชมมากสุดสำหรับการแข่งขันเกม" เมื่อแฟน 120,000 คนเข้าชมรอบชิงชนะเลิศสกายโปรลีกฤดูกาล 2548 ในปูซาน ประเทศเกาหลีใต้[80] นักวิจัยได้แสดงว่าผู้ชมเกมสตาร์คราฟต์ มีหลากหลายและสตาร์คราฟต์ ใช้กรณีตัวอย่างอสมมาตรสารสนเทศเพื่อสร้างเกมให้บันเทิงสำหรับผู้ชมยิ่งขึ้น[81] ยิ่งไปกว่านั้น สตาร์คราฟต์ ยังเป็นหัวข้อคอร์สวิชาการ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์เปิดคอร์สบทนำที่นักเรียนจัดการในเรื่องทฤษฎีและยุทธศาสตร์ในฤดูใบไม้ผลิปี 2552[82][83] กริยา "to zerg" มาพบใช้ทั่วไปเป็นศัพท์เกม หมายถึง ยุทธวิธีเซิร์ก คือ รุดคู่แข่งด้วยกองทัพยูนิตอ่อนแอขนาดใหญ่มาก
หลังออก สตาร์คราฟต์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศเกาหลีใต้ จนได้เป็นอีสปอร์ตแห่งชาติของประเทศหลังสถาปนาซีนเกมอาชีพสำเร็จ[84] เกมเมอร์อาชีพในประเทศเกาหลีใต้เป็นผู้มีชื่อเสียงในสื่อ และมีการถ่ายทอดเกมสตาร์คราฟต์ ทางสามช่องโทรทัศน์ซึ่งอุทิศให้ซีนเกมอาชีพ[85] เกมเมอร์อาชีพในประเทศเกาหลีใต้ได้สัญญาโทรทัศน์ ผู้สนับสนุนและรางวัลทัวร์นาเมนต์ จนทำให้ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่ง ลิม โย-ฮวัน[86] ได้แฟนคลับกว่าครึ่งล้านคน[10] ลี ยุน-ยอล ผู้เล่นคนหนึ่ง มีรายงานรายได้ 200,000 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 (241,506 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2558)[73]
ในปี 2557 มีรุ่นอย่างไม่เป็นทางการสำหรับแพนโดรามือถือและสถาปัตยกรรม ARM โดยการแปลโปรแกรมใหม่สภิตและวิศวกรรมกลับของรุ่นเอกซ์86 ดั้งเดิม[87][88]
สินค้า
[แก้]โครงเรื่องสตาร์คราฟต์ถูกดัดแปลงเป็นนวนิยายหลายเล่ม นวนิยายเล่มแรก อัปไรซิง (Uprising) เขียนโดย มิกกี นีลสัน ลูกจ้างบลิซซาร์ด และจัดพิมพ์ในเดือนธันวาคม 2543 ซึ่งเป็นเสมือนงานก่อนเหตุการณ์ในสตาร์คราฟต์[89] นวนิยายอื่น ได้แก่ ลิเบอร์ตีส์ครูเสด (Liberty's Crusade) โดย เจฟฟ์ กรับบ์ (Jeff Grubb)[90] และควีนออฟเบลดส์ (Queen of Blades) ของอารอน โรเซนเบิร์ก (Aaron Rosenberg)[91] เล่านิยายเกมจากทัศนมิติต่าง ๆ ในบลิซซ์คอน 2007 ผู้สร้างสตาร์คราฟต์ คริส เมตเซน แถลงว่า เขาหวังจะดัดแปลงสตาร์คราฟต์และภาคเสริม บรูดวอร์ ทั้งหมดเป็นนิยายลายลักษณ์แน่นอน นวนิยายต่อมา เช่น ชาโดว์ออฟเดอะเซลนากา (Shadow of the Xel'Naga)[92] และเดอะดาร์กเทมพลาร์ซากาของคริสตี โกลเดน[93] ขยายโครงเรื่องไปอีก สร้างฉากท้องเรื่องแก่สตาร์คราฟต์ 2
ทอยคอมผลิตหุ่นแอ็กชัน (action figure) และรูปปั้นสะสมจำนวนหนึ่งซึ่งยึดตัวละครและยูนิตในสตาร์คราฟต์[94] นอกจากนี้ อะคาเดมีฮ็อบบีโมเดลคิตส์ยังผลิตชุดแบบจำลอง (model kit) ซึ่งแสดงรุ่นสัดส่วน 1/30 ของนาวิกโยธิน (marine)[95] และไฮดราลิสก์ (hydralisk)[96] นอกจากนี้ บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ยังร่วมมือกับแฟนตาซีไฟลต์เกมส์สร้างเกมกระดานซึ่งมีประติมากรรมละเอียดของตัวละครเกม[97] บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ยังอนุญาตให้วิซาดส์ออฟเดอะโคสต์ผลิตเกมยึดแอลเทอร์นิตี ชื่อ สตาร์คราฟต์แอดเวนเจอส์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "StarCraft's 10-Year Anniversary: A Retrospective". Blizzard Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-02. สืบค้นเมื่อ 2008-03-31.
- ↑ "Blizzard Entertainment News Archives - March 1999". บลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 13, 1999. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 6, 2018.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "StarCraft 64". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-11. สืบค้นเมื่อ 2008-04-19.
- ↑ 4.0 4.1 "Top 100 Games". Edge. 2007-07-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-02. สืบค้นเมื่อ 2008-05-21.
- ↑ "The 52 Most Important Video Games". GamePro. สืบค้นเมื่อ 2008-05-21.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 "The Greatest Games of All Time". GameSpot. 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-05. สืบค้นเมื่อ 2008-09-01. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "GspotAward" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ Kris Graft (2009-02-11). "Blizzard Confirms One "Frontline Release" for '09". Edge. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-10. สืบค้นเมื่อ 2009-05-12.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Chick, Tom (2000-06-02). "StarCraft". IGN. สืบค้นเมื่อ 2006-08-19.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 Dulin, Ron (April 15, 1998). "StarCraft for PC Review". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-03. สืบค้นเมื่อ 2008-01-09.
- ↑ 10.0 10.1 Cho, Kevin (2006-01-15). "Samsung, SK Telecom, Shinhan Sponsor South Korean Alien Killers". Bloomberg.com. สืบค้นเมื่อ 2006-08-18.
- ↑ Kasavin, Greg. "StarCraft Strategy Guide: The Protoss Conclave - Units and Structures". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
- ↑ Kasavin, Greg. "StarCraft Strategy Guide: The Zerg Swarm - Units and Structures". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
- ↑ Kasavin, Greg. "StarCraft Strategy Guide: The Terran Dominion - Units and Structures". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
- ↑ "Blizzard Support: StarCraft". Blizzard Entertainment. 2008-01-16. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
- ↑ 15.0 15.1 "StarCraft - StarEdit Tutorial". CreepColony.com. 2007-06-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-07-07. สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
- ↑ "General Strategy: Resources". Battle.net. Blizzard Entertainment. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-30. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
- ↑ "Terran Basics". Battle.net. Blizzard Entertainment. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
- ↑ "Protoss Basics". Battle.net. Blizzard Entertainment. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-24. สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
- ↑ "Zerg Basics". Battle.net. Blizzard Entertainment. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
- ↑ Underwood, Peter (1999). "Multiplayer Games: Spawned Games". StarCraft (manual). Blizzard Entertainment. p. 11.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ "Spawn Version FAQ". Blizzard Entertainment. 2012-08-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-11.
- ↑ Underwood, Peter (1998). "Terran: History". StarCraft (manual). Blizzard Entertainment. pp. 26–28.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Underwood, Peter (1998). "Terran: History". StarCraft (manual). Blizzard Entertainment. pp. 30–33.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ "The Story So Far: Part 1: StarCraft". Blizzard Entertainment. 2007-11-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-23. สืบค้นเมื่อ 2007-11-22.
- ↑ Bailey, Kat. "Why We Play: StarCraft". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-30. สืบค้นเมื่อ December 21, 2011.
- ↑ "The Evolution of StarCraft". sclegacy.com. September 28, 2007. Archived from the original on October 17, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-17. สืบค้นเมื่อ 2013-04-20.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Keighley, Geoff. "Eye Of The Storm: Behind Closed Doors At Blizzard". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-29. สืบค้นเมื่อ 2006-08-19.
- ↑ Dulin, Ron (1996-05-01). "StarCraft Preview". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-30. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
- ↑ "Bob: StarCraft!". 10th Anniversary Celebration. Blizzard Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-02-10. สืบค้นเมื่อ 2008-01-08.
- ↑ Giovetti, Al (1997-01-01). "Interview with Bill Roper". The Computer Show.com. สืบค้นเมื่อ 2006-08-19.
- ↑ "The Official CWAL FAQ". Operation CWAL. 2004-02-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-19. สืบค้นเมื่อ 2006-08-21.
- ↑ Kasavin, Greg. "StarCraft Strategy Guide: Cheat Codes - The Spoils of War". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-08. สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
- ↑ Underwood, Peter (1998). "Credits". StarCraft (manual). Blizzard Entertainment. p. 95.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ "StarCraft for MAC". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-05. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
- ↑ "Mass Media Interactive Entertainment official company site". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-14. สืบค้นเมื่อ 2008-04-19.
- ↑ "StarCraft 64 Preview". GameSpot. 1999-06-16. สืบค้นเมื่อ 2008-04-19.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "StarCraft". Soundtrack Collector. สืบค้นเมื่อ 2008-04-22.
- ↑ 38.0 38.1 38.2 "Review: StarCraft for N64". GamePro. November 24, 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-03. สืบค้นเมื่อ 2008-01-10.
- ↑ 39.0 39.1 39.2 Olafson, Peter (November 24, 2000). "Review: StarCraft for PC". GamePro. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-21. สืบค้นเมื่อ 2008-01-09.
- ↑ "StarCraft: Game Music Vol. 1". Game OST. สืบค้นเมื่อ 2008-04-22.
- ↑ "Blizzard Entertainment Soundtracks Now On iTunes". Blizzard Entertainment. 2008-09-04. สืบค้นเมื่อ 2008-09-30.
- ↑ "StarCraft - PC Demo". Blizzard Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-02. สืบค้นเมื่อ 2010-05-05.
- ↑ "StarCraft - Mac Demo". Blizzard Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-02. สืบค้นเมื่อ 2010-05-05.
- ↑ "Map Archives: Precursor Campaign". Battle.net. Blizzard Entertainment. 1999-10-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2008-04-19.
- ↑ Underwood, Peter; Roper, Bill; Metzen, Chris; Vaughn, Jeffrey (1998). "The Campaign Editor". StarCraft (manual). Blizzard Entertainment. p. 24.
- ↑ "Insurrection: Campaigns for StarCraft for PC". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-30. สืบค้นเมื่อ 2007-11-29.
- ↑ 47.0 47.1 "Official StarCraft FAQ at Battle.net". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-13. สืบค้นเมื่อ 2007-07-19.
- ↑ Kasavin, Greg (August 26, 1998). "Insurrection: Campaigns for StarCraft for PC review". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-30. สืบค้นเมื่อ 2007-11-29.
- ↑ "PC Game Reviews: StarCraft: Retribution". GameGenie. สืบค้นเมื่อ 2007-11-29.
- ↑ Chen, Jeffrey (June 7, 2002). "StarCraft: Brood War review". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-06. สืบค้นเมื่อ 2007-11-04.
- ↑ Saggeran, Vik (December 23, 1998). "StarCraft: Brood War for PC review". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-07. สืบค้นเมื่อ 2007-11-04.
- ↑ "StarCraft: Brood War for MAC". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-30. สืบค้นเมื่อ 2007-11-29.
- ↑ "Blizzard Wins in Starcraft Case - PC News at IGN". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-27. สืบค้นเมื่อ 2015-02-28.
- ↑ Stellar Forces for Windows (1998) - MobyGames
- ↑ 55.0 55.1 55.2 55.3 Fielder, Joe (June 12, 2000). "StarCraft 64 for Nintendo 64 Review". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-30. สืบค้นเมื่อ 2008-01-10.
- ↑ "StarCraft Needs Some Expansion". IGN. 1999-11-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 2006-08-19.
- ↑ "StarCraft 64 Preview". IGN. 2000-06-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-02. สืบค้นเมื่อ 2008-10-06.
- ↑ "StarCraft on PlayStation?". IGN. 1998-04-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-15. สืบค้นเมื่อ 2006-08-19.
- ↑ 59.0 59.1 House, Michael L. "StarCraft: Review". Allgame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-13. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
- ↑ 60.0 60.1 "StarCraft Review". Game Revolution. April 1998. สืบค้นเมื่อ 2008-01-09.
- ↑ 61.0 61.1 Boulding, Aaron (June 9, 2000). "StarCraft 64 Review". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2008-01-10.
- ↑ 62.0 62.1 "StarCraft: PC 1998 Reviews". MetaCritic. สืบค้นเมื่อ 2008-01-09.
- ↑ 63.0 63.1 "StarCraft review". PC Zone. August 13, 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-28. สืบค้นเมื่อ 2008-01-09.
- ↑ "StarCraft N64 2000 Reviews". MetaCritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-31. สืบค้นเมื่อ 2008-01-10.
- ↑ "StarCraft Reviews". Game Rankings. สืบค้นเมื่อ 2008-01-09.
- ↑ "StarCraft 64 Reviews". Game Rankings. สืบค้นเมื่อ 2008-01-12.
- ↑ "StarCraft for Windows". MobyGames. สืบค้นเมื่อ 2008-01-09.
- ↑ "StarCraft for Nintendo 64". MobyGames. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-17. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
- ↑ 69.0 69.1 69.2 69.3 69.4 69.5 "Developer Awards". Blizzard Entertainment. 2006-01-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-14. สืบค้นเมื่อ 2006-08-19.
- ↑ "StarCraft Named #1 Seller in 1998". IGN. 1999-01-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-04. สืบค้นเมื่อ 2006-08-19.
- ↑ Olsen, Kelly (2007-05-21). "South Korean gamers get a sneak peek at 'StarCraft II'". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2008-01-09.
- ↑ "Blizzard's Battle.net Remains Largest Online Game Service in the World; Battle.net Dominates Online Gaming Industry With 2.1 Million Active Users; Korea Becomes World's No. 1 Market". Business Wire. 1999-02-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-29. สืบค้นเมื่อ 2008-07-20.
- ↑ 73.0 73.1 Rossignol, Jim (2005-04-01). "Sex, Fame and PC Baangs: How the Orient plays host to PC gaming's strangest culture". PC Gamer UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-07. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
- ↑ Schiesel, Seth (2007-05-21). "To the Glee of South Korean Fans, a Game's Sequel Is Announced". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-01-09.
- ↑ Cheung, James. "The Best Voice Acting in Games: StarCraft". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-08. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
- ↑ 76.0 76.1 "IGN's Top 100 Games". IGN. 2005-01-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-17. สืบค้นเมื่อ 2006-08-18.
- ↑ "IGN's Top 100 Games". IGN. 2003-01-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-09. สืบค้นเมื่อ 2006-08-18.
- ↑ "Game Informer's Top 100 Games Of All Time (Circa Issue 100)". Game Informer. 2009-11-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-11. สืบค้นเมื่อ 2013-11-24.
- ↑ "StarCraft in Space". Blizzard Entertainment. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-13. สืบค้นเมื่อ 2008-04-23.
- ↑ Guinness World Records Gamer's Edition. Hit Entertainment. 2008. ISBN 978-1-904994-20-6.
- ↑ "Starcraft from the Stands: Understanding the Game Spectator" (PDF). ACM CHI. สืบค้นเมื่อ 2011-01-30.
- ↑ Cavalli, Earnest (2009-01-29). "U.C. Berkeley Now Offers StarCraft Class". Wired News. สืบค้นเมื่อ 2009-03-25.
- ↑ Crecente, Brian (2009-01-28). "Competitive StarCraft Gets UC Berkeley Class". Kotaku. สืบค้นเมื่อ 2009-03-25.
- ↑ Ki-tae, Kim (2005-03-20). "Will StarCraft Survive Next 10 Years?". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2007-04-26.
- ↑ Evers, Marco (2006-02-06). "The boys with the flying fingers: South Korea Turns PC Gaming into a Spectator Sport". Der Spiegel. สืบค้นเมื่อ 2006-08-19.
- ↑ Totilo, Stephen (2006-06-21). "Playa Rater: The 10 Most Influential Video Gamers of All Time". MTVNews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-05. สืบค้นเมื่อ 2006-08-31.
- ↑ Steinlechner, Peter (2014-03-10). "Starcraft für ARM-Handheld kompiliert" (ภาษาเยอรมัน). golem.de. สืบค้นเมื่อ 2014-03-25.
- ↑ notaz (2014-03-04). "StarCraft". openpandora.org. สืบค้นเมื่อ 2014-03-26.
- ↑ "StarCraft: Uprising (eBook)". Simon & Schuster. สืบค้นเมื่อ 2007-12-02.
- ↑ "StarCraft: Liberty's Crusade (Mass Market Paperback)". Simon & Schuster. สืบค้นเมื่อ 2007-12-02.
- ↑ "StarCraft: Queen of Blades (Mass Market Paperback)". Simon & Schuster. สืบค้นเมื่อ 2007-12-02.
- ↑ "StarCraft: Shadow of the Xel'Naga (Mass Market Paperback)". Simon & Schuster. สืบค้นเมื่อ 2007-12-02.
- ↑ "StarCraft: The Dark Templar Saga trilogy interview with Christie Golden". Blizzplanet. 2 April 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-17. สืบค้นเมื่อ 2007-12-02.
- ↑ "Blizzard tackles toys". IGN. September 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-03. สืบค้นเมื่อ 2007-07-08.
- ↑ "1/30 scale Terran marine model by Academy". Hobby Outlet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-13. สืบค้นเมื่อ 2007-07-08.
- ↑ "1/30 scale Zerg hydralisk model by Academy". Hobby Outlet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-21. สืบค้นเมื่อ 2007-07-08.
- ↑ Wilson, Kevin (2006-06-13). "Playtest in Minneapolis at the Source on 6/16/06". Boardgame Geek. สืบค้นเมื่อ 2006-08-19.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]