สงครามอยุธยา–ล้านนา (พ.ศ. 1984–2017)
สงครามอยุธยา–ล้านนา | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
แผนที่อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยาประมาณ พ.ศ. 1950 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
อาณาจักรอยุธยา[1] | อาณาจักรล้านนา[1][2] | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระอินทราชา †[3] |
พระเจ้าติโลกราช หมื่นโลกนคร หมื่นหาญนคร[3][2] |
สงครามอยุธยา–ล้านนา (ศึกสองมหาราช)เป็นความขัดแย้งชายแดนที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1984 ถึง พ.ศ. 2017 โดยเริ่มขึ้นเมื่อเมืองในอาณาจักรล้านนาเข้าสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 1985 และยังคงมีความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งอาณาจักรอยุธยา และรัชสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา เป็นระยะมาจนถึงปี พ.ศ. 2017 อาณาจักรล้านนาได้รับดินแดนบางส่วนกลับคืนมา แต่ภายในอาณาจักรอ่อนแอลงด้วยการแย่งชิงอำนาจภายใน และความสูญเสียที่เกิดขึ้นระหว่างความขัดแย้ง โดยในปัจจุบัน อาณาจักรอยุธยาอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทย ในขณะที่อาณาจักรล้านนาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย
เหตุการณ์
[แก้]หลังจากท้าวซ้อยถูกสังหารโดยหมื่นโลกนคร เจ้าเมืองเทิงได้แต่งหนังสือถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ถือสวามิภักดิ์เพื่อให้ทรงกระทำสงครามกับอาณาจักรล้านนา พระองค์จึงเห็นควรเป็นโอกาสในการตีเมืองเชียงใหม่ ในขณะเดียวกัน การแปรพักตร์ของเจ้าเมืองเทิงทราบถึงพระเจ้าติโลกราชจึงถูกประหารชีวิต ถึงกระนั้น กองทัพอยุธยาเคลื่อนทัพมาทางตอนใต้ของเมืองเชียงใหม่[4]
พระเจ้าติโลกราชทรงแต่งตั้งหมื่นโลกนครเป็นแม่ทัพและมอบหมายให้ยั้งทัพกองทัพอยุธยาขณะกำลังเคลื่อนพล กองทัพล้านนาตั้งทัพตรงข้ามกับค่ายทัพอยุธยา และส่งนายทหารล้านนาแทรกซึมเป็นตะพุ่น[ก]เพื่อจารกรรมกองทัพอยุธยา ถึงกระนั้น นายทหารล้านนาได้เริ่มปฏิบัติการณ์ตัดปลอกช้าง และฟันหางช้าง ทำให้เกิดความวุ่นวายภายในค่ายทัพ แล้วจึงส่งกำลังทหารบุกทลายค่ายทัพอยุธยาจนแตกพ่าย ในระหว่างนั้นพระเจ้าติโลกราชจึงให้ยึดเมืองแพร่และเมืองน่าน หลังจากการเริ่มใช้ปืนใหญ่ กองทัพอยุธยาได้เริ่มโจมตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1985 ซึ่งล้มเหลว และได้เริ่มอีกครั้งในปี พ.ศ. 1994[3]
ในปี พ.ศ. 1991 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา พระองค์บริหารการทหารที่ก้าวหน้าอย่างมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5] ในปี พ.ศ. 1994 พญาสองแควแปรพักตร์จากอยุธยา เข้าร่วมกับล้านนา ความขัดแย้งระหว่างอยุธยาและล้านนาปะทุครั้งที่สอง กองทัพล้านนาโดยหมื่นหาญนครยึดเมืองเชลียง[3] สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขณะทรงผนวช ได้ส่งภิกษุสมณทูตทูลขอเมืองเชลียงคืนแต่ไม่สำเร็จ กองทัพอยุธยาจึงเคลื่อนทัพ ในปี พ.ศ. 1995 กองทัพอยุธยายึดเมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จ แต่ถูกขับไล่โดยการสนับสนุนของอาณาจักรล้านช้าง[5] ในระหว่างนั้น กองทัพอยุธยาได้แทรกซึมเข้าเมืองเชียงใหม่ โดยส่งภิกษุเถระชาวพุกามออกอุบายให้ตัดต้นนิโครธที่แจ่งศรีภูมิ ซึ่งเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของเมืองเชียงใหม่ เชื่อว่าเมืองเชียงใหม่เกิดอาเพศ[6]
ในปี พ.ศ. 2000 ได้มีการปะทะโดยอาศัยช่วงความอ่อนแอของกำลังภายในเมืองเชียงใหม่ ขณะต่อมา กองทัพอยุธยายึดเมืองแพร่ขณะที่ล้านนากำลังตีเมืองเชียงตุง เพื่อการขยายอำนาจอาณาจักรล้านนาทางตอนเหนือของเมืองเชียงใหม่ ในขณะนั้น พระอินทราชา[ข]ถูกสังหารด้วยปืนของกำลังทหารล้านนาบริเวณดอยขุนตาล ทั้งสองฝ่ายเสียหายหนัก กองทัพทั้งสองสามารถตั้งรับได้เป็นระยะ ในปี พ.ศ. 2004 กองทัพล้านนาพยายามตีหัวเมืองเหนือของอาณาจักรอยุธยา ในปี พ.ศ. 2006 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงให้เมืองสองแควเป็นเมืองหลวงและเสด็จประทับเพื่อควบคุมเจ้าเมืองฝ่ายหัวเมืองเหนือ[2][6]
ในปี พ.ศ. 2017 กองทัพอยุธยายึดเมืองเชลียง อาณาจักรล้านนายุติความขัดแย้ง เพื่อแก้ไขปัญหาการแย่งชิงอำนาจภายในและความสูญเสียกำลัง ในปีต่อมา อาณาจักรล้านนาจึงขอเจรจาทำสัญญาไมตรีกับอาณาจักรอยุธยาเป็นการสิ้นสุดความขัดแย้งของทั้งสองอาณาจักร[2]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Jumsai 1976, p. 54.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Jumsai 1976, pp. 58–61.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Jumsai 1976, pp. 54–57.
- ↑ Jumsai 1976, pp. 53–54.
- ↑ 5.0 5.1 Dupuy & Dupuy 1977, p. 443.
- ↑ 6.0 6.1 Dupuy & Dupuy 1977, p. 444.
บรรณานุกรม
[แก้]- Dupuy, Trevor N.; Dupuy, R. Ernest (1977). The Encyclopedia of Military History. New York, N.Y.: Harper & Row. ISBN 0-06-011139-9.
- Jumsai, Manich (1976). "King Tilokarat (1441–1485)". Popular History of Thailand. Bangkok,Thailand: Claremint. ASIN B002DXA1MO.